eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

จดหมายถึงนายชิโนซาวา ประธาน JBIC เพื่อคัดค้าน JBIC ในการให้ทุนบริษัท Sanyu ศึกษาโครงการผันน้ำมิตรภาพลาว-ไทย 

อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษที่นี่

๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕
มร.ชิโนซาวา เคียวซูโกะ
ประธาน ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Corporation-JBIC)

1-4-1 Otemachi, Chiyoda-ku, Tokyo

Japan 1008144

เรื่อง คัดค้านการให้เงินทุนศึกษาโครงการผันน้ำมิตรภาพไทย-ลาวที่เสนอโดยบริษัทซันยู อิงค์ แห่งประเทศญี่ปุ่น

เรียน มร.ชิโนซาวา เคียวซูโกะ ประธานพวกเรา เป็นองค์กรประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และสถาบันวิชาการ ซึ่งลงนามในท้ายจดหมายฉบับนี้ทราบว่าทาง JBIC กำลังตัดสินใจให้ทุนการศึกษาที่เสนอโดย บริษัท ซันยูฯ ของญี่ปุ่น ในการศึกษาการจัดสร้างเขื่อนและผันน้ำบนแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำชีในไทย แม่น้ำเซบังเหียง เซดอน และเซบังไฟใน สปป.ลาว พวกเรากังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษานี้ เพราะเป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการผันน้ำดังที่เคยเสนอโดยบริษัทเดียวกันเมื่อปี ๒๕๔๑ที่มีชื่อว่า โครงการผันน้ำมิตรภาพลาว-ไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนภายใต้โครงการนี้ได้มีการเสนอให้สร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเซบังเหียงในแขวงสะวันนะเขต ของลาว และสร้างอุโมงค์ลอดแม่น้ำโขงเพื่อผันน้ำเข้ามายังภาคอีวานของไทยที่จังหวัดอำนาจเจริญ โครงการขนาดใหญ่นี้จะก่อใหเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อทั้งสองประเทศอย่างรุนแรงซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ผลกระทบใน สปป.ลาว๑) โครงการผันน้ำจะทำให้เกิดการอพยพของชาวบ้านจำนวนมากที่ตั้งชุมชนที่จะกลายเป็นอ่างเก็บน้ำ๒) การสร้างเขื่อนจะทำให้กีดขวางการอพยพของปลาจากแม่น้ำโขงทำให้ไม่สามารถขึ้นไปวางไข่ในแม่น้ำเซบังเหียง ซึ่งเป็นการทำลายระบบนิเวศและวงจรชีวิตของปลาในแม่น้ำโขงและเซบังเหียง๓)อ่างเก็บน้ำจะท่วมพื้นเกษตรกรรมของชาวบ้าน๔) การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จะทำให้เกิดความเสี่ยงจากการเก็บน้ำจำนวนมากโดยเฉพาะในฤดูฝนผลกระทบในประเทศไทย๑)ปัญหาดินเค็ม การผันน้ำขนาดใหญ่มาลงในภาคอีสานของไทยจะทำให้เกิดการกระจายของดินเค็มซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของภาคอีสาน ดังกรณีการสร้างเขื่อนราษีไศลในจังหวัดศรีษะเกษที่ทำให้เกิดปัญหาดินเค็มในพื้นที่ชลประทานจากการใช้เค็มในอ่าง และการที่น้ำจากระบบชลประทานไปละลายเกลือใต้ดินซึ่งไปทำลายพื้นที่ชลประทาน๒)ความไม่เหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ ชาวนาในภาคอีสานไม่ได้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเนื่องจากชาวบ้านมีการทำการเกษตร ๒๒๒๒ รูปแบบคือ การทำนาในที่โคกหรือที่สูงโดยการอาศัยชลประทานน้ำฝนและการทำนาทามในที่ลุ่มในฤดูแล้ง การทำนาทามนั้นสามารถอาศัยน้ำจากพื้นที่ชุ่มน้ำที่กระจายทั่วไป รวมทั้งสามารถเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ประเด็นนี้ ทำให้พวกเรามีคำถามว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องผันน้ำ นอกจากนั้นลักษณะของพื้นที่ในภาคอีสาน การทำนาในฤดูแล้งในพื้นที่สูงหรือพื้นที่โคกเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน เพราะพื้นที่โคกในภาคอีสานไม่มีความชุ่มชื้นพอเพียงสำหรับให้ข้าวออกรวงและมีเมล็ดที่สมบูรณ์ได้ ดังนั้นชาวบ้านจึงไม่ได้รับประโยชน์จากการชลประทานของโครงการผันน้ำมิตรภาพลาว-ไทยเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนยิ่งไปกว่านั้น มีหลักฐานว่าโครงการเขื่อนปากมูลซึ่งสนับสนุนเงินทุนโดยธนาคารโลก ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้นล้มเหลวในการจ่ายน้ำเพื่อการชลประทานในพื้นที่โคกตามที่ได้ให้สัญญาไว้ เนื่องจากชาวบ้านไม่ต้องการทำนาครั้งที่สองในพื้นที่โคก จึงไม่ต้องการจ่ายค่าน้ำ (ค่าสูบน้ำ) โครงการผันน้ำไทย-ลาวจึงไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิงพวกเราเข้าใจว่า ปัจจุบัน JBIC กำลังดำเนินการจัดทำข้อกำหนดทางสังคม และสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่สำหรับพิจารณาการให้เงินสนุบสนุนโครงการหรือแผนงาน เราจึงขอให้ JBIC ตระหนักถึงการดำเนินการตามขั้นตอนนี้ที่จะทำให้ JBIC เป็นองค์กรที่ดำเนินงานโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบ และโปร่งใส พวกเราได้กล่าวไปอย่างชัดเจนแล้วว่า การศึกษาโครงการผันน้ำนี้ไม่เหมาะสมและไม่ตระหนักถึงปัญหาทางสังคม สิ่งแวดล้อมตามที่ JBIC ได้ปวารนาตัวไว้พวกเรายังไม่พอใจบริษัทซันยูฯ ที่ได้เสนอโครงการศึกษานี้ที่ตั้งสมมติฐานที่คับแคบว่าการผันน้ำเป็นทางเลือกหลักที่เป็นไปได้ในการพัฒนาพื้นที่ในโครงการ อีกทั้งยังมีเบื้องหลัง เพราะแท้จริงแล้วจุดหมายของการศึกษานี้ก็เพียงเพื่อการสร้างเขื่อนและอุโมงค์ บริษัทดังกล่าวยังได้ทำการศึกษาความเหมาะสมโครงการผันน้ำกก-อิง-น่าน ทางภาคเหนือของไทยซึ่งทำให้ชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนต้องลุกขึ้นมาประท้วงไปแล้ว พวกเราไม่ไว้วางใจการศึกษาที่บริษัทนี้เสนอให้ทำพวกเราขอถือโอกาสนี้ เรียกร้องต่อคุณและ JBIC ให้พิจารณาอย่างรอบคอบในสิ่งที่พวกเราได้กล่าวไปแล้ว และขอให้ยุติการให้ทุนในโครงการที่เสนอโดยบริษัทซันยูฯ ในการศึกษาแหล่งน้ำบนสาขาของแม่น้ำโขงในประเทศไทยและลาวขอขอบคุณด้วยความนับถือสมัชชาคนจนสมาคมสร้างสรรชีวิตและสิ่งแวดล้อมไบโอไทยชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและฟื้นฟูลุ่มน้ำอิงชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำสงคามกองทุนป่าชุมชนเครือข่ายชาติพันธุ์ศึกษากลุ่มเพื่อประชาชนสถาบันขวัญเมืองคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อการพัฒนาโครงการจัดการลุ่มน้ำโดยองค์กรชุมชนมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือโครงการแม่น้ำและชุมชนเครือข่ายประชาคมสกลนครชมรมสิ่งแวดล้อมสกลนครเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม

CC:
1.JBIC Bangkok Office14th Floor,Nantawan Building,
161 Rajdamri Road,Bangkok,10330,
Thailand

2. Mr.Mitsuru Kitano, Director of Loan Aid Division
Ministry of Foreign Affairs

3.Mr.Tatsuo Yamasaki
Director of Development Finance Division
Ministry of Finance

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา