“ไม่ได้เรียกร้องเกินกว่าสิ่งที่ควรจะได้รับ”
ความเป็นมา
เขื่อนห้วยละห้า เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านโนนตาล ต.นาตาล กิ่งอำเภอนาตาล (แต่เดิม เป็นอำเภอเขมราฐ) จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) กระทรวงมหาดไทย ได้ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐–๒๕๒๑ รายงานตามโครงการในเบื้องต้นระบุว่าอ่างเก็บน้ำห้วยละห้ามีพื้นที่ ๑๓๐ ไร่ ความจุ ๒๔๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร แต่ในปัจจุบันจากการประมวลรวมที่ดินที่ถูกน้ำท่วมของชาวบ้าน รวม ๒๑ ครอบครัว พื้นที่มากกว่า ๔๐๐ ไร่ ซึ่งบางแปลงเป็น นส.๓ บางแปลงเป็น นส.๓ ก และบางแปลงเป็น สค.๑ เมื่อกัก เก็บน้ำ น้ำจึง ท่วมที่ดินทั้งหมด โดยไม่ มีการเวนคืนหรือจ่ายค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น เพราะอ้างว่า เป็นเขื่อนเพื่อการ ชลประทานขนาด เล็ก และเป็นการร้องขอของ ราษฎรในพื้นที่เพื่อประโยชน์ของชุมชนเอง ทั้งที่ก่อนจะมีการก่อ สร้าง ชาวบ้านซึ่งจะถูก น้ำท่วมได้คัดค้าน เพราะไม่มี ความจำเป็นต้องใช้เขื่อน เนื่องจากไม่ได้มีความขาดแคลนน้ำ ในบริเวณนั้น แต่ในที่สุด เขื่อนนี้ก็ถูกสร้างจนเสร็จ ในปี ๒๕๒๑
การดำเนินการที่ผ่านมา
โครงการเขื่อนห้วยละห้า ก่อนดำเนินโครงการไม่มีการอธิบาย หรือทำความเข้าใจกับชาวบ้านในเรื่อง พื้นที่ นาที่ได้รับผลกระทบ การแจ้งข้อมูลในการสร้างเขื่อนและผลกระทบจากการก่อสร้างทำขึ้นภายหลังที่มีการก่อ สร้างแล้ว ซึ่งเป็นการหว่านล้อมให้ผู้ที่มีที่ดินทำกินในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยละห้า ลงชื่อในหนังสือยินยอม ให้สร้างเขื่อน บนพื้นที่ของตน ชาวบ้านที่หวาดกลัวระบบราชการจำใจยอมรับกับชะตากรรม ยกเว้นนางไฮกับ นายเสือ ซึ่งมีพื้นที่ติด ต่อกันและเป็นผู้หนึ่งซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมาก ไม่เคยเซ็นยินยอมให้มีการสร้างเขื่อนนี้ และยังคัดค้านการก่อสร้างมา ตั้งแต่ต้นด้วย
เนื่องจากมีการแจ้งข้อมูลบิดเบือน และหลอกลวงชาวบ้านว่า การเก็บน้ำจะท่วมเลยตลิ่งออกไปเพียง ๓-๔ เมตร เท่านั้น ไม่มีผลต่อที่นาโดยรวมทั้งหมด ทั้งยังมีการยื่นข้อเสนอให้ผู้เสียหายบางรายเข้ามามีส่วนในการควบคุม การเปิด -ปิดประตูระบายน้ำ ทั้งที่เขื่อนห้วยละห้าเป็นลักษณะฝายน้ำล้นที่ไม่มีประตูระบายน้ำกั้น
เมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้ว ชาวบ้านจึงได้ร้องเรียนต่อทางการในระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด จนถึงทำเนียบรัฐบาล ในยุครัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งแต่ ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุ บัน แต่ไม่ได้ รับการแก้ไขปัญหาแต่อย่างไร
สภาพปัญหา
เขื่อนห้วยละห้าทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรมหลักที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของ อ.เขมราฐ (ต่อมาเป็นเขต กิ่ง อ.นาตาล) ก่อนมีเขื่อนห้วยละห้า ชุมชนที่นี่มีชีวิตอย่างสงบและไม่อดอยากแร้นแค้นแต่อย่างใด ด้วยชนิดของดิน ที่มี คุณ ภาพสูง และให้ผลผลิตข้าวต่อไร่สูงถึง ๑๐๐ ถัง/ไร่ และบริเวณสภาพโดยรอบที่อุดมไปด้วยต้นตาล ตะแบก ยางนา และ ไม้ใหญ่อื่นๆอีกมาก นอกจากนั้นพื้นที่นี้ยังเป็นแหล่งอาหารธรรมชาติ ที่ชาวบ้านพึ่งพามาช้านาน เก็บหา ของป่า หน่อไม้ เห็ด สมุนไพร รวมถึงกุ้ง ปูปลาที่มีอยู่มากในลำห้วย
ที่สำคัญก่อนการสร้างอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยละห้า พื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและ บริโภคแต่อย่างใด ในอดีตก่อนจะมีเขื่อนห้วยละห้า พื้นที่นี้มีฝายน้ำล้น และบ่อน้ำ ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์มาก่อน ดึงนั้น จึงไม่มี ความจำเป็นใดๆที่ชาวบ้านจะต้องแสวงหา หรือต้องการน้ำเพิ่มเติม เมื่อมีการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยละห้า จึง เป็นการสร้าง ซับซ้อนทับพื้นที่ฝายน้ำล้นเดิม
เมื่อเขื่อนห้วยละห้าถูกสร้างขึ้น ความอุดมสมบูรณ์ทั้งหมดจมหายอยู่ใต้น้ำ รวมถึงที่ทำกิน น้ำท่วมที่นาที่ เป็น นส.๓ และ สค.๑ ไม่สามารถทำการเกษตรได้มาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒๒ ปีแล้ว สัตว์น้ำที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น กลับ ลดน้อย ลง เพราะเขื่อนห้วยละห้าทำให้เส้นทางเดินของปลาเปลี่ยนไป
ที่ทางราชการเคยสัญญาว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากนัก และพยายามชักจูงหว่านล้อมให้ชาวบ้านยิน ยอมรับรองเขื่อนแห่งนี้ด้วยข้อมูลที่โกหกจึงเป็นคำหลอกลวงทั้งสิ้น
และปรากฏว่าเขื่อนห้วยละห้า สร้างเสร็จแล้วกว่า ๑๐ ปี จึงได้มีการใช้ประโยชน์ ในปี ๒๕๓๗ มีโครง การทำน้ำประปาเพื่อแจกจ่ายประชาชน แต่ปัจจุบันน้ำในเขื่อนเริ่มเน่าเสียแล้ว
ชีวิตหลังการมีเขื่อนห้วยละห้า จึงเป็นชีวิตที่อดอยากและแร้นแค้น แม้จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ ๒๑ ครอบครัว แต่ผลกระทบตลอดเวลากว่า ๒๐ ปีที่ผ่านมา ยาวนานมาก ชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมถูกข่มขู่ คุกคาม ไม่ให้นำ เรื่องไปร้องทุกข์ และไม่เคยได้รับการแก้ไขปัญหาใดๆ หรือแม้กระทั่งการเหลียวแลใดๆจากราชการ อ้างแต่เพียงว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า การสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กจะต้องจ่ายค่าเวนคืนหรือชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งที่ชาว บ้านที่นี่ไม่ได้เรียกร้องมากไปกว่าสิ่งที่พวกเขาควรจะได้รับ
ตารางเปรียบเทียบข้อเรียกร้องของชาวบ้าน มติคณะกรรมการกลาง ๖ ก.ค.๒๕๔๓ มติ ครม. ๒๕ ก.ค.๒๕๔๓
และข้อคิดเห็นสมัชชาคนจนต่อมติ ครม.
สมัชชาคนจน
ข้อเรียกร้องของชาวบ้าน | มติคณะกรรมการกลางฯ | มติคณะรัฐมนตรี | ข้อคิดเห็นของสมัชชาคนจน |
๑)ค่าชดเชยที่ดินทำกินที่ ถูกน้ำท่วมตามสภาพ ความเป็นจริง | เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ควร ดำเนินการพิสูจน์สิทธิ์และ ความเสีย หายโดยคณะกรรมการ ระดับจังหวัด โดยให้ตั้งตัวแทนสมัชชาคนจนร่วม กระบวนการในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง หากพบว่าพื้นที่เสียหายก็ให้ดำเนิน การจ่ายค่าชดเชยตามสภาพที่เป็นจริง | ไม่เห็นชอบให้ดำเนิน การพิสูจน์สิทธิ์ และความเสียหาย โดยคณะกรรมการ ระดับจังหวัด โดยมีตัวแทนสมัชชาคนจน ร่วมกระบวนการ และการจ่ายค่าชดเชย ตาม สภาพที่เป็นจริง หากมีพื้นที่เสียหาย เนื่องจากโครงการเขื่อนห้วย ละห้า เป็นโครงการชลประทาน ขนาดเล็กได้ จัดสร้างขึ้น ตามคำเรียกร้องของราษฎร ในพื้นที่ เป็นความต้องการและ ตกลงกัน ในท้องถิ่น การก่อสร้างโครงการใน ลักษณะนี้มีนับหมื่นแห่ง ทั่วประเทศ ทาง ราชการไม่เคยจ่าย ค่าชดเชยแต่อย่างใด หากต้องมีการจ่ายค่าชดเชย ให้กับราษฎร ในกรณี โครงการห้วยละห้า ก็จะเป็นเหตุ ให้ต้องพิจารณา ถึงโครงการทำนองเดียว กันอีกนัหมื่นแห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็น ภาระด้านงบ ประมาณอย่างยิ่ง | แม้รัฐจะอ้างว่าเป็นโครงการ ขนาดเล็กไม่เคยมีการจ่าย มา ก่อนหากมีการจ่ายในกรณี เขื่อนห้วยละห้าแล้วจะเป็น แบบอย่างกับกรณีอื่นๆก็ตาม แต่เมื่อชาวบ้านได้รับความ เดือดร้อนจริง ทั้งที่ไม่มีส่วน รับรู้และไม่เคย ยินยอมกับ การสร้างมาก่อน รัฐจึงต้อง รับผิดชอบกับความ เสียหาย ที่เกิดขึ้น ไม่เช่นนั้นจะเป็น แบบอย่าง ให้ส่วนราชการที่ ดำเนิน โครงการที่ละเมิดสิทธิ ของ ชาวบ้านไม่ต้องรับผิด ชอบ ซึ่งจะสร้างความเดือด ร้อน ให้ชาวบ้าน และจะ สร้างความขัดแย้ง ให้เกิดขึ้น ในสังคมอย่าง รุนแรง |
๒) ค่าความเสียหาย ซึ่ง เป็น ค่าเสียโอกาส เนื่อง จาก ไม่ได้ทำนา มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ จนกระทั่งปัจจุบัน |