eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ม็อบ "ราษีไศล" เฮได้ค่าชดเชย   ก.วิทย์จ่ายแล้วงวดแรก 57 ล้าน

ก.วิทย์จ่ายค่าชดเชยราษีไศลงวดแรก 57 ล้านบาท คนที่ชวดเพราะซ้ำซ้อนให้ไปฟ้องศาลกันเอง คณะกรรมการ กลางประชุมนัดที่ 2 ครวญทำงานลำบาก ย้ำให้ กฟผ.เปิดประตูระบายน้ำ ไฟฟ้าปฏิเสธแถลงการณ์สลายม็อบ

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทค โนโลยี และสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากกรณีราษฎร 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ดและสุรินทร์ ที่ได้รับผลกระทบจาก การสร้างฝายราษีไศล ยื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือจากราชการจำนวน 17,083 รายนั้น ขณะนี้ได้ตรวจสอบสิทธิการ ครอบครองและทำประโยชน์ของราษฎร ตามกระบวนการอย่างถูกต้อง สรุปได้ว่ามีผู้มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในชุดแรก จำนวน 775 ราย โดยจะจ่ายค่าชดเชยในรูปค่าขนย้ายอัตราไร่ละ 32,000 บาท

โดยแบ่งเป็นราษฎรในเขตจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 690 ราย คิดเป็นเงินกว่า 48 ล้านบาท และราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 85 ราย คิดเป็นเงินกว่า 8.8 ล้านบาท ทั้งนี้รวมผู้ได้รับค่าชดเชยทั้งสิ้น 775 ราย ที่ดิน 989 แปลง เนื้อที่ 1,795 ไร่ 16.8 ตาราง วา วงเงินรวมทั้งสิ้น 57,441,344 บาท ซึ่งราษฎรที่ได้รับเงินชดเชยจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มราษฎรที่ได้รับค่าชดเชยไป แล้ว โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานจะสามารถจ่ายค่าชดเชยได้ในวันที่ 14 มิถุนายน ณ ที่ว่าการอำเภอราษีไศล

นายพรเทพกล่าวว่า ส่วนผู้เรียกร้องที่เหลือกว่า 16,000 รายนั้น ได้ผ่านการตรวจสอบโดยลงแปลงเรียบร้อยแล้ว แต่ยังตก ลงกันไม่ได้เนื่องจากมีปัญหาการทับซ้อนของที่ดิน และเป็นพื้นที่นอกอ่างเก็บน้ำ ซึ่งไม่ได้รับค่าชดเชยแต่จะได้รับการ ช่วยเหลือในรูปแบบอื่นๆ แทน โดยทั้งหมดนี้อาจจะต้องให้ผู้ที่มีปัญหาไปฟ้องร้องกันในศาลเอง เมื่อเลือกกันได้เจ้า ของที่ดินเพียง 1 เดียวแล้วจึงค่อยมาพูดถึงเรื่องค่าชดเชยกัน

ทั้งนี้ในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะเรียกประชุมผู้เรียกร้องทุก กลุ่ม เพื่อหาทางออกว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยจะมีการตกลงกันว่า ทุกคนต้องการอย่างไร

"ทำเรื่องนี้มานาน รู้สึกน้อยใจที่เรื่องแก้ไขไม่ได้สักที ผมทำเรื่องนี้ จนขณะนี้กลุ่มสมัชชาคนจนที่เรียกร้องเรื่องนี้ สามารถทำลายประวัติศาสตร์โลก ในการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเป็นเวลากว่า 3 ปีด้วยกัน" นายพรเทพกล่าว

เมื่อเวลา 09.00 น.วันเดียวกัน ที่ห้องประชุม สำนักประสานงานมวลชน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ผู้สื่อข่าว รายงานว่า คณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ได้ร่วมประชุมแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนเป็นครั้งที่ 2 ครั้งนี้คณะกรรมการกลางได้เชิญ ม.ล.ชนะพันธุ์ กฤษดา รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และตัว แทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูลมาชี้แจงให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการ

ม.ล.ชนะพันธุ์เปิดเผยภายหลังเข้าชี้แจงว่า ตนได้ชี้แจงให้คณะกรรมการกลางได้เห็นถึงปัญหาเฉพาะหน้าของ กฟผ. โดยประเมินผลกระทบที่จะเกิดจากการไม่ได้เข้าไปดูแลเครื่องจักร การที่เสนอให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 8 บานนั้นไม่ สามารถทำได้ในขณะนี้ เพราะเราได้พิจารณาแล้วว่าจะเกิดผลเสียหายมากกว่าผลดี ที่ผ่านมาบันไดปลาโจนที่สร้าง ขึ้นมานั้นก็สามารถใช้ได้ดี เรามีหลักฐานมีภาพมีผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเรื่องนี้ ทำไมเราไม่นำบันไดปลา โจนกลับมาใช้อีก เพียงแต่ใน 2-3 ปีหลังจากเกิดปัญหาเขื่อนปากมูล มีชาวบ้านกลุ่มไหนไม่ทราบเข้าไปจับปลาท้าย เขื่อนซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อาจจะเป็นไปได้ว่าทำให้ปลาไม่ขึ้นมาตามบันได

ม.ล.ชนะพันธุ์ กล่าวต่อว่า กฟผ.จะสนับสนุนให้มีการประมงเหนือเขื่อนมากขึ้นโดยไม่ต้องเปิดประตูระบายน้ำ เพราะ จะทำให้เกิดผลเสียหายมากกว่า ส่วนกรณีที่ กฟผ.ระบุว่าทุกปีจะต้องมีการเปิดประตูเพื่อระบายน้ำอยู่แล้วนั้น การเปิด ทั้งหมดกับเปิดบางส่วนไม่เหมือนกัน ที่ผ่านมาเราเปิดเพื่อรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ 108 รทก.ม. แต่หากเปิดทั้งหมดระดับ น้ำจะลดลงอีก 10 เมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงผู้ที่อยู่เหนือเขื่อนมากมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากชาวบ้านไม่ยอมออกจากที่ชุมนุม กฟผ.จะดำเนินการอย่างไร ม.ล.ชนะพันธุ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับรัฐ บาลว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร

นายบัณฑร อ่อนดำ หนึ่งในคณะกรรมการกลางเปิดเผยภายหลังการประชุมว่า เมื่อสัปดาห์ก่อนคณะกรรมการกลางได้ เข้าพบนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย เพื่อพูดคุยถึงความลำบากในการทำงาน เนื่อง จากทั้ง 3 ฝ่ายซึ่งประกอบด้วย กฟผ.,สมัชชาคนจน,จังหวัด ยังไม่หยุดการเคลื่อนไหวซึ่งจะทำให้การทำงานของคณะ กรรมการเป็นไปด้วยความลำบาก ซึ่งนายบัญญัติก็ได้เห็นด้วยที่จะให้ทั้ง 3 ฝ่ายหยุดไว้ก่อน สำหรับการประชุมในวันนี้ พูดคุยกันถึงปัญหาปากมูลปัญหาเดียว ซึ่งมีมติให้ กฟผ.เปิดประตูน้ำทั้ง 8 บาน และให้ผู้ชุมนุมถอยจากหัวเขื่อน

นายอนุชาติ พวงสำลี กรรมการกลางกล่าวว่า ข้อเสนอที่คณะกรรมการเห็นว่าจะเสนอต่อรัฐบาลคือ เห็นว่ารัฐบาลควรจะ พิจารณามาตรการประกอบกับการจัดการเรื่องนี้ 4 ประการ คือ 1.ให้ยุติการดำเนินคดีกับชาวบ้านทั้งหมด หยุดข่มขู่คุก คามชาวบ้าน 2.ตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางเพื่อติดตามศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งในด้านบวกและด้านลบ ในเรื่อง ของการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง 8 บานทั้งนี้เพื่อประเมินผลผลิตทางการประมง 3.เพื่อเป็นการวางรากฐานร่วมกันในการ แก้ไขปัญหาระยะยาว จึงได้เสนอให้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นพหุภาคี ซึ่งมีนักวิชาการ,กฟผ.,ชาวบ้านร่วมกัน เพื่อทำแผน ฟื้นฟูเรื่องที่ทำกินและที่อยู่อาศัย 4.ตั้งคณะทำงานเพื่อทำหน้าที่ในการสื่อสารกับสังคม

นายทองเจริญ สีหาธรรม ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล กล่าวว่า หากรัฐบาลสามารถสั่งการให้ กฟผ.เปิดประตูระบายน้ำตามที่คณะกรรมการเสนอได้ ชาวบ้านก็พร้อมที่จะถอยออกจากที่ชุมนุมปัจจุบัน

นายอำนาจ โชติช่วง ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ยืนยันว่า กฟผ.ไม่ได้ ออกแถลงการณ์ให้มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มสมัชชาคนจนบริเวณโรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูล ตามที่เป็นข่าว จะมีเพียง แต่แผนการเตรียมพร้อมเข้าบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า 17 ขั้นตอน หลังจากที่กลุ่มสมัชชาคนจนยอมย้ายออกจากบริเวณโรง ไฟฟ้าและแผนการปล่อยกุ้งก้ามกรามประจำปี 2543 จำนวน 1 ล้านตัวเพื่อส่งเสริมอาชีพประมงน้ำจืดของราษฎรที่ อาศัยอยู่ตามลำน้ำมูล ณ อ่างเก็บน้ำเขื่อนปากมูล ในวันที่ 14 มิถุนายนซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนประจำปีที่วางไว้

นายแพทย์บรรพต พิชญาสาธิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีกล่าวถึงการกล่าวพาดพิงในการ เสวนาเรื่อง "โรคเขื่อนทำ ภัยเรื้อรังที่ยังถูกเมิน" ที่ว่าการสร้างเขื่อนปากมูลเป็นสาเหตุให้เกิดน้ำเน่าเสียประชาชนลง อาบไม่ได้จะเป็นโรคผิว หนังว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่ามีโรคผิวหนังระบาดขึ้นในเขตอำเภอโขงเจียมโดยมี สาเหตุมาจากการอาบน้ำในแม่น้ำมูล และจากการตรวจรักษาผู้ป่วยก็ไม่ปรากฏว่าประชาชนในพื้นที่นี้เป็นโรคพยาธิใน เลือดระบาด

เวลา 12.00 น. ที่ศาลากลาง จ.อุบลราชธานี ชาวบ้าน 200 คนจากกิ่ง อ.สว่างวีระวงศ์ นำโดยว่าที่ ร.ต.เกริก ส่งเสริม นักวิชา การอิสระ เดินทางมาชุมนุมเรียกร้องให้ทางการดำเนินการกับผู้ชุมนุมตามกฎหมายโดยเด็ดขาด หากไม่ดำเนินการใด ชาวอุบลราชธานีจะจัดการกับกลุ่มสมัชชาคนจนเอง

พ.ต.อ.สมคิด ชนะมี รอง ผบก.ภ.จว.อุบลราชธานี กล่าวว่า ได้สั่งการไปยัง สภ.อ.โขงเจียมและสิรินธรให้ส่งเจ้าหน้าที่ ไปดูแลความสงบเรียบร้อยยังที่ชุมนุมที่เขื่อนปากมูลแล้ว โดยให้แต่งนอกเครื่องแบบ เพื่อป้องกันข้อกล่าวหาว่าจะ สลายการชุมนุม

ด้านการชุมนุมของชาวบ้านที่บุกเข้ายึดฝายราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดประตูระบายน้ำ และเจ้าหน้าที่ ฝายราษีไศล ได้เข้าแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.ราษีไศล ให้ดำเนินคดีกับแกนนำม็อบจำนวน 11 คน ในข้อหา บุกรุกสถานที่ราชการ และทำลายทรัพย์สินของทางราชการนั้น

นายพิษณุ พรหมจารี นายอำเภอราษีไศล กล่าวว่า พนักงานสอบสวนได้เสนอขออนุมัติให้ออกหมายจับแกนนำม็อบทั้ง 11 คนมาให้แล้ว แต่เมื่อได้ตรวจสอบแล้ว พบว่ายังมีความบกพร่องบุกรุกฝายราษีไศล ดังนั้นจึงได้มอบสำนวนการสอบ สวนขออนุมัติจับกุมกลับไป คาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1-2 เดือน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา