“งานวิจัยไทบ้านมีจุดเด่นที่คณะกรรมการเห็นพ้องต้องกันว่าสมควร ได้รับรางวัลชนะเลิศ เนื่องจากถือเป็นงานวิจัยที่ทำโดยชุมชนตลอดกระบวนการอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวิจัยแม่น้ำมูน พืชผักริมแม่น้ำ อุปกรณ์หาปลา และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำในการเกษตร ที่สำคัญคณะกรรมการได้ให้เหตุผลว่า แม้งานวิจัยจะนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ของการต่อรองทางการเมือง แต่ในอีกด้านหนึ่งคือกำไรอันเกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัยที่นำไปสู่ การเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้ง 65 หมู่บ้าน ซึ่งท้ายที่สุดได้ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพของคนในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นต้นแบบการทำวิจัยในชุมชน ที่น่าสนใจและสามารถถ่ายทอดไปยังชุมชน อื่น ๆ ได้” |
น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในโอกาสที่งานวิจัยไทบ้านปากมูนชนะเลิศการประกวด โครงการสร้างกำไรให้สุขภาพชุมชนซึ่งจัดโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และองค์การอนามัยโลก (มติชน 16 ธันวาคม 2545
วิจัยไทบ้านของสมัชชาคนจนเป็นแบบอย่างของความสำเร็จที่ไม่ค่อยมีบ่อยนัก ผมคิดว่าหน่วยงานที่ส่งเสริมการวิจัยทั้งหลายควรใส่ใจกระบวนการวิจัยครั้งนี้ให้มาก จะส่งคนไปรวบรวมความรู้ กระบวนการจากนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเพื่อการเรียนรู้ของตนเองได้ยิ่งดี ส่วนหนึ่งของความสำเร็จของวิจัยไทบ้านในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านได้ตั้งคำถามการวิจัยตลอดจนนิยามคำถามนั้นด้วยตนเอง คำถามการวิจัยเป็นคำถามที่ชาวบ้านเองอยากได้คำตอบ ไม่ใช่คำถามที่ถูกนักวิชาการภายนอกนิยามให้ นอกจากนี้ชาวบ้านเป็นนักวิจัยเอง ไม่ได้เป็นผู้ช่วยนักวิจัยหรือผู้ให้ข้อมูลแก่นักวิชาการซึ่งมักจะฟันเงินนักวิจัยไปเป็นส่วนใหญ่ ความรู้ที่วิจัยไทบ้านสร้างสรรค์ขึ้นจากงานวิจัยชิ้นนี้ จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากงานวิจัยทั่วไป ซึ่งมักเป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตการณ์ของคนภายนอก แต่วิจัยไทบ้านให้ข้อมูลและการวิเคราะห์จากภายใน ใครอ่านก็จะได้กลิ่นอายและความรู้สึกอย่างนี้ชัดเจน และทำให้ผลการศึกษาของวิจัยไทยบ้านครั้งนี้แตกต่างจาก การวิจัยที่เราคุ้นเคยอย่างมาก แม้ว่าโดยแบบฟอร์มจะไม่ต่างกันก็ตาม |
นิธิ เอียวศรีวงศ์ มติชนสุดสัปดาห์ 9-15 สค 45 ปีที่ 22 หน้า 28
นับแต่งานวิจัย “การกลับมาของคนหาปลา” ซึ่งเป็นงานวิจัยไทบ้านหรืองานวิจัยชาวบ้าน ฉบับแรกซึ่ง จัดทำโดยชาวปากมูนแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๕ งานวิจัยไทบ้านที่ได้รับการ ยอมรับอย่างกว้างขวางก็ได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายไปยังพื้นที่ต่างๆ หลายแห่งในลุ่มน้ำโขงและสาละวินซึ่งชุมชนและองค์กรต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่ต้องการ ทำวิจัยในลักษณะเดียวกันเพื่อนำ งานวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความ เข้มแข็งให้ชุมชน ด้วยการรวมตัวกันรื้อฟื้นความรู้ท้องถิ่น ที่นับวันจะถูกทำให้ไม่มีความหมายหรือถูกกีดกันไปจากกระบวน การตัดสินใจในโครงการที่กระทบต่อทรัพยากรของท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นยังคาดหวังว่า งานวิจัยไทบ้านจะเป็นฐานในการ สร้างหลักสูตรการศึกษาของท้องถิ่นเช่น หลักสูตรโรงเรียนแม่น้ำ และหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน รวมไปถึงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนเอง ปัจจุบันโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตได้นำระเบียบวิธีวิจัยไทบ้านไปพัฒนาในหลายพื้นที่ดังรายชื่อข้างล่างนี้
หนังสือ งานวิจัยไทบ้านในแต่ละพื้นที่ (โปรดคลิกหนังสือแต่ละเล่มเพื่อดาวน์โหลด)
แม่ญิง(ผู้หญิง)แม่มูน : วิถีชีวิตและการต่อสู้ งานวิจัยไทบ้าน โดยผู้หญิงแม่มูน ปีที่ผลิต 2555
Women of the Mun River : Livelihoods and their Fight Tai Baan Research by local women affected by Pak Mun Dam published in 2012 (avialable in Thai only)
|
|
|
ความรู้ท้องถิ่นเรื่องพันธุ์ปลา แม่น้ำโขง : งานวิจัยจาวบ้าน (ไทบ้าน) โดย คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น ปีที่ผลิต 2549
หนังสือฉบับนี้เป็นผลต่อเนื่องจากงานวิจัยจาวบ้านเชียงของ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญในประเด็นเรื่องพันธุ์ปลาซึ่งมีอยู่จำนวนมาก โดยนำเสนอรายละเอียดของปลาแต่ละชนิดโดยละเอียดพร้อมกับภาพประกอบ
|
วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน : งานวิจัยปกากญอ โดย...คณะนักวิจัยปกากญอสาละวิน หนังสือพร้อมฟรีวีซีดี ปีที่ผลิต 2548
งานวิจัยจาวบ้านลุ่มน้ำสาละวิน เป็นงานวิจัยที่จัดทำโดยชาวปกาเกอญอหรือกะเหรี่ยงที่ตั้งชุมชนใน เขตลุ่มน้ำสาละวินและน้ำสาขาในเขตอำเภอแม่สะเรียงและสบเมย ชุมชนเหล่านี้กำลังจะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า และโครงการผันน้ำสาละวิน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี ๓๕๔๗
|
|
|
แม่น้ำยม ป่าสักทอง.. วิถีชีวิตของคนสะเอียบ : งานวิจัยจาวบ้านที่แก่งเสือเต้น ปีที่ผลิต 2549
เป็นงานวิจัยของจาวบ้านบ้านดอนชัย บ้านดอนชัยสักทอง บ้านดอนแก้ว และบ้านแม่เต้นที่อาศัยอยู่ในเขตผืนป่าแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการนำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆของทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในผืนป่าและการนำมาใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่าพร้อมทั้งแนวคิดในการอนุรักษ์ ของชาวบ้านที่มีมาอย่างช้านาน
|
ราษีไศล : ภูมิปัญญา สิทธิ และวิถีแห่งป่าทามแม่น้ำมูน งานวิจัยไทบ้านที่ราษีไศล ปีที่ผลิต 2548
งานวิจัยไทบ้านในบริเวณลุ่มน้ำมูนตอนกลางภายหลังการเปิดเขื่อนราษีไศล จัดทำโดย ชาวบ้านราศีไศล ๓๖ ชุมชน เพื่อแสดงให้เห็นการกลับมาของป่าบุ่งป่าทามที่เปรียบเสมือนห้องครัวของคน ๓ จังหวัดในอีสานตอนล่าง โดยเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้ช่วยนักวิจัย คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี ๒๕๔๗ งานวิจัยไทบ้านที่นี่ยังจะเป็นฐานที่สำคัญในการทำหลักสูตรโรงเรียนแม่น้ำ
|
|
|
แม่น้ำโขง : แม่น้ำแห่งวิถีชีวิตและวัฒนธรรม งานวิจัยจาวบ้าน (ไทบ้าน) โดย. คณะนักวิจัยชาวบ้าน อ.เชียงของและเวียงแก่น ปีที่ผลิต 2547
งานวิจัยจาวบ้านเชียงของ จัดทำโดยชาวบ้านในเขตอำเภอเชียงของ ๕ หมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำโขงทางฝั่งไทยที่ได้รับผลกระทบ จากการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงและ ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในจีน คำว่า “จาวบ้าน” เป็นคำเมืองที่แปลว่าชาวบ้าน เช่นเดียวกับคำว่า “ไทบ้าน” ในภาคอีสาน โดยเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ โครงการแม่น้ำและชุมชนเป็นผู้ช่วยนักวิจัย คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗
|
แม่มูน "การกลับมาของคนหาปลา" : งานวิจัยไทบ้านที่ปากมูล ปีที่ผลิต 2545
เป็นการศึกษาครั้งแรก ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยนักวิจัยชาวบ้านโดยใช้ความรู้แบบ ภูมิปัญญาท้องถิ่นแทนที่จะถูกจัดทำโดยนักวิชาการที่ใช้ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ การวิจัยนี้ไม่เพียงแต่เป็นการรวบรวมชนิดพันธุ์ปลาภายหลังการเปิด ประตูเขื่อนปากมูลที่เป็นตัวชี้ว่าแม่น้ำมูนได้ฟื้นคืนชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นการรื้อฟื้นองค์ความรู้ของชาวปากมูนกลับคืนมา
|
|
|
งานวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงคราม
นอกจากงานที่ดำเนินการโดยโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีงานวิจัยไทบ้านในอีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นโครงการของ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ซึ่งเราได้เข้าไปร่วมดำเนินงาน ซึ่งก็คือ "นิเวศวิทยา และ ประวัติศาสตร์ ป่าบุ่งป่าทาม : งานวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง" ทำโดยชาวบ้าน ๕ หมู่บ้านในเขตลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง โดยมีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนครพนม และ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) เป็นผู้ช่วยนักวิจัย งานวิจัยนี้คาดหวังว่าจะใช้เป็นฐานในการทำแผนการจัดการ ลุ่มน้ำสงครามตอนล่างซึ่งรวม ไปถึงการแก้ไขปัญหาการประมงเชิงพาณิชย์ที่ทำลายล้างสูง โดยโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตได้สนับสนุนทางเทคนิคที่รวมถึง การฝึกอบรมนักวิจัยไทบ้าน และผู้ช่วยนักวิจัยเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและการเขียนรายงาน
นิเวศวิทยา และ ประวัติศาสตร์ ป่าบุ่งป่าทาม : งานวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง โดย.. เครือข่ายนักวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง ปีที่ผลิต 2548
|
|
โปสเตอร์ บทสรุปงานวิจัยไทบ้านในแต่ละพื้นที่
โครงการศึกษาวิจัย “แม่ญิง(ผู้หญิง)ลุ่มน้ำโขงกับความมั่นคงทางอาหาร” กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2552
แผนที่นิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
บทสรุปงานวิจัยศาลาภูมิ(วิจัยไทบ้าน)แสดงถึงข้อมูลระบบนิเวศและพันธุ์ปลาแม่น้ำโขง บริเวณที่จะสร้างเขื่อนดอนสะฮง
ข้อมูลภาษาอังกฤษ >>
|