จดหมาย ถึง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ กรณีโครงการระเบิด แก่งแม่น้ำโขง (ฉบับแปลภาษาไทย)
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๕
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ทำเนียบรัฐบาล
ถนนนครปฐม
กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
พวกเรา องค์กรพัฒนาเอกชน ๗๖ องค์กร จาก ๒๕ ประเทศ ที่ได้ลงนามด้านล่างมีความกังวลเป็นอย่างมากต่อผลกระทบที่เป็นไปได้ว่า จะเกิดขึ้นจากโครงการปรับปรุงทางน้ำเพื่อการเดินเรือในแม่น้ ำล้าง-แม่โขง และมีความกังวลว่าขั้นตอนการดำเนินการโครงการดังกล่าวไม่ได้มีการตรวจสอบ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบอย่างรอบคอบและทั่วถึง
อย่างที่ท่านได้ทราบดีอยู่แล้ว แม่น้ำโขงมีระบบนิเวศน์ที่อุดมสมบูรณ์และสลับซับซ้อน ที่ซึ่งประชาชนจำนวนนับล้านมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาอยู่กับแม่น้ำสายนี้ ได้ปรับวิถีการดำเนินชีวิตให้เข้ากับแม่น้ำ พึ่งพาแม่น้ำตั้งแต่การจับปลาซึ่งมีมากมายและหลากหลาย การปลูกพืชริมฝั่งแม่น้ำ การใช้แม่เพื่อการคมนาคม ตลอดจนการใช้น้ำจากแม่น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค อย่างไรก็ตาม สมดุลที่ละเอียดอ่อนนี้กำลังตกอยู่ในอันตราย จากโครงการระเบิดเกาะแก่งและขุดลอกแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขงเพื่อปรับปรุงทางน้ำเพื่อการเดินเรือ
ขณะที่ในประเทศไทยก็มีการไม่เห็นด้วยกับโครงการและเรียกร้องให้มีการศึกษาผลกระทบของโครงการอย่างรอบคอบ
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ไม่สมบูรณ์และการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่
นอกจากแนวโน้มของผลกระทบจากโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางแล้ว โครงการดังกล่าวยังดำเนินการโดยไม่มีการสำรวจผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมพอ บทความหนึ่งจากหนังสือพิมพ์ ”กัมภูเดียน เดลี่” ซึ่งตีพิมพ์เร็วๆ นี้กล่าวว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม “ไม่ได้มาตรฐานสากล” โครงการดังกล่าวยังไม่ได้มาตรฐานตามกฎหมายไทยในเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศจีน พม่า ลาว และไทย ชาวบ้านจากอำเภอเชียงของ, ประเทศไทย ได้แสดงความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ วุฒิสมาชิกของไทยเองก็ได้เรียกร้องให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและระมัดระวัง
การทำลายเกาะแก่ง และ สันดอนทราย
ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดคือการระเบิดเอาเกาะ แก่ง หินใต้น้ำ และดอนทรายจำนวนมากออกเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินเรือ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างกว้างขวาง ต่อประเทศที่อยู่ตลอดริมฝั่งน้ำโขง แก่งหินเหล่านี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและวางไข่ผสมพันธุ์ที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตในน้ำโขงรวมทั้งปลาต่างๆ และไกหรือสาหร่ายน้ำโขง การระเบิดแก่งหินจะเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของปลาหายากใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น ปลาบึก ซึ่งผสมพันธุ์และวางไข่ที่แก่งหินดังกล่าว แก่งยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ เร่งการย่อยสลายและช่วยลดมลพิษทางน้ำ และเนื่องจากให้ผลผลิตสูง แก่งและดอนในแม่น้ำเป็นแหล่งอาหารและรายได้ที่สำคัญของชาวประมงรายเล็กๆ ที่พึ่งพาแม่น้ำโขงเพื่อการดำรงชีวิต
การทำลายแก่งและขุดลอกร่องน้ำอาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อกระแสน้ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำโขงซึ่งมีวิถีชีวิตสอดคล้องกับสภาพน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติอยู่แล้ว หากไม่มีแก่ง กระแสน้ำอาจไหลเร็วขึ้นและจะกัดเซาะตลิ่งเกิดปัญหาตลิ่งพัง และส่งผลเสียต่อผู้ที่ทำการเกษตรอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง
ผลกระทบต่อกัมพูชาและเวียตนาม(ประเทศทางท้ายน้ำ)
ในขณะที่โครงการนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนในประเทศจีน พม่า ลาว และไทย ดูเหมือนว่าขอบเขตของผลกระทบจะไปไกลถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศด้านท้ายน้ำ เจ้าหน้าที่เขมรและเวียตนามได้แสดงความกังวลว่า การเปลี่ยนแปลงแก่งหินทาง ด้านต้นน้ำจะทำให้กระแสน้ำโขงในช่วงประเทศของตนเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะก่อปัญหากับการเกษตร และ กิจกรรมอื่นๆ และยังอาจส่งผลกระทบต่อการประมงโดยการทำลายแก่งหินทางด้านต้นน้ำซึ่งเป็นแหล่ง ผสมพันธุ์วางไข่ของปลาที่อยู่ในกัมพูชาและเวียดนาม นอกจากนี้ ยังไม่มีการปรึกษาประชาชนในประเทศ ทั้งสองเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว
การสำรวจในประเทศไทย เครื่องบ่งชี้แนวโน้มของผลกระทบ
การสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า แก่งหินและดอนในบริเวณที่จะถูกระเบิดในประเทศไทยมีความสำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของคนท้องถิ่น การสำรวจได้แสดงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตลอดลำน้ำจากการศึกษาพบว่าคนท้องถิ่นตั้งแต่เชียงแสน ถึง เชียงของพึ่งพาพืชน้ำ เช่น สาหร่ายแม่น้ำโขงที่ขึ้นอยู่บนแก่งหิน เป็นอาหารและเป็นแหล่งรายได้ ระบบนิเวศน์เฉพาะถิ่นได้แก่ พืชน้ำ ดอนทราย คก หลง เป็นแหล่งผสมพันธุ์วางไข่ที่สำคัญของปลาน้ำโขง รวมทั้งปลาบึก ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดซึ่งใกล้จะสูญพันธุ์ การระเบิดแก่งจะทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา และเป็นการคุกคามรายได้และความมั่นคงทางอาหารของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง
ยิ่งไปกว่านั้น ชาวบ้านที่บ้านห้วยลึก ต.เวียงแก่น ประเทศไทยอาจสูญเสียพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้รับค่าชดเชยเนื่องจากการขุดลอกดอนทรายแห่งหนึ่ง คนหาปลาบริเวณเชียงแสนไม่สามารถใช้เครื่องมือและเรือประมงพื้นบ้านหาปลาในบริเวณ ท่าเรือเชียงแสนได้อีกเนื่องจากอันตรายจากคลื่นขนาดใหญ่จากเรือขนาดใหญ่ที่แล่นและเข้าเทียบท่าบริเวณนั้น ฤดูร้อนปีที่แล้วปริมาณปลาที่จับได้โดยชาวประมงในบริเวณชายแดนไทย-ลาว ลดลงเนื่องจากการดำเนินการที่เริ่มไปแล้วของโครงการส่งผลให้ระดับน้ำและกระแสน้ำในแม่น้ำไม่คงที่
ขอเรียกร้องให้หยุดการดำเนินการโครงการจนกว่าการศึกษาจะสมบูรณ์
จากแนวโน้มของผลกระทบที่กล่าวมาข้างต้น, ด้วยความเคารพ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทย จีน พม่า และลาว หยุดการดำเนินการโครงการดังกล่าวทันที และ จัดทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคมที่ครอบคลุมและเหมาะสม ซึ่งต้องเป็นการสำรวจแนวโน้มของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตลอดลำน้ำโขงตั้งแต่จีน จนถึง กัมพูชา และเวียตนาม การประเมินดังกล่าวต้องมีกระบวนการที่โปร่งใสและการมีส่วนร่วม โดยคณะผู้ศึกษาที่คัดเลือกจากเจ้าหน้าที่รัฐบาล ชาวบ้านผู้จะได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าว และองค์กรประชาสังคมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยตระหนักถึงความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำโขง สังคมมนุษย์ และธรรมชาติที่พึ่งพากับแม่น้ำสายนี้
ขอแสดงความนับถือ
นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
ผู้อำนวยการเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย
สำเนาถึง : Mr. Wan Muhamad Noor Matha, Minister of Transport and Communications, the Kingdom of Thailand
Mr. Bouathong Vongrokham, Minister of Communication, Transport, Post and Construction, Lao People's Democratic Republic
Mr. Huang Zhendong, Minister of Communications, People's Republic of China
Maj. Gen. Hla Myint Swe, Minister of Transport, Union of Myanmar
H.E. Mr Khy Tainglim, Minister of Public Works and Transport, Cambodia and Chairman, Cambodia National Mekong Committee.
Mr Le Huy Ngo, Minister of Agriculture and Rural Development, Vietnam and Chairman, Vietnam National Mekong Committee.
Mr. Joern Kristensen, Chief Executive Officer, Mekong River Commission
องค์กรที่ร่วมลงนาม
จดหมายนี้ร่วมลงนามโดยองค์กรต่างๆ อีก ๗๕ องค์กรจาก ๒๕ ประเทศดังนี้
ARGENTINA
Elba Stancich, Taller Ecologista
AUSTRALIA
Trevor Edmond, Friends of the National League for Democracy, Australia
BRAZIL
Mauricio Galinkin, Fundação CEBRAC
CAMBODIA
Vong Sarinda, Australian Catholic Relief
Malena Karlsson, Culture and Environment Preservation Association
Sithirith Mak, Fisheries Action Coalition Team
Patrick T. Evans, Food and Agriculture Organisation of the United Nations - Cambodia
Lars-Erik Mackhé, Forum Syd
Joe Heffernan, Indochina Elephant Conservation Programme, FFI Cambodia office
Chhit Sam Ath, International Cooperation Development and Solidarity
Amanda Bradley, Mlup Baitong
Ea Sophy and Russell Peterson, NGO Forum on Cambodia
Kelly Brooks, Oxfam Mekong Initiative
Chan Puthy, Pact Cambodia
Solinn Lim, Save Cambodia's Wildlife
Kim Sangha, Sesan River Protection Network Project
Pete Davidson, Wildlife Conservation Society Cambodia Programme
CHINA
Bruce Van Voorhis, Asian Human Rights Commission, Hong Kong, SAR
CYPRUS
Hugh A. Buck, Ceva Animal Health
DENMARK
Secretariat, The United Peoples
FRANCE
Chansamone Voravong, Laotian Organization of Resources Edified for Cooperation (OLREC)
INDIA
Medha Patkar and M.K.Sukumar, Narmada Bachao Andolan
Ashish Fernandes, Sanctuary Asia
INDONESIA
Arianto Sangaji, Yayasan Tanah Merdeka
ITALY
Jaroslava Colajacomo, Campagna per la riforma della banca mondiale
Elvira Dizon, Franciscan Mission Office
JAPAN
Tetsu Hakoda and Yuki Akimoto, FBC Japanese Service Center
Ikuko Matsumoto, Friends of the Earth Japan
Satoru Matsumoto, Mekong Watch Japan
Okada Kazyuyoshi, Sagami River Camp in Symposium
KOREA
Ik-Bae Kim and Chang-shik Moon, Korean Federation for Environmental Movement
MALAYSIA
Thomas Jalong, Friends of the Earth Malaysia
MOZAMBIQUE
Domenico Liuzzi, Kulima
MYANMAR
Maung Maung, Karenni Evergreen, Karenni
NETHERLANDS
Wiert Wiertsema, Both ENDS
PAKISTAN
Naeem Iqbal, Pakistan Network of Rivers Dams and People
PHILIPPINES
Joan Carling, Chairperson, Cordillera Peoples Alliance
Frances Q. Quimpo, Kalikasan – People's Network for the Environment
SINGAPORE
Trixie Tan, Nature Society
SOUTH AFRICA
Liane Greeff, Environmental Monitoring Group
THAILAND
Prasittiporn Kan-Onsri, Friends of the People
Praijit Silarak, Assembly of the Poor
Uthai Treesucon, Bird Conservation Society of Thailand
Tara Buakamsri, Greenpeace Southeast Asia
Steve Thompson, Images Asia
Hsao Tai, Shan Sapawa Environmental Organization
Hannarong Yaowaloes, Wildlife Fund Thailand
Ike Suriwong, Youth in Action
Patcharee & Kamol Komolphalin, Nature Trails
Somkid Mahissaya, Thai Volunteer Service ( TVS )
Taweekiat Prasertcharoensuk, Promotion of Human Resources for Community Development Foundation
Watcharee Paoleungtong, Alternative Energy Project for Sustainability
Dr. Saranarat Kanjanavanit, Green World Foundation
Friends Without Borders
UK
Sean Scannell, Ilisu Dam Campaign
Brian Sykes, Oriental Bird Club
Chris Woodford, UK Rivers Network
URUGUAY
Teresa Perez, World Rainforest Movement
US
Ken MacLean, EarthRights International
Dan Silver, Endangered Habitats League
Aung Din and Dan Beeton, Free Burma Coalition
Manojkumar Saranathan, Subramanya Sastry, Friends of River Narmada
Paula Palmer, Global Response
Jamie Newlin, Green Democracy Project
Heather Mansfield, International Development Exchange
Susanne Wong, International Rivers Network
Barbara Warner, Marion County Water Watch
Phat Tran, For Mekong River (formerly Mekong Forum)
Sage D. Remington, Native Environmental Justice Advocacy Fund
Diana Bohn, Nicaragua Center for Community Action
Bang Yung, Pan Kachin Development Society
Marty Bergoffen, Southern Appalachian Biodiversity Project
Ray Frost, Southern Ute Grassroots Organization
Kevin Bixby, Southwest Environmental Center
Penny Lind, Umpqua Watersheds
INDIVIDUAL ENDORSEMENTS
Institutional affiliations listed for identification purposes only.
Horrie Poussard, Consultant, Natural Resource Management and Agriculture, Australia
Leng Chacrya, MRC/GTZ-SMRP (Sustainable Management of Resources in the Lower Mekong Basin Project), Cambodia
John Black, Biological Sciences, Brock University, Canada
William Robichaud, Centre for Biodiversity Research, Department of Zoology, University of British Columbia, Canada
Liesbeth Sluiter, Author of “The Mekong Currency,” Netherlands
Dr. Manee Archawaranon, Department of Biology, Faculty of Science, Ramkhamhaeng University, Thailand
Chaiyan Kasorndorkbua, Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University, Thailand and College of Veterinary Medicine, Iowa State University, US
Philip D. Round, Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University, Thailand
Dr J. T. R. Sharrock, Editor, journalist and wildlife consultant, UK
Chin-ju Lin, University of Essex, UK
W.R. Max Niedzwiecki, Ph.D., Director of Programs and Resource Development, Southeast Asia Resource Action Center, US
Guy R. Lanza, Professor of Microbiology and Director, Environmental Sciences Program
University of Massachusetts, Amherst, US
Piseth Vann, Heller School for Social Policy and Management, Brandeis University, US
Dr. Dao Trong Hung , Institute of Ecology and Biological Resources (IEBR), Vietnam National Center for Natural Science and Technology (NCST), Vietnam
Nga Dao, Researcher, Ministry of Agriculture and Rural Development, Vietnam
Ian Grange, Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University, Salaya, Nakhon Phatom, Thailand