eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

อินไซด์จากริมเขื่อน เอ็นจีโอ 12 ชาติ ประสานมือ-สู้เพื่อแม่น้ำ

ข่าวสด หรรษา อาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม 2543

เรื่อง / ภาพ : พิเชษฐ์ บุตรปาละ

เมื่อไม่กี่วันก่อน องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับแม่น้ำและเขื่อน อาทิ Oxfam America, Earth Rights International, international Rivers Network (IRN), Friends of ter Earth, National Dam Opposition-Japan, Makong Watch Japan กว่า 60 คน จาก 12 ประเทศ

ประกอบด้วย เกาหลี จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย พม่า ไต้หวัน เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และฮ่องกง ร่วม กันจัดการประชุมว่าด้วยเรื่องเขื่อน แม่น้ำ และประชาชน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประชุมครั้งนี้มีขึ้นที่อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ที่ตั้งของเขื่อนอื้อฉาว'ปากมูล'นั่นเอง

ตัวแทนองค์กรต่างเข้าร่วมประชุมด้วยความหวังว่า สิ่งที่จะแลกเปลี่ยนในระหว่างการประชุมนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อ การรณรงค์รักษาสายน้ำทุกสายในโลก ให้คงความเป็นธรรมชาติ ไหลรินอย่างอิสระ ปราศจากการกั้นขวางของเขื่อน และสิ่งแปลกปลอมใดๆ

ป้าย ตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนราษีไศล แสดงความเห็นในที่ประชุมว่า ปัญหาหลักที่คุกคามแม่น้ำ ในไทย คือ เขื่อน โรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ

การดูดทราย ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเดินน้ำ

การตัดไม้ทำลายป่า เป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสายน้ำ

น่าแปลกใจที่รัฐบาล พยายามผลักดันโครงการใหญ่สู่แม่น้ำ เช่น เขื่อน บรรดานักการเมือง, ข้าราชการ, นายทุนรับเหมา ก่อสร้าง ที่สานต่อโครงการของรัฐบาล การเข้ามาของเงินทุนข้ามชาติ ที่เสนอเงินกู้ เทคโนโลยีการสร้างเขื่อน ไม่ว่าจะ เป็นเอดีบี ธนาคารโลก

ชาวบ้านก็คือชาวบ้าน ไม่เคยได้รับการถามไถ่ถึงความต้องการ ไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะต่อรองกับรัฐบาล หรือเจ้าของเขื่อน

ที่ผ่านมาข้อมูลข่าวสารหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนแต่ละเขื่อน ถูกปิดบังจากเจ้าของโครงการ ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมชลประทาน หรือหน่วยงานอื่นๆ กว่าจะรู้การก่อสร้างก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว

เมื่อชาวบ้านรวมตัวกันเพื่อต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมก็จะถูกจัดการโดยมาตรการของรัฐ เช่น การออกหมายจับแกน นำชาวบ้าน เช่นในกรณีเขื่อนปากมูล และเขื่อนราษีไศล

วรรณ พิเสส ชาวกัมพูชา ตัวแทนจากเซปา (CEPA-Church and Environment Preservation Association) เล่าว่า ใน ประเทศกัมพูชายังไม่มีการสร้างเขื่อน ถึงกระนั้นชาวกัมพูชาก็ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนยาลี (YALI) ในประ เทศเวียดนาม

เขื่อนดังกล่าวสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2536 ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม ห่างจากจังหวัดรัตนบุรี ประเทศกัมพูชา ประ มาณ 70 กิโลเมตร สร้างกั้นแม่น้ำเซซาน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 720 เมกะวัตต์

แม่น้ำเซซานมีต้นกำเนิดในเวียดนาม เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง และไหลลงแม่น้ำโขงที่จังหวัดสติง แตร่ง ของ กัมพูชา

ในปีพ.ศ.2539 มีการทดลองปล่อยน้ำจากเขื่อนยาลี ลงสู่แม่น้ำเซซาน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชาวกัมพูชา มากมาย จากการวิจัยพบว่า ชนกลุ่มน้อย 12 กลุ่ม ที่อาศัยอยู่ตามริมสองฝั่งแม่น้ำเซซานได้รับผลกระทบโดยตรง

ปีพ.ศ.2542-2543 มีชาวกัมพูชาเสียชีวิต 32 ราย เนื่องจากถูกน้ำจำนวนมหาศาลที่ปล่อยจากเขื่อนยาลี พัดพาไปใน ระหว่างที่กำลังทำการเกษตร ประมง และร่อนทองอยู่ตามริมแม่น้ำ เหตุการณ์เกิดขึ้นรวดเร็ว โดยไม่มีสัญญาณเตือนภัย ใดๆ พวกเขารู้ตัวก็เมื่อคลื่นน้ำสูงกว่า 2 เมตรถึงตัวแล้ว

นอกจากนี้ คลื่นยักษ์ขนาดใหญ่ยังส่งผลให้เกาะเล็กๆ ในแม่น้ำเซซาน เขตจังหวัดรัตนบุรี ซึ่งอยู่ต้นแม่น้ำสูญหายไป หลายเกาะ ตลิ่งแม่น้ำเสียหายยับเยิน ต้นไม้ใหญ่น้อยที่ไม่อาจต้านแรงน้ำ หักโค่นลงเป็นแถบ

การทดลองปล่อยน้ำในเขื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากน้ำที่กักเก็บไว้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างเกิดเน่าเสีย ซึ่งเมื่อปล่อยลงสู่แม่น้ำก็ส่ง ผลให้น้ำในแม่น้ำเสียไปด้วย ชนกลุ่มน้อยที่ใช้น้ำในแม่น้ำอุปโภคบริโภคต่างป่วยเป็นโรคผิวหนังและโรคทางเดิน อาหาร แม้แต่สัตว์เลี้ยงก็ล้มป่วยด้วย

หลังการปล่อยน้ำแต่ละครั้ง เครื่องมือประมง อาทิ ลอบ ตุ้ม จั่น ของชาวประมงสูญหายไปกับสายน้ำ ส่งผลให้ชาวประ มงซึ่งยากจนอยู่แล้วต้องพบกับความทุกข์เพิ่มมากขึ้น พวกเขาไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อเครื่องมือหรืออุปกรณ์การประมง ใหม่

ขณะเดียวกันจำนวนปลาในแม่น้ำเซซานก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากที่มีการสร้างเขื่อนยาลี เนื่องจากปลาไม่ สามารถว่ายขึ้นไปวางไข่ที่ต้นน้ำได้เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการวิจัยแน่ชัดว่าพันธุ์ปลาในแม่น้ำเซซานแห่งนี้ลดลงบ้างหรือไม่ ที่ผ่านมาองค์กรพัฒนาเอกชน และชาวบ้านได้เรียกร้องให้มีการทำการวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพน้ำและพันธุ์ปลา

"ตัวแทนรัฐบาลกัมพูชาเคยเจรจากับทางรัฐบาลเวียดนาม แต่ทางเวียดนามบอกแต่เพียงว่าเสียใจเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อวิถีและชีวิตของชาวบ้านที่สูญเสียไป ชาวกัมพูชารับเรื่องนี้ไม่ได้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เพราะต้นตอของปัญหา ไม่ได้เกิดภายในประเทศ" ตัวแทนจากเซปา ชาวกัมพูชา กล่าว

ขณะเดียวกันตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนจากประเทศเวียดนาม นำเสนอในที่ประชุมว่า มลพิษจากอุตสาหกรรมโรง งานกระดาษ และการตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาหลักที่ทำลายแม่น้ำในประเทศเวียดนาม

หลายฝ่ายมองว่าชนกลุ่มน้อยในเวียดนามคือกลุ่มที่ตัดไม้ทำลายป่ามากที่สุด แต่ความจริงเป็นเพียงภาพที่รัฐบาลและ นายทุนสร้างขึ้นมาเท่านั้น ชนกลุ่มน้อยเพียงแต่ใช้ประโยชน์ในการหาของป่าเพื่อดำรงชีวิตเท่านั้น

ในส่วนของเขื่อนนั้น รัฐบาลเวียดนามมีข้อตกลงกับกองทุนระหว่างประเทศที่จะก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำสายต่างๆ ประเทศเวียดนามไม่มีประชาธิปไตย การเสนอปัญหาต่างๆ ของประชาชนจึงเป็นไปด้วยความลำบาก

รัฐบาลควบคุมนโยบายและมีการวางแผนด้านเศรษฐกิจ วางแผนเวนคืนที่ดินเพื่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม องค์กรพัฒนา เอกชนในเวียดนามพยายามที่จะรณรงค์ให้รัฐบาลมองเห็นประโยชน์ของการสร้างเขื่อน ขนาดเล็ก มากกว่าที่จะตกลง ใจสร้างเขื่อนขนาดใหญ่

มาสะฮิโตะ ยูจิอิ ตัวแทนจาก National Dam Opposition Network-Japan ซึ่งมีเครือข่าย62องค์กร ทั่วประเทศญี่ปุ่น กล่าวถึงปัญหาเขื่อนในประเทศญี่ปุ่นว่า ขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นมีเขื่อนมากกว่า 3,000เขื่อน และมีโครงการจะก่อสร้างอีก 300 เขื่อน

แม่น้ำในประเทศญี่ปุ่นมีลักษณะคล้ายน้ำตก ที่ไหลจากเทือกเขาลงสู่พื้นที่ราบ ในอดีตชาวญี่ปุ่นมีการชลประทานที่เป็น ระบบเหมืองฝาย มีการจัดการน้ำเอง ชาวบ้านมีสิทธิใช้น้ำ ต่อมามีการสร้างเขื่อน โดยที่เจ้าของโครงการอ้างว่าเพื่อป้อง กันน้ำท่วม เพื่อการชลประทาน หรือเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

เขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคือ เขื่อนโตกุยามะ กั้นแม่น้ำอีบิ (Ebi) ในจังหวัดจิฟู (Gifu) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการ ก่อสร้าง

มาสะฮิโตะ ยูจิอิ บอกว่า องค์กรของเขารณรงค์คัดค้านการสร้างเขื่อนมิยากาเสะ ที่สร้างกั้นแม่น้ำซากามิ ในจังหวัดคา นากาวะ สันเขื่อนยาว400เมตร เป็นเขื่อนที่ใช้คอนกรีตในการก่อสร้างมากที่สุด มูลค่าการก่อสร้าง 8,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ ซึ่งแพงที่สุดตั้งแต่มีการก่อสร้างเขื่อนในประเทศญี่ปุ่น และจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2544

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเขื่อนแห่งนี้ก็คือ ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำไม่มีที่อยู่อาศัย สัตว์น้ำ และปลาหลายชนิดได้ รับผลกระทบ เช่น ปลาอายู เป็นปลาที่รสชาติดีและเมื่อนำมาประกอบอาหารแล้วจะมีกลิ่นหอม ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภค ปลาชนิดนี้มาก

ปลาอายูอาศัยอยู่เฉพาะน้ำที่ใสสะอาด ดังนั้น จึงเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำได้เป็นอย่างดี ปลาอายูจะว่ายทวน น้ำขึ้นมาวางไข่ที่ต้นน้ำ เมื่อเป็นตัวพวกมันจะพากันว่ายกลับไปยังทะเล เมื่อถึงเวลาพวกมันจะพากันว่ายขึ้นไปวางไข่ ที่ต้นน้ำอีกครั้ง จากนั้นก็ตาย เพราะชีวิตของปลาชนิดนี้มีชีวิตอยู่ได้เพียงปีเดียว

นอกจากนี้ แมลงปีกแข็งหายาก 4 ชนิดได้สูญหายไปจากพื้นที่

ที่ประเทศญี่ปุ่น มองสัตว์หายากตรงที่ดีเอ็นเอของสัตว์เหล่านั้น จริงอยู่ที่ปลาอายูหรือแมลงปีกแข็ง 4 ชนิดยังสามารถ พบเห็นได้ในแม่น้ำสายอื่นในประเทศ แต่ปลาอายูหรือแมลงปีกแข็งที่มีดีเอ็นเอลักษณะนี้ได้สูญหายไปแล้ว

ต่ำลงจากเขื่อนมิยากาเสะในแม่น้ำสายเดียวกัน เขื่อนซากามิ โอเซกิ สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2541 โดยข้ออ้างที่ว่า เพื่อเก็บ กักน้ำไปใช้ทำน้ำประปา แต่ความจริงแล้วน้ำประปาที่ใช้ในบริเวณโดยรอบเขื่อนนั้นเพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว

และที่สำคัญห่างจากเขื่อนซากามิ โอเซกิ เพียง6กิโลเมตร ก็มีเขื่อนอีกแห่งหนึ่งชื่อซามูกาวา-เซกิ ซึ่งจากการเจรจากับ เจ้าของโครงการสร้างเขื่อน ทำให้รู้ว่า ถึงแม้ว่าเขื่อนแห่งนี้จะสร้างมานานกว่า 30 ปี แต่ก็ยังมีศักยภาพในการเก็บกักน้ำ เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำประปาได้

แม่น้ำซากามิ มีเขื่อนที่มีอายุมากกว่า50ปี และเขื่อนแห่งนี้มีทรายไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำปีละประมาณ 500,000 ลูกบาศก์ เมตร ทำให้เจ้าของเขื่อนต้องขุดลอกทรายออกทุกปี ปีละ 250,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่อรักษาสภาพของเขื่อนดังกล่าว และป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เหนือเขื่อน

มาสะฮิโตะ ยูจิอิ บอกอีกว่า นอกจากเขื่อนแล้วที่ญี่ปุ่นยังมีประตูน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อกันน้ำทะเลไม่ให้หนุนเข้ามายัง แม่น้ำสายต่างๆ หลายแห่ง เช่น ประตูน้ำทาการะ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2537 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาวประมงที่หากิน ในบริเวณปากน้ำ เนื่องจากหอยชีชิมิ ซึ่งเป็นหอยที่มีรสชาติดีและเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นลดจำนวนลงอย่างน่าเป็น ห่วง ทำให้ชาวประมงรวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ประตูน้ำดังกล่าวอยู่ในแผนการก่อสร้างเมื่อ30ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นมีสูง มาก แต่ทุกวันนี้ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศในโลก รัฐบาลคิดเพียงว่าเมื่อมี การกำหนดแผนไว้แล้ว จำป็นต้องสร้างให้ได้ตามแผน ไม่ได้มองที่ความจำเป็นที่แท้จริงเลย

หม่า หยง-วุน ตัวแทนจากเคเอฟอีเอ็ม (KFEM-Korean Federation of Environment Movements) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่ง แวดล้อมในประเทศเกาหลี นำเสนอว่า เกาหลีมีแม่น้ำหลัก 4 สาย แม่น้ำฮัน เป็นหนึ่งในแม่น้ำ 4 สายหลัก อยู่ทางตอน เหนือของกรุงโซล ซึ่งมีประชากรมากกว่า 12 ล้านคนอาศัยอยู่

เขื่อนที่สร้างกั้นแม่น้ำฮัน ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำสายหลักสายนี้มากมาย นอกจากนี้ ปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือการ พัฒนาอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเกาหลีมีความพยายามที่จะสร้างเขื่อนอีก36เขื่อน ในอีก11ปีข้างหน้า

หม่า หยง-วุน บอกกับที่ประชุมว่า พวกเขาประสบผลสำเร็จในการคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนในแม่น้ำตง แม่น้ำสาขาของ แม่น้ำฮัน และเป็นแม่น้ำสายเดียวในประเทศที่ยังไม่มีเขื่อน

แม่น้ำตงไหลคดเคี้ยวผ่านเทือกเขาหินปูน แรงน้ำได้กัดเซาะหน้าผาจนกลายเป็นถ้ำมากกว่า200แห่ง สัตว์ป่า, นกที่หา ยาก ตลอดจนปลา17ชนิดที่พบเห็นเฉพาะในแม่น้ำตง คือความสำคัญของสายน้ำ ที่นอกเหนือจากความสวยงามของ ธรรมชาติ

เมื่อปีที่แล้วมีการประชุมองค์กรอนุรักษ์นกในพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่ประชุมต้องการให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบริเวณแม่น้ำตง เพราะมีความพิเศษต่างจากพื้นที่อื่นในโลก

ปีพ.ศ. 2537 พวกเขารู้ว่า โกวาโค (KOVACO-Korea Water Resources Corporation) ซึ่งเป็นองค์กรจัดดูแลและจัดการ น้ำในประเทศเกาหลี มีความพยายามที่จะสร้างเขื่อนในแม่น้ำตง โดยอ้างว่าเพื่อควบคุมน้ำท่วม และเก็บกักน้ำเพื่อนำ ไปใช้ในการทำน้ำประปา พวกเขาจึงเริ่มรณรงค์เรียกร้องให้ยุติโครงการ

การรณรงค์ได้รับการตอบรับจากสื่อมวลชนและสาธารณชนอย่างกว้างขวาง ความสวยงามของสายน้ำถูกนำเข้าไปใส่ ไว้ในเว็บไซต์ ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเกิดประโยชน์ต่อการต่อสู้เรียกร้องอย่างมาก

การชักชวนผู้สนใจเดินทางเข้าไปเที่ยวชมความสวยงามของแม่น้ำ ทำให้เรื่องราวของแม่น้ำตงถูกถ่ายทอดเป็นวงกว้าง และทุกครั้งที่มีการแสดงพลัง สาธารณชนตอบรับอย่างเต็มที่ สุดท้ายรัฐบาลจะต้องล้มเลิกโครงการ

ในประเทศฟิลิปปินส์ การต่อสู้เรียกร้องเพื่อแม่น้ำ เป็นไปด้วยความลำบาก รัฐบาลร่วมมือกับบริษัทเอกชน ซื้อองค์กร พัฒนาเอกชนใหญ่ๆ หรือเอาเข้ามาเป็นพวก

นอกจากนี้ รัฐบาลพัฒนาหน่วยงานของตนขึ้นมาเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน และใช้ยุทธวิธีเดียวกัน ในการรณรงค์ให้ โครงการต่างๆ ของรัฐบาลดำเนินต่อไป

นอกจากนี้ มีการพยายามทำให้การต่อสู้เรียกร้องของชาวบ้านให้กลายเป็นประเด็นการเมือง ทำให้นักการเมืองเข้ามามี บทบาทตรงนั้นมากขึ้น

นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ตัวแทนเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุปภาพรวมของ 12 ประเทศที่นำเสนอว่า สาเหตุหลักในการทำลายแม่น้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหมือนกันก็คือการสร้างเขื่อน และโครงการผันน้ำขนาด ใหญ่ ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรม การตัดไม้เพื่อการค้า ปัญหาเรื่องการทำเหมืองแร่ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ที่มีผล กระทบต่อแม่น้ำมาก นอกจากนี้ การปลูกพืชที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นการทำลายพื้นที่ลุ่มน้ำ

สิ่งที่แต่ละประเทศเผชิญร่วมกันคือ การเปลี่ยนสิทธิในการใช้ทรัพยากร จากชาวบ้านไปสู่เอกชนที่ได้รับสัมปทาน เรื่อง นโยบายและสถานการณ์ทางการเมือง รัฐบาลที่อ่อนแอที่ต้องดำเนินนโยบายตามความต้องการของภายนอก ไม่ใช่ความ ต้องการของประชาชน และความต้องการของประเทศหนึ่งไปทำลายแม่น้ำของอีกประเทศหนึ่ง หรือความต้องการน้ำ จากประเทศหนึ่งไปทำลายสภาพธรรมชาติของอีกประเทศหนึ่ง เช่น ไทยต้องการน้ำและไฟฟ้าไปทำลายธรรมชาติของ แม่น้ำในประเทศอื่น

สำหรับผู้ที่มีบทบาทในการทำลายแม่น้ำนั้น นอกจากรัฐบาลของแต่ละประเทศที่ไม่มีความรู้สึกหวงแหนในทรัพยากร ของประเทศแล้ว องค์กรที่อ้างตัวว่า ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เช่น เอดีบี ธนาคารโลก หรือองค์กรที่จัดตั้งมาเพื่อ พัฒนาแม่น้ำ ก็เป็นตัวการสำคัญที่เข้ามากดดันรัฐบาลในแต่ละประเทศให้สร้างเขื่อน

ใครคนหนึ่งกล่าวขึ้นว่า "เมื่อไหร่ที่สายน้ำหยุดไหล เมื่อนั้นชีวิตของสายน้ำได้หยุดลง"

กลุ่มคนเล็กๆ จาก 12 ประเทศ ที่น้อยทั้งจำนวนและอำนาจต่อรอง ปรึกษาหารือกันในห้องประชุมแบบชาวบ้านๆ

เพื่อรักษาแม่น้ำให้มีชีวิตและธรรมชาติตราบเท่านาน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา