eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

โครงการเขื่อนโป่งขุนเพชร

สมัชชาคนจน    

ข้อมูลเบื้องต้น

1.วัตถุประสงค์โครงการ                                          : เพื่อการเกษตร

2.ผู้รับผิดชอบโครงการ                                          : กรมชลประทาน

3.ที่ตั้งหัวงาน                                                          : บ้านกระจวน หมู่ 4 ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ

4.เนื้อที่ของชลประทาน                                          : 12,300 ไร่ในท้องที่ ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว และต.โป่งนก  อ.เทพสถิต

                                                                                 จ.ชัยภูมิ

5.ปริมาณความจุน้ำ                                                  : 97 ล้านลูกบาศก์เมตร

6.พื้นที่ผิวน้ำ                                                            : 16.2 ตารางกิโลเมตร (10,215 ไร่)

7.จำนวนราษฏรที่ได้รับผลกระทบ                           : ประมาณ 500 ครอบครัว 5 หมู่บ้าน (บ้านกระจวน บ้านใหม่ห้วย หินฝน                                                                   บ้านห้วยทับนาย  บ้านบุงเวียน บ้านโคกชาด)

8.แผนผังโครงการการใช้น้ำจากเขื่อน                       : ไม่มี

9.แผนโครงการรองรับราษฏรผู้ได้รับผลกระทบ       : ไม่มี

สภาพปัญหา

                1. การดำเนินงานของทางราชการไม่โปร่งใส  มีการปิดบังข้อมูล  เช่น หลักเกณฑ์ ระเบียบ หรือมติ ครม. ในการจ่าย ค่าทด แทน ถูกปกปิดและบิดเบือน  แนวเขตน้ำท่วมหรือเขตชลประทานไม่แน่ชัด ขัดแย้งกับข้อมูลของ สปก. ที่ดินนับพับไร่ที่ กรมชลบอกว่า อยู่นอก เขตชลปประทาน แต่ทางสปก.ไม่รังวัดให้ บอกว่าอยุ่ในเขตชลประทาน

                2. กีดกันชาวบ้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ให้มีส่วนร่วมรับรู้ในการดำเนินงาน เช่น การรังวัดที่ดิน การนับต้นไม้ เจ้าหน้า ที่ทำเอง โดยพลการ  เจ้าของที่ดินและพยานข้างเคียงไม่ได้นำชี้  มาทราบเรื่องตอนที่เจ้าหน้าที่เรียกไปเซ็นชื่อที่อำเภอ รวมทั้งการ กำหนดค่าทด แทน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดค่าที่ดินไร่ละ 8000 บาท

                3. กระทำการทุจริตผิดกฎหมาย และประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ เช่น

                                3.1 ข่มขู่หลอกลวงชาวบ้านว่าอยู่ในเขตป่าสงวน ทางการไม่มีค่าทดแทน ใครไม่ยอมออกไปจะถูกดำเนิน คดีอาญา

                                3.2 ฉ้อโกงค่าทดแทนต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 25 ล้านบาท  โดยการทำหลักฐานเท็จ ปลอมลายมือ ชื่อชาว บ้าน เรียกรับสินบน ขู่เข็ญกรรโชกให้ชาวบ้านกลัวแล้วบังคับเอาส่วนแบ่งจากค่าทดแทน ฯลฯ

                                3.3 ตัดไม้ทำลายป่า โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเอาไม้ไปขายเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว  ดังกรณีที่ ชาวบ้าน ยึด เครื่องเลื่อยยนต์จนกระทั่งบัดนี้ยังไม่มีการดำเนินคดีแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องเลื่อย

                                3.4 ถนนเข้าหัวงานชำรุดตั้งแต่ก่อสร้างเสร็จยังไม่ทันถึงเดือน ส่อพิรุธว่าน่าจะมีการทุจริต

                4. ไม่มีการคำนวณต้นทุนทางสังคม

                5. กระทบต่อระบบนิเวศทั้งระบบและวิถีชุมชน

                6. เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามอำเภอใจ ไม่มีมาตรการที่ชัดเจน เช่น

                                6.1 กรณีจ่ายค่าทดแทนที่ดิน (ค่าขนย้าย)

                                -โครงการเขื่อนลำคันฉู  จ.ชัยภูมิ กรมชลฯ จ่ายค่าที่ดินทุกตารางนิ้วโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าที่ดินจะมีเอกสาร ใดๆ หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นที่รก ที่หิน หรือที่เตียน

                                -โครงการเขิ่อนห้วยทราย จ.ชัยภูมิ กรมชลฯ จ่ายค่าที่ดินเฉพาะที่ระบุไว้ใน ภ.บ.ท. 5 เท่านั้น ที่เกินจากใบ ภ.บ.ท.5 ไม่ จ่ายให้ อีกทั้งราคาที่ดินก็ไม่เท่ากันแม้จะอยู่ในอ่างเดียวกัน คือราคา 10,000 บาท/ไร่ สำหรับที่ดินที่อยู่ในอ่างที่อยู่ ในเขต อ.บำเหน็จ ณรงค์ 6,000 บาท/ไร่  สำหรับที่ดินเขต อ.จตุรัส  แต่เขื่อนลำคันฉูและเขื่อนโป่งขุนเพชรจ่ายให้ในอัตราเดียว กันแม้ว่าจะอยู่คนละอำเภอ กล่าวคือ เขื่อนลำคันฉูน้ำจะท่วมในเขต อ.เทพสถิต และอ.บำเหน็จณรงค์ เขื่อนโป่งขุนเพชรน้ำจะ ท่วม อ.เทพสถิตและอ. หนองบัวระเหว กรมชลฯ จ่ายในอัตรา 8,000 บาทเท่ากันหมด

                -ฝายราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ไม่มีค่าตอบแทนใดๆเลย แม้ว่าที่ดินจะมีโฉนดหรือ น.ส.3 ก็ตาม

                -เขื่อนโป่งขุนเพชร  รังวัดให้เฉพาะที่เตียนโล่งเท่านั้น ส่วนที่รกไม่รังวัดให้ ยกเว้นบางรายที่เป็นที่รกก็รังวัดให้ ไม่ทราบว่า เพราะ เหตุใด เจ้าหน้าที่และนายอำเภอท้องที่ไม่ยอมชี้แจง

                                6.2  กรณีค่าทดแทน ต้นไม้และสิ่งปลูกสร้าง

                -เขื่อนลำคันฉู กรมชลฯจ่ายให้เฉพาะต้นไม้ที่เพาะปลูกขึ้นเท่านั้น ต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติไม่คิดให้ สำหรับสิ่งปลูก สร้างคิด ให้ เฉพาะบ้านเรือนที่อยู่อาศัยแบบเหมาจ่ายที่ถูกมาก ไม่ได้คำนวณตามบัญชีการจ่ายค่าทดแทนของกรมชลฯ

                -เขื่อนห้วยทราย  กรมชลฯไม่จ่ายค่าสิ่งปลูกสร้างใด ๆ เลย

                -เขื่อนโป่งขุนเพชรแบ่งเป็น 2 กรณี

                                1. มีการตรวจนับไม้ที่เกิดตามธรรมชาติให้ด้วย เช่นต้นไผ่ ต้นลาน มะขามป้อม หว้า รวมทั้งรังวัดบ้านเรือน สิ่งปลูก สร้างทุกชนิด เช่น คอกปศุสัตว์ โรงนา รั้วบ้าน แต่นับให้ไม่ครบ

                                2. ส่วนหนึ่งมีการเหมาจ่าย โดยไม่มีการตรวจนับหรือรังวัดแต่อย่างใด

                -เขื่อนป่าสัก จ.ลพบุรี กรมชลฯ ประกาศจะจ่ายค่าทดแทนให้แก่สิ่งปลูกสร้างทุกชนิดรวมทั้งต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ทุก ชนิด ตาม บัญชีและให้ชาวบ้านเลือกจะเอาค่าทดแทนตามบัญชีจ่ายค่าทดแทนของกรมชลฯหรือของหน่วยงานอื่นก็ได้ที่ชาวบ้านได้ประโยชน์  รวมทั้งเจ้าหน้าที่ชลประทานได้แนะนำให้ผู้มีอิทธิพลปลูกสะเดา เมื่อกลางปี 2537  หลังจากปักเขตชลประทานชัดเจน แล้ว   ซึ่งเฉพาะราย นี้รายเดียวใน ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  กรมชลฯจะต้องจ่ายเป็นค่าทดแทนเฉพาะต้นสะเดาเป็น เงินประมาณ 25 ล้านบาท

                                6.3 เปรียบเทียบราคาที่ดินเขื่อนต่างๆ  น่าสงสัยว่ากำหนดจากอะไร ?

                -เขื่อนลำคันฉู  จ.ชัยภูมิ 8000 บาท/ไร่ โดยจ่ายให้เท่ากันหมดทั้ง 2 อำเภอ

                -เขื่อนห้วยทราย จ.ชัยภูมิ  เขตน้ำท่วม อ.บำเหน็จณรงค์ 10000 บาท/ไร่ เขตอำเภอจตุรัส  6,000 บาท / ไร่ มิหนำซ้ำชาวบ้าน ยังถูกโกงไปอีก 2,100 บาท / ไร่ ขณะนี้ยังไม่ได้รับเต็มอัตราทั้งที่เขื่อนได้สร้างเสร็จแล้ว

                -เขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ 8,000 บาท / ไร่  เท่ากันทั้ง 2 อำเภอ แต่วัดที่ดินให้ไม่เต็มพื้นที่ ที่ถูกน้ำท่วม

                -เขื่อนลำปะทาว จ.ชัยภูมิ  ไม่จ่ายค่าที่ดินให้เลย

                -เขื่อนราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ไม่จ่ายค่าที่ดินเลย แม้ว่าจะมีโฉนด หรือ น.ส.3 ก็ตาม

                -เขื่อนคลองนางน้อย จ. ตรัง  125,000 บาท/ไร่

                -เขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี 35,000บาท/ไร่ เท่ากันทั้ง 3 อำเภอ

                -เขื่อนห้วยขอนแก่น จ.เพชรบูรณ์  25,000 บาท/ไร่  เฉพาะที่มี น.ส.3 และ  20,000 บาท/ไร่  เฉพาะที่ดินไม่มีเอก สารสิทธ์

                                6.4 คำสัญญาจากกรมชลฯ ต่อราษฏรผู้ได้รับผลกระทบ

                -เขื่อนป่าสัก จ.ลพบุรี  อธิบดีกรมชลประทาน ( นายรุ่งเรือง จุลชาติ )  รับรองต่อที่ประชุมชาวบ้านจังหวัดลพบุรีว่า กรมชลฯ จะให้ชาวบ้านมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

                -เขื่อนโป่งขุนเพชร อธิบดีไม่เคยให้คำสัญญาอย่างเขื่อนป่าสัก ไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด แต่เราถือว่าเป็นคนไทยเหมือน กันต้อง ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเช่นเดียวกับเขื่อนป่าสัก

                -เขื่อนอื่นๆ นอกจากจะไม่มีคำมั่นสัญญาแล้วยังถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามยถากรรม  

ผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชุมชน

                1.ไม่มีการทำรายงานประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)

                2.ทำลายป่าต้นน้ำห้วยลำเชียงทา อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชี

                3.ทำลายอาชีพหลักของชาวบ้าน อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว และอำเภอใกล้เคียงในการหาของป่า เช่น หน่อไม้ ใบลาน ผักหวาน กะบุก และสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น

                4.ทำลายระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ ซึ่งไม่ต้องใช้ปุ๋ย และไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีใดๆ  ซึ่งถือได้ว่าเป็น แหล่งสุดท้าย ของภาคอีสานที่ยังสามารถผลิตพืชผักปลอดสารเคมี

                5.ทำลายวิถีชีวิต ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลได้-ผลเสีย คุ้มค่าหรือไม่ ?      

ผลที่คาดว่าจะได้รับ (อนาคต) ผลที่เสียไป (ปัจจุบัน)

1. พื้นที่เพาะปลูกในหน้าฝน 100,000  ไร่ หน้าแล้ง 25,000ไร่ 

2. รายได้จากการขายผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก ขยายพื้นที่การ เกษตร มูลค่ายังประ เมินไม่ได้ (ไม่แน่ว่าจะขาดทุนหรือไม่)

3. แหล่งจับปลา

4. แหล่งน้ำอุปโภคบริโภค

5. แหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้าน

6. บรรเทาอุทกภัยด้านท้ายน้ำ(ชั่วคราว)

1. พื้นที่เกษตรธรรมชาติ หรือวนเกษตร 12,300 ไร่

2. รายได้จากการเกษตรธรรมชาติและการหาของป่า มูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท/ปี

3. แหล่งอาหารที่เป็นสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา อึ่ง ฯลฯ

4. สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศน์เสียไป

5. อุทกภัยหน้าเขื่อนตลอดไป

6. ครอบครัวแตกสลายทำลายวิถีชีวิตและสังคมชนบท

7. งบประมาณแผ่นดินสูญเปล่าเพราะการทุจริต คอร์รัปชั่น เป็น จำนวนกว่า 50%

8. ไม่มีหลักประกันว่าจะได้ผลตามที่กรมชลกล่าวอ้าง                     

9. ไม่มีแผนรองรับ,แผนเยียวยาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ

10. ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรม

 

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา