ลำดับเหตุการณ์ราษีไศล สิงหาคม 2542 ถึง เมษายน 2545
ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนราษีไศล ได้ยึดพื้นที่อ่างเก็บน้ำด้วยการตั้งหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน ๒
ข้อเรียกร้องคือ ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเปิดประตูระบายน้ำเพื่อพิสูจน์สิทธิ์ โดยการสำรวจภาคสนาม
๑๖ มีนาคม ๒๕๔๓
สมัชชาคนจน ได้ยื่นหนังสือให้จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีข้อเรียกร้องดังนี้
๑.ให้ตรวจสอบความคุ้มค่าในการสร้างเขื่อนราษีไศล ดังนี้
๑.๑ งบประมาณในการก่อสรร้างเขื่อนราษีไศล
๑.๒ งบประมาณในการจ่ายค่าชดเชย ( โดยให้รวมเป็นต้นทุนในการสร้างเขื่อน )
๑.๓ ต้นทุนทางสังคม ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ป่าบุ่ง ป่าทาม ( โดยให้รวมเป็นต้นทุนในการสร้างเขื่อน )
๑.๔ จำนวนราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากการใช้น้ำ ในการทำการเกษตรในฤดูแล้ง โดยให้คิดเป็นเนื้อที่จำนวนไร่
๑.๕ รายได้ในแต่ละครัวเรือน
๒.ตรวจสอบการแพร่ระบาดของปัญหาดินเค็ม อันเนื่องมาจากเขื่อนราษีไศล ประเด็นดังนี้
๒.๑ จำนวนบ่อเกลือซึ่งชาวบ้านต้มประกอบอาชีพก่อนการสรางเขื่อนราษีไศล ( จำนวนบ่อต่อเนื้อที่ไร่ )
๒.๒ ขนาดของแหล่งโดมเกลือใต้ดินอ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศล
๒.๓ การเกิดดินเกลือรอบอ่างเก็บน้ำซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นนับแต่มีการกักเก็บน้ำ ( จำนวนเนื้อที่ต่อไร่ )
๒.๔ ปริมาณคุณภาพน้ำฝุ่นละอองและสิ่งเจือปนในน้ำ
๓.รัฐบาลต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนราษีไศล ดังนี้
๓.๑ สมุนไพรที่สูญเสียไปจากการสร้างเขื่อน
๓.๒ ปริมาณประชากรปลาและจำนวนพันธุ์ปลาที่ลดลง
๓.๓ ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศน์ป่าบุ่งป่าทามที่สูญเสียไป
๓.๔ ที่ดินทำกินของราษฎรซึ่งถูกน้ำท่วมและยังไม่ได้รับค่าชดเชย
๑๖ มีนาคม ๒๕๔๓
จังหวัดศรีสะเกษ ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย และปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ให้รับไปดำเนินการ โดยมีประเด็นในการดำเนินการดังนี้
๑.ให้ตรวจสอบความคุ้มค่าในการสร้างเขื่อนราษีไศล ดังนี้
๑.๑ งบประมาณในการก่อสรร้างเขื่อนราษีไศล
๑.๒ งบประมาณในการจ่ายค่าชดเชย ( โดยให้รวมเป็นต้นทุนในการสร้างเขื่อน )
๑.๓ ต้นทุนทางสังคม ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม ความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ป่าบุ่ง ป่าทาม ( โดยให้รวมเป็นต้นทุนในการสร้างเขื่อน )
๑.๔ จำนวนราษฎรที่ได้รับประโยชน์จากการใช้น้ำ ในการทำการเกษตรในฤดูแล้ง โดยให้คิดเป็นเนื้อที่จำนวนไร่
๑.๕ รายได้ในแต่ละครัวเรือน
๒.ตรวจสอบการแพร่ระบาดของปัญหาดินเค็ม อันเนื่องมาจากเขื่อนราษีไศล ประเด็นดังนี้
๒.๑ จำนวนบ่อเกลือซึ่งชาวบ้านต้มประกอบอาชีพก่อนการสรางเขื่อนราษีไศล ( จำนวนบ่อต่อเนื้อที่ไร่ )
๒.๒ ขนาดของแหล่งโดมเกลือใต้ดินอ่างเก็บน้ำเขื่อนราษีไศล
๒.๓ การเกิดดินเกลือรอบอ่างเก็บน้ำซึ่งเพิ่มจำนวนขึ้นนับแต่มีการกักเก็บน้ำ ( จำนวนเนื้อที่ต่อไร่ )
๒.๔ ปริมาณคุณภาพน้ำฝุ่นละอองและสิ่งเจือปนในน้ำ
๓.รัฐบาลต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนราษีไศล ดังนี้
๓.๑ สมุนไพรที่สูญเสียไปจากการสร้างเขื่อน
๓.๒ ปริมาณประชากรปลาและจำนวนพันธุ์ปลาที่ลดลง
๓.๓ ทรัพยากรธรรมชาติ และระบบนิเวศน์ป่าบุ่งป่าทามที่สูญเสียไป
๓.๔ ที่ดินทำกินของราษฎรซึ่งถูกน้ำท่วมและยังไม่ได้รับค่าชดเชย
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๓
จังหวัดศรีสะเกษมีหนังสือที่ ศก๐๐๑๘/๗๖๖๘ แจ้งสมัชชาคนจนว่า ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รับไปพิจารณาแล้ว
มิถุนายน ๒๕๔๓
สมัชชาคนจน ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน โดยกรณีเขื่อนราษีไศลได้มีข้อเรียกร้อง ดังนี้
๑.ให้ยกเลิกการเก็บกักน้ำโดยการเปิดประตูระบายน้ำทั้ง ๗ บาน
๒.ให้ประเมินความคุ้มค่าของเขื่อนราษีไศล โดยให้รวมค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ามาประการคำนวณด้วย และให้เร่งตรวจสอบการแพร่กระจายของดินเค็มที่เกิดจากการเก็บกักน้ำ
๓.ให้ฟื้นฟูป่าบุ่ง – ป่าทาม และชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
๔.เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดให้กับชาวบ้าน และสาธารณะ รวมถึงสัญญาต่างๆ ที่มี เช่น แบบเขื่อน ระบบชลประทาน ฯลฯ รวมถึงสัญญาว่าจ้างการก่อสร้าง
๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง การแก้ไขปัญหาฝายราษีไศล ดังนี้
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เห็นควรให้แขวนประตูระบายน้ำ เพื่อให้พื้นที่กลับคืนสู่สภาพธรรมชาติ และในระหว่างนี้ก็เร่งรัดกระบวนการพิสูจน์สิทธิ์ โดยการรังวัดพื้นที่จริง เร่งรัดผลการศึกษาด้านต่างๆ ที่กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้มอบหมายให้หน่วยงานและสถาบันการศึกษาดำเนินการอยู่ เช่น การศึกษาแพร่กระจายของดินเค็ม น้ำเค็ม และผลกระทบทางสังคมจากโครงการฝายราษีไศล เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการดำเนินโครงการ กำหนดมาตราการป้องกันและลดผลกระทบ กำหนดแนวทางการบริหารจัดการฝาย กำหนดระดับการกักเก็บน้ำที่เหมาะสมเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด โดยยึดหลักการ “ความโปร่งใส การเคารพต่อข้อเท็จจริงและหลักวิชาการ รวมทั้งคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของราษฎรทุกกลุ่มฝ่าย” ทั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
๑.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม
๒.บรรลุประโยชน์สูงสุดของโครงการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ได้-เสีย ของราษฎรทุกฝ่าย
๓.ทำให้ปัญหาทุกประเด็น ได้รับการดูแลแก้ไข และพิจารณาศึกษาร่วมกันอย่างปราศจากอคติและความหวาดระแวง
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อมั่นว่า ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาฝายราษีไศลดังกล่าวข้างต้น จะเป็นแนวทางที่ทำให้ทุกฝ่ายลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้า หันมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน บนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตยและด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน
๖ กรกฎาคม ๒๕๔๓
คณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ได้พิจารณาข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนราษีไศล คณะกรรมการกลางฯ มีมติ ดังนี้
๑.เปิดประตูระบายน้ำทั้ง ๗ บานไปก่อน เพื่อบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมเฉพาะหน้า และดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
๒.การตัดสินใจดำเนินการใดๆ ของฝายราษีไศลในอนาคต ให้รอผลการศึกษาโดยสถาบันการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อประกอบการพิจารณาการใช้ประโยชน์ของฝายราษีไศลในระยะยาว โดยให้มีการคิดรวมมูลค่าสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้าเป็นต้นทุนของโครงการ อย่างครบถ้วน พร้อมกับพิจารณาระดับเก็บกักน้ำที่เหมาะสมใหม่ โดยกระบวนการพิจารณาต้องตั้งคณะกรรมการพหุภาคี ที่มีฝ่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาผลการศึกษาดังกล่าว ทั้งนี้มาตรการลดผลกระทบต่างๆ จะต้องเป็นที่เข้าใจและยอมรับของประชาชน
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๓
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลางฯ โดยมีมติให้แก้ไขปัญหากรณีเขื่อนราษีไศล ดังนี้
๑. เห็นชอบ ให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 7 บาน เพื่อบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะเฉพาะหน้า และให้พิสูจน์สิทธิการครอบครองและการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วย
๒. เห็นชอบ ให้รอผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาของสถาบันวิจัยทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนการตัดสินใจดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับฝายราษีไศลในอนาคต
๒๖ มีนาคม ๒๕๔๔
นายกทักษิณ ชิณวัตร ได้ลงนามคำสั่งที่ ๕๐ / ๒๕๔๔ แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ( มีรองนายกรัฐมนตรีนายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธานคณะกรรมการ )
๓ เมษายน ๒๕๔๔
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
๑. รับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามเอกสารที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนเสนอโดย
๑.๑ เรื่องใดผู้แทนฝ่ายรัฐและผู้แทนฝ่ายสมัชชาคนจนสามารถตกลงกันจนได้ข้อยุติ และอยู่ในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใด และหรือเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงานที่สามารถดำเนินการได้ตามกรอบแนวนโยบาย ของรัฐบาลและมีความเป็นธรรมก็ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับไปดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหา แล้วรายงานให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนทราบต่อไป
๑.๒ เรื่องใดยังมีความขัดแย้งกันอยู่ และหรือไม่อาจดำเนินการได้ตามข้อ(1.1) ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนตามคำสั่ง 50/2544 (คณะอนุกรรมการ) รับไปพิจารณาดำเนินการ
๒. รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนแต่งตั้ง ตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ สำหรับเบี้ยประชุมของคณะอนุกรรมการ ฯ ให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีหารือเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ก่อนดำเนินการ
โดยให้ดำเนินการกรณีเขื่อนราษีไศล ดังนี้
๑. ให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ยกเลิกการกักเก็บน้ำ และยุติการดำเนินใดๆ จากเขื่อนราษีไศล จนกว่าการดำเนินการดังต่อไปนี้ จะได้ข้อยุติ
๑.๑. แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและทางสังคม
๑.๒. ประเมินความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ด้านชลประทาน
๑.๓ ให้ประเมินความคุ้มค่าของโครงการเขื่อนราไศล โดยให้นำเอางบที่ต้องจ่ายเป็นค่าชดเชย รวมเป็นต้นทุนในการก่อสร้างโครงการ และต้นทุนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นต้นทุนในการก่อสร้าง
๒. ให้คณะกรรมการติดตามผลการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเขื่อนราษีไศล ตามคำสั่งกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่ 152 / 2543 ดำเนินการให้แล้วเสร็จ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลในการดำเนินการตามที่คณะกรรมการเสนอ
๓. ให้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์ในที่ดินตาม แนวทางการพิสูจน์สิทธิ์ 8 ขั้นตอน ดังนี้
๑. ยื่นคำร้อง
๒. สอบสวนสิทธิ์ในที่ดินทำกิน (ใช้อิงแบบสอบสวนสิทธิ์ สปก.)
๓. รางวัดที่ดินเป็นรายแปลง
๔. ปักขอบเขตแปลงที่ดิน
๕. พยานข้างเคียงรับรอง หรือผู้อาวุโสในชุมชน รับรองเป็นรายๆไป
๖. ลงตำแหน่งแปลงที่ดินในระวางแผนที่กรมที่ดิน
๗.อนุกรรมการรับรองผลการตรวจสอบ
๘.ติดประกาศเพื่อให้มีการคัดค้านภายใน 30 วัน
โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กับตัวแทนสมัชชาคนจนในจำนวนเท่ากัน เพื่อพิสูจน์สิทธิ์ตามบัญชีรายชื่อที่สมัชชาคนจนเสนอ
๒๕ เมษายน ๒๕๔๔
ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ( ปองพล อดิเรกสาร ) ได้มีคำสั่งที่ ๑๗ / ๒๕๔๔ แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม โดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วิทยาศาสตร์ฯ เป็นประธาน
๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๔
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ ได้เรียกประชุม ครั้งที่ ๑ และจากนั้นไม่มีการประชุมอีกเลย
๑๗ มกราคม ๒๕๔๕
ตัวแทนชาวบ้านราษีไศลจำนวน ๒๖ คน ได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาจากเขื่อนราษีไศล แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก ทางจังหวัดศรีสะเกษรับฟังข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฯฝ่ายเดียว
๒๒ มกราคม ๒๕๔๕
ชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนราษีไศล จำนวน ๑,๒๐๐ คน ได้เดินทางมาชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากเขื่อนราษีไศล
๒๔ มกราคม ๒๕๔๕
ตัวแทนชาวบ้าน ๑๕ คน ได้เข้าเจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการสร้างเขื่อนราษีไศล ๗ ข้อ
๓ เมษายน ๒๕๔๕
ได้มีการนัดหมายการเจรจาระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ กับสมัชชาคนจน โดยเห็นร่วมกันว่าจะเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการเพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๐.๐๐ น.
๔ เมษายน ๒๕๔๕
ตัวแทนสมัชชาคนจนได้หารือกำหนดประเด็นการเจรจาร่วมกับที่ปรึกษา รมว.วิทยาศาสตร์ และเห็นชอบร่วมกัน ดังนี้
กรอบการเจรจา
๑.พิจารณาความคุ้มค่าในการสร้างเขื่อนราษีไศล
๒.พิจารณาแก้ไขปัญหาความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่เกิดจากการก่อสร้างและการเก็บกักน้ำของเขื่อนราษีไศล
ประเด็นในการเจรจา
๑.ขั้นตอนการก่อสร้าง
๑.๑ การอนุมัติโครงการ
๑.๒ การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนราษีไศล
๒.ลักษณะโครงการ
๒.๑ ตัวฝายราษีไศล
๒.๒ โครงการองค์ประกอบ
- ระบบชลประทาน
- คันดินกั้นน้ำ
๒.๓ ขอบเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ( แผนที่ / เอกสาร )
๓.วัตถุประสงค์ / เป้าหมายของโครงการเขื่อนราษีไศล
๓.๑ พื้นที่ชลประทาน / สถานีสูบน้ำ ( ผลการดำเนินการที่ผ่านมา )
๓.๒ การอุปโภค บริโภค ( ผลการดำเนินการที่ผ่านมา )
๔. ผลการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา
๔.๑ ด้านสิ่งแวดล้อม
- การแก้ไขปัญหาการสูญเสียป่าบุ่ง – ป่าทาม
- การแก้ไขปัญหาดินเค็ม และน้ำเค็ม
- การแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายของต้นไมยราบยักษ์
- การแก้ไขปัญหาการลดลงของชนิดพันธุ์ปลา
- ปัญหาน้ำเน่า
๔.๒ ด้านสังคม
- การแก้ไขปัญหาการสูญเสียที่ดินทำกิน
- การสูญเสียอาชีพ
๕. แนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคต
๕.๑ ทางเลือกในการจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างเหมาะสม
๕.๒ การฟื้นฟูระบบนิเวศน์แม่น้ำมูน
- ทางกายภาพ
- ทางชีวภาพ
๑๐ เมษายน ๒๕๔๕
ตัวแทนสมัชชาคนจนได้เดินทางไปยังกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อร่วมเจรจาตามนัดหมาย มี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ เป็นประธาน รมต.สนธยา คุณปลื้ม ได้แจ้งต่อที่ประชุมเจรจาว่าวันนี้เป็นการหารือยังไม่ใช่การเจรา และขอให้ทางสมัชชาคนจนเสนอข้อเรียกร้องมาว่าต้องการอะไร ด้านสมัชชาคนจนยืนยันว่าเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องเดิมไม่มีอะไรใหม่ และขอให้นัดหมายว่าการเจรจาอย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในวันไหน ด้าน รมต.สนธยา บอกว่าขอดูตารางงานก่อนแล้วจะแจ้งกลับมายังสมัชชาคนจน ปัจจุบัน รมต.สนธยา ยังไม่มีการประสานงานกลับมาแม้แต่ครั้งเดียว
สรุป การเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการสร้างเขื่อนราษีไศลอย่างรอบด้าน โดยการยื่นเรื่องอย่างเป็นทางการต่อผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษในวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๓ ต่อมามีการเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนราษีไศลทั้ง ๗ บาน เพื่อบรรเทาปัญหาเฉพาะ จนถึงปัจจุบันนี้ การแก้ไขปัญหายังไม่มีการดำเนินการเลย สมัชชาคนจนจึงเรียกร้องให้มีการเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการ ระหว่างกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเจ้าของโครงการ กับสมัชชาคนจน โดยมีกรอบประเด็นในการเจรจาดังนี้
๑.พิจารณาความคุ้มค่าในการก่อสร้างเขื่อนราษีไศล
๒.พิจารณาแก้ไขปัญหาความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่เกิดจากการก่อสร้างและการเก็บกักน้ำของเขื่อนราษีไศล