ลำดับกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา เขื่อนสิรินธร
25-23 มีนาคม 2539 | ชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนสิรินธรร่วมกับกลุ่มสมัชชาคน จนเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น มีการเจรจากับตัวแทนของรัฐบาล โดยรมว.วิทยาศาสตร์เป็นประธานกับกลุ่มผล กระทบจากเขื่อน ได้ข้อยุติเป็นผลเจรจา ผ่านครม.ให้ความเห็นชอบวันที่ 22 เมษายน 2539 |
22 เมษายน 2539 | มติครม.ให้ความเห็นชอบผลการเจรจาวันที่ 25-23 มีนาคม 2539 สรุปย่อดังนี้ กำหนดหลักการเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขื่อนคือ ครม.มีข้อสังเกตว่าการสร้างเขื่อนอาจ มีผลกระทบต่อประชาชนบางส่วนและสมควรแก้ไขให้ ควรจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบโดยยึดมติ ครม. 11 กรกฎาคม 2532 ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเขื่อนใดที่มีปัญหาให้มีการตั้งคณะกรรมการ กลางขึ้นมา ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด ให้มีการประสานงานเกี่ยว กับการระงับการดำเนินคดีต่อไป |
14 พฤษภาคม 2539 | นายกรัฐมนตรีนายบรรหาร ศิลปอาชา มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 63/2539 แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อ ช่วยหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีรวม.วิทยาศาสตร์ นาย ยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็นประธาน เพื่อดำเนินการตามมติครม.วันที่ 22 เมษายน 2539 |
18 มิถุนายน 2539 | ผวจ.อุบลราชธานี มีคำสั่งจังหวัดอุบลราชธานี ที่ 1555/2539 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ จริงระดับจังหวัดเพื่อช่วยเหลือราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร |
25 มิถุนายน 2539 | คณะกรรมการกลางดังกล่าวมีมติแต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการ ตรวจสอบว่าความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร และสมควรพิจารณาช่วยเหลือเช่นใด |
5 สิงหาคม 2539
| จังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับพื้นที่ ดำเนินการสำรวจราษฎรจำนวน 2,526 ครอบครัว พบว่า “การได้รับค่าชดเชยจากทางราชการ ราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงส่วนมาก จะได้รับแต่ไม่เต็มจำนวนตามที่ราษฎรถือครองจริง ส่วนการจัดสรรที่ดินของนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงส่วนใหญ่จะได้รับแต่ไม่เอา หรือเอาไว้แล้วอพยพไปที่อื่นเนื่องจากพื้นที่ ไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร” |
21 สิงหาคม 2539 | คกก.ตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับจังหวัดฯ ประชุมพิจารณาผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการตรวจ สอบข้อเท็จจริงระดับพื้นที่ เห็นชอบดังนี้ เห็นควรให้มีการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรครอบครัวละ 15 ไร่ รวมประมาณ 39,000 ไร่ โดยมีแนวทางดังนี้ จัดสรรที่ดินที่มีอยู่ขณะนี้จำนวนประมาณ 16,000 ไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย 14,000 ไร่ อยู่ในเขตการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยประมาณ 2,000 ไร่ สำหรับที่ดินอีกประมาณ 23,000 ไร่ ดำเนินการโดยให้จัดหาที่ดินในบริเวณอื่นๆเพิ่มเติม เช่นที่ป่าสงวน เสื่อมโทรม หรือ ให้จัดสรรผ่านหน่วยงานต่างๆให้ประชาชนจัดหาซื้อที่ดินโดยราคาอัตราเฉลี่ยใกล่เคียงกับที่ดินในข้อ (1) และ (2) ให้จัดตั้งกองทุนเงินกู้ให้ราษฎรครอบครัวละ 500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 1 บ./ปี เป็นเวลา 20 ปี เรื่องราษฎรขอมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เห็นควรแก้ไข กฎหมายหรือระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการที่จะให้ประชาชนเข้าไปใช้ทรัพยากร ในอ่างเก็บน้ำเขื่อน สิรินธร เรื่องราษฎรขอที่ดินใน บ.โนนจันทร์เก่าคืน พร้อมเอกสารสิทธิ์ เห็นควรให้ราษฎรอยู่ต่อไป พร้อมเอก สารสิทธิ์ เรื่องราษฎรขอให้ทางราชการถอนฟ้องคดี 12 ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมในขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสลายการ ชุมนุมของผู้ได้รับผลกระทบจากการ สร้างเขื่อนสิรินธรเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2537 ให้อยู่ในดุลยพินิจของ ทางราชการ |
23 กันยายน 2539 | ประชุมคณะกรรมการกลางฯเพื่อพิจารณาความเห็นเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริงจังหวัด อุบลราชธานี ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันในเรื่องการช่วยเหลือราษฎรได้ |
1 ตุลาคม 2539 | ประชุมคณะกรรมการกลางฯเพื่อพิจารณาความเห็นเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง จังหวัด อุบลราชธานีอีกครั้ง ยังไม่สามารถหาข้อยุติร่วมกันได้ ได้ข้อเสนอเป็นแนวทางว่า ให้เสนอเรื่องต่อไปให้ คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินการตามมติครม. 22 เมษายน 2539 ที่มีรองนายกรัฐ มนตรี นายกร ทัพพะรังสี เป็นประธาน |
22 ตุลาคม 2539 | (ไม่มีการเรียกประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามฯ) จึงเสนอเรื่องเข้าสู่ครม.มีมติว่า ในเรื่องการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ จึงให้คณะกรรม จัดที่ดินแห่งชาติรับไปดำเนินการโดยประสานการปฏิบัติกับกรามประชาสงเคราะห์ กฟผ.และ จ.อุบล ราชธานีในส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้ว่ากระทรวงเกษตรฯจะได้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน สิรินธรด้วย การเข้าไปสำรวจคุณภาพดินและดำเนินการด้านการส่งเสริมการเกษตรและอาชีพที่เหมาะสม แต่ก็เห็นควร ให้ช่วยเหลือเพิ่มเติมในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค รวมทั้งการจัดโครง การให้กู้ยืมระยะยาวดอกเบี้ยต่ำและโครงการจัดหางานอาชีพอื่นให้ทำ จึงมอบให้สำนักนายกรัฐมนตรี (กฟผ.) กระทรวงมหาดไทย(กฟภ.และการประปาส่วนภูมิภาค) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงานฯรับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่รับผิดชอบ ทั้งนี้โดยไม่ผูกพันกับ กรณีการสร้างเขื่อนสิรินธร กรณีที่จังหวัดกำลังดำเนินการเกี่ยวกับข้อเสนอของคณะกรรมการฝ่ายราษฎรเกี่ยวกับการให้ราษฎร มีส่วน ร่วมในการจัดการทรัพยากรอ่างเก็บน้ำ ซึ่งต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้จังหวัดดำเนินการจัด สัมมนาและประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับการระงับคดี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯรับไปดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี 22 เมษายน 2539 ต่อไป |
27 มกราคม 2540 | สมัชชาคนจนเห็นว่ายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการช่วยเหลือราษฎรจึงยื่นข้อเสนอเรียกร้องต่อรัฐบาล มีการเจรจาในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนมีนายอดิศร เพียงเกษ เป็นประธาน |
14 มีนาคม 2540 | จากการเจรจากันในวันที่ 27 มกราคม 2540 ได้มีการประชุมพิจารณาแนวทางการช่วยเกลือราษฎร ตาม ข้อเสนอของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับจังหวัด โดยเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มีมติที่ประชุมดังนี้ ให้ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนสิรินธรตามที่คณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จ จริงระดัลบจังหวัดเสนอมาจำนวน 2,526 ครัวเรือน และจัดหาที่ดินให้ครัวเรือนละ 15 ไร่ ให้มีคณะทำงานเพื่อตรวจสอบว่ามีพื้นที่ที่จะนำมาจัดสรรหรือไม่ ภายหลังการตรวจสอบให้นำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมในการจัดสรรอีกครั้งหนึ่ง |
19 มีนาคม 2540 | คณะทำงานเพื่อตรวจสอบว่ามีพื้นที่ที่จะนำมาจัดสรรหรือไม่ ลงพื้นที่ ผลสำรวจสรุปว่า ที่ดินที่จะนำมาจัด ให้ราษฎรมีอยู่เพียงหนึ่งแปลงเนื้อที่ 1,519 ไร่ |
4 เมษายน 2540 | การประชุมกลุ่มปัญหาเขื่อน มีนายอดิศร เพียงเกษ เป็นประธาน พิจารณาแนวทางการดำเนินการจัดสรร ที่ดินให้ราษฎร ที่ประชุมหาข้อสรุปไม่ได้ จึงมีความเห็นจะนำข้อเสนอในที่เจรจา 2 แนวทางหลักปรึกษา นายกรัฐมนตรีต่อไป การนำที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองประมาณ 1,519 ไร่ มาจัดให้ราษฎรบางส่วน การจัดหาที่ดินส่วนที่เหลือราษฎรจะหาซื้อเอง โดยนำหลักการกองทุนที่ดินโดยไม่ต้องจ่ายคืนรัฐมาใช้ |
11 เมษายน 2540 | มีการเจรจาระหว่างผู้แทนสมัชชาคนจนกับผู้แทนรัฐบาลมีมติว่า “ที่ประชุมมีข้อสรุปให้รมช.วว.(นายอดิศร เพียงเกษ) จัดตั้งคณะทำงานพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินให้เป็นไปตามทางที่ตกลงกันไว้ ในการประชุมเจรจาแก้ไขปัญหาเรื่องเขื่อนสิรินธรวันที่ 4 เมษายน 2540 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเสนอ ที่ประชุมการเจรจาปัญหาเรื่องเขื่อนให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอครม. |
17 เมษายน 2540 | มติ ครม.ตามผลการเจรจาวันที่ 11 เมษายน 2540 และรมช.วว.มีคำสั่งที่ 91/2540 ลงวันที่ 17 เมษายน 2540 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรนธร ดำเนินการตามมติ ครม. |
29 เมษายน 2540
| ครม.ประชุมปรึกษา ลงมติว่า เห็นชอบผลการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาสมัชชาคนจนกรณีผู้ได้รับผลกระทบ จากโครงการสร้างเขื่อน กรณีเขื่อนสิรินธรดังนี้ เห็นชอบกับการช่วยเหลือราษฎร จำนวน 2,526 ครอบครัว ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อ ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร โดยจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ เนื่องจากที่ดินที่จะต้องทำการจัดสรรให้แก่ราษฎรทั้งหมด 37,890 ไร่ แต่คณะทำงานฯสามารถหาที่ดินที่จะ นำมาจัดสรรที่อยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อยได้เพียง 1,519 ไร่ และปัจจุบันสภาพพื้นที่เป็นป่า กำลังฟื้นตัว ไม่สมควรนำมาจัดสรร ควรปล่อยให้เป็นป่าสมบูรณ์ต่อไป ส่วนที่ดินอื่นๆเหมาะสมกับการ เกษตรอยู่ไกล คณะทำงานไม่สามารถจัดหาได้ จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นสมควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือเป็นกรณี พิเศษ ให้ราษฎรจัดซื้อที่ดินด้วยตนเองครอบครัวละ 15 ไร่ ในอัตราไร่ละ 32,000 บ. คิดเป็น ครอบครัวละ 480,000 ไร่ รวมเป็นเงิน 1,212,480,000 บาท(หนึ่งพันสองร้อยสิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นบาท) เพื่อให้การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้เป็นไปอย่างมีระบบและแก้ไขปัญหาระยนะยาว จึงมีมติอนุมัติหลักการให้ จัดตั้งกองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรโดยเฉพาะ ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการ ระหว่าง ดำเนินการ ให้คณะทำงานยังคงจัดหาที่ดินต่อไป |
2 กันยายน 2540 | ครม.อนุมัติให้กระทรวงการคลังนำเงินที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณ จำนวน 1,200 ล้านบาท เข้า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อนำไปใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลบกระทบจาก โครงการสร้างเขื่อน |
22 ตุลาคม 2540 | นายอดิศร เพียงเกษ รมช.วว.ประธานคกก.ติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อน ได้ทำหนังสือที่ วว 0100/5034 นำเสนอเรื่องเขื่อนสิรินธรเข้าสู่การพิจารณาของครม.ดังนี้ ให้ยืนยันไปยังกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามมติครม. 2 ก.ย.2540 เพื่อชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการ สร้างเขื่อนสิรินธร ตามมติครม. 29 เม.ย.2540 ขออนุมัติงบกลาง จำนวน 12,480,000 บาท เพื่อชดเชยให้กับราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน สิรินธร โดนโอนเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เพื่อสมทบกับเงินจำนวน 1,200 ล้านบาท ที่ได้โอนเข้า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรไปก่อนแล้วตามมติครม.2 ก.ย.2540 แต่มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีใหม่ จึงไม่ได้มีการนำเข้าสู่การพิจารณาของครม.ตามที่นายอดิศร เพียงเกษเสนอไว้ และไม่ได้มีการดำเนินการจ่ายเงิน (เนื่องจากรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธได้ลาออก) |
13 กุมภาพันธ์ 2541 | ประชุมคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อน กรณีเขื่อนสิรินธร ที่ประชุมมีมติให้เสนอเรื่องเข้า สู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ใน 2 ประเด็นตามหนังสือ วว 0100/5034 |
21 เมษายน 2541 | ไม่ให้มีการจ่ายค่าชดเชยซ้ำซ้อนยบ้อนหลังสำหรับกรณีเขื่อนที่สร้างไปแล้ว |
2 มิถุนายน 2543 | นายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน ตาม ที่สมัชชาคนจนได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหา 16 กรณีปัญหา รวมถึงกรณีปัญหาเขื่อนสิรินธร |
6 กรกฎาคม 2543 | คณะกรรมการกลางรายงานสรุปมติคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน เสนอนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรณีเขื่อนสิรินธร ดังนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลควรจ่ายค่าชดเชยให้แก่ชาวบ้านเป็นการ เฉพาะกรณี โดยไม่ให้มีผลผูกพันกรณีอื่นๆ กรณีบ.โนนจันทร์เก่า ให้สั่งการเพื่อดำเนินการตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ หากไม่ได้ใช้ประ โยชน์ในกิจการของกฟผ. ควรพิจารณาคืนให้แก่ชาวบ้านตามข้อเรียกร้อง ตามมาตรา 49 วรรคท้ายของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 โดยจ.อุบลราชธานีเป็นผู้ประสานงาน |
25 กรกฎาคม 2543 | ครม.ประชุมพิจารณาเรื่องมติคณะกรรมการกลางแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนสิรินธร มีมติ “ไม่ เห็นชอบ เนื่องจากการจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสิรินธรครบถ้วนแล้ว ประ กอบกับคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวัยที่ 21 เมษายน 2541 ไม่ให้จ่ายค่าทดแทนหรือค่าขดเชยซ้ำซ้อนย้อนหลัง สำหรับเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้ว” |