eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

แถลงการณ์

โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างรอบด้านและเป็นธรรม

เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ 3.5 แสนล้าน

28 กรกฎาคม 2556

            แผนการบริหารจัดการ น้ำที่ใช้งบประมาณจากพระราชกำหนดกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ประกอบด้วยแผนงาน ชุดโครงการต่างๆ จำนวนมาก อาทิ เขื่อนหลายสิบแห่ง การผันน้ำเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด แต่ที่ผ่านมาการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะและผู้ได้รับผลกระทบเป็น ไปอย่างจำกัด หลายพื้นที่ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลใดๆ ทั้งที่โครงการจะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างร้ายแรง สร้างความกังวลใจและรู้สึกไม่มั่นคงแก่ชุมชนในพื้นที่โครงการ

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2556 ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้นายก รัฐมนตรี คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำ (กยน.)  คณะ กรรมการนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (กบอช.) และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่มาตรา 57 วรรค สอง และมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ด้วยการนำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ก่อนที่จะดำเนินการจ้างออกแบบและก่อสร้างในแต่ละแผนงาน (Module)

จวบจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีความชัดเจนว่า “การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน” เป็นอย่างไร มีเพียงข้อมูลที่ชี้ว่าได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อ “ประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น” ซึ่งกรรมการล้วนแล้วแต่มาจากหน่วยงานภาครัฐ โดยไม่มีผู้แทนจากภาควิชาชีพ ภาควิชาการ หรือภาคประชาสังคมแต่อย่างใด นอกจากนี้คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยประธาน กบอ. บาง ส่วนเคยเป็นกรรมการตรวจสอบผู้ที่ยื่นการประกวดราคาโครงการ ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยในประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน และเครือข่ายฯเห็นว่าหากแต่งตั้งบุคคลที่ไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อสรุปผลรับฟังความคิดเห็นออกมาก็จะถูกท้วงติงเรื่องความโปร่ง ใสและการไม่ยึดถือหลักธรรมาภิบาล ท้ายที่สุดก็จะทำให้โครงการล่าช้า

เครือข่ายองค์กรภาค ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการ 3.5 แสนล้าน เรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินกระบวนการรับฟัง ความคิดเห็นอย่างรอบด้านและมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน โดยเริ่มจากการแต่งตั้งกรรมการรับฟังความคิดเห็นที่มีความเป็น กลาง เป็นตัวแทนของภาคส่วนต่างๆ อาทิ วิชาการ วิชาชีพ และเข้าใจหลักการของการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้ได้รับ ผลกระทบ เพราะประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการโครงการ คือเป้าหมายหลักของการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น

การจัดเวทีรับฟัง ความคิดเห็น ต้องมีการจัดในทุกจังหวัดที่จะได้รับผลกระทบ สำหรับในพื้นที่ห่างไกลซึ่งผู้ได้รับผลกระทบและไม่สามารถเดินทาง มายังจังหวัดได้ จำเป็นต้องจัดเวทีในพื้นที่ระดับตำบลและหมู่บ้าน ดังกรณีของชาวแม่แจ่มซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากจังหวัดเชียงใหม่ราว 4 ชั่วโมง โดยรัฐบาลมีแผนจะสร้างเขื่อนซึ่งอาจทำให้บางหมู่บ้านจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องฟังเสียงชาวบ้านเป็นสำคัญ

ก่อนการรับฟังความ คิดเห็น ต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับแผนแม่บทและโครงการในแผนงาน ทั้งรายละอียดสาระสำคัญของแผนงาน/โครงการ วัตถุประสงค์ พื้นที่ดำเนินการ ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินโครงการ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม งบประมาณโครงการ หน่วยงานรับผิดชอบ งบประมาณ

ทั้งนี้ข้อมูลดัง กล่าวควรเผยแพร่ล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน เพื่อให้ประชาชนและผู้ได้รับผลกระทบศึกษาและทำความเข้าใจ ก่อนที่จะเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการรับฟังความคิดเห็นต้องรวบรวมและประกาศให้ประชาชรับทราบ อย่างทั่วถึง

ท้ายที่สุดการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่ควรเป็นแค่พิธีกรรม เช่น การจัดนิทรรศการ การเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมรับฟัง เพียงเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้เสร็จสิ้นกระบวนการไป  แต่การรับฟังเสียงชาวบ้านควร มีเป้าหมายให้ได้รับข้อเท็จจริงร้อบด้านเพื่อนำมาสังเคราะห์ก่อน ตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือนำมาเป็นฐานในการพิจารณาเพื่อปรับปรุงแผนงาน/โครงการ

เครือข่ายฯรู้สึก กังวลยิ่ง หากการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนครั้งนี้เป็นเพียงพิธีกรรม เพราะจะทำให้สถานการณ์ของปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้น สุดท้ายสภาพความขัดแย้งที่กำลังก่อตัวก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา