eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

จดหมายเปิดผนึก

กรณี การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำนานาชาติ:ลุ่มน้ำสาละวิน

ซึ่งจะจัดขึ้นที่เชียงใหม่ ประเทศไทย วันที่ 13-16 กันยายน 2542

                     จากการที่กลุ่มของนักวิชาการ,เจ้าหน้าที่รัฐ,บริษัทที่ปรึกษาเอกชนและธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุพาคี จะเข้าร่วมประชุม เชิงปฏิบัติการเพื่ออภิปรายถึงทรัพยากรน้ำที่ระหว่างประเทศ กรณีการพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน ซึ่งเป็นการประชุมในสถานที่เฉพาะและ เก็บเป็นความลับและเห็นได้ชัดว่า "เพื่อเป็นการพบปะสนทนากันระหว่างตัวแทนกลุ่มต่างๆ ที่มีความสนใจในการพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน" นั้น

                เป็นที่ชัดเจนว่าการประชุมดังกล่าว ไม่มีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นคนในท้องถิ่นเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นคนท้องถิ่นนั้นสำคัญที่ จะขาดเสียมิได้ในโครงการพัฒนาต่าง ๆ  ในทางตรงกันข้าม รายชื่อผู้ที่เข้าร่วมประชุมกลับเป็นกลุ่มอิทธิพลที่ไม่มีวันจะแสดงให้เห็นได้ เลยว่าพวกเขาให้ความสนใจกับชุมชนท้องถิ่น ผู้ที่เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ได้แก่ อธิบดีกรมการไฟฟ้าแห่งพม่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าอีก หลายคน อธิบดีกรมชลประทานของไทย  อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาพลังงานของไทย ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกและธนาคารเพื่อ การพัฒนาแห่งเอเชีย บรรดาวิศวกร นักวิชาการจากจีน ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก  และไทย นอกจากนี้ยังมีนักสร้างเขื่อน และที่ปรึกษาด้านการสร้างเขื่อนจากบริษัทปัญญาคอนเซาท์ติ้งจำกัดและบริษัทอิตาเลี่ยน-ไทย

                     การประชุมนี้ดูเหมือนว่าจะมีการเกี่ยวพันกับการสร้างเขื่อนสาละวินเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำและผันน้ำสู่ประเทศไทย ด้วย โดยความช่วยเหลือจากบรรดาที่ปรึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ไทย และนอร์เว  รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าได้ตระเตรียมแผนการนี้มา นานนับทศวรรษ เพราะต้องปกปิดอย่างแนบเนียนเพื่อไม่ให้ประชาชนรู้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในลุ่มน้ำสาละวิน ทั้ง ๆ ที่ชนพื้นเมือง เหล่านี้ได้รับความทุกข์ทรมานมานานปีจากการพุ่งรบและการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลทหารของพม่า และหลายแสนคนถูก บังคับให้ละทิ้งถิ่นฐานของตน ผู้คนส่วนหนึ่งจากการอพยพครั้งใหญ่ล่าสุดถูกเกณฑ์ไปไว้ในพื้นที่เดียวกัน ในขณะเดียวกับที่นักสำรวจ ได้เริ่มศึกษาที่ตั้งของเขื่อนที่จะกั้นแม่น้ำในรัฐฉาน

                       มีโครงการเขื่อนอย่างน้อยที่สุด 5 โครงการที่ถูกศึกษาในลุ่มน้ำสาละวิน อันเป็นกระบวนการตามคำแนะนำของคณะที่ ปรึกษาที่ทำงานให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ภายใต้แผนการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง แผนเหล่าได้พัฒนาไปจนถึงการ ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมได้ทำเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ไม่มีการรับฟังความเห็นใด ๆ จากผู้ที่ได้รับผลกระทบ แท้จริงในโครงการนี้ คนท้องถิ่นเหล่านี้มีสิทธิแค่ยืนดูผืนแผ่นดินของพวกเขาที่จะสูญเสียไปตลอดกาล

                     การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินจะทำให้เกิดน้ำท่วมป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรมจำนวนมาก หมู่บ้านจำนวนมากจะจมอยู่ ใต้น้ำ การเกษตรถูกแยกออกจากการประมงในบริเวณเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน เขื่อนขนาดยักษ์นี้ยังเป็นมหันตภัยร้ายแรงเนื่องจากมัน อยู่ในพื้นที่ทีมีการเกิดแผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้งด้วย นอกจากนี้ ไม่ว่าเขื่อนใดก็ตามที่จะสร้างบนแม่น้ำสาละวิน ล้วนแต่เป็นเขื่อนที่จะต้อง มีราคาแพงลิบลิ่ว ทั้งนี้ก็เพราะเป็นโครงการที่ถูกวางแผนขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สินจำนวนมากของทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้วการจัดหาพลังงานไฟฟ้านั้นมีอยู่อย่างเกินพอแล้วและสามารถคิดหาวิถีทาง ที่เหมาะสมและยุติธรรมในการ จัดสรรทรัพยากรน้ำได้ดีกว่านี้แน่นอน

                      เรามีความกังวลเป็นอย่างยิ่งที่การประชุมเพื่อการวางแผนในครั้งนี้ มิได้รวมเอาตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบไว้ด้วย และอาจถูกใช้เพื่อให้เกิดความชอบธรรมในทางกฏหมาย ได้โดยง่ายในกระบวนการพัฒนาอันอัปลักษณ์เช่นนี้

                     เราขอลงนามเพื่อเรียกร้องให้การวางแผนใด ๆ ก็ตามในการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่บนลุ่มน้ำสาละวินปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • โครงการต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะอย่างจริงใจ โปร่งใสและซื่อตรง
  • ต้องยืนหยัดเพื่อระบบนิเวศน์อย่างแท้จริงและยั่งยืน
  • ตระหนักและเคารพในความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่ อันเป็นหน้าที่พื้นฐานของทุกโครงการที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้การยอมรับและเชื่อมั่นในการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งต้องจ่ายค่าชดเชยในสิ่งที่พวกเขาต้องสูญเสียไปอย่างเป็น ธรรม

                  พวกเราขอยืนยันว่าแผนงานหรือโครงการใดก็ตามที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว โครงการนั้น ๆ จะต้องถูกล้มเลิกไปอย่างแน่นอน

  1. สมัชชาคนจน(Assembly of the Poor)
  2. กลุ่มจับตาสาละวิน(Salween Watch)
  3. เครือข่ายแม่น้ำแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Southeast Asia Rivers Network)
  4. มูลนิธิสิทธิมนุษยชนแห่งรัฐฉาน( Shan Human Rights Foundation)
  5. กลุ่มสิ่งแวดล้อมคะเรนนี(Karenni Evergreen)
  6. องค์การยุวชนกะเหรี่ยง(Karen Youth Organisation)
  7. สหพันธ์เพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ-เขตปลดปล่อย (National League for Democracy (liberated area))
  8. โครงการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายคนชายขอบ(Legal Aid for Marginalised People)
  9. องค์การยุวชนแห่งชาติคะเรนนี (Karenni National Youth Agency)
  10. แนวร่วมนักศึกษาพม่าเพื่อประชาธิปไตย(All Burma Students' Democratic Front)
  11. เครือข่ายทำงานด้านเขื่อน  แม่น้ำและประชาชน แห่งเอเชียใต้(South Asia Network on Dams, Rivers and People)
  12. เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อติดตามเอเปค(APEC Monitor NGO Network, Japan)
  13. พันธมิตรแห่งประชาชนเพื่อการปฏิรูปศักยภาพและการพัฒนาที่เท่าเทียมกันแห่งปากีสถาน( Citizens Alliance in Reforms for Efficient and Equitable Development, Pakistan)
  14. สหพันธ์ประชาธิปไตยแห่งรัฐฉาน(Shan Democratic Union)
  15. เครือข่ายเกษตรกรคะเรนนี(Karenni Farmers' Network)
  16. พรรคประชาธิปไตยเพื่อสังคมใหม่ (Democratic Party for a New Society)
  17. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติกะเหรี่ยง (Karen Nature Conservation Group)
  18. กลุ่มพระสงฆ์แห่งรัฐฉาน(The Buddhist Sangha of Shan State)
  19. กลุ่มเพื่อนประชาชน (Friends of the People)
  20. เครือข่ายผู้หญิงแห่งรัฐฉาน (Shan Women's Action Netwok)
  21. กลุ่มกรีนโนเวมเบอร์ 32 (Green Novemer 32)
  22. เครือข่ายชาติพันธุ์ศึกษา (Ethnic Studies Centre, Chiang Mai)
  23. องค์การสตรีคะเรนนีแห่งชาติ (Karenni National Women's Organisation)
  24. องค์การเพื่อเสรีภาพปะโอ (Pa-O People's Liberation Organisation)
  25. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย  ในพระบรมราชินูปถัมภ์(Wildlife Fund Thailand)
  26. องค์การรัฐฉาน (Shan State Organisation)
  27. สภาเยาวชนและนักศึกษาพม่า(The Students and Youth Congress of Burma)
  28. กลุ่มศึกษากฎหมายและสิทธิมนุษยชนคะเรนนี(Karenni Human Rights and Law Education Team)
  29. โครงการช่วยเหลือผู้อพยพ(Migrant Assistance Program)
  30. แนวหน้าเสรีภาพของประชาชนแห่งพม่า(People's Liberation Front of Burma)
  31. กลุ่มเครือข่ายเยาวชนปะหล่อง(Palaung Youth Network Group)
  32. องค์กรคณาจารย์คะเรนนี(Karenni Teachers' Union)
  33. กลุ่มเครือข่ายนักเรียนกะเหรี่ยง(Karen Student Network Group)
  34. คณะกรรมการต่อต้านทางการเมืองของสภาแห่งชาติแห่งสหพันธรัฐพม่า(Political Defiance Committee of the National Council of the Union of Burma)
  35. หน่วยงานข่าวสารและสิทธิมนุษยชนคะเรนนี(Karenni Human Rights and News Agency)
  36. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (Northern Farmers Network)
  37. เท็ดดี้ บุรี(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)เขตเลือกตั้งลอยแก้ว 2 สมาพันธ์เพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ รัฐคะเรนนี
  38.  ขุนมาโก บาน(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)เขตเลือกตั้งเปคอน องค์กรประชาธิปไตยเพื่อรัฐคะยาน
  39.  ไสวินเพ(สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)เขตเลือกตั้งมองสู สมาพันธ์แห่งชาติรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย 
  40.  แดเนียล อุง (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)เขตเลือกตั้งมองเป็ง พรรคพัฒนาชาติละหู่ รัฐฉาน

**************************************************************************************

แถลงการณ์

กรณีการประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำสาละวิน

  1. เราขอต่อต้านการสร้างเขื่อนบนลุ่มน้ำสาละวินที่ปราศจากความเห็นชอบของคนในท้องถิ่นอย่างถึงที่สุด

  2. จะต้องไม่มีการร่างโครงการใด ๆ ขึ้นมาบนลุ่มน้ำสาละวินจนกว่าจะมีรัฐบาลพม่าซึ่งเป็นตัวแทนของคนท้องถิ่นอย่างแท้จริง

  3. โครงการทั้งหลายจะดำเนินการต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีการประเมินผลกระทบทุกด้านที่เหมาะสมแล้วเท่านั้น

  4. โครงการเขื่อนใด ๆ ก็ตามจะต้องดำเนินการตั้งแต่เริ่มจนเสร็จสิ้นด้วยความโปร่งใสที่สุด

คณะกรรมการกลางองค์การยุวชนกะเหรี่ยง

11 กันยายน 2542

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา