eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

 

 

“เขื่อนเถื่อนเขื่อนที่กรมพัฒนาฯละเมิดกฎหมาย”

สมัชชาคนจน

ความเป็นมา

โครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล เป็นโครงการผันน้ำขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ๔๙๘ ล้านไร่ ใน ภาคอีสาน ซึ่งรับผิดชอบโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยการ สูบน้ำจากแม่น้ำ โขงลงสู่ห้วยหลวงในเขตอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และผันลงสู่แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และลำน้ำ สาขา โดยการสร้างเขื่อน ๒๒ เขื่อนเพื่อควบคุมปริมาณน้ำ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลถึง ๒๒๖,๐๐๐ ล้านบาท ใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการ ทั้งสิ้น ๔๒ ปี โดยแบ่งโครงการออกเป็น ๓ ระยะ โดยในระยะแรก ใช้เวลาดำเนินโครง การ ๙ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔–๒๕๔๓ โดยการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำมูล ๕ เขื่อน ลำน้ำชี ๕ เขื่อน และลำน้ำสาขาอื่นๆ ๔ เขื่อน

เขื่อนหัวนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโครงการโขง ชี มูล ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ขณะที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๒ ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดขอนแก่น ให้ สร้างฝายยางกั้น แม่น้ำมูล บริเวณบ้านหัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ และเก็บกักน้ำไว้เพียงตลิ่งแม่น้ำมูล แต่เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๕ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกลับดำเนินการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีต ตัวเขื่อนมีความ กว้าง ๒๐๗.๓ เมตร มี ๑๔ บาน ประตู ซึ่งถือว่าเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโครงการโขง-ชี-มูล (ขนาดใหญ่กว่าเขื่อนราษี ไศล ๒ เท่า) กั้นแม่น้ำมูลบริเวณบ้านกอก ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งสถานที่ก่อสร้างใหม่ห่างจาก บริเวณที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ถึง ๑๐ ก.ม. โดยใน เอกสารเผยแพร่โครงการระบุว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๓๘  ปัจจุบันเหลือเพียงการถมดินกั้นแม่น้ำมูลเพื่อเปลี่ยน เส้นทางของสายน้ำ การก่อสร้างเขื่อนหัวนาก็จะเสร็จ สมบูรณ์  

สภาพปัญหา

๑. ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการสร้างเขื่อนหัวนาให้ชาวบ้านและสาธารณชนรับรู้ จนกระทั่งปัจจุบันที่การก่อสร้างตัว เขื่อน คอนกรีตใกล้เสร็จสมบูรณ์ เหลือเพียงการถมดินกั้นแม่น้ำมูลเพื่อเปลี่ยนทางน้ำเท่านั้น แต่ราชการยังไม่มีการชี้แจง ข้อมูลให้ ชาวบ้านรับรู้เลยว่า น้ำจะท่วมถึงบริเวณใดบ้าง หมู่บ้านไหน

๒. ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมในการะบวนการตัดสินใจในการก่อสร้างโครงการ

๓. การก่อสร้างขัดกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๒ ที่อนุมัติโครงการให้ทำเป็นฝายยางกั้นแม่น้ำมูลที่ บ้าน หัวนา ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ  แต่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกลับสร้างเป็นเขื่อนคอนกรีต ขนาด ๑๔ ประตู กั้นน้ำมูลบริเวณบ้านกอก ต.หนองแก้ว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งห่างจากจุดเดิมที่มติคณะรัฐมนตรี กำหนดไว้ ประมาณ ๑๐ ก.ม. ตามลำน้ำมูล

๔. ไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่สมบูรณ์ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าลักษณะ โครงการ จะเข้าเงื่อนไขที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำที่มาก กว่า ๑๕ ตาราง กิโลเมตร และปริมาตรน้ำที่เกิน ๑๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร

๕. จากการที่ไม่มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผล ให้ไม่มี การแสดงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ มาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจ สอบผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

๖. จากบทเรียนที่เกิดขึ้นกับผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนราษีไศลที่มีลักษณะของโครงการและ สภาพของพื้นที่ ใกล้เคียงกัน รวมกับประสบการณ์ของชาวบ้านในพื้นที่ เห็นว่า โครงการเขื่อนหัวนาจะก่อให้เกิดปัญหากับชุมชนและ ทรัพยากรหลายประการ

๖.๑ ต้องอพยพชาวบ้าน ๒ หมู่บ้าน คือบ้านหนองโอง หนองหวาย ต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ

๖.๒ การสร้างเขื่อนหัวนาทำให้น้ำท่วมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านของชาวบ้านในพื้นที่ ๕ อำเภอ คือ อ.กันทรารมย์ อ.เมือง อ.อุทุมพร อ.ยางชุมน้อย อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

๖.๓ กรณีน้ำท่วมนอกของอ่างเก็บน้ำ เนื่องจากโครงการเขื่อนหัวนา มีการทำคันดิน กั้นปากห้วยและบริเวณที่ตลิ่งของ แม่น้ำมูลมีระดับต่ำ ทำให้เมื่อถึงฤดูฝนน้ำฝนจะไม่สามารถไหลลงแม่น้ำมูลได้และจะเอ่อท่วมที่ทำกินของชาวบ้านใน ที่สุด

๖.๔ ตลอดระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร เหนือเขื่อนหัวนา อุดมไปด้วย ป่าทาม ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ซึ่งจะต้องเสียหายจาก เขื่อนหัวนา

                                                                                                                                        นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดี การสูญเสียอาชีพประมง ปัญหาดินเค็มน้ำเค็ม ปัญหาน้ำท่วมดินปั้นหม้อและผลกระทบ อื่นๆ อีกมากมาย

ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน  มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๒๕๔๓  มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๒๕๔๓

และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.

 สมัชชาคนจน       

ข้อเรียกร้องชาวบ้าน

มติคณะกรรมการกลางฯ

มติคณะรัฐมนตรี

ข้อคิดเห็นสมัชชาคนจน

๑)ระงับการดำเนิน โครง การโดยต้องมีหลักประ กัน ว่าจะมีการบังคับ ใช้ได้จริง

คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่าควรระงับ โครงการทั้งหมด ไว้ก่อน เพื่อให้มีการ ศึกษาผลกระทบทาง ด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม ซึ่งดำเนินการโดยคณะผู้ ศึกษา ที่ไม่ใช่หน่วยงานเจ้าของโครง การ โดยมอบให้สำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วย งานรับผิดชอบใน การจัดจ้างและกำกับ การศึกษา หน่วยงานที่จะมาทำหน้า ที่ศึกษา จะต้องเป็นสถาบันที่เป็นกลาง ทั้งนี้ต้องมีตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนเข้า ร่วมเป็น กรรมการกำกับ และให้ผู้ทรงคุณวุฒิใน สถาบัน การศึกษาท้องถิ่นร่วมเป็น คณะศึกษา ตามมาตรา ๕๖ (๒) ของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ในระหว่าง การดำเนินการดังกล่าว ควรให้หน่วย งานเจ้าของโครง การเปิดเผยข้อมูล รายละเอียด ของโครงการตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทาง ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ รวมทั้งให้มีการตรวจสอบ ทรัพย์สินของราษฎรที่คาดว่าจะเสียหาย จากฝายหัวนาร่วมกับราษฎร

๑)เห็นชอบให้ระงับการถมลำ น้ำมูลเดิมไว้ก่อนเพื่อศึกษา ผล กระทบด้านสิ่งแวดล้อมและ สังคม

 

เนื่องจากโครงการเขื่อนหัวนาเป็น โครงการที่ อยู่ในเงื่อนไขที่จะต้อง ศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อม แม้ว่ากรม พัฒนาและส่งเสริม พลังงานจะอ้างว่า โครงการดังกล่าวจะได้อนุมัติมา ตั้งแต่ ปี ๒๕๓๒ และเซ็นสัญญามาตั้งแต่ ปี ๒๕๓๔ ก่อนที่จะมี พรบ.ส่งเสริมและ รักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ปี ๒๕๓๕ แต่ในพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษา คุณภาพ สิ่งแวดล้อมปี ๒๕๑๘ แก้ไขปี ๒๕๒๑ ก็ระบุให้โครงการที่มีอ่างเก็บ น้ำพื้นที่ ตั้งแต่ ๑๕ ตารางกิโลเมตรและมี ปริมาตร การกักเก็บน้ำตั้งแต่ ๑๐๐ ล้าน ลูกบาศก์เมตรเช่นโครงการ เขื่อนหัว นาต้องจัดทำรายงานการ ศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อมก่อน การก่อสร้าง เช่นกัน

ดังนั้น การสร้างเขื่อนหัวนาถ้าทำตาม กฎหมาย จะก่อสร้างไม่ได้ แต่ปัจจุบัน โครงการเขื่อนหัวนา ดำเนินการมาจน ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ สมัชชาคนจนจึง ยืนยันว่าจะต้องระงับ การดำเนินการ ใดๆทั้งหมด ก่อนการศึกษาผลกระทบ ทาง สิ่งแวดล้อม และสังคมจะเสร็จสิ้น ตามที่คณะกรรม การกลางฯเสนอ ไม่ใช่ เพียงแค่ระงับการถมแม่น้ำมูล เดิมไว้ ก่อนตามความเห็นของกรม พัฒนาและ ส่งเสริมพลังงาน ส่วนการศึกษาผลกระ ทบสิ่งแวด ล้อมและสังคมสมัชชาคนจน ยืนยันตามที่คณะกรรม การกลางฯ เสนอ เพราะที่ผ่านมาหากหน่วยงานที่ เป็น เจ้าของโครงการเป็นผู้ดำเนินการ มักจะเป็นการศึกษาเพื่อให้ผ่าน ขั้นตอน ตามกฎหมายเท่านั้น ไม่ใช่ศึกษาผล กระทบที่จะเกิด ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและ สังคมอย่าง แท้จริง

๒)ตั้งคณะกรรมการ ศึกษา ผลกระทบทาง สังคมและ สิ่งแวดล้อม และมาตราการ แก้ไข ผลกระทบ

 

๒)เห็นชอบให้เปิดเผยข้อมูลราย ละเอียดโครงการตามพระราช บัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

 

๓)ปักขอบเขตน้ำท่วม และ สำรวจผู้ได้รับผล กระทบ และทรัพย์สินที่จะ ถูกน้ำ ท่วม

 

๓)เห็นชอบให้ตรวจสอบ ทรัพย์สินของราษฎรที่คาดว่า จะ เสียหายจากการดำเนิน โครงการ ฝายหัวนาร่วมกับ ราษฎร

 

๔)เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับโครงการทั้งหมดให้กับ ชาวบ้าน และสาธารณะรวม ถึงสัญญา ต่างๆที่มี เช่น แบบเขื่อน ระบบชลประ ทาน ฯลฯ รวมถึงสัญญาว่า จ้าง การก่อสร้าง

 

 

 

 

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา