ชาวบ้านยึดเขื่อนแม่มอก

fas fa-pencil-alt
SEARIN
fas fa-calendar
12 มิถุนายน 2542

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 มิถุนายน 2542 ชาวบ้านบ้านปางอ้า หมู่ 4 บ้านแม่พุ หมู่ 5 บ้านท่าเกวียน หมู่ 7 และ บ้านหอรบหมู่ 9 ต.เวียง มอก อ.เถิง จ.ลำปาง จำนวนประมาณ 400 คน ได้เข้ายึดหัวงานเขื่อนแม่มอกซึ่งกรมชล ประทานกำลังก่อสร้างประมาณ 80 % เพื่อเรียก ร้องให้ราชการเข้าแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จากการสร้างเขื่อนดังกล่าว โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้

1)ให้จัดที่ดินทำกินจำนวนครอบครัวละ 15 ไร่ แก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการถูกน้ำท่วม จำนวน 170 ราย

2) ให้จ่ายค่าชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน จำนวน 875 ครอบครัว ซึ่งกรมชลประทานยังค้างจ่าย

3) ให้จ่ายค่าชดเชยที่ดินทำกินแก่ชาวบ้านแม่พุและบ้านหอรบจำนวน 170 ครอบครัวที่สูญเสียที่ดินทำกินอัน เนื่องมาจากกรมชลประทาน นำที่ดินไปจัดสรรให้ชาวบ้านที่ถูกอพยพจากอ่างเก็บน้ำ

4) ให้จ่ายค่าชดเชยค่าผลผลิตทางการเกษตร เช่น ไม้ผล ที่ชาวบ้านทำการปลูกก่อนวันที่ 2 กันยายน 2534 ที่ทาง ราชการกำหนดไว้ จำนวน 118 ราย

นายดอน ศึกษา แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า ชาวบ้านได้เรียกร้องให้กรมชลประทานจ่ายค่าชดเชยที่เป็นธรรมให้กับ ชาวบ้านที่เดือดร้อน เรา เองไม่อยากยึดเขื่อน ไม่อยากประท้วง แต่เราไม่มีทางเลือก ที่ผ่านมาเราได้ร้องเรียนไป ยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามลำดับขั้น ตอน ตั้งแต่องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ จังหวัด รัฐมนตรี ตลอดไปจนถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี แต่ก็มีการโยนเรื่องกัน สุดท้าย ได้มีการตั้งคณะทำงานตรวจสอบ ข้อเท็จจริงกรณีราษฎรได้รับผลกระทบจากโครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอก โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประ ธาน แต่เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา นายเฉลิมพล ประทีปวาณิช ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางกลับให้ชาวบ้านที่ พื้นที่ซ้อนทับกัน ระหว่างผู้ที่ถือครองที่ดินอยู่ก่อนกับผู้ที่อพยพเข้ามาทีหลังให้ไปดำเนินการฟ้องร้องเอาเอง

สำหรับมาตรการขั้นต่อไป นายดอน ระบุว่า หากภายใน 3 วัน ไม่มีการแก้ปัญหา ชาวบ้านก็จะเข้าปิดเขื่อนทั้ง หมดเพื่อมิให้บริษัท ก่อสร้างได้ทำงาน

อนึ่งเขื่อนแม่มอกเป็นโครงการที่กรมชลประทานเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2534 โดยไม่มีการทำรายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนการก่อสร้าง แต่ทำ EIA ในภายหลัง ทำให้ไม่มีแผนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และชาวบ้านได้เรียกร้องให้แก้ปัญหามาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ลงไปดูพื้นที่ และชาวบ้านได้ยื่นจดหมายร้องเรียนให้แก้ ปัญหา ซึ่งนายกรัฐมนตรี รับปากว่าจะ ให้หน่วยงานที่นับผิดชอบลงมาแก้ปัญหา แต่จนกระทั่งปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ ปัญหาแต่อย่าง ใด  

นอกจากนั้น ชาวบ้านที่เดือดร้อนยังได้เข้าร่วมชุมนุมกับสมัชชาคนจน สมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย และเครือ ข่ายกลุ่มเกษตรกรภาค เหนือที่หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และได้มีการเจรจากับตัวแทนรัฐบาลคือนายเนวิน ชิดชอบ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม จนกระทั่งมีมติ ครม.เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ซึ่งนาย เนวิน ชิดชอบจะสั่งการให้ผู้ตรวจการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามา แก้ปัญหา แต่ก็ยังไม่มีการแก้ปัญหา แต่ประการใด

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง