eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

“หยาดเหงื่อ หยาดน้ำตา ความเป็นมาของคนหลังเขื่อนสิรินธร”
โดย สมัชชาคนจน

ความเป็นมา

                ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๐๙ ให้สำนักงานพลังงานแห่งชาติ สร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระ แสไฟฟ้ากำลังผลิต ๓๖ เมกกะวัตต์  กั้นลำโดมน้อยบริเวณใกล้บ้านเหล่าคำชมพู ตำบลคันไร่ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบล ราชธานี ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาด ๒๙๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๘๒,๕๐๐ ไร่  ตัวเขื่อนมีระดับกักเก็บน้ำสูงสุด ๑๔๒.๒ ม.รทก. โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๑๐ ดำเนินการ แล้ว เสร็จ เมื่อ ปี ๒๕๑๓ โดยในระหว่างการก่อสร้าง การพลังงานแห่ง ชาติได้ให้สัญญาไว้กับชาวบ้านว่า ชาวบ้านจะต้องมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม ต่อไปจะได้ทำนาปีละ ๒ ครั้ง จะมีอาชีพประมง เป็นอาชีพใหม่ที่สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตและครอบครัว

                แต่คำสัญญาดังกล่าวก็จากไป พร้อมกับชีวิตของชาวบ้านที่เคยสงบสุข จนถึงวันนี้ยังไม่มีวี่แววว่า คำสัญญาดัง กล่าวจะเป็นจริง

                ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๑๕ ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ได้ออกประกาศฉบับที่ ๒๓๗ ให้การพลังงาน แห่งชาติ  โอนทรัพย์สิน เกี่ยวกับโครงการลำโดมน้อยทั้งหมดให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  

 ผู้เสียหาย

              ๑.ผู้สูญเสียที่ดินทำกิน และที่อยู่อาศัย ต้องอพยพจากถิ่นฐานเดิม ๖,๐๐๐ คน จาก ๑,๒๗๐ ครอบครัว โดยรัฐจ่าย ค่าชดเชยและจัดที่ดินทำกินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ (เอกสารประกอบการประชุม คณะทำงานช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผล กระทบจากเขื่อนสิรินธร ครั้งที่ 2/2540 วันที่ 24 เมษายน 2540)

             ๒.ผู้สูญเสียเฉพาะที่ดินทำกิน ไม่สูญเสียที่อยู่อาศัย รัฐชดเชยเฉพาะค่าที่ดิน

             ๓.ผู้สูญเสียที่ดินหรือที่อยู่อาศัย แต่ไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆทั้งสิ้น  

การชดเชยความเดือดร้อนที่ผ่านมา

การจัดหาที่ดินทำกิน

                ในการจัดพื้นที่รองรับชาวบ้านที่ต้องถูกอพยพ รัฐบาลมอบให้กรมประชาสงค์เคราะห์จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ลำโดมน้อยขึ้น บริเวณป่ากุดชมภู ขึ้นรองรับ โดยจัดที่ดินให้ผู้ถูกอพยพครอบครัวละ ๑๕ ไร่ แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย ๒ ไร่ ที่ ทำกิน ๑๓ ไร่ ซึ่งมีราษฎรอพยพเข้า ไปอยู่ในนิคมเพียง  ๗๖๘ ครอบครัว ประมาณ ๖๐ %ของผู้ถูกอพยพทั้งหมด ส่วนผู้ที่ สูญเสียที่ทำกินอย่างเดียวจะไม่ได้รับการจัดสรรที่ดิน

                พื้นที่ซึ่งจัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ในขณะนั้นคือ พื้นที่ซึ่งไม่มีใครเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ เนื่องจากเป็นพื้นที่ลาดชัน ดินเป็นหินลูกรัง หินดาน มีทรายและทุรกันดาร ไม่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตร กรรม ทำให้ชาวบ้านที่ถูกอพยพมา หลายรายยอมทิ้งที่ดินที่ได้รับการจัดสรร ไปหาที่ทำกินใหม่ เช่น กรณีที่ดินบริเวณ ผัง ๑๖ เมื่อจัดสรรแล้ว ไม่มีใครใช้ประโยชน์

               แม้ว่าทางราชการได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ หลังจากเข้าไปอยู่ในนิคม ได้มีการส่งเสริมอาชีพอย่างหลากหลาย แต่เนื่องจากความไม่ต่อเนื่องของทางราชการ และการไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาของชาวบ้าน รวมถึง สภาพพื้นที่ ๆ ไม่เหมาะสม ทำให้การส่งเสริมล้มเหลว แทนที่จะช่วยเหลือชาวบ้านให้มีชีวิตดีขึ้น กับสร้างหนี้สินให้ชาว บ้าน เช่น  โครงการเลี้ยงไหม เป็นต้น  

การจ่ายค่าทดแทน

              การสร้างเขื่อนสิรินธร ทำให้น้ำท่วมที่ดินจำนวน ๑๘๒,๕๐๐ ไร่ ทางการพลังงานแห่งชาติได้สำรวจและจัดเตรียม จ่ายค่าทดแทนที่ดินแก่ชาวบ้าน จำนวน   ๒,๘๕๐ แปลง คิดเป็นที่ดิน ๓๙,๘๐๐ ไร่ แต่ในความเป็นจริงมีการจ่ายค่าทด แทนเพียง ๒,๘๑๖ แปลง คิดเป็นที่ดิน ๓๙,๖๒๖ ไร่ จำนวนรายการที่จ่ายให้ ๔,๑๘๗ รายการ  คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  ๑๗,๑๓๘,๓๐๙.๕๐ บาท ขณะที่จำนวนค่าทดแทนที่ตั้งใจว่าจะจ่าย ๒๐,๓๔๓,๓๓๗ บาท

             อย่างไรก็ตามการจ่ายค่าทดแทนที่ผ่านมาจะจ่ายเฉพาะที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งในขณะนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มี เอกสารสิทธิ์หรือมีเอกสารสิทธิ์เพียงบางส่วน ทำให้การจ่ายค่าชดเชยที่ผ่านมาไม่ ครอบคลุมผู้เสียหาย และพื้นที่ที่เสียหาย จริงทั้งหมด

                การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดิน อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ถ้าเทียบกับการซื้อขายจริงในท้องถิ่น ขณะนั้น  และชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วม โดยการจ่ายค่าทดแทนกำหนดราคาไว้ตั้งแต่ไร่ละ ๑๕๐ – ๔๐๐ บาท และไม่ได้ คำนึงถึงว่าชาวบ้านจะหาซื้อที่ดินผืนใหม่ได้หรือไม่

                กล่าวโดยสรุปคือ ในการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อน จำนวนหนึ่งได้รับการ ชดเชยที่ไม่เพียงพอต่อความเสียหายทุกข์ยากที่ได้รับ ขณะที่อีกจำนวนหนึ่งยังไม่ได้รับการชดเชยใด ๆ เลย  

ทุกข์ซ้ำซ้อน

                การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบที่ผ่านมา ชาวบ้านไม่สามารถฟื้นฟูวิถีชีวิตขึ้นมาได้ดั่งเดิม เนื่องจากที่ดินที ทาง ราชการ จัดไว้ให้ มีสภาพไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร ประกอบกับสภาพแวดล้อมของชาวบ้านที่เคยใช้ชีวิตอยู่ริมฝั่ง ลำโดมน้อย ที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของชาวบ้าน แต่เมื่อถูกอพยพมาอยู่ บนที่สูงลาด ชันและกันดารไม่มีทรัพยากรที่เป็นพื้นฐานในการยังชีพ ยิ่งทำให้ความเดือดร้อนถมทวีขึ้นยิ่งกว่าเดิม

                ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงต้องส่งลูกหลานเข้าไปทำงานอยู่ในเมือง และอาศัยเงินที่ลูกหลานส่งมาเป็นรายได้หลัก ใน การเลี้ยง ครอบครัว ชาวบ้านหลายครอบครัวตัดสินใจ เลือกการตัดไม้ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรเป็นอาชีพในการเลี้ยง ครอบครัว ซึ่งทำให้หลายคน ต้องพิการ และสูญเสียชีวิตจากอาชีพดังกล่าว แต่ชาวบ้านก็ยอมเสี่ยง เนื่องจากไม่มีทางเลือก แต่การทำไม้ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธรก็ไม่สามารถทำได้นานนัก เมื่อองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ให้สัมปทานกับ เอกชนเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๖

              ส่วนอาชีพประมงที่ทางราชการเคยให้ความหวังว่าจะเป็นอาชีพใหม่ของชาวบ้านนั้นปรากฏว่าหลัง จากการ สร้างเขื่อน สิรินธร ปลาเศรษฐกิจที่เคยมีเช่น ปลาเคิง ปลาแข้  ปลาคัง ปลาเทโพ หายไป เหลือแต่ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาแก้ว ซึ่งเป็นปลา ที่ราคาต่ำ ชาวบ้านไม่นิยมบริโภคมากนัก เมื่อเทียบกับปลาธรรมชาติที่เคยมีอยู่เดิม อย่างไรก็ ตาม ชาวบ้านก็ยังทำการประมงอยู่ในอ่าง  เก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เพราะเป็นแหล่งทรัพยากรสุดท้ายที่ใช้ยังชีพได้ แต่เนื่อง จากกฎหมายประมงห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ ตั้งแต่ ๑๕ พ.ค – ๑๕ ส.ค ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านอดยากมาก ที่สุด หลายคนยอมละเมิดกฎหมาย และถูกจับดำเนินคดีในที่สุด แต่นั้นคือสิ่งที่เขาเลือก  แล้วว่าจะต้องเสี่ยง

                ปัจจุบันชาวบ้านยังต้องเผชิญชะตากรรมโดยไร้การเหลียวแล รัฐบาลยังรักษาหลักการอันยิ่งใหญ่ ที่จะไม่รับรู้ ความ เดือดร้อน และอ้างว่าจะเป็นการจ่ายชดเชยช้ำซ้อนย้อนหลัง ทำให้ชาวบ้านหลายส่วน ต้องกลายเป็น ชุมชนเก็บขยะ เช่น บ้านบากชุม อำเภอสิรินธร ซึ่งสูญเสียที่ดินทำกิน ชาวบ้านจำนวนมากพากันอพยพเข้ากรุงเทพ ฯ หารายได้ด้วยการคุ้ย เก็บขยะอยู่แถบหนองแขม

นี่หรือคือชีวิตชาวบ้านที่ดีกว่าเดิมในความหมายของการพัฒนา ที่รัฐส่งมอบมาให้กับประชาชน

 

ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๔๓

มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๔๓ และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.

โดย สมัชชาคนจน

 

ข้อเรียกร้องของชาวบ้าน

มติคณะกรรมการกลางฯ

มติคณะรัฐมนตรี

ข้อคิดเห็นสมัชชาคนจน

 

คณะกรรมการกลางเห็นว่าการ พิจารณาความเดือดร้อนของ ชาว บ้าน ได้ผ่าน การดำเนินการมา หลาย รัฐบาล จนได้ข้อยุติว่าชาว บ้านมีความ เดือดร้อนจริง โดยขั้น ตอนได้ดำเนินมาจนถึง ขั้นที่มีการ จัดหาวงเงินจำนวน ๑,๒๐๐ ล้าน บาท โดยโอนไว้ที่กองทุนสง เคราะห์ เกษตรกร แต่กระบวนการ จ่าย เงินแก่ ชาวบ้านได้ยุติลง เมื่อมี มติคณะรัฐมนตรี ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑ ไม่ให้จ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อน ย้อน หลังกรณีเขื่อนที่สร้างแล้ว คณะกรรมการกลางฯมีข้อเสนอ แนะว่า

 

ต้องยึดความเดือดร้อน ของผู้ได้รับ ผลกระทบเป็นหลัก เพราะข้อเท็จ จริงของการ จ่ายค่าชดเชยในอดีตคือ ๑.จ่ายจริง แต่ไม่ครบ ๒.บางส่วนยังไม่ได้รับการชดเชย ๓.ได้รับค่าชดเชยเป็นที่ดินที่คุณ ภาพต่ำ

ดังนั้นควรมีมาตรการ ในการสืบสวน ข้อเท็จจริง ถ้าพบว่ายังคงมีความ เดือดร้อนจริง เพราะการชดเชยที่ไม่ เป็นธรรมในอดีต ต้องพิจารณาการ ช่วยเหลือ โดยยึดถือหลักการที่ว่าผู้ที่ ได้รับผลกระทบจะต้องมี วิถีชีวิตที่ดี กว่าเดิม และใช้ผลการพิจารณาของ คณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง ระดับจังหวัดที่เคย ทำมาแล้วในอดีต เป็นหลัก พร้อมทั้งกำหนดมาตรการ การช่วยเหลือ และกำหนดระยะเวลา ที่ชัดเจน

๑)ให้รัฐจัดหาที่ดินทำกินที่ อุดมสมบูรณ์ให้ครอบครัวละ ๑๕ ไร่ เพื่อเป็นการฟื้นฟู สภาพ ความเป็น อยู่ให้กับชาวบ้าน ที่ถือ ว่าเป็นผู้เสีย สละในการ พัฒนา

๑) เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวบ้าน ที่ ได้รับความเดือดร้อน รัฐบาล ควรจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ชาวบ้าน เป็นการเฉพาะกรณี โดยไม่ให้มี ผลผูกพันกรณีอื่นๆ

ครม.ประชุมพิจารณาเรื่อง มติคณะ กรรมการกลางแก้ไขปัญหา สมัชชา คนจน กรณีเขื่อน สิรินธร มีมติ “ไม่เห็นชอบ เนื่องจากการจ่ายค่า ชดเชย แก่ผู้ได้รับ ผลกระทบจาก การสร้างเขื่อน สิรินธรครบถ้วน แล้ว ประกอบกับคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑ ไม่ให้จ่ายค่าทดแทนหรือ ค่า ขดเชย ซ้ำซ้อนย้อนหลังสำหรับเขื่อน ที่สร้างเสร็จแล้ว”

๒) ให้กฟผ.คืนที่ดินบ้าน โนน จันทร์เก่าให้กับชาวบ้าน และ ให้รัฐดำเนินการออก เอกสาร สิทธิ์ให้กับชาวบ้าน

๒) กรณีบ้านโนนจันทร์เก่า ควร ดำเนินการตรวจสอบการใช้ ประโยชน์จากพื้นที่ หากไม่ได้มี การใช้ประโยชน์ใน กิจการของ กฟผ. ให้คืนแก่ชาวบ้านตาม มาตรา ๔๙ วรรคท้ายของรัฐธรรม นูญ พ.ศ.๒๕๔๐

๒) เห็นชอบให้จังหวัดเร่งตรวจ สอบ ข้อเท็จจริงในการใช้ประ โยชน์ ในพื้นที่บ้าน โนนจันทร์เก่า หากเห็นว่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จริง ก็ให้ กฟผ.ดำเนินกาารเพื่อ โอนกรรม สิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว คืนแก่ เจ้าของที่ดิน เดิมตามกฏ หมาย ต่อไป

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา