eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

เขื่อนปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี : ความไม่ยุติธรรมต่อคนจน

สมัชชาคนจน 

ความเป็นมา

                 เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนผลิตไฟฟ้ามีกำลังการผลิตติดตั้ง ๑๓๖ เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำมูล 5.5 กม.  อยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขื่อนแห่งนี้สร้างขึ้นมาโดยการสนับสนุนการศึกษาโดยรัฐบาลฝรั่งเศส และ ใช้เงินกู้ จำนวน ๒๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากธนาคารโลก

                แต่เดิมกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเขื่อนแห่งนี้โดยกำหนดที่จะสร้างบริเวณแก่งตะนะ  แต่เมื่อ โอนมายัง กฟผ. และได้มีการศึกษาเพิ่มเติมในปี ๒๕๒๕ จึงได้ย้ายมาที่บริเวณบ้านหัวเห่ว ซึ่งเป็นที่ตั้งเขื่อนปัจจุบัน 

                รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย  ชุณหะวัณ ได้อนุมัติโครงการในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๒ 

                การก่อสร้างเขื่อนปากมูล เริ่มต้นขึ้นในปี 2534 และเสร็จสิ้นในปี 2537  ในระหว่างการก่อสร้าง มีการชุมนุมประท้วงจาก ประชาชนในพื้นที่ เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากผลกระทบต่างๆที่ได้รับ และเรียกร้องให้หยุดการระเบิดแก่งต่างๆ ซึ่งเป็นระบบนิเวศน์ที่ สำคัญของลำน้ำมูน

              ในที่สุด กฟผ.จึงได้ตกลงจ่ายค่าชดเชยให้ชาวบ้าน 2 กรณี คือ ค่าชดเชยการสูญเสียทรัพย์สินจากการถูกน้ำท่วมตามจริง (เดิม กฟผ.จ่ายให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบเฉพาะรายที่ กฟผ.ระบุเท่านั้น) อีกกรณีคือ ค่าชดเชยการสูญเสียอาชีพประมงตลอดเวลา 3 ปีของการ ก่อสร้างเป็นจำนวนเงินครอบครัวละ 90,000 บาท จำนวน 3,195 ครอบครัว (เป็นครั้งแรกที่รัฐฯยอมจ่ายค่าชดเชยต้นทุนทางสังคม)

             ภายหลังการสร้างเขื่อนเสร็จแล้ว ผลปรากฎว่า ชาวบ้านยังคงได้รับความเดือดร้อนจากการสูญเสียอาชีพประมง เนื่องจากจำนวน ปลาจากแม่น้ำโขงลดลงเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว  การเรียกร้องครั้งล่าสุดจึงเป็นการเรียกร้องให้มีการชดเชยการสูญเสียอาชีพ อย่างถาวร โดยรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธมีมติให้ชดเชยการสูญเสียอาชีพถาวรเป็นที่ดินครอบครัวละ 15 ไร่

            ภายหลัง ไม่สามารถจัดหาที่ดินให้ได้ รัฐบาลจึงมีมติให้จ่ายค่าชดเชยเป็นเงินแทน ไร่ละ 35,000 บาท  ในขณะที่รอการจ่ายค่า ชดเชย รัฐบาลพล.อ. ชวลิต ลาออก  รัฐบาลชวน หลีกภัย มีมติ ครม.21 เมษายน 2541 ไม่จ่ายค่าชดเชยให้กับเขื่อนที่สร้างแล้ว จึงเท่ากับ ยกเลิกสัญญาที่ชาวบ้านเคยได้รับ

                ชาวบ้านได้รวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งเมื่อ 16 เดือนที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนข้อเรียกร้อง เป็นการให้ กฟผ.เปิดประตูระบายน้ำ ให้ ปลาจากแม่น้ำโขงขึ้นมาวางไข่ เพื่อฟื้นฟูอาชีพประมง และวิถีชีวิตที่สูญเสียไป ให้กลับคืนมาอย่างยั่งยืน                

สภาพปัญหา

๑. ความไม่เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์

- ต้นทุนของเขื่อนที่เพิ่มขึ้น

            การสร้างเขื่อนปากมูล ต้นทุนการก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นจาก ๓,๘๘๐ ล้านบาทเป็น ๖,๖๐๐ ล้านบาท โดยยังไม่รวมต้นทุนผล กระทบทางสังคม

-ผลประโยชน์ต่ำกว่าที่วางไว้

           ด้านการผลิตไฟฟ้า:ผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ขณะที่กำลังไฟฟ้าสำรองของประเทศมีมากเกินไป

          เขื่อนปากมูล ถูกออกแบบให้ผลิตไฟฟ้าในช่วง ๔ ชั่วโมงที่มีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละวัน  แต่ในฤดูฝนเขื่อนปากมูลไม่ สามารถเดินเครื่องได้ตลอดทั้ง ๔ ชั่วโมงที่มีความต้องการกระแสไฟฟ้าสูงสุด แต่ต้องเดินเครื่องในช่วงเวลาอื่นเป็นประจำ  เนื่องจาก เขื่อน ปากมูลเป็นเขื่อนแบบน้ำไหลผ่าน (run-of the river) กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในอ่างและระดับน้ำท้ายอ่าง 

                การศึกษาคณะกรรมการเขื่อนโลก ในสรุปร่างรายงานฉบับสุดท้าย(Final Report จาก www.dams.org) ระบุว่า  ในช่วงเดือน เมษายนและพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงที่ปริมาณน้ำมีความเหมาะสม เขื่อนปากมูลผลิตไฟฟ้าได้ไม่เกิน ๕ ล้านหน่วย หากเทียบเป็นกำลัง การผลิตติดตั้งแล้วเท่ากับไม่เกิน ๔๐ เมกกะวัตต์จากกำลังการผลิตสูงสุด 136 เมกกะวัตต์ (สามารถเดินเครื่องได้เกิน ๔๐ เมกกะวัตต์ได้  แต่จะเดินเครื่องได้ไม่ถึงวันละ ๔ ชั่วโมง) และเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูงขึ้นมากๆ ก็ต้องหยุดเดินเครื่อง เนื่องจากระดับน้ำแตกต่างกัน น้อยจนไม่สามารถหมุนกังหันได้

                นอกจากนั้น จากการศึกษาของคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาฯ 16 กรณี พบว่า ในปี 2541 มีหลายเดือนที่เขื่อนปากมูลไม่ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(Peak Load) แสดงว่าระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่ เชื่อมต่อกันทั้งระบบในประเทศ สามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดอุบลฯและใกล้เคียงได้ รวมทั้งพบว่า ถ้าหยุดการผลิต ไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูล 4 เดือน จะส่งผลกระทบต่อค่า FT เท่ากับ 0.0061 บาทต่อ KWH หรือหากหยุดการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งปี จะส่งผลกระทบต่อค่า FT เท่ากับ 0.0038 บาทต่อ KWH

                ในขณะเดียวกัน ปัจจุบันนี้ กฟผ.มีกำลังการผลิตรวมทั้งประเทศที่พึ่งพาได้ (Dependable Capacity) 23,992.5 MW ในขณะที่มี ความต้องการไฟฟ้าสูงสุด 14,750.5 MW จึงเหลือกำลังไฟสำรองถึง 9,242.4 MW คิดเป็น 62.6 % ของความต้องการ (อ้าง:PDP-แผน พัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า 2542-2554 PDP99-01 Revised กค.2543: ฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า) ทั้งที่จากการศึกษาของ Price Water House กำหนดมาตรฐานการสำรอง ไว้เพียง 18% และในอนาคตยังมีโครงการผลิตไฟฟ้าจากเอกชน (IPP และ SPP) ที่กำลังรอ เข้าสู่ระบบ        

-ไม่มีประโยชน์ด้านชลประทาน

                 กฟผ.ระบุว่า เขื่อนปากมูลจะก่อให้เกิดพื้นที่ชลประทาน ๑๖๐,๐๐๐ ไร่ ซึ่งคิดเป็น ๓% ของผลประโยชน์ทั้งหมด   แต่ปัจจุบัน ยังไม่มี โครงการโดยตรงในการใช้ประโยชน์ในทางชลประทาน มีเพียงโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งเป็นของกรมพัฒนาและ ส่งเสริม พลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งดำเนินการมาก่อนหน้านี้

 ผลประโยชน์ด้านการประมงติดลบ

                กฟผ.ระบุว่า เขื่อนปากมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ด้านการประมงคิดเป็น ๗% ของประโยชน์ที่ได้ทั้งหมด  แต่การศึกษาของ คณะกรรมการเขื่อนโลก .เมื่อปลายปี 2542 พบว่า ผลประโยชน์ที่ได้จริงเป็นลบ เพราะปริมาณปลาที่จับได้บริเวณอ่างเก็บน้ำหลังการ สร้างเขื่อนลดลงทั้งตอนกลางและตอนปลายของอ่างเก็บน้ำ คิดเป็น ๖๐% และ ๘๐% ตามลำดับ  

๒. ผลกระทบต่ออาชีพประมง

                ชุมชน 2 ริมฝั่งน้ำมูน มีอาชีพหลักคือการทำประมง เนื่องจากระบบนิเวศน์ เอื้อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และหลากหลายของ พันธุ์ปลาจากแม่น้ำโขง ประกอบกับพื้นดินบริเวณเหนือตลิ่งไม่เหมาะกับการทำเกษตรกรรม อาชีพประมงจึงเป็นบ่อเกิดที่หล่อเลี้ยงชีวิต และเป็นที่มาของวัฒนธรรมของชุมชนริม 2 ฝั่งลุ่มน้ำปากมูนมาเนิ่นนาน

                เขื่อนปากมูลได้ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของปลาและผลผลิตปลาลดลงอย่างรวดเร็ว ชาวประมงกว่า 4000 ครอบครัวสูญเสีย อาชีพ ที่เหลือรายได้ลดลง 

                จากการศึกษาของ ดร.ชวลิต วิทยานันท์พบว่า แม่น้ำมูนก่อนการสร้างเขื่อนมีพันธุ์ปลาประมาณ 240 ชนิด คณะกรรมการ เขื่อนโลกศึกษา  พบว่า เป็นปลาอพยพ ๗๗ ชนิด  และปลาชนิดที่อาศัยอยู่ตามแก่ง ๓๕ ชนิด และปัจจุบันแก่งเหล่านี้ ๕๐ กว่าแก่งได้จม อยู่ใต้อ่างเก็บน้ำ การสร้างเขื่อนทำให้พันธุ์ปลา ๑๖๙ ชนิดได้รับผลกระทบ และมีปลาถึง ๕๖ ชนิดที่ปรากฏว่าไม่สามารถจับได้อีกเลย ภายหลังการสร้างเขื่อน  ขณะที่บันไดปลาโจนที่สร้างขึ้นมาไม่ได้ช่วยให้ปลาอพยพตามฤดูกาลจากแม่น้ำโขงเข้าสู่ลุ่มน้ำชีและมูลได้  เขื่อนปากมูลจึงปิดตายระบบลุ่มน้ำชี/มูลที่มีพื้นที่ถึง ๑๑๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรทั้งระบบ

                ข้อมูลของ ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดอุบลราชธานี กรมประมง พบว่า ปลาสามารถผ่านบันไดปลาโจนได้ ๖๓ ชนิด คิดเป็น ประมาณ ๒๐% ของพันธุ์ปลาทั้งหมด ผลการศึกษาเพิ่มเติมของ ดร.ชวลิต ได้ข้อสรุปว่า ในบรรดา ๖๓ ชนิด บางชนิดที่ข้ามได้พบว่า มีแค่ตัวหรือสองตัวเท่านั้น

                 ในขณะเดียวกัน การปล่อยกุ้งก้ามกรามก็ไม่ได้แก้ปัญหา เนื่องจากกุ้งก้ามกรามวางไข่ในน้ำเค็ม หลังจากนั้นจึงอพยพมายังเขต น้ำจืด  ดังนั้นกุ้งก้ามกรามจึงไม่สามารถขยายพันธุ์ในอ่างได้  ผลผลิตกุ้งระหว่างปี ๒๕๓๘–๒๕๔๑ จึงอยู่ระหว่าง ๖–๑๕ ตันเท่านั้น

                  การเพาะพันธ์ปลาเพื่อปล่อยทดแทนพันธ์ปลาที่สูญหายไปจากลำน้ำมูน ก็ช่วยไม่ได้มากนัก เพราะความสามารถในการ เพาะพันธ์ปลาบางชนิดทำได้ยากมาก ปลาที่เลี้ยงจึงมีเพียงปลาในท้องตลาด ที่ได้รับการส่งเสริมจาก บริษัท ซี.พี. ซึ่งมีราคาต่ำ และไม่ เป็นที่นิยมในท้องถิ่น เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลานิล ส่วนปลาของแม่น้ำมูน เช่น ปลายี่สก ปลากะโห้ และปลาพิเศษ บางชนิด รวมทั้งปลาจากแม่น้ำโขง  เช่น ปลาตองลาย ปลาเสือตอลายเล็ก ปลาขนากยักษ์ ซึ่งชอบลักษะน้ำไหล นับวันจะหายาก จนน่า กลัวว่าอาจจะสูญพันธ์ในอนาคต  

๓.ความไม่ยุติธรรมที่ชาวบ้านได้รับ

                -กระบวนการสร้างเขื่อนปากมูลไม่เคารพต่อสิทธิของชาวบ้าน ที่ไม่ต้องการให้มีการสร้างเขื่อนตั้งแต่แรก  แต่กลับกีดกัน ชาวบ้านออกไป อีกทั้งใช้ตรรกะคนส่วนน้อยต้องเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่  แม้กระทั่งเขื่อนสร้างจวนเสร็จชาวบ้านก็เพิ่งทราบว่าที่ดิน ทำกินและที่อยู่อาศัยของตนจะถูกน้ำท่วมหรือไม่  กฟผ. ยังได้ปกปิดข้อมูลการระเบิดแก่งท้ายเขื่อนเพื่อสร้างร่องระบายน้ำ  และเมื่อเกิด การคัดค้านยังได้ใช้วิธีการแบ่งแยกแล้วปกครอง โดยดึงชาวบ้านส่วนหนึ่งที่อิงกับอำนาจรัฐออกไปดูงานและโน้มน้าวให้สนับสนุนการ สร้างเขื่อน จนกระทั่งชาวบ้านต้องแบ่งแยกออกเป็น ๒ ฝ่ายที่ขัดแย้งกัน

                ยิ่งไปกว่านั้น แรกเริ่มกฟผ.ยังได้บิดเบือนข้อมูลว่าจะมีการสร้างฝายยาง ขณะที่ทำตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบให้ดูน้อยโดยระบุ ว่าคาดว่าจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ ๒๔๑ ครอบครัวใน ๑๑ หมู่บ้าน แต่ในความเป็นจริงมีชาวบ้านถึง ๑,๗๐๐ ครอบครัวที่ต้องสูญเสีย บ้าน  ที่ดิน  หรือทั้ง ๒ อย่าง  

                -การจ่ายค่าชดเชยไม่ได้มาจากการวางแผน  ทำให้ชาวบ้านต้องชุมนุมประท้วงอย่างยืดเยื้อเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม  จน กระทั่งได้มีการชดเชย  ดังนั้นการชดเชยทั้งบ้านที่ได้รับผลกระทบ จากการระเบิดแก่ง และการชดเชยอาชีพประมงที่ได้รับผลกระทบ ระหว่างการสร้างเขื่อน ๓ ปี จึงมาจากการต่อสู้เรียกร้อง  เดินขบวน  และเผชิญกับการใช้ความรุนแรง

                -มาตรการการแก้ปัญหาอาชีพของผู้ได้รับผลกระทบของ กฟผ.ล้มเหลว  การเพาะเลี้ยงและปล่อยพันธุ์ปลาและกุ้งก้ามกราม นั้นได้กล่าวไปแล้ว  ขณะที่โครงการอบรมวิชาชีพของ กฟผ.ให้แก่ชาวบ้าน เช่น ทำขนมเค็ก ตัดผม  ดัดผม ซ่อมจักรยานยนต์  ช่างไฟ  ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง

                -รัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับชาวบ้าน  โดยเฉพาะการสูญเสียอาชีพประมงถาวร เพราะชาวบ้านปากมูน คือชาว ประมง มิใช่ชาวนา เมื่อเกิดผลกระทบขึ้นรัฐบาล พล.อ.ชวลิต  ยงใจยุทธ  จึงได้ตกลงจะแก้ปัญหาการสูญเสียอาชีพประมงถาวรโดย จัดสรรที่ดินทำกิน ๑๕ ไร่ แต่รัฐบาลชวน  หลีกภัยได้ยกเลิก
 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา