eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ตัวอย่างพฤติกรรมการทุจริตเขื่อนโป่งขุนเพชร จ. ชัยภูมิ

สมัชชาคนจน  

                โครงการเขื่อนโป่งขุนเพชร เป็นของกรมชลประทาน เริ่มดำเนินการในปี 2532 คือ อยู่ในท้องที่ตำบลโคกสะอาด อ.หนอง บัวระเหว จ.ชัยภูมิ มีผลกระทบราษฏรในท้องที่ อ.หนองบัวระเหว และอ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ปรากฏว่าการดำเนินงาน ของฝ่ายราชการ ไม่โปร่งใส ปิดบังข้อมูลและมีการข่มขู่หลอกลวงชาวบ้าน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบของฝ่ายเจ้าหน้าที่ มีการทุจริตกันเป็น ขบวนการหรือแก๊งมาเฟียที่ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ทั้งของกรมชลประทานและกระทรวงมหาดไทยร่วมกับ นายทุนมีการวางแผน มีกองทุนมีผู้ปฏิบัติงานเป็นขั้นตอน วางสายเป็นระบบต่อเนื่อง เป็นขบวนการที่ทำมาหากินอยู่กับกรมชลฯ ตลอดมา  โดยเฉพาะในภาค อีสานมีศูนย์กลาง บัญชาการ และวางแผนอยู่ที่ สำนักงานชลประทานเขต 6 จ.นครราชสีมา  โดย อาศัยบุคคลากร จาก จ.นครราชสีมา เป็นหลัก  ประกอบการทุจริตมาตั้งแต่เขื่อนลำมูลบน เขื่อนลำแชะ เขื่อนลำคันฉู เขื่อนห้วย ทราย ปัจจุบันและอนาคตเขื่อนโป่งขุนเพชร กำลังเตรียมการอยู่ที่เขื่อนนายางดี เขื่อนปากช่อง เขื่อนที่ปักธงชัย และเขื่อนที่ ศรีสะเกษ เป็นต้น โดยใช้ทรัพยากรทั้งสิ่งของและบุคคล ชุดเดียวกันโดยอาศัยสำนักงานชลประทานเขต 6 จ.นครราชสีมาเป็น ศูนย์บัญชาการและวางแผน

                วิธีการ

                ขั้นที่ 1 ให้เจ้าหน้าที่ชลประทานและฝ่ายปกครองเข้าข่มขู่และหลอกลวงราษฏรในท้องที่ ๆ อยู่ในเขตชลประทานว่า ทางรัฐ บาลจะสร้างเขื่อนชาวบ้านต้องโยกย้ายออกไปโดยไม่มีค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้นถ้าหากใครขัดขืนจะจับกุมคุมขัง

                ขั้นที่ 2 ส่งนายหน้าเข้าไปกว้านซื้นที่ราคาถูกเพราะชาวบ้านกลัวว่าจะไม่ได้ค่าชดเชย

                ขั้นที่ 3 ปลูกต้นมะขามเปรี้ยวและต้นไม้อื่น เพื่อเบิกค่าชดเชยโดยร่วมกันทำหลังฐานเท็จเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้มากกว่า ที่เป็น จริง ทำหลักฐานเท็จจากต้นมะขามเปรี้ยวให้เป็นต้นมะขามหวานแล้วเบิกเงินแบ่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่และนายหน้าที่เขื่อน โป่งขุนเพชร ปรากฏว่ามีผู้ได้รับค่าชดเชย ค่าต้นไม้รอบแรก เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2537 จำนวน 150 ราย เป็นชื่อบุคคลภาย นอกที่ชาวบ้านไม่รู้จัก ประมาณ 120 ราย และมีภูมิลำเนาอยู่ที่ จ.นครราชสีมา บุคคลกลุ่มนี้ได้รับเงินไปประมาณ 22 ล้าน ส่วน ชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้รับเงิน ประมาณ 3 ล้านบาท

                ขั้นที่ 4 ข่มขุ่หลอกลวงว่าที่ดินทำกินที่ชาวบ้านครอบครองอยุ่นั้นเป็นที่รก จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้จะจ่ายค่าชดเชย เฉพาะที่ เตียนแล้ว ถ้าชาวบ้านคนใดต้องการให้เป็นที่เตียนก็จะไถให้โดยเก็บเงินค่าไถที่ดิน เมื่อเงินค่าทดแทนออก โดยขอแบ่ง เป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 ให้รถไถ ส่วนที่ 2 ให้เจ้าหน้าที่ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านที่เป็นนายหน้า ส่วนที่ 3 ให้เจ้าหน้าที่ชลประทานเหลือ เท่าใดจึงเป็นส่วนที่ 4 จึงจะเป็นของเจ้าของที่ดิน ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2538 มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินทำกิน ประมาณ 20 รายชาวบ้านถูกหัก เงินออกไป โดยเจ้าหน้าที่ใช้วิธีการข่มขู่แกมบังคับ คุมตัวลงจากธนาคารกรุงไทย จ.ชัยภูมิ มาข้างธนาคารแล้วบังคับเอาส่วนแบ่ง โดยมี มือปืนคุมอยู่ 2 คน มีเจ้าหน้าที่ชลประทานเป็นผู้รวบรวมเงินส่วนแบ่งเข้าใส่ไว้ในรถ ด้วยตัวเอง

                ขั้นที่ 5 เพื่ออำพรางตัวการที่แท้จริง การซี้อขายที่ดินตามขั้นตอนที่ 2 นั้นส่วนใหญ่ จะใช้ชื่อเจ้าของเดิมเป็นผู้รับเงิน ทดแทน (ทำให้อำพรางชื่อนายทุนไว้ได้) และตัวนายทุนผู้ซื้อจะปลอมลายมือชื่อตัวเจ้าของเดิมเพื่อเบิกเงินจากกรมชลฯและเบิก เช็คจากธนาคาร กรุงไทย สาขา อำเภอเมืองชัยภูมิ

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา