คำแถลง ก.วิทย์ "สั่งแขวนประตูเขื่อนราษี"
กระทรวงวิทย์สั่งให้แขวนประตูระบายน้ำราษีไศล"
คำแถลงของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
เรื่องการแก้ไขปัญหาฝายราษีไศล
วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2543
แถลงโดย ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ รัฐมนตรีว่าการ ฯ
ปัญหาฝายราษีไศลได้สร้างความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานนับแต่มีการเปิดดำเนินการในปี 2536 นำไปสู่ ความขัดแย้งที่สูงขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ
ในการก่อสร้างฝายราษีไศลแต่แรกเริ่ม มิได้มีการสำรวจการครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินก่อนการก่อสร้าง เนื่อง จากเป็นที่สาธารณะ เมื่อเริ่มการกักเก็บน้ำ จึงเกิดข้อเรียกร้องในพื้นที่ติดต่อกันตลอดมา จนกระทั่งปัจจุบันได้เกิด กลุ่มราษฎรได้รับผลกระทบจากฝายราษีไศลถึง 8 กลุ่ม มีราษฎรที่อ้างผลกระทบประมาณ 17,000 ราย โดยพื้นที่ของราษฎร บางส่วนก็ทับซ้อนกัน ทำให้เกิดความสับสนและความยุ่งยากในการพิสูจน์สิทธิ์และข้อขัดแย้งระหว่างราษฎร์กับส่วนราช การ ข้อขัดแย้งระหว่างราษฎรด้วยกันเอง ก็เพิ่มมากขึ้น
แต่เนื่องจากกระบวนการตรวจสอบสิทธิ์ในพื้นที่ ได้กระทำหลังการกักเก็บน้ำ ทำให้พื้นที่มีน้ำท่วมถึง การตรวจสอบจึงกระ ทำได้ยาก มีข้อขัดแย้งในประเด็นข้อเท็จจริงที่หาข้อยุติได้ยาก กระบวนการตรวจสอบมีความล่าช้า ซึ่งทำให้ส่วนราชการ และราษฎรในพื้นที่มีความขัดแย้งสูง ขาดความไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อกัน อันนำไปสู่การพิพาท ปัญหาด้านมวลชน และปัญหาทางการเมืองอย่างไม่มีสิ้นสุด
รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยความตั้งใจจริง โดยได้วางแนวทางการตรวจสอบสิทธิ์การครอบครองและทำ ประโยชน์เพื่อให้เกิดความถูกต้องเป็น ธรรมครั้งล่าสุดในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติจ่ายเงินค่า ชดเชยจำนวน 57 ล้านบาท แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 775 ราย โดยยึดหลักการว่า "เป็นการแก้ไขปัญหาการเรียก ร้องของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ อย่างไรก็ตามปัญหาความขัดแย้งยังไม่จบเนื่องจากการตีความของ "พื้นที่ที่ ถือว่าทำประโยชน์ ซึ่งจะต้องจ่ายค่าชดเชย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 เรื่องการครอบครองและการ ทำประโยชน์ เพื่อนิยามความหมายของ "พื้นที่ที่ถือว่าทำประโยชน์"
นอกจากปัญหาการพิสูจน์สิทธิ์แล้ว ที่ผ่านมายังมีปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการเช่น ปัญหาการแพร่กระจาย ดินเค็มในพื้นที่ที่มีอยู่เดิม ประกอบกับปัจจุบันระบบชลประทานตามแผนงานที่กำหนดไว้สำหรับโครงการยังไม่เสร็จ สมบูรณ์
เพื่อให้ข้อพิพาทและข้อขัดแย้งต่างๆได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของทางราชการ ประโยชน์ของ ราษฎรทุกกลุ่มฝ่าย รวมทั้งเพื่อสนองตอบนโยบายและมติคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาการเรียกร้องของราษฎร ที่ได้รับ ผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จึงเห็นควรให้แขวนประตูระบายน้ำ เพื่อให้พื้นที่กลับคืนสู่สภาพ ธรรมชาติ และในระหว่างนี้ก็เร่งรัดกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ โดยการรังวัดในพื้นที่จริง เร่งรัดผลการศึกษาด้านต่างๆ เช่น การศึกษาการแพร่กระจายดินเค็ม น้ำเค็ม และผลกระทบทางสังคมจากโครงการฝายราษีไศล เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อ มูลต่างๆมาใช้ใการดำเนินโครงการกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบ กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการฝาย กำหนดระดับการกักเก็บน้ำที่เหมาะสมเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด โดยยึดหลักการ ความโปร่งใส การเคารพต่อข้อเท็จจริง และหลักวิชาการ รวมทั้งคำจึงถึงการมีส่วนร่วมของราษฎรทุกกลุ่มฝ่าย ทั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
1.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ ด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม
2.บรรลุประโยชน์สูงสุดของโครงการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ได้-เสียของราษฎรทุกกลุ่มฝ่าย
3.ทำให้ปัญหาทุกประเด็น ได้รับการดูแลแก้ไข และพิจารณาศึกษาร่วมกันอย่างปราศจากอคติและความหวาดระแวง
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อมั่นว่า ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาฝายราษีไศลดังกล่าวข้างต้น จะเป็นแนวทางที่ทำให้ทุกฝ่ายลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้า หันหน้ามาแก้ไขปัญหาร่วมกัน บนพื้นฐานของหลักการ ประชาธิปไตยและความเคารพซึ่งกั่นและกัน