eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ทะเลแท้ ทะเลเทียม
ศรีศักร วัลลิโภดม

ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ    ปีที่ ๒๖ ฉบับ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๓

อ่างเก็บน้ำ ทางตอนใต้ของศรีลังกา มีมากกว่าสองพันปี
อ่างเก็บน้ำ ทางตอนใต้ ของศรีลังกา มีมากกว่าสองพันปี
.......การสร้างบ้านแปงเมืองของมนุษย์ทุกแห่งหนในโลกนั้น ต้องสัมพันธ์กับแหล่งน้ำ ซึ่ง อาจแบ่งเป็นสองอย่าง คือน้ำนิ่งและน้ำไหล น้ำนิ่งคือบริเวณที่เป็นบึง หนอง หรือทะเลสาบ ในขณะที่น้ำไหลคือแม่น้ำและลำห้วย
.......สังคมมนุษย์ที่พัฒนาขึ้นทั้งในบริเวณน้ำนิ่งและน้ำไหลนี้ ต่างก็มีสภาวะเหมือนกัน ภาย ใต้อิทธิพลของฤดูกาล แบบเขตมรสุม ที่แบ่งออกเป็นฤดูแล้งและฤดูฝน โดยมีน้ำเป็นตัว แปรสำคัญ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมถ้าน้ำมากเกินไป หรือไม่ก็เกิดการขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร 
ที่ราบลุ่มต่ำ ชายขอบทะเลสาบเขมร
ที่ราบลุ่มต่ำ ชายขอบทะเลสาบเขมร
.......การจัดการน้ำที่เรียกว่าชลประทาน เพื่อการเกษตรดูไม่สำคัญเท่าใดในสังคมโบราณ (ยกเว้นพื้นที่ตามหุบเขาในภาคเหนือ ที่แลเห็นได้จากการจัดให้มีระบบเหมืองฝาย) เพราะ ไม่ว่าจะเป็นดินแดนประเทศไทย หรือประเทศใกล้เคียง เช่น ลาวและเขมร ก็ล้วนยังมี จำนวนประชากรน้อย ผู้คนสามารถกระจายกันอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ เป็นบ้านเมืองขนาดเล็ก ทั้งในพื้นที่น้ำนิ่งและน้ำไหล 
.......สิ่งที่จำเป็นจะต้องควบคุมก็คือภาวะน้ำท่วม ที่อาจทำให้ไร่นาสาโทและที่อยู่อาศัยล่มจม และการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งเท่านั้น
บารายที่ปราสาทวัดพู ใกล้เมืองจัมปาสัก ในประเทศลาว
บารายที่ปราสาทวัดพู ใกล้เมืองจัมปาสัก ในประเทศลาว

.......ในฤดูฝนที่ทำให้เกิดน้ำมากและน้ำท่วมนั้น คือภาวะที่มีทะเลเกิดขึ้น พื้นที่น้ำนิ่งที่มี หนองบึงเป็นแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น มักมีการขยายตัวของพื้นที่น้ำท่วมน้ำขัง ไม่ต่ำกว่าสาม หรือสี่เท่าของพื้นที่ในฤดูแล้ง ยกตัวอย่างเช่นทะเลสาบเขมรในประเทศกัมพูชา มีผู้คำนวณ ว่ามีการขยายตัวราวสี่เท่าของพื้นที่ในฤดูแล้งทีเดียว 
.......ในดินแดนประเทศไทยก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นกว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาน สกลนคร และที่อื่นๆ ในฤดูแล้งสามารถแลเห็นได้ว่าเป็นหนองและบึง ที่ไม่มีขนาดใหญ่ เท่าใด แต่ในฤดูฝนจะเปลี่ยนสภาพเป็นทะเลสาบไปหมด 


ประตูระบายน้ำ เข้าแหล่งเพาะปลูก สมับโบราณ ที่เมืองโปลนนารุวะ ศรีลังกา
.......ช่วงเวลานี้แหละ ที่คนโบราณมักใช้คำว่าทะเล แทนหนองบึง เพราะกลบสภาพหนองบึง ไปหมด 
.......แต่ในปัจจุบัน สภาพความเป็นทะเลยังดำรงอยู่เกือบตลอดป ีก็เพราะการชลประทาน ของทางรัฐบาล ไปสร้างเขื่อนกั้นกักน้ำไว้ สภาพความเป็นหนองบึงอย่างเช่น ที่มีในอดีต จึงไม่ปรากฏ
.......ส่วนในพื้นที่น้ำไหล ก็เกิดภาวะความเป็นทะเลได้เช่นกัน ในฤดูฝน เพราะในบริเวณ พื้นที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำ และลำน้ำไหลผ่านนั้น น้ำจะท่วมท้นสองฝั่งน้ำ และแผ่เข้าไปท่วม บริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นทุ่งนาหนองบึง จนแลเห็นเป็นเวิ้งน้ำไปหมด อย่างเช่นที่เมืองสุโขทัย ที่มีศิลาจารึกบอกว่าทางตะวันออกของเมืองมีทะเลหลวง ก็เพราะพื้นที่สองฝั่งลำน้ำยม จะมี น้ำท่วมท้นไปหมด จึงเป็นเหตุให้ตัวเมืองสุโขทัยต้องตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา ห่างจากลำน้ำ ยมเกือบ ๑๑ กิโลเมตร 
เมืองอมรปุระของพม่า ตั้งอยู่ใกล้กับ แอ่งน้ำใหญ่ ที่สัมพันธ์กับ แม่น้ำอิระวดี
เมืองอมรปุระของพม่า ตั้งอยู่ใกล้กับ แอ่งน้ำใหญ่ ที่สัมพันธ์กับ แม่น้ำอิระวดี 
 .......เมืองพระนครศรีอยุธยาก็เช่นเดียวกัน ในฤดูน้ำ เมืองมีสภาพกลายเป็นเกาะไป พื้นที่ บางแห่งที่มีสภาพเป็นห้วงน้ำลึก และมีน้ำหลากที่เชี่ยวจัด จนเป็นอันตรายต่อการใช้เรือและ เดินเรือ ก็ถูกเรียกว่าทะเล เช่น ทะเลบางบาล ทะเลมหาราช เป็นต้น
.......เมื่อมาถึงตรงนี้ก็อาจมีคำถามได้ว่า การสร้างอ่างเก็บน้ำหรือทะเลเทียมใน อดีตในสังคม ไทย และบ้านเมืองใกล้เคียงเคยมีหรือไม่ คำตอบก็คือมี เพราะแทบทุกแห่งจะ มีการขาด แคลนน้ำในฤดูแล้ง แต่ขนาดของอ่างเก็บน้ำ ที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่าแทงค์ (tank) นั้นแตก ต่างกันไปตามพื้นที่น้ำนิ่งและน้ำไหล 
อ่างเก็บน้ำ เหนือเมืองชะเวโบ ในประเทศพม่า
อ่างเก็บน้ำ เหนือเมืองชะเวโบ ในประเทศพม่า
.......อ่างเก็บน้ำที่พบโดยทั่วไปก็คือที่เรียกว่าสระและตระพัง มักเป็นของที่สัมพันธ์กับ ชุมชนทีเดียว ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำนิ่ง มักจะขุดตระพังขนาดใหญ่กว่าบรรดา ชุมชนที่อยู่ ในพื้นที่น้ำไหล อย่างเช่นชุมชนตามแนวสันทรายแถวชายทะเล ในเขตอำเภอระโนดและ สทิงพระที่อยู่รอบๆ ทะเลสาบสงขลา เป็นต้น ตระพังที่ขุดขึ้นกลายเป็นสัญลักษณ์ของ ชุมชนไปทีเดียว นั่นก็คือการแสดงออกของความเป็นชุมชนแต่ละแห่ง เห็นได้จากตระพัง ประจำชุมชน ที่คนทั่วไปเรียกว่าพัง เช่น พังลาง พังลิง เป็นต้น 
.......เมืองสุโขทัยก็นับเนื่องเป็นแห่งหนึ่ง ที่มีระบบการเก็บน้ำไว้ในตระพังตามวัดต่างๆ ในลักษณะที่ซับซ้อน เพราะตั้งอยู่ในบริเวณที่ลาดราบใกล้เขา ที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ และเกิดการอัตคัดขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง มีตระพังทั้งภายในเมืองและนอกเมือง ตระพัง ใหญ่ๆ ภายในเมืองได้แก่ ตระพังทอง ตระพังเงิน ตระพังสอ ตระพังวัดสระศรี เป็นต้น ตระพังเป็นอ่างเก็บน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคโดยแท้ แต่กรมศิลปากรและ ททท. กลับ จัดให้เป็นที่ลอยกระทงไป 
  .......พื้นที่น้ำนิ่งที่สัมพันธ์กับการสร้างอ่างเก็บน้ำ ทั้งขนาดเล็กที่เรียกว่าตระพัง และขนาด ใหญ่ที่เรียกว่าบาราย ที่นับว่าไม่เหมือนที่ไหนในประเทศไทย ก็คือบริเวณแอ่งโคราชใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนับเนื่องเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภคโดยทั่วไปในฤดูแล้ง 
กว็านพะเยา
กว็านพะเยา แหล่งน้ำแห่งเชียงราย

..............บริเวณนี้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ อีกทั้งอุดมไป ด้วย แร่ธาตุ เช่น เหล็ก ทองแดง เกลือ และของป่า ทำให้มีผู้คนจากภายนอก เคลื่อนย้ายเข้ามา ตั้งถิ่นฐานกัน ตั้งแต่สมัยโลหะ คือกว่า ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว 
.......การเพิ่มจำนวนคนในยุคเหล็ก ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง เป็นเหตุให้มีการจัดการในเรื่องกักเก็บน้ำอย่างมีระบบขึ้น นั่นก็คือการรวมตัวกันทางการ เมืองและสังคม ที่นำไปสู่การร่วมกันสร้างชุมชน ที่มีสระน้ำล้อมรอบขึ้นในรูปแบบเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าการเกิดการเก็บน้ำ ที่เรียกว่าแท็งค์โมท (tank moat) นั้น เกิดขึ้นในพื้นที่แอ่ง โคราชก่อนที่อื่นๆ ก็ว่าได้ 
ปากคลองบอระเพ็ด ช่วงที่ต่อกับแม่น้ำน่าน
ปากคลองบอระเพ็ด ช่วงที่ต่อกับแม่น้ำน่าน
.......ชุมชนที่มีสระน้ำล้อมรอบเช่นนี้ หลายๆ แห่งมีพัฒนาการ คือมีการขุดสระน้ำหลายชั้น บางที่ก็สามชั้น บางที่ก็สี่ชั้น ล้อมรอบชุมชน แสดงถึงระบบการจัดการน้ำที่ซับซ้อนขึ้น 
.......พัฒนาการของชุมชนที่มีสระน้ำล้อมรอบเหล่านี้ สืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดี อันเป็นยุคต้นๆ ประวัติศาสตร์ เกิดบ้านเมืองขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มของลำน้ำมูล-ชี พอประ มาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๖ ลงมาก็เกิดการตั้งหลักแหล่งชุมชนในที่ลาดจากที่สูง หรือภูเขา ลงมายังที่ราบลุ่ม เป็นชุมชนที่ได้รับวัฒนธรรมขอม จากเมืองพระนครในประเทศกัมพูชา 
.......ชุมชนแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น มักไม่มีการขุดสระล้อมรอบชุมชนอย่างแต่ก่อน หากมี โครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า นั่นก็คือประกอบด้วยปุระและบาราย
บึงบอระเพ็ด มองจากยอดเขากบ กลางเมืองนครสวรรค์
บึงบอระเพ็ด มองจากยอดเขากบ กลางเมืองนครสวรรค์
.......ปุระ หมายถึงศาสนสถานที่สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู หรือพุทธมหายาน ลักษณะ เป็นรูปของปราสาทที่มีคูน้ำหรือสระน้ำล้อมรอบ ในขณะเดียวกันก็มีการขุดอ่างเก็บน้ำ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าบาราย สัมพันธ์กับการสร้างปราสาท ที่สามารถอธิบายจากความรู้ทาง จักรวาลวิทยาได้ว่า ปราสาทก็คือเขาพระสุเมรุมาศ ที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ทั้งใน ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ส่วนบารายก็คือมหาสมุทร ที่เรียกว่านทีสีทันดรที่ล้อมรอบเขา พระสุเมรุมาศอยู่ 
.......การสร้างปุระหรือปราสาท ก็คือการสร้างชุมชนหรือเมืองนั่นเอง เพราะมีการอุทิศผู้คน และสัตว์ให้อยู่อาศัย และคอยดูแลศาสนสถานเป็นจำนวนหลายครัวเรือน ที่ทำให้เกิดการ ขยายตัวได้ในเวลาต่อมา 
  ....... ส่วนบาราย ก็คือแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชน แต่ทำให้เป็นแหล่ง น้ำศักดิ์สิทธิ์ เพราะสัมพันธ์กับปราสาทในด้านระบบความเชื่อ การที่เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ นั้น มีนัยความสำคัญมาก เพราะจะเป็นสิ่งที่ผู้คนในชุมชนจะช่วยดูแลรักษา ไม่เอาวัวควาย หรือช้างม้าไปอาบ หรือไปทำอะไรให้เกิดการสกปรก ความศักดิ์สิทธ์มีผลมาถึงเรื่อง ความ สะอาด และปลอดโรคระบาด ที่เกิดจากการใช้น้ำของชุมชน
....... เรื่องของบารายนี้ เคยมีนักวิชาการทั้งไทยและฝรั่งเศส เชื่อว่าเป็นแหล่งเก็บน้ำเพื่อ ใช้ในการเกษตร โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา แต่ก็ไม่มีใครได้ลงไปทำการศึกษา ทางภาค สนามกันอย่างจริงๆ จังๆ 
....... จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีการศึกษากันขึ้นโดยหลายท่าน ผลก็คือนักวิชาการ รุ่นใหม่ส่วนใหญ่ รวมทั้งข้าพเจ้าเอง เห็นว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย หรือ ภาคอีสานนั้น บรรดาบารายที่เกิดขึ้น ล้วนเป็นเรื่องของการเก็บน้ำไว้บริโภคอุปโภค หาได้ เกี่ยวข้องกับการชลประทาน เพื่อการเกษตรไม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นรวมไปถึงบารือ และเดินเรือ ก็ถูก เรียกว่าทะเล เช่น ทะเลบางบาล ทะเลมหาราช เป็นต้น 
สะพานตินสูลานนท์ เชื่อมระหว่างอำเภอเมืองสงขลา กับเกาะยอ บริเวณทะเลสาบ สงขลาตอนล่าง
สะพานตินสูลานนท์ เชื่อมระหว่างอำเภอ เมืองสงขลา กับเกาะยอ บริเวณทะเลสาบ สงขลาตอนล่าง
.......ปัจจุบัน ภาวะความเป็นทะเลแท้ๆ อันเนื่องมาจากน้ำท่วมน้ำหลากในฤดูฝน ได้หมด ไปอย่างสิ้นเชิง อันเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนพลังไฟฟ้า และการชลประทาน ฤดูแล้งที่น้ำ ในแม่น้ำลำคลองงวดไป จนแลเห็นตลิ่งสูงก็ไม่มีแล้ว มีแต่ระดับน้ำคงที่อยู่เกือบทุกหนแห่ง รวมทั้งบริเวณที่เป็นหนองบึง ก็ไม่ปรากฏให้เห็นในฤดูแล้งเช่นกัน กลับมีสภาพเป็นอ่าง เก็บน้ำ หรือทะเลเทียมไปหมด 
.......ไม่ว่าจะเป็นบึงบอระเพ็ด หนองหานสกลนคร รวมทั้งกว๊านพะเยาด้วย 
.......ทะเลเทียมหรืออ่างเก็บน้ำตามหนองบึงเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์ทั้งเพื่อการชลประทาน ในการเกษตร กับการกักน้ำไว้อุปโภคบริโภค นับเป็นชลประทานขนาดเล็ก ที่ไม่ทำลาย สภาพแวดล้อมเท่าใด แต่นับแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา เกิดการชล ประทานขนาดใหญ่ ที่เป็นการสร้างเขื่อนทั้งเพื่อการเกษตร และการใช้พลังงานไฟฟ้า เกือบ แทบทุกภาคของประเทศ เลยเป็นเหตุให้เกิดอ่างเก็บน้ำ หรือทะเลเทียมขึ้นอย่างมากมาย และมีผลกระทบไปถึงการตัดไม้ทำลายป่า เวนคืนที่ดินของประชาชนผู้ด้อยโอกาส ที่เป็น การทำลายทั้งสภาพแวดล้อมระบบนิเวศ และชีวิตมนุษย์อย่างสาหัสสากรรจ์อยู่ในขณะนี้ 
.......โดยย่อก็คืรายขนาดใหญ่ที่พบที่เมืองพระนคร เช่นบารายที่เมืองหริหราลัย และเมือง ยโสธรปุระ ที่เรียกว่าบารายตะวันออกและบารายตะวันตกนั้น ก็หาได้สร้างขึ้นเพื่อการ เกษตรกรรมไม่ 
ทะเลสาบเทียม ของเขื่อนอุบลรัตน์
ทะเลสาบเทียม ของเขื่อนอุบลรัตน์ 
.......หลักฐานสำคัญที่นักวิชาการรุ่นใหม่นำมายืนยันก็คือ บรรดาบารายที่พบทั้งใน ประเทศ ไทย และประเทศเขมรนั้นไม่มีร่องรอยของการสร้างประตูปิดเปิดน้ำ รวมถึงคลองชล ประทานที่จะนำน้ำไปยังแหล่งเกษตรกรรม เป็นสิ่งที่แตกต่างไปจากอ่างเก็บน้ำที่พบใน ประเทศพม่า และศรีลังกา ที่มีอายุเก่าแก่กว่าจนถึงร่วมสมัยเดียวกัน
.......ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า ไม่ว่าจะเป็นบารายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่ เมืองพระนคร ก็ล้วนเป็นสิ่งที่เรียกว่าทะเลศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นโครงสร้างสำคัญในพัฒนาการ ของชุมชนเมือง (urbanization) โบราณในพื้นที่แห้งแล้งทั้งของไทยและกัมพูชา เป็นสิ่งที่ แยกไม่ออกจากความเป็นเมือง ตลอดจนศาสนสถานสำคัญของเมือง 
.......และที่สำคัญก็คือ เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้แลเห็นถึงความสำคัญของน้ำ ในภูมิภาค ที่มักประสบความขาดแคลน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เรียกว่า "เขตแห้งแล้ง"
.......ปัจจุบันนี้ การดำรงอยู่ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีการขยายตัวและ เติบโต ก็ยังขึ้นอยู่กับการขุดตระพังและอ่างเก็บน้ำ (tank) เพื่อเป็นแหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภคแทบทุกหนแห่ง และอาจกล่าวได้ว่า อ่างเก็บน้ำก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง ในโครง สร้างทางกายภาพของชุมชนก็ว่าได้
 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา