eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

คณะกรรมการเขื่อนโลก

World Commission on Dams

 เวปไซท์ WCD : www.dams.org

ข้อมูล WCD จาก International Rivers Netwrok

 

      คณะกรรมการเขื่อนโลก ( The World Commission on Dams, WCD ) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 โดยการสนับสนุน ของธนาคารโลก (World Bank) และ IUCN (The World Conser-vation Union) โดยที่คณะกรรมการนี้เป็นองค์กร อิสระไม่ขึ้นกับองค์กรที่สนับสนุน การก่อตั้งทั้งสอง  

                บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตามสองเป้าหมายหลักที่ได้ตั้งไว้คือ เพื่อศึกษาทบทวนผลกระทบ ของโครงการเขื่อนและ ประเมินทาง เลือกในการพัฒนาแหล่งน้ำและพลังงาน และเพื่อพัฒนามาตรฐาน แนวทางและเกณฑ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับ สากลในการทำการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตามผล ดำเนินงาน และการรื้อถอนเขื่อน

           บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการเขื่อนโลกยังรวมไปถึงการศึกษาโครงการเขื่อนทั้งในรายกรณี และ ทั้งลุ่มน้ำ ผลการทำงานยัง ได้ถูก รวมไปถึง “ความเข้าใจของความเที่ยงตรงแม่นยำของการประเมินค่าต้นทุน และผลประโยชน์ที่ใช้ในขบวนการวางแผนการสร้างเขื่อน” และ “ความจำเป็นในการฟื้นฟูระบบนิเวศน์และ การจ่ายค่าชดเชยย้อนหลังในกรณีที่ที่มีความต้องการ”

           การริเริ่มในการจัดตั้งคณะกรรมการทบทวนเขื่อนนี้เกิดขึ้นจากการประชุมนานาชาติประชาชนผู้ได้ รับผลกระทบจากเขื่อนซึ่งจัดขึ้น ที่เมืองคิวริทิบา (Curitiba) ประเทศบราซิล เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2540 ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมลงนามในประกาศแห่งคูริทิบา (Curitiba Declaration) ซึ่งเรียกร้องให้มีการยุติการสร้าง เขื่อนจนกว่าข้อเรียกร้องต่างๆจะได้บรรลุผลซึ่งรวมไปถึงการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระสากล เพื่อดำเนินการ ศึกษาทบทวนอย่างครอบคลุมในโครงการเขื่อนขนาดใหญ่

                คณะกรรมการนี้ประกอบด้วยกรรมการไม่เต็มเวลา 12 ท่าน ซึ่งรวมถึงประธานคือศาสตราจารย์ Kader Asmal รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำ ประเทศแอฟริกาใต้ และรองประธานคือ Shri Lakshmi Jain เอกอัคราชฑูตประเทศอินเดียประจำประเทศแอฟริกาใต้ คณะกรรมการประกอบด้วย Medha Patkar ซึ่งเป็น ผู้ก่อตั้ง Narmada Bachao Andolan ( การต่อสู้เพื่อปกป้องแม่น้ำนามาดา) Joji Carino เลขาธิการของ Interna -tional Alliance of Indigenous-Tribal Peoples of the Tropical Forest. Deborah Moore นักวิทยาศาสตร์อาวุ- โสของ Environmental Defense Fund และ Judy Henderson ประธานของ Oxfam International กองเลขานุ- การซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เต็มเวลาประมาณ 10 ท่านขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการแต่งตั้ง หัวหน้ากอง เลขานุการ จะดำรงตำแหน่งโดย Achim Steiner อดีตเจ้าหน้าที่ของ IUCN ซึ่งได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเจราจาก่อตั้ง คณะกรรมการนี้อย่างใกล้ชิด มาตั้งแต่เริ่มต้น กองเลขานุการนี้จะตั้งอยู่ที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ 

                 บทบาทหน้าที่และรายชื่อของคณะกรรมการได้ถูกยอมรับโดยกลุ่มคณะผู้ร่วมการประชุม ซึ่งมี ประมาณ 40 ท่านจากกลุ่มอุตสาห กรรมการสร้างเขื่อน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน องค์กรพัฒนา- เอกชน ภาครัฐ และ สถาบันการศึกษา ซึ่งได้ร่วมประชุมที่เมืองแกลนด์ (Gland) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก และ IUCN 

                 การประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการเขื่อนโลกถูกจัดขึ้นที่วอชิงตัน ดีซี ในเดือนพฤษภาคม ครั้งที่ 2 ถูกจัดขึ้นที่เมืองเคปทาวน์ เมื่อเดือน กันยายน การประชุมครั้งที่ 3 รวมทั้งการไต่สวนสาธารณะจะจัด ขึ้นที่ประเทศศรีลังกาในเดือนธันวาคมนี้ รายงานสรุปขั้นสุดท้ายของคณะกรรมการ ได้ถูกกำหนดให้เสร็จสิ้น ภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2543

                 งบประมาณเบื้องต้นสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการเขื่อนโลกมีประมาณ 8.4 ล้านเหรียญ สหรัฐซึ่งกำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นมาจาก องค์กรเงินทุนนานาชาติ องค์กรเงินทุนระหว่างประเทศ และแหล่งเงิน ทุนเอกชนต่างๆ ซึ่งผู้สนับสนุนหลักน่าจะเป็นรัฐบาลของประเทศ เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสวิสเซอร์แลนด์  

                ในการประชุมครั้งล่าสุดของคณะกรรมการที่เมืองเคปทาวน์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้สรุปให้ คณะกรรมการดำเนินการศึกษาทบทวน 13 ลุ่มน้ำ และ ตรวจสอบเขื่อนในรายกรณี 100-200 เขื่อน การศึกษา กรณีลุ่มน้ำจะเป็นส่วนหลักของการศึกษาทั้งหมด ในแต่ละลุ่มน้ำศึกษาจะมี เขื่อน หลักที่จะถูกพิจารณาศึกษา ในรายละเอียด นอกจากเขื่อนหลักแล้วการศึกษากรณีลุ่มน้ำนี้ยังจะได้ศึกษาถึง

                  ก.เขื่อนสำคัญขนาดใหญ่อื่นๆที่จำเป็นที่ต้องมีการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกับบทบาทและผลกระ ทบของเขื่อนหลักที่จะศึกษา

                 ข.การศึกษาทั้งลุ่มน้ำ 

                 การตรวจสอบเขื่อนรายกรณี 100-200 เขื่อนนั้นจะดำเนินการศึกษาทั้งในด้านข้อมูลเชิงปริมาณของ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ แต่ ละเขื่อนต่างๆกัน ( เช่น โครงการกับข้อมูลที่แท้จริงของการชลประทาน การผลิตไฟฟ้า ) และข้อมูลเชิงคุณภาพในด้านผลกระทบการพัฒนา

           คณะกรรมการจัดการไต่สวนสาธารณะขึ้นเพื่อให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อนและกลุ่มผู้ที่มีความสนใจได้นำเสนอข้อมูล ของตน ซึ่งการใต่สวนสาธารณะที่จัดขึ้นที่ประเทศศรีลังกาใน เดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้มีองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชนจาก ประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังคลาเทศ และศรีลังกา เข้าร่วมจำนวนมาก

           แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งใน 13 ลุ่มน้ำที่คณะกรรมการได้ทำการศึกษาโดยที่เขื่อนปากมูลถูกเลือกเป็น 1 ในเขื่อนหลักของการศึกษา  เขื่อนหลักขนาดใหญ่จะได้รับ การศึกษาทบทวนในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้

         - การประเมินผลประโยชน์และต้นทุนที่แท้จริงที่ได้เกิดขึ้น ตามเป้าหมายที่โครงการได้วางไว้

         - การประเมินค่าต้นทุนและผลประโยชน์ที่ไม่ได้มีการประเมินล่วงหน้ามาก่อน และที่จำเป็นในการ นำมาวิเคราะห์ถึงต้นทุนและผล ประโยชน์ที่แท้จริง

         - การกระจายของภาระต้นทุนและผลประโยชน์ ใครได้รับหรือเสียผลประโยชน์

         - ในความเป็นจริงแล้วเกณฑ์การตัดสินใจหรือแนวทางการดำเนินงานได้ถูกปฏิบัติตามอย่างเคร่ง ครัดเพียงใด

         - การพิจารณาตัดสินใจในการวางแผน การดำเนินงาน และการติดตามผลของแต่ละเขื่อนขนาดใหญ่ และโครงการพัฒนาทั้งลุ่มน้ำ ต่างๆนั้นถูกมีขึ้นอย่างไร ใครคือผู้ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

         - หากพิจารณาตามมาตรฐานการตัดสินใจที่ใช้ในปัจจุบัน โครงการเขื่อนที่สร้างไปแล้วนั้นสมควรที่ จะถูกสร้างขึ้นหรือไม่

         - การรื้อถอนเขื่อน และการชดเชยหรือการจ่ายค่าชดเชยย้อนหลังแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเขื่อน               

               ในขณะนี้รายงานการศึกษากรณีเขื่อนปากมูลกำลังจะเสร็จสมบูรณ์    ค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เวปไซท์ของคณะกรรมการเขื่อนโลกที่ www.dams.org

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา