eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ข้อมูลพื้นฐานกรณีเขื่อนแม่มอก จ.ลำปาง

โดย SEARIN

1.ความเป็นมาของเขื่อนแม่มอก  จ.ลำปาง

                15 เม.ย 2520 มีหนังสือจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ไปถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ได้รับหนังสือจาก นายครอบ โวหาร สมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ทำหนังสือร้องเรียนถึง ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นว่าราษฎรชาว อำเภอทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย มีความต้องการแหล่งน้ำเพื่อการ เกษตร กระทรวงเกษตรฯ จึงได้สั่งการไปยังกรมชลประทานและสำนักงาน ชลประทานที่ 3 ตามลำดับขั้น ให้ สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ 150 ล้าน ลบ.ม. ขนาดความสูง 22.00 ม. ต่อมาสำนักงานชลประทาน ที่ 3 ได้ ทำการสำรวจพื้นที่จริงจึงได้ทำการขยับจุดที่จะสร้างอ่างขึ้นไปทางต้นน้ำเป็นระยะทาง 9 ก.ม. (จุดสร้าง เขื่อนปัจจุบัน) เพื่อ หลีก เลี่ยงผลกระทบกับชาวบ้านที่อยู่ตามลำห้วยแม่มอกให้มากที่สุด

                23 เม.ย. 26 คณะกรรมการพิจารณาเพื่อความมั่นคงในระดับพื้นที่ในเขตกองทัพภาคที่ 3 ประชุม พิจารณาอนุมัติให้การสร้าง อ่างเก็บน้ำแม่มอกนำเสนอเป็นทางการต่อไป

                28 มิ.ย. 26 ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (นายอาษา  เมฆสวรรค์) ได้ทำหนังสือด่วนมากถึงสำนักงาน เลขานุการคณะกรรม การพิเศษ เพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และแจ้งว่าพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เส็จพระราช ดำเนินไป ทรงเยี่ยมราษฏรในอำเภอทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ได้มีพระ ดำรัสกับอธิบดีกรมชลประธาน ให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่มอก และ มีพระราชดำริว่าควรสร้าง เขื่อนเก็บกักน้ำในลำน้ำแม่มอก  

                15 ก.ค. 26 ผู้อำนวยการสำนักงาน กปร. (นายสุเมธ ตันติเวชกุล) มีหนังสือถึงอธิบดีกรมชลประทานว่าทางสำนักเลขานุ การ กปร.พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่กรมชลประทานรับ ผิดชอบและเป็นโครงการขาดเล็กที่ต้องใช้งบประมาณ ค่าใช้จ่ายสูง จึงใคร่ขอทราบการพิจารณาของกรมชล ประทาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการรับเป็นเจ้าของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครง การและความเหมาะสมใน ด้านของงบประมาณ ซึ่งจะมีผลผูกพันต่องบประมาณปกติของกรมต่อไป  

                 ปี พ.ศ. 2536 กรมชลประทานได้ชลอการดำเนินงานเพราะมีปัญหาเรื่องการขอใช้พื้นที่ป่าไม้ เนื่อง จากยังไม่ได้ทำการ ศึกษา ผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อม ตามมติ ครม. 10 มี.ค.2535 และ พรบ.ส่งเสริมและรัก ษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มาตรา 47 กำหนดให้ หน่วย งานที่เป็นเจ้าของโครงการเป็นผู้ทำการศึกษาและให้ เสนอไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                พ.ศ. 2536-2538 การศึกษาผลกระทบยังไม่รู้ผลว่าจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ แต่การดำเนินงานบาง อย่างยังดำเนินไปตาม ปกติ เช่น การสัมปทานตัดไม้เหนือเขื่อนในแปลงน้ำท่วม ยังมีการตัดไม้ที่มีความอุดม สมบูรณ์อย่างมากต่อไปโดยไม่ได้ชลอการตัด แต่ อย่างใดทั้งสิ้น  

                ตุลาคม 2538 การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสร็จสิ้น โครงการเริ่มดำเนินงานต่อไป

2. การเข้าดำเนินการในพื้นที่ 

                ต้นปี พ.ศ. 2532 สำนักงานชลประทานเขต 3 ได้เข้าไปประชาสัมพันธ์เรื่องการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ มอก อย่างเป็นทางการ โดยแจ้งให้สภาตำบลเวียงมอกและชาวบ้านปางอ้า ม.4 บ้านแม่พุ ม. 5  บ้านท่า เกวียน ม. 7 บ้านหอรบ ม. 9  ตำบลเวียงมอก อ. เถิน จ. ลำปาง ได้รับทราบว่าจะมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ ขนาดใหญ่ ทำให้ชาวบ้านได้ทราบเป็นครั้งแรกว่าจุดที่ตั้งของอ่างอยู่ตรงจุดใด และรู่ว่า หมู่บ้านที่จะต้องโดน น้ำท่วมแน่นอนคือบ้านท่าเกวียน ม.7 และที่ทำกินของชาวบ้านปางอ้า บ้านแม่พุ บ้านหอรบ บ้างเป็นบาง ครอบ ครัว หมู่บ้านที่ต้องถูกเวรคืนที่ดินเพื่อนำที่ดินนั้นไปจัดสรรให้กับชาบ้านท่าเกวียนที่จะต้องอพยพมา อยูในที่แห่งใหม่คือ บ้านแม่พุ บ้าน หอรบ ชลประทานได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านใน 4 หมู่บ้านดัง กล่าวอย่างหนัก ให้ชาวบ้านได้เห็นว่าการสร้างอ่างเก็บ น้ำ แม่มอกเป็นโครงการที่ดี ให้ประโยชน์สูงและเป็น โครงการในพระราชดำริ ชาวบ้านควรเสียสละ หากใครเสียสละทางราชการจะม ีค่าตอบแทนให้ตามที่ทาง ราชการได้กำหนดเอาไว้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ (เป็นการแจ้งให้ชาวบ้านทราบในที่ประชุมแบบปากเปล่าโดย ไม่ มีเอกสาร )  

                เงื่อนไขที่ทางเจ้าหน้าที่ชลประทานได้แจ้งให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเก็บน้ำแม่มอกทั้ง 4 หมู่บ้านได้ รับรู้ร่วมกัน  

2.1.จะจ่ายค่าบ้าน ค่าที่ดินปลูกบ้าน ค่ารื้อถอนและค่าขนย้ายตารางเมตรละ 1212.75  บาท  

2.2.จะทำการจัดสรรที่ปลูกบ้านให้ใหม่ครอบครัวละ 1 ไร่

2.3.จะทำการปรับถมที่ ให้ชาวบ้านสามารถปลูกสร้างบ้านได้ทันทีอย่างสดวก

2.4.จะทำการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำดื่มน้ำใช้ ไฟฟ้า ถนนหนทางให้สามารถใช้ได้ดี กว่าบ้านเดิม

2.5.จะจ่ายค่าผลผลิตที่ชาวบ้านได้ผลิตมาก่อนหน้านี้แล้วทั้งหมด เช่น ไม้ผลและไม้ยืนต้นประเภท อื่นๆที่ชาวบ้านได้ปลูกเอาไว้

2.6.จะจัดจัดสรรที่ทำกินให้ครอบครัวละ 15 ไร่โดยไม่เกี่ยวว่าที่ดินเดิมของผู้ใดจะมีอยู่เท่าใด

2.7.ผู้ที่ยินยอมเสียสละที่ดินทำกินจากบ้านแม่พุและบ้านหอรบ เพื่อให้ชลประทานนำไปจัดสรรเป็น ที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับบ้าน ท่าเกวียน จะได้รับค่าชดเชยที่ทำกินไร่ละ 6666.66 บาท และจ่าย ค่าชดเชยให้กับผลผลิตที่ปลูกเอาไว้ทั้งหมด พ.ศ.2533 เป็นต้นมาเริ่ม นำเครื่องจักรเข้ามาดำเนินการ

2.8 ผู้ที่ไม่เอาที่ดินที่ทางชลประทานจัดให้ ถือว่าเป็นผู้สละสิทธ์พิเศษ ทางชลประทานจะจัดหาเงิน พิเศษให้หนึ่งก้อน และมากพอที่จะ สามารถนำไปจัดซื้อที่ดินแห่งใหม่ได้ (ไม่แจ้งให้ชาวบ้านทราบว่าเท่าใด)

3.ผลที่เกิดขึ้น 

                ด้วยความเป็นชุมชนที่เคยอยู่อย่างสงบเงียบ ว่านอนสอนง่ายจิตใจสัตย์ซื่อ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมแต่มีความรักต่อราชการเสมือน ญาติ ชาวบ้านท่าเกวียนยินดีอพยพโยกย้ายออกจากหมู่บ้านเดิมอย่างง่ายดาย บ้านแม่พุบ้านหอรบก็ยินดีเสียสละที่ดินอย่างเต็มใจเพราะ ในด้าน หนึ่งชาวบ้านท่าเกวียนก็คือญาติและ ในระยะยาวชาวบ้านเองกฏหวังว่าจะได้ประโยชน์จากการทำอาชีพประมงตามที่ชลประ ทานบอก ไม่มีใครแม้แต่คนเดียวที่จะเชื่อว่าจะถูกหลอก ชาวบ้านท่าเกวียนจึงได้เริ่มทยอยย้ายตัวเองออกจากหมู่บ้านเดิมในวันที่ 4 เมษายน 2536 มาสิ้นสุดเอาในปี พ.ศ.2538

                ประเด็นต่างๆที่เคยบอกกับชาวบ้านเอาไว้ไม่เป็นไปตามที่บอก เมื่อชาวบ้านถามมากๆก็บอกว่าไม่เคยพูดไม่เคยว่า ไม่เคยทำ ไม่มีหลักฐาน ใครคนไหนพูดเอาอำนาจอะไรมาพูด เมื่อนั้นเองชาวบ้านจึงรู้ว่าโดนหลอก  

สิ่งที่เกิดขึ้นจริง

3.1. ค่ารื้อย้ายบ้าน ชาวบ้านไม่ติดใจที่จะเรียกร้อง

3.2. ค่าปรับถมที่ เพื่อปลูกบ้านส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านไม่ติดใจแม้จะมีหลายครอบครัวที่ต้องเสียเงินเพื่อปรับที่เอง

3.3.ระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำ ดื่มกินไม่ได้ซักผ้าขาวไม่ได้ เพราะเป็นสนิมและมีไม่พอกับความต้องการของชาวบ้าน ไฟฟ้าติดตั้ง เสา ไปไม่ถึงชาวบ้านต้องลากสายไฟเข้าบ้าไกลเสียคี่าใช้จ่ายแพง ถนนหนทางไม่ทำให้เป็นล็อกและทำให้ไม่ครบล็อกชาวบ้านต้อง ลงทุน ทำถนนเอง แต่โดยรวมแล้วชาวบ้านไม่ติดใจ

3.4.ค่าผลผลิตที่ชาวบ้านได้ผลิตมาก่อนหน้านี้แล้วทั้งหมด เช่น ไม้ผลและไม้ยืนต้นประเภทอื่นๆที่ชาวบ้านได้ปลูกเอาไว้ เป็นประเด็น ที่ชาวบ้านเรียกร้อง เพระยังมีการจ่ายค่าชดเชยไม่ครบทุกราย ที่ควรจ่ายไม่จ่าย ที่ไม่ควรจ่ายแต่จ่าย ทุกอย่างสับสนไปหมด

3.5.จะจัดจัดสรรที่ทำกินให้ครอบครัวละ 15 ไร่แต่ความเป็นจริงให้ 7 ไร่แต่ก็ไม่สามารถเข้าทำกินได้ทั้งหมด เพราะยังไม่จ่ายค่าที่ดินให้ กับเจ้าของเดิม เจ้าของเดิมจึงไม่ยอมให้เข้าทำกิน

3.6 ผู้ที่สละสิทธ์ตามข้อ 2.8 ไม่ได้รับการจัดสรรให้อย่างที่บอก  

4.สถานการณ์ปัจจุบัน

                ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ปีที่ชาวบ้านได้เริ่มย้ายออกไปจากหมู่บ้านจนกระทั่งบัดนี้ปัญหาที่สำคัญๆก็ยัง ไม่ได้ รับการแก้ไข ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชาวบ้านได้ไปร้องเรียนผ่านหน่วยงานต่างของทางราชการและยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรี และรัฐมน ตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หลายครั้งแต่ไม่ได้รับการแก้ไข จนหลายครั้งชาวบ้านต้องแก้ปัญหาด้วยการปิดอ่างห้าม มีการก่อ สร้างจนกว่าจะมีการจ่ายค่าชดเชย เมื่อมีการขอร้องให้ชาวบ้านยุติและทางราชการก็รับปากจะแก้ปัญให้แต่สุดท้ายก็เป็นเพียง การหลอกลวง

                จนกระทั่ง วันที่ 22 มกราคม 2542 ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (นายเฉลิมพล ประทีปวณิช) ได้แต่งตั้งคณะทำงานตรวจ สอบ ข้อเท็จจริงในระดับพื้นที่ขึ้นโดยมีนายอำเภอเถินเป็นประธานและมีผู้แทนชาวบ้านหมู่บ้านละ 5 คน ผู้แทนจากองค์กรพัฒนาเอกชน หมู่บ้านละ 2 คน ผู้แทนจากหน่วยงานภาคราชการหมู่บ้านละ 7 คน  ผลจากการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นที่พอใจของชาวบ้านแต่ชาวบ้านไม่มีความมั่นใจว่าเมื่อมีข้อมูลความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ทางหน่วยงานราชการต่างๆจะช่วยแก้ ปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปได้ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาเหล่านี้อยู่นอกเหนืออำนาจการจัดการของเจ้าหน้าที่ระดับพื้นที่  

5.กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 723ราย

5.1 บ้านท่าเกวียน   หมู่ 7 จำนวน 287 ราย

                5.1.1 ปัญหาการจัดสรรที่ดินทำกินแปลงอพยพ (รายละเอียดตามเอกสาร 1 แนบท้ายนี้) จำนวนราษฎรมีปัญหา รวม 81 ราย

ก. ปัญหาเข้าทำกินในแปลงที่ได้รับการจัสรรไม่ได้เพราะเจ้าของเดิมขัดขวาง  มี 40   ราย(40 แปลง)

ข. ปัญหาราษฎรต้องการที่ดินทำกิน  และอ้างว่ามีสิทธิจะได้รับการจัดสรร  แต่ไม่ได้รับ  

การจัดสรร (มีการจับฉลากเมื่อ 30  กันยายน 2541 ไม่มีรายชื่อจับฉลาก) จำนวน 17 ราย

ค. ปัญหาการจับฉลากได้แปลงทับกันมี 2 ราย

ง. ปัญหาจับฉลากได้แล้ว  แต่เนื้อที่ไม่ครบ 7 ไร่  มี 9  ราย

จ.ปัญหาได้รับการจัดสรร (จับฉลาก)  แล้วไม่ทราบแนวเขตที่ดินแน่นอน  และมีปัญหาแนวเขตทับกับแปลงข้างเคียง  รวม 4 ราย

ฉ. ปัญหาการปรับพื้นที่แปลงที่ดินทำกินไม่เรียบร้อยต้องการให้ปรับพื้นที่ให้ใหม่  จำนวน 9 ราย

                5.1.2 ปัญหาการจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดิน  และทรัพย์สินบริเวณหน้าอ่างเก็บน้ำที่ถูกน้ำท่วม (รายละเอียดตามผนวก 2 แนบท้าย นี้)  จำนวนราษฎร์  ที่มีปัญหารวม 250 ราย  แยกเป็น

5.2 บ้านแม่พุ  หมู่ 5 จำนวน 306 ราย

                5.2.1 การยึดครองทีดินแปลงอพยพ   ที่ได้จับฉลากกันแล้ว  ไม่ยอมให้บ้านท่าเกวียน  หมู่ 7 เข้าที่ทำกิน  จำนวน 23  ราย แยกเป็นแปลงที่ทราบหมายเลข  จำนวน 28 แปลง (ตามภาคผนวก 3)   และไม่ทราบหมายเลขจำนวน  6  ราย 

                5.2.2 สละสิทธิ์ที่ไม่รับที่ดินแปลงอพยพ  แต่ต้องการเงินแทนที่ดิน  จำนวน 23  ราย (รายละเอียด  รายชื่อปรากฏตาม ภาค ผนวก 4)

                5.2.3 เข้าทำกิน / ทำประโยชน์  ในที่ดินแปลงอพยพไม่ได้  จำนวน 7  ราย  รวมจำนวน 7 แปลง (มีรายละเอียดปรากฏตาม ภาคผนวก 5)

                5.2.4 ปัญหาอื่นๆ  ( มีรายละเอียดปรากฏตามผนวก 6)

                5.2.5 บัญชีรายชื่อที่เลือกหรือจับฉลากเบอร์เลขที่แปลงได้แล้ว  แต่ลงที่จัดสรรทำกินไม่ได้ มีรายละเอียดปรากฏตาม ผนวกพิเศษ

5.3 บ้านหอรบ  หมู่ 9 จำนวน 130 ราย

                5.3.1 เรื่องการจ่ายเงินชดเชยค่าที่ดินและทรัพย์สิน

                                ก. ยังไม่ได้รับเงินชดเชย  จำนวน  94 ราย  (รายละเอียดตามผนวก 6)

                                ข. ได้รับเงินชดเชยบางส่วน จำนวน 17  ราย  (รายละเอียดตามผนวก 7)

                5.3.2 เรื่องสละสิทธิไม่เอาที่ดินแปลงอพยพ  จำนวน 23  ราย  (รายละเอียดตามผนวก 8)

                5.3.3 เรื่องการยึดครองที่ดินแปลงอพยพ  จำนวน 3  ราย (รายละเอียดตามผนวก 9 )

                5.3.4 เรื่องอื่นๆ จำนวน 3 ราย รายละเอียดตามผนวก 10)        

6.ข้อเรียกร้องของชาวบ้าน ต่อกรณีปัญหาเขื่อนน้ำแม่มอก

                1.ให้จัดสรรที่ดินทำกินที่สามารถทำการเกษตรได้และชาวบ้านพอใจ ให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทุกครอบครัว พร้อม ออกเอกสารสิทธ์ในที่ทำกินให้เรียบร้อย จำนวนครอบครัวละ 15 ไร่

                2. ให้จ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ที่ยังไม่ได้รับการชดเชย ตามบัญชีรายชื่อ ที่คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ผู้ว่าราชการ จังหวัด ลำปางแต่งตั้งลงนามเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2542 

                3.ให้จ่ายค่าเสียหายที่ชาวบ้านไม่ได้ทำกินนับแต่ปี พ.ศ.2534 ที่ชลประทานได้เข้ายึดที่ดินทำกินของชาวบ้าน คิดเป็น ที่ไร่ ปีละ 2,400 บาทต่อไร่ ที่นาปีละ 4,700 บาทต่อไร่

                4. ให้จ่ายค่าชดเชยที่ดินสาธารณ(ป่าช้า)ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างคลองชลประทาน จำนวน 20 ไร่ๆละ6,666.66 บาท ให้แก่หมู่บ้านแม่พุและบ้านหอรบ

                5.ให้ยกเลิกการปลูกไม้ฟื้นฟูป่าต้นน้ำเหนือเขื่อนที่กรมป่าไม้กำลังทำการปลูกอยู่ในขณะนี้ทั้งหมด

                6.ให้แก้ไขปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่แปลงอพยพ

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา