บทความชุด หมายเหตุราษีไศล ตอน ที่ 3
กลเกมรัฐบาลประชาธิปัตย์ :ในการ(ไม่)แก้ปัญหาเขื่อนราษีไศล
หลังจากพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออก พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อปลายปี 2540 กรณีปัญหาเขื่อนราษีไศลตกมาอยู่ใน การดูแลของนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
แทนที่นายพรเทพและรัฐบาลประชาธิปัตย์จะเอาจริงเอาจังในการแก้ปัญหาต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้เดือดร้อนที่ เหลือ ไปตรงมา กลับกลายเป็นว่า รัฐบาลเอาจริงเอาจังกับการจับผิดรัฐบาลเก่าที่ได้แก้ปัญหาราษีไศลไปแล้วส่วนหนึ่ง โดยข้อหาต่างๆ นานา
เริ่มต้นในเดือนธันวาคม 2540 นายจองชัย เที่ยงธรรม ออกมาเปิดประเด็นว่าการจ่ายค่าชดเชยไม่สมเหตุสมผล คนที่มีเหตุผลจึง ออก มาประท้วงเพราะไม่ได้รับอะไรเลย "คนที่มีเหตุผล" ของนายจองชัยนั้นคงหมายถึงกลุ่มต่อต้านที่เราได้กล่าวถึงพฤติกรรมของพวกเขาใน ตอนก่อนนั่นเอง
ยังมีการประโคมข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ต่อไปว่า พวกที่ได้รับค่าชดเชยไปแล้วไม่ใช่พวกเดือดร้อนจริง เป็นพวกสวมรอย บุกรุกที่ ดินสาธารณะแล้วหลอกให้รัฐจ่ายเงินชดเชย ส่วนกลุ่มที่ต่อต้านนั้นเป็นผู้ถือเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้อง
ขณะเดียวกันนายเสกสรร แสนภูมิ ได้ตั้งกระทู้สดในสภาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2541 นายยิ่งพันธ์ มนสิการ รมว.วิทยาศาสตรฯ ตอบ ว่า "สมัชชาคนจน รวบรวมผู้เสียหายจากน้ำท่วมเท็จบ้างจริงบ้างมาเรียกร้องค่าชดเชย"
เดือนมีนาคม 2541 สมัชชาคนจนและองค์กรประชาชนหลายองค์กรได้เคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อติดตามผลักดันให้รัฐบาลแก้ปัญหา ที่คารา คาซัง สถานการณ์นี้รัฐบาลได้ฉวยโอกาส "ปั่น" เรื่อง "การทุจริตเขื่อนราษีไศล" ขึ้นมาใช้ประโยชน์ทางการเมืองอย่างได้ผล
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์รับโจทย์นี้เต็มๆ โดยเล่นเป็นข่าวพาดหัวทุกวัน "เปิดโปงทุจริตฝายราษีไศล" (11 มี.ค. 41),"สอบสมัชชาคนจน โกงเงินราษีไศล" (12 มี.ค.), "แฉมั่วนิ่มโกงเงินหลวง" (13 มี.ค.), "คุ้ยราษีไศลหลอกเงินรัฐบาล แค่เข้าชื่อก็ได้เงินเป็นล้าน" (14 มี.ค.), "แฉชื่อ คนโกงราษีไศล" (15 มี.ค.), "มีแค่ 1 ไร่ โมเมมี 6 ไร่" (16 มี.ค.) ฯลฯ
สื่ออื่นๆ ก็ขานรับ "ข่าวสร้าง" ครั้งนี้อย่างเอิกเกริก เพราะเป็นข้าวใหม่ปลามันของรัฐบาลชวนและในสถานการณ์วิกฤติ เศรษฐกิจ นักธุรกิจตลอดจนคนชั้นกลางในเมืองล้วนกำลังหวังลมๆ แล้งๆ อยู่ที่ "ให้การเมืองนิ่ง รัฐบาลจะได้แก้ปัญหาฟองสบู่ แตก" การชุมนุม เดินขบวนไม่ว่ากรณีใดขออย่าให้มีมารบกวนเด็ดขาด
ข่าวปั่นเรื่องการทุจริตเขื่อนราษีไศลจึงขายได้และเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุดในการทำลายขบวนการประชาชน พร้อม ทำลายพรรคการเมืองฝ่ายค้านไปในขณะเดียวกัน ทั้งยังส่งผลให้ผู้เดือดร้อนเขื่อนราษีไศลกลุ่มที่เหลือลดความชอบธรรมในการเรียกร้องไป ด้วยในตัว
ที่สำคัญที่สุดรัฐบาลประชาธิปัตย์ถือโอกาส "เบี้ยว" ค่าชดเชยของผู้เดือดร้อนเขื่อนสิรินธรที่รัฐบาลพล.อ.ชวลิต อนุมัติและกันเงินไว้ แล้ว 1,200 ล้าน โดยมีมติ ครม. 21 เมษายน 2541 ไม่ให้จ่ายชดเชยผู้เดือดร้อนจากเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้วอีกต่อไป ถือเป็นการยิงปืนครั้งเดียว ได้นก 4 ตัว เป็นสุดยอดหมากกลของประชาธิปัตย์ที่ใครก็เลียนแบบได้ยากจริงๆ
อีกด้านหนึ่ง นายทรงพล โกวิทศิริกุล ส.ส.หนองคาย พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำกำนันประดิษฐ์ นรสาร กำนันตำบลหนองแค อ.ราษีไศล ศรีสะเกษ เข้าแจ้งความร้องเรียนที่กองปราบให้มีการสอบสวน นายอดิศร เพียงเกษและผู้นำสมัชชาคนจน เจ้าพนักงานสอบปาก คำแล้วนำเรื่องเสนอผ่านไปยัง พล.ต.ท.เสรี เตมียเวส นี่คือต้นเรื่องที่นำพาให้ พล.ต.ท.เสรี สร้างวีรกรรมอันลือลั่นของเขาอยู่ในปัจจุบัน ส่วนนายประดิษฐ์ นรสาร หลังจากแจ้งความ ก็ต้องขอให้ทางการจัดกำลังตำรวจคุ้มกัน 2 นาย
ต่อมาเดือนมิถุนายน 2542 ท่ามกลางการเตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และการเคลื่อนไหวขององค์กรประชาชนภาค อีสาน รัฐบาลก็ปลุกผีราษีไศลออกมาอาละวาดอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้หนักกว่าเก่า นอกจาก "เดลินิวส์" แล้วยังมี "แนวหน้า" , "สยามรัฐ" ที่ลงข่าว อย่างต่อเนื่อง แล่นแรงขนาดพาดหัว "ปลุกม็อบอีสานบี้กลบคดีงาบราษีไศล" ชี้ว่าม็อบอีสานจะมีขึ้นเพื่อกลบคดีราษีไศล
และเทศกาลนี้ก็ได้เปิดตัว "เสรี เตมียเวส" มาร่วมแจม โดยการสั่งจับเปรมศักดิ์ เพียยุระ/อดิศร เพียงเกษ ฝ่ายอดิศรก็ฟ้องคืน พล.ต.ท.เสรี เหตุการณ์ยืดเยื้อถึงเดือนกันยายน-ตุลาคม พล.ต.ทเสรีสั่งจับนายบุญมี โสภังค์ ที่ไปวางหรีดหน้ากรมตำรวจ และนายบุญ นานวล หมอผีผู้เผาหุ่น พล.ต.ท.เสรี หน้าศาลากลางศรีสะเกษ,สั่งจับนายพิภพ ธงไชย ประธานคณะกรรมการเพื่อประชาธิปไตย จับอาจารย์ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นักวิชาการสถาบันราชภัฏนครราชสีมาที่ออกมาเรียกร้องให้สอบสวนพฤติกรรม พล.ต.ท.เสรี
เวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ความก็กระจ่างชัดทั้งหมดว่าข่าวที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นเป็นการข่าวเพื่อหวังผลทางการเมืองเป็นเป้า หมายสำคัญ เมื่อข่าวราษีไศลจืดลงไป นักเลือกตั้งทั้งหลายก็หาข่าวอื่นๆ มาตอบโต้กันต่อไป ควรจะบันทึกไว้ ณ ที่นี้ว่าข่าวอะไร บ้าง ใจให้ปรากฏเพื่อผลทางการเมืองดังกล่าว
- "พรรคฝ่ายค้านกินหัวคิว หักเปอร์เซนต์คนจน" เมื่อสืบไปจนพบความจริงคือ เงินทุกบาททุกสตางค์เข้าบัญชีชาวบ้านทั้งหมด ก็หยุดปล่อยข่าวนี้
- "ผู้รับค่าชดเชยมีที่ดินอยู่นอกอ่างเก็บน้ำ" ที่สุดก็ยอมรับกันแล้วว่า คนเหล่านั้นล้วนได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล แล้วความผิด ก็น่าจะอยู่ที่ทางเขื่อนเองที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตอ่างที่แน่นอน ผิดตั้งแต่เบื้องก่อนก่อสร้าง
- "ราษฎรกลัวผิดคืนเงินแล้ว 3 ราย" ต่อมาก็พบว่า มีหลักฐานใบเสร็จ ใบแจ้งความเป็นทางการชัดเจนว่าเหตุเพราะข้อมูลการ ตรวจ สอบผิดพลาด ราษฎรเจตนาบริสุทธ์จึงนำเงินไปคืนต่อทางจังหวัด
- "คนนอกพื้นที่รับค่าชดเชย" ต่อมาข้อกล่าวหานี้ก็เงียบไป และปรากฎในปัจจุบันว่า หน่วยราชการเองเป็นฝ่ายรวบรวมชื่อ คนนอก พื้นที่มาต่อต้านผู้ชุมนุม จนมีรายชื่อถึง 15,000 คน(เรื่องนี้ใครจะตรวจสอบเอาผิด)
ฯลฯ
ส่วนที่เป็นคดีความกันอยู่เป็นเพียงการกล่าวหาว่า กรรมการตรวจสอบลงมติเกินหน้าที่เท่านั้น ซึ่งไม่สมกับข่าวที่ประโคมออก ไปก่อนหน้า
ในด้านราษฎรกลุ่มที่เหลือยังไม่ได้รับค่าชดเชย รัฐบาลปฏิบัติกับเขาอย่างไร?
กลุ่มราษฎร 1,525 รายที่ยังไม่ได้รับค่าชดเชยเมื่อปลายปี 2540 นั้น มติ ครม. 29 เมษายน 2540 ได้เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบสิทธิ์ เพิ่มเติมหลังจากจ่ายค่าชดเชยให้สมัชชาคนจน คือ กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านที่ถูกจัดตั้งมาต้านสมัชชาคนจน แต่ในจำนวนนั้นก็เป็นผู้เดือด ร้อนจริง จากเขื่อนราษีไศลไม่ใช่น้อย
ในวันที่ 7 ตุลาคม 2540 วันที่เริ่มจ่ายค่าชดเชยให้สมัชชาคนจน กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ยื่นรายชื่อผู้เรียกร้องเพิ่มเติมต่อรัฐบาลเป็น จำนวน 6,000 ราย ซึ่งรัฐบาลก็รับไว้
ต่อมาในสมัยนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รมช.วว.รับผิดชอบ นายพรเทพให้ข้อมูลว่า มีผู้เรียกร้องเพิ่มเติมเป็น 15,000 ราย รวมพื้นที่ แสนห้าหมื่นไร่ และพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศลที่ควรจะมีการจ่ายค่าชดเชย มีเพียงไม่ถึง 10,000 ไร่แต่สมัชชาคนจนรับไปแล้วหมื่นกว่าไร่
นายพรเทพให้สัมภาษณ์อยู่เช่นนี้มาปีกว่าแล้ว แต่ไม่ได้แสดงข้อมูลใดๆ เลยว่า คนเหล่านั้นเป็นใคนอยู่บ้านไหน ในหรือนอกพื้นที่
การให้สัมภาษณ์ดังกล่าว เป็นเสมือนแส้ที่หวดลงไปเปิดบาดแผลสมัชชาคนจนอีกครั้งหนึ่ง แล้วตวัดโบยตีทำลายความ ชอบธรรม ของผู้เรียกร้องที่เหลือทุกคนลงไปราบคาบ
โดยความเป็นจริงที่มีรายชื่อ 15,000 ราย นั้น มี 2 สาเหตุคือ ประการหนึ่ง ชื่อผู้เรียกร้องถูกเสนอซ้ำหลายครั้งที่มีการยื่น และประ การสำคัญก็คือ ทางราชการจัดตั้งคนนอกพื้นที่ที่ไม่มีที่ดินทำกินในเขตอ่างเก็บน้ำเข้ามา ปัจจุบันมีปึกกระดาษคำร้องเหล่านั้นเป็นลังๆ ปรากฏราย ชื่อของคนตำบลเมืองคง หนองอึ่ง บัวหุ่ง ซึ่งอยู่ห่างอ่างเก็บน้ำ 10-15 กิโลเมตร สามตำบลดังกล่าวอยู่ใต้เขื่อนลงไป และยังมีตำบล อื่นๆ จากไกลๆ อีกจำนวนมาก เรื่องนี้จะรอการคลี่คลายในอนาคตเมื่อความจริงปรากฎออมา
กลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนหนึ่งเห็นว่าไม่มีความชอบธรรมใดๆ ที่จะมาเรียกร้องก็ถอยกลับที่ตั้งไป เหลือแต่รายชื่อให้นาย พรเทพได้ใช้อ้างอิงต่อไปว่ามี 15,000 คน
ส่วนกลุ่มคนที่ค่อนข้างแน่นอนว่าเดือดร้อนจริง เวลาผ่านไป ผู้นำของเขาคือกำนันผู้ใหญ่บ้านไม่ได้นำพาเรียกร้องเอาค่าชดเชย จริงจัง ทั้งยังกระทำการหลอกลวงพวกเขาครั้งแล้วครั้งเล่าเช่น บอกว่า จะได้รับค่าชดเชยวันนั้นวันนี้(ปีที่ผ่านมามีการหลอกแบบนี้ไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง) โดยทางราชการจะดำเนินการให้เอง ชาวบ้านแห่กันไปถ่ายเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านเพื่อเป็นหลักฐานรอรับค่า ชดเชย จนร้านถ่ายเอกสารแถวอำเภอราษีไศลและอำเภอรัตนบุรี จ.สุรินทร์รับทรัพย์กันไปเนื้อๆ
หลายหมู่บ้านมีการล้มวัวล้มหมูล่วงหน้ากันเอิกเกริก รอรับค่าชดเชย
แล้วกำนันผู้ใหญ่บ้านของพวกเขาก็เก็บเงินค่าดำเนินการ เป็นรายละ 50 รายละ 100-500 ก็ยังมี
ครั้งสุดยอดเห็นจะเป็นปลายเดือนกันยายน 2541 มีการนำชาวบ้านเข้ากรุงเทพโดยบอกว่าจะนำไปรับค่าชดเชย แต่เมื่อไปถึงกลับ นำกันไปมอบดอกไม้ให้กำลังใจ พล.ต.ท.เสรี เตมียเวส ที่กำลังถูกสมัชชาคนจนตอบโต้กรณีให้สัมภาษณ์เกินอำนาจเจ้าพนักงาน
ชาวบ้านผู้เดือดร้อนจริงเริ่มเรียนรู้ว่า ที่แล้วมาตนถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านสมัชชาคนจนโดยตลอดและหมดหวังกับ ทางราชการ ไม่ยอมให้ถูกหลอกอีกต่อไป
จึงพากันทยอยละทิ้งกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้านออกมาเป็นระลอกๆ เข้าร่วมชุมนุมกับองค์กรประชาชนต่างๆ บ้างตั้งองค์กรขึ้นใหม่คือ สมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน(สกยอ.(1)),สมัชชาลุ่มน้ำมูล,กลุ่มเกษตรกรฝายราษีไศล,สมัชชาเกษตรกรอีสาน,กลุ่มพันธมิตร,กลุ่ม กำนันผู้ใหญ่บ้าน
การแตกออกมาเป็นหลายกลุ่มเช่นนี้ มีสาเหตุที่แน่นอนและมีความเป็นไปที่แน่นอนเช่นกัน ก็คือถูกรัฐบาล "แบ่งแยก แล้วทำลาย และยุให้พี่น้องแตกแยกกันเอง"