แนวโน้มใหม่ “การเมือง” กรณีเขื่อนปากมูล
คอลัมน์ สามร้อยห้าสิบเก้าองศา หนังสือพิมพ์ เสรีชัย (หนังสือพิมพ์ไทย ในอเมริกา) 17 – 23 มิ.ย. 43
มีกรณี 2 กรณีที่เกิดขึ้นในระยะกาลใกล้เคียงกัน ซึ่งแม้จะเป็นคนละเรื่องแต่ก็สะท้อนให้เห็นภาพในทางสังคม ที่เป็น “ซากเดน” ซึ่งเหลือตกค้างอยู่
กรณีหนึ่ง คือ กรณีการเปิดเผยเอกสารกระทรวงกลาโหม เกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535
กรณีหนึ่ง คือ กรณีเกี่ยวกับเขื่อนปากมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เกี่ยวกับเอกสาร กระทรวงกลา โหมเกี่ยวกับการสอบสวนเหตุการณ์เมื่อเดือน พฤษภาคม 2535 กระทรวงกลาโหมไม่มีความสุกงอม แม้แต่น้อยที่จะเปิดเผย แต่ที่จำเป็นต้องเปิดเผยเพราะมิอาจทัดทานบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารได้
กระนั้น ในการเปิดเผยครั้งแรกคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของกระทรวงกลาโหม ก็เปิดเผยในลักษณะอ่าน แล้ว ไม่รู้เรื่อง เพราะมีการเอาหมึกดำลบข้อความในบางแห่งเกือบจะทั้งหน้า สร้างความไม่พอใจให้กับญาติของวีรชน และนักข่าวซึ่ง เสนอขอให้เปิดเผยเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางความพยายามที่จะปิดบังด้วยข้ออ้างที่ว่า ไม่สามารถเปิดเผยแผนยุทธการได้ สิ่งที่ ประชาชน ได้ประจักษ์ในเนื้อหาของเอกสาร การสอบสวนก็คือ ทรรศนะของการสอบสวนที่ยังเป็นทรรศนะแบบเก่าๆ ที่มองเห็นการลุก ขึ้นมาต่อสู้ ของประชาชน เป็นการก่อความไม่สงบ หากสามารถเรียกว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” ได้ก็คงไม่ ลังเลที่จะเรียก
นี่ย่อมเป็นท่าทีเดียวกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองบางคน ในจังหวัดอุบลราช ธานีในกรณีเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล
ในสายตาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มองการลุกขึ้นมาต่อสู้ และเคลื่อนไหวของชาวบ้านเป็น เหมือนผู้ก่อการร้าย
ทั้งๆ ที่คนเหล่านั้นคือ ผู้ไดรับผลกระทบจากเขื่อนปากมูล
ทั้งๆ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก่อนการสร้างเขื่อนปากมูล เป็นใครที่ไหนก็ไม่รู้ และเมื่อนำเอา เขื่อนไปวาง บริเวณปากมูล ก็ให้เกิดปัญหาติดตามมา เป็นอย่างมาก
ความเป็นจริงชาวบ้านได้ ลุกขึ้นมาเรียกร้องอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
กล่าวเฉพาะการจัดตั้งหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนบริเวณใกล้กับเขื่อนปากมูลนั้น ก็จัดตั้งมาอย่างยาวนานถึง 14 เดือน โดยไม่ได้รับความสนใจจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และจากรัฐบาลแม้แต่น้อย
ต่อพวกเขาบุกเข้ายึดสันเขื่อนบริเวณโรงไฟฟ้านั้นหรอกจึงกลายเป็นเรื่องระดับชาติขึ้นมา
ที่น่าสนใจก็คือ ท่าทีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง เป็นท่าทีอย่างเดียว กับทาง การเมื่อมีการประท้วงเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2535 และเหมือนกับเหตุการณ์ ก่อนการล้อมปราบและสังหาร หมู่กลางเมืองอย่าง หฤโหดในเหตุการณ์ เมื่อเดือนตุลาคม 2519
เป็นท่าทีของการโฆษณา ให้ร้ายป้ายสี และสร้างภาพให้ชาวบ้านเป็นเหมือนกับผู้ก่อการร้าย เป็นผู้ก่อกวนความสงบ ในสังคม
ประเด็นอยู่ที่ว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เข้าใจว่าตนเองคือผู้กุมข้อมูล เกี่ยวกับเขื่อนปากมูล แต่เพียงผู้เดียว ขณะที่ในความเป็นจริง ในยุคแห่งข่าวสารข้อมูลทุกวันนี้ ข้อมูลไหลอย่างรวดเร็ว และดำเนินไปอย่างเสรี
ขณะเดียวกัน เมื่อมีการสร้างเขื่อนก็มิได้มีแต่ข้อมูล ด้านของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่สำคัญก็คือ ข้อมูลด้านประชาชน และชาวบ้านที่ไดรับผลกระทบก็ปรากฎขึ้นเช่นกัน
น่ายินดีที่มีการเคลื่อนไหว ของสมาชิกวุฒิสภา ที่รักความเป็นธรรม
น่ายินดีที่มีการเคลื่อนไหวของปัญญาชน นักวิชาการ ทั้งที่เป็นชาวไทย และชาวต่างประเทศ นำเสนอข้อมูล อย่างรอบด้าน และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
และน่ายินดีที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นนายบัญญัติ บรรทัดฐาน จึงนำไปสู่การ จัดตั้งคณะกรรมการกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล และเขื่อนอื่นๆ ซึ่งตกกระทบชาวบ้าน
น่าเศร้าที่แนวโน้ม และมิติใหม่ของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กลับมิได้สำเนียก แม้แต่น้อย