เขื่อนโป่งขุนเพชร
คำนวณให้คุ้มค่า ศึกษาให้รอบด้าน ก่อนการตัดสินใจ

fas fa-pencil-alt
สมัชชาคนจน
fas fa-calendar

ความเป็นมา

เขื่อนโป่งขุนเพชร เป็นโครงการชลประทานในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน จะสร้างกั้นลำเชียงทาอันเป็นสาขาใหญ่ ของแม่น้ำชี กำหนดที่ตั้งหัวงานเขื่อนอยู่ในบริเวณบ้านกระจวน ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ พื้นที่น้ำท่วม ประมาณ ๑๒,๓๐๐ ไร่  เดิมกำหนดพื้นที่ผิวน้ำ ๑๖.๒ ตารางกิโลเมตร ต่อมาลดลงเหลือ ๑๔.๖ ตารางกิโลเมตร  และระดับ ความจุจาก ๑๑๒ ล้านลูกบาศก์เมตร ลงมาเหลือเพียง ๙๗ ล้านลูกบาศก์เมตร  เพื่อให้ไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องศึกษาผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๓๕

จำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงประมาณ ๓๐๐ ครอบครัว ๔ หมู่บ้าน ในท้องที่บ้านแก้งกระจวน บ้านห้วยทับนาย  และ บ้านใหม่ห้วยหินฝน ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว และบ้านบุ่งเวียน ต.โป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ

ผู้ที่ได้รับผลกระทบมี ๒ กลุ่มคือ กลุ่มที่มีที่ดินที่ถูกน้ำท่วมและกลุ่มที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีแต่ไม่ถูกน้ำท่วม เพราะชาวบ้าน รวมถึงชาวญากรูซึ่งเป็นคนพื้นถิ่นหากินกับป่า โดยเฉพาะบ้านใหม่ห้วยหินฝนและบ้านห้วยทับนายน้อย เก็บของป่าเป็น อาชีพหลัก จนกลายเป็นวิถีชีวิตของชุมชน เช่น หน่อไม้ ใบลาน เห็ด กะบุก ผักหวาน อึ่งและสมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น โดยแทบ จะไม่ต้องทำการเพาะปลูกเลย

อ่างเก็บน้ำของเขื่อนจะทำลายป่าลาน แหล่งสมุนไพร และพืชอาหารที่ชาวบ้านพึ่งพาในการดำรงชีวิตและขายเป็นรายได้ทาง เศรษฐกิจ  

สภาพปัญหา

- ทำให้เกิดพื้นที่น้ำท่วมป่าต้นน้ำชี ทำลายระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อมที่ยังมีความสมดุลตามธรรมชาติเนื่องจากชาวบ้าน ไม่ได้แผ้วถางเพื่อทำเกษตรแผนใหม่ จึงเป็นการทำลายชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิม ทำลายระบบวิถีชีวิต เศรษฐกิจคน กับป่า ที่พึ่งพากัน ทำลายอาชีพหลักของชาวบ้านในบริเวณอ่างเก็บน้ำ ได้แก่ การหาใบลาน หน่อไม้ ผักหวาน เห็ด อึ่ง และ สมุนไพร เป็นต้น

- หลีกเลี่ยงการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีการลดพื้นที่อ่าง ให้มาอยู่ในระดับที่ไม่เข้าเกณฑ์การทำการ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๓๕ ตามข้อมูลข้างต้น

- ข้อมูลไม่ชัดเจนและไม่ครบถ้วน  เพราะมีการปิดบังข้อมูลและ/หรือไม่มีข้อมูล  เพราะไม่ได้ทำการศึกษา เช่น ระดับที่น้ำจะ ท่วมถึง พื้นที่ที่น้ำจะท่วม ใครได้ประโยชน์ อยู่ที่ไหน กี่ราย ประโยชน์ด้านใดบ้าง จริงหรือไม่ ใครเสียหายหรือได้รับผล กระทบ กี่ราย เดือดร้อนอย่างไร ไม่มี แนวทางที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งแผนผังโครงการคลองส่งน้ำก็ไม่มี ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดแก่ทุกฝ่าย

- มีการทุจริตกันอย่างโจ่งแจ้ง ในลักษณะฉ้อโกงค่าชดเชยจากทางราชการ โดยความร่วมมือกันระหว่างคณะอนุกรรมการตรวจ สอบทรัพย์สินและนายทุนนายหน้าจากนอกพื้นที่

- ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการกับกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น กลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นที่ ได้ประโยชน์จากโครงการได้แก่นักการเมือง ผู้รับเหมาและกรมชลประทานรวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด  

ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๒๕๔๓ มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๒๕๔๓ และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.

เขื่อนโป่งขุนเพชร    
 สมัชชาคนจน   

ข้อเรียกร้องของชาวบ้าน

มติคณะกรรมการกลางฯ

มติคณะรัฐมนตรี

ข้อคิดเห็นของสมัชชาคนจน

๑) ให้รัฐบาลยุติการดำเนินการใดๆโดยทันที โดยเฉพาะการโฆษณาโน้มนำความคิดเห็นของสาธารณชนและให้ข้อมูลด้านเดียวของกรมชลประทาน รวมทั้งการจัดตั้งชาวบ้านอีกกลุ่มมาปะทะกัน ฯลฯ

๑) ระงับการดำเนินการใดๆเกี่ยวกับโครงการนี้

๑) เห็นชอบให้ระงับการดำเนินโครงการโป่งขุนเพชรไว้ก่อน

๒) ให้รัฐบาลรอผลการศึกษาข้อมูลฉบับสมบูรณ์ และการจัดทำประชาพิจารณ์ของคณะกรรมการศึกษาผลกระทบความเหมาะสม และพิจารณาความเป็นไปได้ ที่ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐

๒) ให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติ ครม. ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้สร้าง ๔ เขื่อน ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ ๒๑/๒๕๔๑ ทำการศึกษาด้านความเหมาะสมของโครงการ และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม (EIA, SIA) เพื่อใช้ประเมินความคุ้มค่า (ผลดี-ผลเสีย) ของโครงการอย่างละเอียดและรอบด้านในการตัดสินใจของรัฐบาลที่จะดำเนินโครงการต่อไปหรือไม่ทั้งหมด

๒) เห็นชอบให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามมติครม. ๒๙ เมษายน ๒๕๔๐ กรณีเขื่อนที่ยังไม่สร้าง ๔ เขื่อน ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเร่งรัดดำเนินการ

๓) ให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกประการ รวมถึงสัญญาต่างๆที่มี

๓) ให้รัฐบาลสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการ โดยเร่งจัดหางบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการตามข้อ ๑ บรรลุวัตถุประสงค์

๓) เห็นชอบให้สนับสนุนงบประมาณในการทำงานของคณะกรรมการฯตามข้อ ๒ ทั้งนี้รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณบางส่วนให้แล้ว

งบประมาณที่รัฐบาลสนับสนุนมีเพียงงบประมาณในการจัดรับฟังความคิดเห็น แต่ไม่มีงบประมาณในการศึกษาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องดำเนินการก่อนการรับฟังความคิดเห็น

๔) หลังจากคณะกรรมการได้ทำการศึกษาความคุ้มค่าเสร็จสิ้นตามกระบวนการแล้ว จึงค่อยให้คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

๔) เห็นชอบให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐

ก่อนดำเนินการรับฟังความคิดเห็น ควรให้คณะกรรมการฯทำการศึกษาอย่างรอบด้านก่อนตามข้อเสนอคณะกรรมการกลางฯ เพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจในการจัดการรับฟังความคิดเห็น

๕) ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

 



เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง