eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication

เขื่อนลำโดมใหญ่

“ศึกษาก่อนสร้าง ถามชาวบ้านก่อนทำ”

สมัชชาคนจน    

ความเป็นมา

                กรมชลประทาน ได้มีแผนงานในการก่อสร้างเขื่อนลำโดมใหญ่ ซึ่งเป็นเขื่อนดิน แบบ HOMO GENEOUS  สร้าง กั้น ลำโดมใหญ่ บริเวณบ้านเม็กใหญ่ ต.กลาง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี    โดยอ้างว่าพื้นที่ลุ่มน้ำลำโดมใหญ่ เป็นพื้นที่ เกษตรกรรม น้ำฝน ที่มีฝนตกมากในฤดูฝน แต่มีฤดูแล้งและการขาดแคลนน้ำที่ยาวนาน การสร้างเขื่อนลำโดมใหญ่ จะ สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ ชลประทานได้ทั้งสิ้นประมาณ ๒๑๒,๕๐๐ ไร่ ด้วยระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้า

                ในปี ๒๕๓๔   กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัท ทีม คอลซัลติ้ง เอนจิเนียร์ จำกัด และ บริษัท ที เอ แอนท์ อีคอล ซัล แตนส์ จำกัด เพื่อทำการศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อ เดือน มีนาคม ๒๕๔๐

                ปัจจุบันรายงานการศึกษาทบทวนความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการลำโดมใหญ่ กำลังอยู่ใน ระหว่าง การพิจารณาของคณะผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ สำนักงาน นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

                แต่เนื่องจากการปิดกั้นข้อมูลการดำเนินโครงการ ของกรมชลประทาน ทำให้ชาวบ้านเกิดความสับสน  และได้ รวมตัว กัน ร่วมกับสมัชชาคนจนเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกโครงการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ให้ชะลอโครง การ และตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาพิจารณา และตัดสินใจ

สภาพปัญหา

- การดำเนินโครงการลำโดมใหญ่ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่มีโอกาสในการรับรู้ข้อมูล และไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

- การที่ชาวบ้านไม่ได้รับรู้ข้อมูลและไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ทำให้เกิดความกังวลว่าจะได้รับผลกระทบ ความตึง เครียดจึงเกิด ขึ้นในชุมชน ประกอบกับข้าราชการในพื้นที่ ได้กล่าวหา โจมตีผู้เรียกร้อง ทำให้ชุมชนที่เคยเป็นหนึ่งเดียว กันต้องแตกแยก  ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในระยะยาว      

- การสร้างเขื่อนลำโดมใหญ่ทำให้เกิดผลกระทบกับชาวบ้าน ๒๗ หมู่บ้าน ๖ ตำบล ต.กลาง ต.ตบหู อำเภอ เดชอุดม ต.โนนสมบรูณ์ ต. โนนสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย ต.พรสวรรค์  ต.ยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน โดย ๘ หมู่บ้านต้องถูกอพยพ คือ บ้านบัว เทียม ต.กลาง อำเภอเดชอุดม บ้านโคกเทียม บ้านโนนสมบูรณ บ้านฝั่งเพ  บ้านโนนสวาง บ้านแก้งขอ   บ้านโนน ว่าน  บ้านแก้งกกไฮ บ้านม่วง ตำบลพรสวรรค์

- ทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ สองฝั่งลำโดมใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร แหล่งพลังงาน ของชาวบ้าน รวมทั้งป่าประเพณี เช่น ป่าดอนปู่ตา ป่าช้า ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน

- เนื่องจากชุมชน ๒ ฝั่งลำโดมใหญ่ เป็นชุมชนเก่าแก่ มีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแต่ปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจที่ชัดเจน หาก มีการก่อสร้างเขื่อนลำโดมใหญ่จะทำให้มรดกของชาติใด้รับความเสียหาย

- เนื่องจากโครงการลำโดมใหญ่มีการสร้างคันดินป้องกันน้ำท่วม เพื่อลดความเสียหายของโครงการ แต่ชาวบ้านกังวลว่า เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน น้ำฝนที่เคยไหลลงลำโดมใหญ่จะมีการเอ่อท่วม บ้านเรือน และที่ทำกินของชาวบ้านเหมือนกับเขื่อนราษี ไศล หรือไม่                                                                             

- แม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรี ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐  ให้ชะลอโครงการและตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินการให้ประชาชน มีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาพิจารณาและ ตัดสินใจ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ สนับสนุนงบประมาณในการทำงาน ของคณะ กรรมการดังกล่าว

- กรมชลประทานได้ฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรีโดยพยายาม ออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบ ประมาณแล้วเป็นจำนวน ๙๘ ล้านบาท

- ข้าราชการในพื้นที่ พยายามยั่วยุ สร้างความสับสน ให้กับชาวบ้านในพื้นที่จนทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ชาวบ้าน

ข้อมูลพื้นฐานโครงการ

ระดับเก็บกักสูงสุด                                    +๑๔๑.๐๐ ม.รทก.

ปริมาณการเก็บกัก                                    ๘๕.๘๐    ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่ชลประทาน      ฤดูฝน                      ๓๑๓,๘๒๕             ไร่

                                 ฤดูแล้ง                     ๔๗,๐๗๔                ไร่

ความสูงของเขื่อน                                     ๒๑.๕๐    เมตร

ราคาโครงการ ( ปี ๒๕๓๙ )                      ๔,๙๙๐.๓๙               ล้านบาท

 

ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน  มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๒๕๔๓  มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๒๕๔๓

และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.เขื่อนลำโดมใหญ่

 สมัชชาคนจน

ข้อเรียกร้องชาวบ้าน

มติคณะกรรมการกลางฯ

มติคณะรัฐมนตรี

ข้อคิดเห็นของสมัชชาคนจน

๑) ให้รัฐบาลรอการดำ เนินการติด ตามผลการ ศึกษา ของคณะกรรม การศึก ษาผลกระทบ ความเหมาะ สมและ พิจารณาความเป็นไปได้ ที่ตั้งขึ้นตามมติคณะ รัฐมนตรี ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ หากเห็นว่าไม่ คุ้มค่าก็ ให้ยกเลิกโครงการ

๑) ระงับการดำเนินการโครงการใดๆ โดยเฉพาะการออก แบบ ในราย ละเอียดทางวิศว กรรม

๑) เห็นชอบให้ระงับการดำเนิน การ เกี่ยว กับการออกแบบก่อสร้าง ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อประ โยชน์ในการศึกษาผล กระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและ สังคม ก็ให้ทำได้ เฉพาะการออกแบบ เพื่อศึกษาตามข้อ ๒ เท่านั้น

 

๒) ให้รัฐบาลยุติการดำเนินการ ใดๆ ที่เป็นการผลักดัน โครงการฯ ในเบื้องต้น ให้ระงับการใช้งบประ มาณ เพื่อการออกแบบรายละเอียด โครงการฯไว้ก่อน จนกว่าคณะ กรรมการฯจะได้ ดำเนินการจัดรับ ฟังความ คิดเห็นให้มีข้อยุติ

 

๒)ให้มีการศึกษาผลกระทบ ทางสิ่ง แวดล้อมและทางสังคม ( EIA และ SIA ) โดยคณะกรรมการติดตาม เขื่อนที่ยังไม่สร้าง ๔ เขื่อน  ที่มี ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ เป็นประธาน และให้รัฐบาลจัดหางบ ประมาณสนับ สนุนคณะ กรรมการฯ ชุดดังกล่าว เพื่อให้ได้ผล ศึกษาโดยเร็ว

๒) เห็นชอบให้คณะกรรมการ ติด ตามการดำเนินการตามมติ คณะรัฐ มนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ กรณีเขื่อนที่ยังไม่สร้าง ๔ เขื่อน ศึกษา ผลกระทบด้านสิ่งแวด ล้อมและสังคม โดยให้เร่งรัด ดำเนินการ

คณะกรรมการชุด ดังกล่าว ได้ตั้งขึ้นมา แต่ไม่มีการ สนับสนุน งบประมาณ โดย เฉพาะกรณีของ ลำโดมใหญ่ ทำให้คณะกรรมการ ไม่ สามารถดำเนินงาน ตาม มติ คณะรัฐมนตรี  ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ ได้

๓) เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับ โครง การทั้งหมดให้คณะ กรรมการ กลางฯชาวบ้าน และสาธารณะ รวม ถึงสัญญาต่างๆเช่น  แบบเขื่อน ระบบชลประทาน รายงานการ วิเคราะห์ผล กระทบสิ่งแวดล้อม

๓) ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ โครง การฯ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของ ทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐

๓) เห็นชอบให้เปิดเผยข้อมูล เกี่ยว กับโครงการลำโดมใหญ่ ตาม พระ ราชบัญญัติ ข้อมูลข่าว สารของ ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

 

 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา