ข้อเสนอเพื่อก้าวพ้นความรุนแรงกรณีเขื่อนปากมูล
๑.ความนำ
ปัญหาเขื่อนปากมูลเกิดขึ้นสืบเนื่องยาวนานมาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปีหลังการสร้างเขื่อน รัฐบาลชวน ๑ ได้มีข้อตกลง จ่ายค่าชดเชยอาชีพประมงให้แก่ชาวบ้านในช่วงระยะเวลา ๓ ปีระหว่างการดำเนินการก่อสร้างเขื่อน มีข้อตกลงกันว่า หลัง สร้างเขื่อนจะไม่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพราะมีมาตรการฟื้นฟูต่างๆ เช่น การสร้างบันไดปลาโจน และการปล่อย พันธุ์สัตว์น้ำ
ในขณะที่ฝ่ายกฟผ.และรัฐบาลเห็นว่า ชีวิตชาวบ้านเป็นปกติสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ฝ่ายชาวบ้านกลับเห็นว่า วิถีชีวิตเดิมถูกทำลาย สภาพดำรงชีพที่พึ่งอยู่กับการประมงลุ่มน้ำมูลหายไปการชุมนุมเรียกร้องของชาวบ้านปากมูลหลังสร้างเขื่อน ได้เกิดขึ้นต่อ เนื่องมาหลายรัฐบาล
โดยมีข้อเรียกร้องเรื่องค่าชดเชยอาชีพประมงที่สูญเสียไป ช่วงรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา การเจรจากับรัฐบาลระหว่างการ ชุมนุม เคยมีมติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๓๙ ยอมหลักในหลักการว่า มีความเดือดร้อนจริงและมีการพิสูจน์ปัญหา ความเดือด ร้อนของชาวบ้านและพิจารณามาตรการแก้ไข แต่การดำเนินการหยุดลงเพราะมีการยุบสภา
ช่วงรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ การชุมนุม ๙๙ วันของสมัชชาคนจน (๒๔ มกราคม-๒ พ.ค.๒๕๔๐) มีมติครม. ๒๒ เมษายน ๒๕๔๐ อนุมัติในหลักการให้มีการจ่ายค่าทดแทนความเสียหาย โดยให้มีการหาที่ดินเพื่อทำการเกษตรครอบ ครัวละ ๑๕ ไร่ หากไม่สามารถหาที่ดินได้ให้จ่ายเป็นเงิน หลังการลาออกของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ได้มีมติครม. 21 เมษายน 2541 ไม่ให้มีการจ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อนย้อนหลังกรณีเขื่อนที่สร้างแล้ว
อย่างไรก็ดี การชุมนุมเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยอาชีพประมงของชาวบ้านกรณีเขื่อนปากมูลยังคงเกิดขึ้นอย่างสืบเนื่อง โดยใน ช่วงรัฐบาลนายชวน หลีกภัยชาวบ้านได้ชุมนุมที่บริเวณหัวงานของเขื่อนเป็นเวลา ๑๔ เดือน และได้บุกเข้ายึดตัวเขื่อนใน เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ โดยในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งได้เข้ากรุงเทพฯ และบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล
ในบรรยากาศแห่งการเผชิญหน้า การเจรจากับรัฐบาลได้ข้อตกลงให้ตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ประกอบด้วยนักวิชาการ ๑๐ ท่าน ร่วมเป็นกรรมการ แต่งตั้งโดย ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาด ไทย (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) ด้วยความหวังว่า กระบวนการพิจารณาด้วยหลักแห่งเหตุผลทางวิชาการจะเป็นที่ยอมรับและ ปฏิบัติได้
๒.วิธีทำงานของคณะกรรมการกลางฯ
คณะกรรมการกลางฯ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่คือ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน ด้านประมง ด้านสิ่งแวด ล้อม ด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคณบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้เริ่มทำงานโดยประชุมครั้งแรกใน วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๔๓ และขอขยายเวลาทำงานจาก ๑๕ วัน เป็นเวลา ๓๐ วัน สิ้นสุดอายุการทำงานในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓ ซึ่งได้มีการมอบข้อเสนอทั้งหมดต่อ ฯพณฯ บัญญัติ บรรทัดฐานอย่างเป็นทางการในสิ้นสุดการทำงาน
การทำงานของคณะกรรมการกลางฯ ได้มีข้อตกลงกันตั้งแต่การประชุมครั้งแรกว่า ถึงแม้จะมีการเสนอมาจาก ๒ ฝ่าย แต่กระบวนการทำงานจะสร้างกลไกและวิธีการที่ละลายความเป็นฝักฝ่าย โดยจะใช้หลักการและมาตรฐานทางวิชาการที่ตั้งอยู่ บนกระบวนการใช้เหตุใช้ผล ใช้หลักฐาน ข้อมูลข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาและการแสวงหาข้อเสนอแนะ
การพิจารณาหรือวินิจฉัยของคณะกรรมการกลางฯจึงไม่ใช้วิธีการโหวตแม้แต่ครั้งเดียว มติของคณะกรรมการกลางฯ เป็นความ เห็นร่วมที่เกิดจากกระบวนการไตร่สวนและการวินิจฉัยบนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ และข้อเท็จจริงต่างๆ
๓. เหตุผลเรื่องการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง ๘ บาน
โจทย์การวินิจฉัยสำคัญคือ การสร้างเขื่อนปากมูลหลังการกักเก็บน้ำ มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านเดิม ชาวบ้านมีความ เดือดร้อนจริงหรือไม่ โดยเฉพาะการทำอาชีพประมง
ผลการวินิจฉัยคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลทางด้านการประมง ข้อมูลจากการพิสูจน์ความเดือดร้อนในรัฐบาลที่ผ่านมา และข้อ มูลจากโดยนักวิชาการ พบว่า รายได้จากการทำประมงลดลง และจำนวนชาวประมงบริเวณเหนือเขื่อนลดลง
ขณะเดียวกัน กฟผ. อ้างถึงข้อมูลสถิติของกรมประมงที่ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำในจังหวัดอุบลราชธานีในภาพรวมว่ามีจำนวน เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีข้อมูลโดยตรงบริเวณเขื่อน ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่น หรือเพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงปลาในกะชังที่มีการ ส่งเสริมโดยบริษัทเอกชนให้ชาวบ้านเลี้ยงปลาทับทิม
คณะกรรมการกลางฯ เห็นว่า จากเหตุผลทางวิชาการเชื่อได้ว่า การสร้างเขื่อนปากมูลมีผลกระทบต่อประชากรสัตว์น้ำ ระบบ นิเวศน์ และการทำประมงเหนือเขื่อน เนื่องจากไปขัดขวางการอพยพของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงน้ำหลากที่เป็นระยะ เวลาการแพร่พันธุ์วางไข่ สำหรับมาตรการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างบันไดปลาโจนนั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะชด เชยสภาพเดิม
ดังนั้น เมื่อเกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านหลังการสร้างเขื่อนปากมูล จึงพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีมาตรการที่จะฟื้นฟู สภาพนิเวศของแม่น้ำมูลที่เดิมเคยเป็นฐานทรัพยากรในการ ดำรงชีพของชาวบ้านด้านประมง
การเปิดประตูน้ำทั้ง ๘ บานเป็นระยะเวลา ๔ เดือน จึงเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งเพื่อการฟื้นฟูสภาพนิเวศน์ของแม่น้ำมูล โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า การเปิดประตูน้ำทั้ง ๘ บานเป็นระยะเวลา ๔ เดือนในช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม- สิงหาคม) มีผลดีคือ ปลาสามารถอพยพขึ้นมาวางไข่ตามธรรมชาติ มีการเคลื่อนย้ายของปลาจากแม่น้ำโขงเข้าสู่แม่น้ำมูล เกิด ผลดีด้านการอนุรักษ์อย่างแน่นอนโดยเฉพาะในเรื่องทำให้พันธุ์ปลามีความหลากหลาย (Bio-diversity) และจะเกิดผลประ โยชน์ด้านเศรษฐกิจด้านประมงกับชาวบ้านริมแม่น้ำมูล
ทั้งนี้ ได้เสนอว่า ต้องมีคณะกรรมการพหุภาคีเพื่อดูแลและศึกษาผลกระทบทั้งทางด้านบวกและลบจากมาตรการเปิดประตู ระบายน้ำ โดยคณะกรรมการกลางฯ ได้เสนอให้ตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาทดลองการเปิดประตูระบายน้ำกรณีเขื่อนปากมูล”
โดยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ไม่ใช่การพิจารณาว่า จะเปิดหรือไม่เปิดประตู น้ำ แต่จะทำหน้าที่ทางด้านวิชาการ และด้านเทคนิค เพื่อให้ข้อเสนอด้านเทคนิคว่า “จะเปิดประตูน้ำอย่างไร” และทำหน้าที่ศึกษาผลกระทบทั้งทางด้านบวกและ ลบจากมาตรการเปิดประตูระบายน้ำ และเสนอแนะมาตรการสนับสนุนด้านการประมง ด้านนิเวศวิทยา และการบรรเทาผล กระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การเลื่อนตัวของดินชายฝั่ง การเลี้ยงปลาในกระชัง และรายได้จากการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อการ ทดลองเปิดประตูระบายน้ำ
องค์ประกอบส่วนที่สำคัญที่เป็นหัวใจของคณะกรรมการฯ คือ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาด้านประมง ด้านวิศว กรรม และด้านสังคมศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะทางด้านเทคนิคและเป็นคณะผู้ศึกษาผลกระทบ ส่วนองค์ประกอบที่เหลือ คือ ตัวแทนจากผู้ได้รับผลกระทบทั้งด้านบวกและลบจากการการเปิดประตูน้ำ และส่วนราชการในระดับจังหวัดที่จะให้ความ สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ
๔.ข้อถกเถียงและเหตุผลคัดค้าน
มาตรการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง ๘ บาน เป็นระยะเวลา ๔ เดือนในช่วงฤดูฝน (ประมาณเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม) มีการพิจารณาถึงผลดีผลเสียโดยเฉพาะผลกระทบด้านลบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังการเปิดประตูระบายน้ำ ดังต่อไปนี้
๔.๑ ประเด็นผลกระทบต่อระบบการจ่ายพลังงานไฟฟ้า
กฟผ.ได้ชี้แจงว่า แม้ว่าปัจจุบันการหยุดผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูลจะยังไม่กระทบกระเทือน ต่อความมั่นคง ของระบบไฟฟ้า เพราะมีกำลังไฟฟ้าสำรองมากแต่หากเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้นในอนาคตอาจมีปัญหาเรื่องความต้อง การไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และอาจส่งผลต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการผลิตพลังงานไฟฟ้าในปี 2541 พบว่า มีหลายเดือนที่เขื่อนปากมูลไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load) แสดงให้เห็นว่า ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของจังหวัดอุบล ราชธานีและใกล้เคียงได้ และไม่พบว่าในเดือนดังกล่าวมีปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับ ที่มีสาเหตุมาจากการหยุดผลิตไฟฟ้าของ เขื่อนปากมูลแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ข้อมูลการคาดการณ์การผลิตพลังงานไฟฟ้าในเดือน กรกฎาคม – ตุลาคม ปี 2541 พบว่าเขื่อนปากมูลจ่าย พลังงานไฟฟ้า ในช่วงเวลาปกติ 65 % และ ในช่วง Peak 35 % เท่านั้น และหากหยุดการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูล 4 เดือนจะส่งผลกระทบต่อค่า FT เท่ากับ 0.0061 บาทต่อ KWh หรือหากหยุดการผลิตพลังงานไฟฟ้าทั้งปี จะส่งผลกระทบต่อค่า FT เท่ากับ 0.0038 บาทต่อ KWh
๔.๒ ประเด็นการสูญเสียรายได้จากการผลิตไฟฟ้า
ทางตัวแทนกฟผ.ชี้แจงว่า หากหยุดการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนปากมูลนั้น ทางกฟผ.จะต้องซื้อกระแสไฟฟ้าจากประเทศ ลาวหรือต้องซื้อเชื้อเพลิงประเภทอื่นมาผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินของการสูญเสียรายได้จากการผลิตกระแส ไฟฟ้าถึงปีละ ๒๑๒ ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเชื่อว่าการเปิดประตูระบายน้ำเป็นเวลา ๔ เดือน (ประมาณพฤษภาคม- สิงหาคม) จะทำให้ค่า ใช้จ่ายในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นระดับหนึ่ง แต่ผลเสียนี้ก็ควรนำไปเปรียบเทียบกับผลดีในด้านอื่น ที่จะได้รับจากการ เปิดประตูระบายน้ำ
๔.๓ ผลกระทบต่อผู้เลี้ยงปลาในกะชัง
ผู้เลี้ยงปลากะชังส่วนใหญ่อยู่นอกพื้นที่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนปากมูลโดยส่วนใหญ่อยู่เหนือแก่งสะพือ ขึ้นไปจนถึง จ.อุบลราชธานี ซึ่งพบว่ามีอยู่ประมาณ ๒๐๐ รายหรือประมาณ ๑,๐๐๐ กระชัง โดยการเลี้ยงปลาดังกล่าวเป็นการเลี้ยงปลาทับ ทิมและปลานิล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเจริญโภคภัณฑ์และกรมประมง ดังนั้น การเปิดประตูระบายน้ำจึงไม่ส่งผล กระทบต่อผู้เลี้ยงปลาในกะชังในบริเวณดังกล่าว
ส่วนในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนปากมูล มีผู้เลี้ยงปลาในกะชัง ๑๒ ราย แต่เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกะชัง เป็นการ เลี้ยงแบบแพที่สามารถขึ้นลงตามระดับน้ำได้ และเลี้ยงตรงบริเวณน้ำลึกหรือวังน้ำ จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้เลี้ยง ปลาในกะชัง และเกาะแก่งธรรมชาติในลำน้ำมูล จะช่วยไม่ให้ระดับลดต่ำลงจนเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงปลาในกะชัง
๔.๔ ผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ชลประทาน 40,000 ไร่
การวินิจฉัยคือ พื้นที่ชลประทานเป็นพื้นที่เพาะปลูกในโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อการชลประทานใน ฤดูแห้งที่ดำเนินการมาก่อน และมีลักษณะเป็นสถานีสูบน้ำแบบแพลอย หากเปิดเขื่อนในช่วงฤดูฝน จะกระทบต่อเกษตรกร ผู้ใช้น้ำไม่มากนักเพราะสถานีสูบน้ำจะขึ้นลงตามระดับน้ำได้ และเกษตรกรยังสามารถใช้น้ำฝนตามธรรมชาติได้ เกษตรกรผู้ ใช้น้ำที่กล่าวอ้างกันจึงไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย
๔.๕ ข้อโต้แย้งว่า ไม่ควรมีมาตรการใดๆ ในการแก้ไขปัญหา เพราะรัฐบาลได้จ่ายค่าชดเชยไปกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาทแล้ว
การจ่ายค่าชดเชยที่ผ่านมาเป็นไปตามข้อตกลงกันในช่วง ๓ ปี ระหว่างการก่อสร้างเขื่อน และค่าชดเชยที่เกี่ยวข้องกับ ความเสียหายจากผลกระทบของการสร้างเขื่อนเป็นเรื่องปกติที่ต้องดำเนิน การตามความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว
๕.บทสรุป : ตั้งกรรมการได้กรรมการ?
ข้อเสนอของคณะกรรมการกลางฯ ต่อกรณีการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล ได้เสนอต่อ ฯพณฯ รัฐมนตรีมหาดไทยใน ฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีให้ดูแลเรื่องนี้ การตัดสินใจของฝ่ายการเมืองที่ส่วนต่างๆ ของสังคมน่าติดตามก็คือ อาจจะเป็นไปได้ว่า “ตั้งกรรมการได้กรรมการ”
มีความเป็นไปได้สูงว่า “คณะกรรมการพิจารณาทดลองการเปิดประตูระบายน้ำกรณีเขื่อนปากมูล” จะเปลี่ยนบทบาทและ อำนาจอำนาจหน้าที่ในฐานะ “คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นเรื่องเปิด-ไม่เปิดประตูระบายน้ำ” โดยเหตุผลว่า เพื่อให้ฝ่าย ต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมแสดงความเห็น ดังตัวแบบคณะกรรมการฯ ที่มีการตั้งเรื่องโดยฝ่ายข้าราชการประจำฝ่าย ปกครอง
ในขณะที่คณะกรรมการกลางฯ ได้ใช้เกณฑ์การพิจารณาโดยใช้ฐานบนกระบวนการทางเหตุผล โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริง หลักฐานทางวิชาการ แต่ข้อเสนอกำลังจะนำไปสู่กระบวนการที่ตัดสินโดยปริมาณคน ซึ่งมีปัญหาทั้งในระดับฐานคิดและการ ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ดังกรณีกลุ่มผู้เลี้ยงปลากะชังและกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำที่ห่างไกลจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างมาก
ข้ออ้างว่า ต้องตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อฟังความคิดเห็นจากกลุ่มคนทั้งหมด และ ดูเหมือนจะเป็นการ “ซื้อเวลา” ที่ได้นำ ไปสู่การเผชิญหน้าและความรุนแรง ด้วยกระบวนการที่ไม่อิงบนหลักการของการใช้เหตุผลอีก และที่กล่าวว่า “ต้องฟังหน่วย งานรับผิดชอบก่อนว่าปฏิบัติได้หรือไม่” ก็ไม่รู้ว่าจะตั้งคณะกรรมการกลางฯขึ้นมาด้วยเหตุผลอะไร เหมือนกับการจัดประชา พิจารณ์ที่ไม่เคยนำมาสู่การตัดสินใจสักครั้ง
สุดท้าย ยังมีข้ออ้างว่า หากเปิดเขื่อนจะเกิดผลกระทบต่อเนื่องไปยังเขื่อนอื่น ทำให้ไม่มีการพิจารณาว่า เขื่อนปากมูลกระทบมี ผลเสียมากกว่าผลดีจริงหรือเปล่า รวมทั้งข้ออ้างที่สะท้อนผ่านปากนายเที่ยง บรรเทา อันเป็นเรื่องที่ไม่บังควรนำมาอ้าง ล้วน ละเลยกระบวนการใช้เหตุใช้ผลทั้งสิ้น
รัฐบาลนายชวน หลีกภัย และ ฯพณฯ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้รับผิดชอบตรง จะเลือกพิจารณาบนหลักการแห่งเหตุผล หรือบนฐานของอุดมการณ์ ความเชื่อ เป็นสิ่งที่คนในสังคมควรร่วมกันพิจารณา