โครงการเขื่อนโป่งขุนเพชร

fas fa-pencil-alt
สมัชชาคนจน
fas fa-calendar

ข้อมูลเบื้องต้น

  1. วัตถุประสงค์โครงการ: เพื่อการเกษตร
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการ: กรมชลประทาน
  3. ที่ตั้งหัวงาน: บ้านกระจวน หมู่ 4 ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
  4. เนื้อที่ของชลประทาน: 12,300 ไร่ในท้องที่ ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว และต.โป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
  5. ปริมาณความจุน้ำ: 97 ล้านลูกบาศก์เมตร
  6. พื้นที่ผิวน้ำ: 16.2 ตารางกิโลเมตร (10,215 ไร่)
  7. จำนวนราษฏรที่ได้รับผลกระทบ: ประมาณ 500 ครอบครัว 5 หมู่บ้าน (บ้านกระจวน, บ้านใหม่ห้วย, หินฝน, บ้านห้วยทับนาย, บ้านบุงเวียน, บ้านโคกชาด)
  8. แผนผังโครงการการใช้น้ำจากเขื่อน: ไม่มี
  9. แผนโครงการรองรับราษฏรผู้ได้รับผลกระทบ: ไม่มี

สภาพปัญหา

  1. การดำเนินงานของทางราชการไม่โปร่งใส: มีการปิดบังข้อมูล เช่น หลักเกณฑ์ ระเบียบ หรือมติ ครม. ในการจ่ายค่าทดแทน ถูกปกปิดและบิดเบือน แนวเขตน้ำท่วมหรือเขตชลประทานไม่แน่ชัด ขัดแย้งกับข้อมูลของ สปก.
  2. กีดกันชาวบ้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ให้มีส่วนร่วม: เช่น การรังวัดที่ดิน การนับต้นไม้ เจ้าหน้าที่ทำเองโดยพลการ เจ้าของที่ดินและพยานข้างเคียงไม่ได้นำชี้
  3. กระทำการทุจริตผิดกฎหมาย:
    • ข่มขู่หลอกลวงชาวบ้านว่าอยู่ในเขตป่าสงวน ทางการไม่มีค่าทดแทน ใครไม่ยอมออกไปจะถูกดำเนินคดีอาญา
    • ฉ้อโกงค่าทดแทนต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 25 ล้านบาท โดยการทำหลักฐานเท็จ ปลอมลายมือชื่อชาวบ้าน เรียกรับสินบน ขู่เข็ญกรรโชกให้ชาวบ้านกลัวแล้วบังคับเอาส่วนแบ่งจากค่าทดแทน
    • ตัดไม้ทำลายป่า โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเอาไม้ไปขายเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว
    • ถนนเข้าหัวงานชำรุดตั้งแต่ก่อสร้างเสร็จยังไม่ทันถึงเดือน ส่อพิรุธว่าน่าจะมีการทุจริต
  4. ไม่มีการคำนวณต้นทุนทางสังคม
  5. กระทบต่อระบบนิเวศทั้งระบบและวิถีชุมชน
  6. เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามอำเภอใจ: ไม่มีมาตรการที่ชัดเจน เช่น การจ่ายค่าทดแทนที่ดิน (ค่าขนย้าย) และการจ่ายค่าทดแทนต้นไม้และสิ่งปลูกสร้าง

ผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชุมชน

  1. ไม่มีการทำรายงานประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)
  2. ทำลายป่าต้นน้ำห้วยลำเชียงทา อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชี
  3. ทำลายอาชีพหลักของชาวบ้าน เช่น การหาของป่า
  4. ทำลายระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ
  5. ทำลายวิถีชีวิต ชุมชน และวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลได้-ผลเสีย คุ้มค่าหรือไม่?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ (อนาคต)

  1. พื้นที่เพาะปลูกในหน้าฝน 100,000 ไร่ หน้าแล้ง 25,000 ไร่
  2. รายได้จากการขายผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่การเกษตร
  3. แหล่งจับปลา
  4. แหล่งน้ำอุปโภคบริโภค
  5. แหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้าน
  6. บรรเทาอุทกภัยด้านท้ายน้ำ (ชั่วคราว)

ผลที่เสียไป (ปัจจุบัน)

  1. พื้นที่เกษตรธรรมชาติหรือวนเกษตร 12,300 ไร่
  2. รายได้จากการเกษตรธรรมชาติและการหาของป่า มูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท/ปี
  3. แหล่งอาหารที่เป็นสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา อึ่ง ฯลฯ
  4. สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศเสียไป
  5. อุทกภัยหน้าเขื่อนตลอดไป
  6. ครอบครัวแตกสลาย ทำลายวิถีชีวิตและสังคมชนบท
  7. งบประมาณแผ่นดินสูญเปล่าเพราะการทุจริต คอร์รัปชั่น
  8. ไม่มีหลักประกันว่าจะได้ผลตามที่กรมชลประทานกล่าวอ้าง
  9. ไม่มีแผนรองรับหรือแผนเยียวยาชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ
  10. ต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรม


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง