ใบแจ้งข่าววันที่ 31 พฤษภาคม 2543
หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 2 และ 3 กลางอ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศล

fas fa-pencil-alt
fas fa-calendar
31 พฤษภาคม 2543

ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ- วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เวลา 11.00 น.สมาชิกหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนกว่า 250 คนเดินรณรงค์ชี้แจงข้อ เท็จจริง แก่พี่น้อง บ.หนองแค บ.ร่องอโศก ตลาดราษีไศล บ.ใหญ่ บ.โนน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการทำนาปรังท้ายเขื่อนราษีไศลประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งเกรงกันว่าจะเกิดน้ำท่วม หากมีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนราษีไศลทั้งหมด

นายสมัย หงษ์คำ แกนนำชาวบ้านซึ่งนำการณรงค์ในครั้งนี้กล่าวว่า มาเพื่อบอกพี่น้องที่ทำนปรังท้ายเขื่อนให้รับทราบถึงการที่เขื่อน ราษีไศลปล่อยน้ำ ให้เข้าใจว่า การที่ปล่อยน้ำออกตากเขื่อนรนาาไศบลทไม่ใช่เป็นการกระทำของชาวบ้านที่อยู่ท้ายเขื่อน เป็นการกระ ทำขอเจ้าหน้าที่รัฐ คือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พยายามจะโยงความผิดให้ผู้ที่อยู่เหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนเข้าใจผิดซึ่งกัน และกัน เราจึงไปชี้แจงว่า ไม่ใช่เป็นการกระทำของเราที่ชุมนุมที่สันเขื่อน

สาเหตุมาจากเขื่อนราษีไศลเก็บน้ำไว้โดยไม่ปล่อย พอฤดูฝน ช่วงฝนตกหนักที่ผ่านมา น้ำเพิ่มทอย่างรวดเร็ว ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นเอ่อ ท้นเข้าท่วมที่นา น้ำทะลักเข้าคันดิน พอน้ำเพิ่มกรมพัฒนาก็ปล่อยน้ำทันที่ ไม่ทยอยหล่อน ทำให้พี่น้องที่ทำนาปรังท้ายเขื่อนท่วมไป แล้วบางส่วน

"เราจึงมาขอชี้แจงให้พี่น้องเข้าใมจว่าผู้ที่อยู่เหนือเขื่อนก็เดือดร้อนเช่นเดียวกัน แต่เป็นผลมาจากกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ที่จัดการน้ำในเขื่อนล้มเหลว ที่กรมพัฒนาฯ กล่าวหาว่าเราเป็น ผู้กดดันให้ปิดเปิดน้ำนั้น ความจริงแล้ว ไม่ใช่ เป็นช่วงฤดูน้ำหลากที่ กรมพัฒนาฯ ต้องเปิดน้ำเขื่อนอยู่แล้ว เรามาบอกให้พี่น้องคนจนด้วยกันเข้าใจ ว่าปัญหาอยู่ที่เขื่อน"

ชาวบ้านที่ทำนาปรังรายหนึ่งกล่าวว่า เข้าในใจปัญหาที่เกิดขึ้นดี เพราะทุกปีพวกเราก็ประสบกับปัญหาอย่างนี้ แต่ปีนี้ที่ยังมาทำอีก เพราะว่า เห็นพี่น้องไปอยู่ในอ่าง คิดว่าเขื่อนคงไม่เก็บน้ำไว้เยอะ น้ำคงปล่อยออกมาไม่มาก แต่ก็ไม่คิดว่าเขื่อนจะทำให้น้ำท่วมพี่น้อง ในเขื่อนและส่งผลกระทบมาถึงเราจนได้

เวลา 14.00 น. นายไพฑูรย์ โถทอง ได้แถลงข่าวประจำวันโดยอ่านแถลงการณ์แถลงการณ์ฉบับที่ 25 เรื่อง เพื่อความผาสุกของชุมชน ว่า นับแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2542 ที่พวกเราเรียกร้องให้มีการปล่อยน้ำเพื่อให้มีการข้อเท็จจริง ที่จมน้ำมาแล้วเป็นเวลา 6 ปี ปีนี้เป็นปีที่ 7 ที่ความเสียหายเกิดขึ้น แต่ไม่ได้รับการแก้ไข 10 เดือนที่พวกเราเรียกร้องมาแต่ทางรับบาลกลับไม่เคยสนใจ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2543 พวกเราจึงได้เดินทางมาที่เขื่อนราษีไศล เพื่อบอกให้ทางเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลเขื่อนราษีไศลอยู่ได้ระบายน้ำออก เพื่อพิสูจน์ความเสีย หายที่เกิดขึ้นจริง และจะได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 พวกเราได้เดินมาเคาะประตูบ้านเจ้าหน้าที่ เพื่อจะถามว่าจะเปิดน้ำได้หรือยัง แต่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่กลับบอกว่าไม่สามารถปล่อยน้ำได้ และน้ำที่ไดระบายอยู่ทุกวันก็เป็นการ ระบายน้ำตามปกติ ไม่ได้กระทำตามข้อเรียกร้องของชาวบ้านแต่อย่างใด

วันนี้ ( 31 พ.ค.2543 ) จากที่น้ำถูกระบายออกอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน(นายประสิทธิ์ หวานเสร็จ ยืนยันว่าปล่อยน้ำตามปกติ) ทำให้น้ำท้ายเขื่อนราษีไศล เพิ่มระดับสูงขึ้น และมีแนวโน้มที่จะท่วมบริเวณที่นาของชาวบ้านที่ทำนาอยู่ท้ายเขื่อน ดังนั้นในวันนี้เพื่อ ให้พี่น้องที่อยู่ท้ายเขื่อนได้เก็บเกี่ยวผลผลิตให้เสร็จ และไม่ไห้เหตุการณ์ในปีนี้เกิดขึ้นเหมือนปีที่ผ่านมา และที่สำคัญกรมพัฒนาและ ส่งเสริมพลังงานที่ดูแลควบคคุมดูแลเขื่อนราษีไศล กำลังจัดฉากให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวบ้านที่อยู่ท้ายเขื่อนและชาวบ้านที่ อยู่สันเขื่อน ทั้งๆที่น้ำสามารถที่จะบายออกเรื่อยๆ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินของชาวบ้าน แต่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กลับเก็บน้ำไว้มากเกินไป ทำให้เมื่อมีฝนตกหนัก จึงไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน

วันนี้เขื่อนราษีไศลจึงเป็นบทสรุปอย่างดีว่า เป็นการจัดการน้ำที่ล้มเหลว ดังนั้นสิ่งที่นักสร้างเขื่อนที่พูดว่าการสร้างเขื่อนจะสามารถ แก้ไขปัญหาภัยแล้งและสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้จึงเป็นการพูดที่ไม่เป็นความจริงเราให้ทุกคนมาพิสูจน์ความจริงได้ที่เขื่อน ราษีไศล ถึงวันนี้เขื่อนได้กลายเป็นตัวปัญหาอย่างชัดเจน ระบายน้ำออกก็ไม่ แต่พอจะเก็บกักน้ำไว้ น้ำก็เอ่อล้นท่วมที่ดินทำกินของ ชาวบ้านที่อยู่เหนือเขื่อน ดังนั้นความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในเวลานี้ จึงเป็นความเสียหายที่เกิดจากน้ำมือของกรมพัฒนา ฯ อย่างปฏิเสธ ไม่ได้

กราบเรียนพี่น้องว่าสิ่งที่พวกเรากระทำอยู่ก็เพื่อให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา แต่ทางฝ่ายรัฐบาลกลับเฉยและพยายามสร้างสถาน การณ์ เกิด ม๊อบชนม๊อบ เพื่อที่รัฐบาลจะได้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมโดยเมื่อถึงเวลานั้นรัฐบาลก็จะบอกว่า จำเป็นต้องใช้กำลัง เข้าควบคุมสถานการณ์

เราจึงขอประกาศ ณ.ตรงนี้ว่าเราให้เวลารัฐบาลจากวันนี้ 31 พ.ค.- 2 มิ.ย. 2543 หากรัฐบาลยังไม่ยอมเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการ วันที่ 3 มิ.ย. นี้เราจำเป็นที่จะต้องให้แม่น้ำมูลใหลอย่างอิสระเหมือนดังเช่นอดีตที่ผ่านมา

เราจะให้เวลากับทางรัฐบาล จากวันนี้ วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2543 เป็นครั้งสุดท้ายเราจึงจะ"ปฏิบัติการสันติ สู้อธรรมนำพาธรรมชาติสู่ชุมชน"ให้ธรรมชาติกลับคืนสู่สภาพเดินให้ชาวบ้านได้ที่ดินทำกินคืน

"โดยในวันที่ 3-4 มิถุนายน นี้ เราจะจัดให้มีกิจกรรมเวทีชาวบ้าน และเวทีวิชาการ ชี้แจงปัญหาความเดือดร้อนที่ชาวบ้านได้รับและ ทำไมจึงต้องมาที่เขื่อนราษีไศลแห่งนี้ พร้อมกันนี้เวทีวิชาการจะพูดเรื่อง สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากร กรณีเขื่อนราษีไศล ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างติดต่อ วิทยากร และดำเนินการอยู่ครับ"

ขณะเดียวกันชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้นจากน้ำท่วมนานอกอ่าง บ.หนองแห้ว ต.ด่าน อ.ราษีไศล ประมาณ 20 เข้าแจ้งความกับ พตท.สิทธิชัย ภู่สทธิสันต์ รองผกก. สภ.อ. ราษีไศล เวลา 16.00 น. นายพวง ละคร อายุ 64 ปี บ.หนองแห้ว ได้ยื่นหนังสือ ให้มีการ ดำเนินคดีกับโครงการฝายราษีไศล ที่จงใจกักเก็บน้ำให้น้ำท่วมนาของชาวบ้าน โดยทางตำรวจกล่าวว่า จริงแล้วตนทำอะไรไม่ได้ ทำได้ก็แค่เพียงลงบันทึกประจำวันไว้เท่านั้น เพราะปัญหานี้มันเป็นปัญหาของทางรัฐบาล และที่ผ่านมา ทางฝายก็ได้มาแจ้งความ ไว้เหมือนกัน

นายพวง กล่าวว่า ขณะนี้น้ำท่วมนาของตนมากกว่าทุกปีจนปลูกข้าวไม่ได้ ทุกปีก็ท่วมเหมือนกัน แต่จะท่วมหลังจากข้าวออกรวงแล้ว บางปีต้องนั่งเรือเกี่ยวขาว ซึ่งได้ผลผลิตไม่เท่าไร แต่ปีนี้แค่เริ่มทำนาก็ทำไม่ได้แล้ว เดือดร้อนไปหมด

"ตั้งแต่มีฝายพวกเรามีหนี้มากมาย เดือดร้อนไปทั่วเลย"

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง