eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

 ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิด 

โดย สมัชชาคนจน

ความเป็นมา

                ในต้นทศวรรษ ๒๕๒๐ รัฐบาลไทยโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ โดย ผ่านสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำโขงตอนล่างทำการศึกษาความเหมาะสมโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่าง ดำเนินการโดย บริษัท Nedeco รายงานการศึกษาแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๒๕ และเสนอให้สร้างฝายราษีไศล

                ต่อมาในปี ๒๕๓๐ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้ทำการศึกษาและจัดทำรายงานเบื้องต้นโครงการโขง-ชี-มูล โดยจะผันน้ำ จากแม่น้ำ โขงมาลงยังน้ำพองและลำปาวเพื่อปล่อยลงแม่น้ำชี และจากแม่น้ำชีมีคลองผันน้ำข้ามลุ่มน้ำลงไปยังลุ่มน้ำมูนโดยทำการก่อสร้าง เขื่อนยก ระดับน้ำรวม ๔ เขื่อนซึ่งรวมเอาฝายราษีไศลด้วยเพื่อสูบน้ำเข้าคลองผันน้ำและส่งไปยังลำน้ำมูน

               โครงการราษีไศลจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในโครงการผันน้ำโขง-ชี-มูล

               ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๒ รัฐบาล พล.อ.ชาติชาย  ชุณหะวัน ได้มีมติอนุมัติให้สร้างฝายยางสูง ๔.๕ เมตร กักเก็บน้ำไม่เกิน ตลิ่ง  ต่อมา ในปี ๒๕๓๕ จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างและแล้วเสร็จในปี ๒๕๓๖ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้ตั้งงบประมาณในการ ก่อสร้างเขื่อน แห่งนี้ไว้ที่ ๑๔๐.๙๗ ล้านบาท แต่การก่อสร้างจริงในปี ๒๕๓๕–๒๕๓๖ งบประมาณบานปลายไปถึง ๘๗๑.๙ ล้านบาท มากกว่าราคา ประเมินครั้งแรกถึง ๖๐๐% โดยที่ต้นทุนนี้ไม่รวมถึงค่าก่อสร้างระบบชลประทานแต่อย่างใด

              ภายหลังก่อสร้างฯ น้ำได้ท่วม ทิ่ดิน ป่าบุ่ง ป่าทาม ซึ่งเป็นที่ทำมาหากินของชาวบ้านมาเป็นเวลานาน จำนวน 50,000 ไร่  ดังนั้น จึงมีชาวบ้านที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินเหล่านั้น 11,358 ไร่ จาก 1154 ครอบครัว รวมตัวกันเรียกร้องค่าทดแทน (ชาวบ้านที่ ครอบครองที่ดินการทำประโยชน์ที่เหลีออีกประมาณ 40,000 ไร่ ไม่ร่วมเรียกร้องในครั้งนี้ เพราะส่วนใหญ่กลัวและไม่เชื่อว่าจะได้รับค่า ทดแทน)

               ในที่สุด ในปี 2538-2539   กรมพัฒนาฯจึงให้มีการพิสูจน์การครอบครองและทำประโยชน์ในที่น้ำท่วม และจ่ายค่าทดแทนให้ ในเดือนตุลาคม 2540  ต่อมา ชาวบ้านที่มีที่ดินที่ครอบครองทำประโยชน์ที่เหลืออีกกว่า 40,000 ไร่ ได้เรียกร้องขอพิสูจน์สิทธิเพื่อขอค่า ทดแทนด้วย นอกจากนั้นยังข่าวลือว่า ใครก็ตามที่ยื่นคำขอพิสูจน์สิทธิ์รอบต่อไปจะได้ขึ้นทะเบียนเพื่อรอรับค่าทดแทน ดังนั้นจึงมีผู้ยื่น แจ้งความจำนงขอพิสูจน์สิทธิ์เป็นจำนวนมาก บางรายอยู่ไกลถึง ระยอง ฉะเชิงเทรา รวมทั้งมีการจัดตั้งคนบางกลุ่มเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ที่ต้อง การค่าชดเชย ให้เป็นข้ออ้างกับฝ่ายรัฐฯว่า มีความพยายามฉ้อฉลจากชาวบ้านที่ไม่เดือดร้อนจริง ในที่สุดตัวเลขผู้เรียกร้องฯจึงเพิ่มขื้นถึง 17,000 ราย และ กลายเป็นกรณีคลาสสิคของฝ่ายรัฐฯที่ใช้เป็นตัวอย่างในการโจมตีการเรียกร้องค่าชดเชยฯจากผู้เดือดร้อน

             สมัชชาคนจน จึงเสนอให้เปิดประตูน้ำ เพื่อทำการพิสูจน์สิทธิการครอบครองการใช้ประโยชน์ทุกราย รวมทั้งผู้ที่ได้รับค่าชดเชย แล้วก็ยินดีให้มีการพิสูจน์ใหม่ และยินดีคืนค่าทดแทนที่ได้รับให้กับรัฐฯ ถ้าการพิสูจน์พบว่าที่ผ่านมาไม่ถูกต้อง นอกจากนั้น สมัชชา คนจนยังเสนอให้มีการศึกษาผลกระทบเรื่องดินเค็ม และการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาทุกระดับ  

สภาพปัญหา

๑.กระบวนการสร้างเขื่อนที่ผิดกฎหมาย

             ๑.๑ การสร้างเขื่อนราษีไศลขัดกับมติ ครม. เพราะตามมติ ครม.ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการ สร้างฝาย ยางกั้นแม่น้ำมูนที่บริเวณบ้านปากห้วย อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เก็บน้ำไม่เกินตลิ่งหรือสูง ๔.๕ เมตร  แต่กรมพัฒนาและส่งเสริม พลังงาน กลับสร้างเขื่อนคอนกรีตสูง ๙ เมตร

             ๑.๒ การสร้างเขื่อนราษีไศลขัดต่อกฎหมายสิ่งแวดล้อม  เนื่องจากพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้ กำหนดให้ โครงการเขื่อนที่มีพื้นที่อ่างเก็บน้ำมากกว่า ๑๕ ตารางกิโลเมตร จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แต่กรม พัฒนาและส่งเสริมพลังงานกลับไม่ได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติแต่ประการใด   

๒.ผลประโยชน์ไม่ได้ตามที่วางไว้

              เขื่อนราษีไศลสร้างเสร็จไปแล้ว ๖ ปี แต่ระบบคลองส่งน้ำเพื่อการชลประทานยังสร้างไม่เสร็จ ทำให้เขื่อนราษีไศลยังไม่มีการใช้ ประโยชน์ ในทางชลประทานเลยแม้แต่น้อย

๓.ผลกระทบ

               การสร้างเขื่อนที่ขัดกับมติ ครม.และไม่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายกำหนด  ทำให้เขื่อนราษี ไศลขาด ฐานข้อมูลในเรื่องของผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม สรุปได้ดังนี้

ด้านสิ่งแวดล้อม

               ๑) การสร้างเขื่อนราษีไศล ทำลายป่าบุ่ง ป่าทาม ที่อุดมสมบูรณ์ ป่าทามที่ถูกน้ำท่วมนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากที่สุด แห่งหนึ่งของภาคอีสาน เป็นระบบนิเวศน์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อพันธุ์ปลา  และยังเป็นแหล่งพืชสมุนไพรและแหล่งอาหารรวมทั้งรายได้ ในครอบครัวของชาวบ้าน

                ๒) การสร้างเขื่อนราษีไศลได้ก่อให้เกิดปัญหาดินเค็ม เนื่องจากใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศลมีบริเวณที่มีชั้นหินเกลือรองรับอยู่ ไม่น้อยกว่า ๑๐ ตารางกิโลเมตร ในเขตอ่างเก็บน้ำของเขื่อนราษีไศลยังเคยเป็นแหล่งเกลือที่ชาวบ้านได้นำมาใช้ประโยชน์ถึง ๑๕๐ แห่ง แม่น้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำมูนบริเวณนี้ยังมีความเค็มสูง  แม้ว่าสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เสนอให้กรมพัฒนาและส่งเสริม พลังงานระงับการก่อสร้างระบบชลประทานไว้ก่อน แต่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกลับเดินหน้าทำการก่อสร้างระบบชลประทาน ต่อไป ทำให้เมื่อนำน้ำไปใช้เกิดปัญหาดินเค็มตามมา (ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาของ ม.ขอนแก่น จุฬาฯ มหิดล และกรมพัฒนา ที่ดิน)  

ด้านสังคม

                   ๑) ผลกระทบจากอ่างเก็บน้ำ การสร้างเขื่อนราษีไศลก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมต่อชาวบ้านหลายพันครอบครัวที่ตั้ง ชุมชนรอบอ่าง เนื่องจากชาวบ้านต้องสูญเสียแหล่งปัจจัยในการผลิตและการดำรงชีวิต โดยเฉพาะที่ดินในป่าบุ่งป่าทาม แหล่งเกลือ และ ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำมูล

                   พื้นที่นาทามนั้น กล่าวได้ว่าเป็นพื้นที่เกษตรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในเขตนี้ เนื่องจากได้รับตะกอนในช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งเป็นปุ๋ย อย่างดี ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ การทำนาทามของชาวบ้าน ยังมีการใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองถึง ๑๓ ชนิด ซึ่งปัจจุบันสูญหายไปแล้ว นอกจากนั้นชาวบ้านยังสูญเสียภูมิปัญญาในการดำรงชีวิต ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศน์แบบทามอีกด้วย

                  ๒) ผลกระทบจากคันดิน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานสร้างคันดิน (dike) รอบอ่างเก็บน้ำเป็นระยะทาง 45.8 กิโลเมตร โดยอ้างว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพื้นที่อ่างเก็บน้ำมากเกินไป แต่คันดินเหล่านี้กลับกลายสภาพเป็นเขื่อนซ้อนเขื่อน เพราะน้ำไม่สามารถ ระบายลงอ่างได้ ทำให้น้ำท่วมที่นาของชาวบ้านรอบอ่างเป็นพื้นที่ถึง ๑๐,๐๐๐ กว่าไร่                

๔.กระบวนการสร้างเขื่อนและการแก้ปัญหาของรัฐที่ไม่ยุติธรรมต่อชาวบ้าน

                ๑.กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานสร้างเขื่อนโดยปกปิดข้อมูลและลวงชาวบ้านว่าจะสร้างฝายยางกักเก็บน้ำไม่เกินตลิ่ง  แต่กลับ สร้างเขื่อนคอนกรีต

                 ๒.เมื่อชาวบ้านไม่สามารถหยุดโครงการได้ จึงขอให้จ่ายค่าชดเชย  แต่รัฐไม่มีความเข้าใจและไม่ยอมรับระบบกรรมสิทธิ์ใน การใช้และจัดการทรัพยากรของชาวบ้าน ที่เป็นวัฒนธรรมระบบกรรมสิทธิ์ร่วม (common property) และสิทธิตามประเพณี(customary right) ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ 

                ๓) มีการนำกรณีการจ่ายค่าชดเชยเขื่อนราษีไศลมาเป็นเกมส์การเมืองของนักการเมือง มีการกล่าวหานักการเมืองฝ่ายค้านและ ชาวบ้านว่าโกงเงินรัฐ  แต่ก็ไม่ได้ดำเนินคดีจริง  ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายความชอบธรรมของชาวบ้าน

                ๔) หน่วยงานรัฐและนักการเมือง ใช้วิธีจัดตั้งมวลชนเพื่อให้มีการเผชิญหน้ากันเองในลักษณะของการ "แบ่งแยกแล้วปกครอง" ทำให้ชาวบ้านราษีไศลแตกออกเป็น ๘ กลุ่ม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีกลุ่มที่รัฐจัดตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะ อีกทั้งมีการเพิ่มตัวเลขจำนวนผู้เรียก ร้องให้สูงถึง ๑๗,๐๐๐ ราย เพื่อที่จะทำลายความชอบธรรมในการเรียกร้องสิทธิ์ของชาวบ้านที่เดือดร้อน ให้ดูเหมือนว่ามีคนมาเรียกร้อง เกินจริงมาก

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา