eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

เขื่อนราษีไศล

ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน  มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๒๕๔๓ มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๒๕๔๓

และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.

โดย สมัชชาคนจน 

ข้อเรียกร้องของชาวบ้าน

มติคณะกรรมการกลาง

มติ ครม.

ข้อคิดเห็นสมัชชาคนจน

๑)ให้ยกเลิกการกักเก็บน้ำ โดยการเปิดประตูทั้ง ๗ บาน

๑) (มาตรการเร่งด่วน) ให้เปิดประตูระบายน้ำ ทั้ง ๗ บานเพื่อบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ สังคมเฉพาะหน้าและดำเนินการพิสูจน์ สิทธิ การครอบครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

๑) เห็นชอบให้เปิดประตูระบาย น้ำ ทั้ง ๗ บานเพื่อบรรเทาผลกระทบ สิ่งแวดล้อมและ สังคมเฉพาะหน้า และ ดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบ ครอง และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

๒) ให้ประเมินความคุ้มค่า ของฝายราษีไศลโดยให้ รวม ค่าใช้จ่ายในการ แก้ปัญหาผล กระทบทาง สังคมและสิ่ง แวดล้อม เข้ามาประกอบการ คำนวณด้วย และให้เร่งตรวจ สอบ การแพร่กระจายของดิน เค็มที่เกิดจากการกักเก็บน้ำ

๒) การตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ของฝายราษี ไศลในอนาคตให้รอผลการ ศึกษาโดยสถาบัน การศึกษาที่กำลังดำเนิน การอยู่เพื่อประกอบ การพิจารณาการใช ้ประโยชน์ ของฝายราษี ไศลในระยะยาวโดยให้มีการ คิดรวม มูลค่า สิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าเป็นต้นทุน ของ โครง การพร้อมกับพิจารณาระดับ เก็บกักน้ำที่เหมาะ สมใหม่  โดยกระบวนการพิจารณาต้องตั้ง คณะกรรมการพหุภาคีที่มีฝ่ายต่าง ๆ เข้ามามี ส่วนร่วมพิจารณาผล การศึกษาดังกล่าว  ทั้งนี้ มาตรการลดผลกระทบต่าง ๆ จะต้องเป็นที่ เข้าใจและยอม รับของประชาชน

๒) เห็นชอบให้รอผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคมที่อยู่ระหว่าง การดำเนินการของสถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอนแก่น

๒) มติ ครม.ไม่ได้พิจารณาข้อ เสนอ ของคณะกรรมการกลางฯ ที่ให้การ ตัดสินใจดำเนินการใด ๆ ของฝาย ราษีไศลในอนาคตให้รอ ผลการ ศึกษา โดยสถาบันการศึกษาที่กำลัง ดำเนิน การอยู่ทั้งหมด ซึ่งมิได้มีเพียง จุฬาลงกรณ์และ ขอนแก่นแต่ยังมี การศึกษาของ กรมพัฒนาที่ดินและ มหิดลด้วย นอกจากนั้นมติ ครม.ยัง ตัดสาระสำคัญดังนี้ 

๒.๑ ไม่ได้ระบุให้การพิจารณาการ ใช้ประโยชน์ของฝายราษีไศลใน ระยะยาวโดยให้มีการคิดรวม มูลค่า สิ่งแวดล้อมและสังคม เข้าเป็นต้นทุน ของโครงการ

๒.๒ ไม่ได้ระบุว่าการพิจารณา ระดับ เก็บกักน้ำที่เหมาะสมใหม่

๒.๓ ไม่ได้ระบุว่ากระบวนการ พิจารณาต้องตั้งคณะกรรม การพหุ ภาคีที่มีฝ่ายต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม พิจารณาผลการศึกษา

๒.๔ ไม่ได้ระบุว่ามาตร การลดผล กระทบต่าง ๆ จะต้องเป็นที่เข้าใจ และ ยอมรับของประชาชน

๓)ให้ฟื้นฟูป่าบุ่งป่า ทามและ ชุมชนที่ได้ รับผลกระทบ

 

 

 

๔)เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยว ข้อง กับโครงการทั้งหมด ให้กับชาว บ้านและ สาธารณะรวมถึง สัญญาต่างๆที่มี เช่น แบบ เขื่อน ระบบชลประทาน ฯลฯ รวมถึงสัญญาว่าจ้าง การก่อ สร้าง

 

 

 

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา