4 ชาติน้ำโขงจ่อศึกษาเพิ่มเติม ชะลอเขื่อนไซยะบุรี

fas fa-pencil-alt
กรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี)
fas fa-calendar
4 ธันวาคม 2554

ภายหลังจากที่คณะ กรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ได้แถลงการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง ของประเทศสมาชิก ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่เมืองเสียมราฐ กัมพูชา เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ศึกษาผลกระทบจากเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก โดยจะหารือกับรัฐบาลญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการศึกษาต่อไปนั้น

นายสุรจิต ชิรเวช กรรมาธิการธรรมาภิบาลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กล่าวว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบข้ามพรมแดนเป็นวงกว้างทั้ง ภูมิภาค นับตั้งแต่ตัวเขื่อนในสปป.ลาว ลงมาจนถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เวียดนาม โดยเฉพาะผลกระทบระยะยาวต่อระบบนิเวศ และพันธุ์ปลา ซึ่งขณะที่ยังหาบรรทัดฐานของเอ็มอาร์ซีไม่เจอว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ แต่คณะกรรมาธิการยืนยันว่าหน่วยงานของประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม กฎหมายไทยแม้โครงการนี้จะอยู่ในต่างประเทศก็ตาม โดยเฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ซึ่งได้เคยมาให้ ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการฯว่าได้ลงนามการซื้อขายไฟฟ้าในโครงการนี้ ไปแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม

นางสาวเพียรพร ดีเทศน์ ผู้ประสานงานณรงค์องค์กรแม่น้ำนานาชาติ กล่าวว่ามติที่ออกมาในครั้งนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะยังไม่รู้ว่ากระบวนการที่ได้ตกลงกันในเอ็มอาร์ซีนั้น จะเป็นอย่างไร และยินยอมให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมบ้างหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาเอ็มอาร์ซีไม่เคยแสวงหาความร่วมมือกับภาค ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างจริงใจ ดังนั้นการที่จะศึกษาโครงการสร้างเขื่อนไซยะบุรีให้เห็นภาพชัดเจน จำเป็นต้องทำงานร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งขณะนี้บางส่วนได้มี การรวมตัวกัน

“ประเด็นที่สำคัญยิ่งคือเรื่องนี้ต้องเอาความจริงมาพูด กัน และแต่ละประเทศต้องจริงใจซึ่งกันและกัน เพราะต้องยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นผลประโยชน์มหาศาลของคนบางกลุ่ม และก็เป็นผลกระทบมหาศาลสำหรับคนในลุ่มน้ำโขงด้วยเช่นเดียวกัน การแสดงความจริงใจที่ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมง่ายๆก่อนคือต้องมีการ หยุดก่อสร้างใดๆสำหรับโครงการนี้ เพราะขนาดเอ็มอาร์ซีมีมติไปครั้งที่แล้วให้มีการศึกษาก่อน แต่ก็ยังมีการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องซึ่งมีภาพข่าวปรากฎในสื่อมวล ชนชัดเจน”

ขณะที่สำนัก ข่าวต่างประเทศ อาทิ เอพี โดยนายเดนิส เกรย์ รายงานข่าวเมื่อวันที่ 7 ธค. วิเคราะห์ว่าเขื่อนไซยะบุรีกลายเป็นการต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุด ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การตัดสินใจกรณีเขื่อนไซยะบุรีของ 4 ประเทศเป็นความท้าท้ายใหญ่ที่สุดของภูมิภาค ในขณะที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าลาวดำเนินการก่อสร้างขั้นเตรียมการสำหรับเขื่อน โดยยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง จึงนำมาสู่คำถามถึงประสิทธิภาพของข้อตกลงแม่น้ำโขงที่ไม่มีข้อบังคับทาง กฎหมายสำหรับประเทศสมาชิกที่ลงนาม

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง