นักวิชาการ มช. ย้ำ แก่งเสือเต้นพื้นที่สีเขียว
เขื่อนแก่งเสือเต้น... ใครได้ประโยชน์
สร้างทางเลือกการจัดการน้ำที่ไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ นำทีมนักวิชาการชี้ทางออกการจัดการน้ำ ที่ไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
เมื่อเวลา 13.30 น. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนและองค์กรพันธมิตร ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง การคุ้มครองพื้นที่สีเขียวที่ล่อแหลม กรณี “เขื่อนแก่งเสือเต้น... ใครได้ประโยชน์ และทางเลือกการจัดการน้ำ”
ดร.อานันท์ กาญจนพันธ์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับชาวบ้านตำบลสะเอียบ แถลงถึงการประกาศพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อนำไปสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรมในสังคมไทย
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวถึงความเป็นมาของเขื่อนแก่งเสือเต้นว่า เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ ความจุประมาณ 1,100 ล้านลูกบาษก์เมตร ก่อนหน้านี้เขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นหนึ่งในโครงการ กก อิง ยม น่าน อยู่ภายใต้การดูแลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ต่อมา กฟผ. จึงโอนให้กรมชลประทาน ซึ่งจะต้องอพยพชาวบ้านประมาณกว่า 2,000 ครัวเรือน อีกทั้งอ่างเก็บน้ำก็ครอบคลุมเป็นพื้นที่กว่า 60,000 ไร่ เป็นเขตป่าสักทอง กว่า 20,000 ไร่
สถานการณ์น้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ได้เป็นเงื่อนไขให้ หอการค้าในเขตภาคเหนือตอนล่าง ร่วมกันผลักดันโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น โดยจะได้ผลักดันเข้า ครม. สัญจรที่จังหวัดเชียงรายในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า
นายหาญณรงค์ตั้งข้อสังเกตถึงความพยายามในการผลักดันโครงการว่ามาจากสาเหตุสำคัญ 3-4 ประเด็น คือ 1.นักแสวงหาค่าชดเชยจากการสร้างเขื่อน 2.ผลประโยชน์ของนักการเมืองในการหาเสียงปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง 3.นักการเมืองระดับชาติ เพราะเขื่อนใช้งบประมาณสูงมาก 14,000 ล้าน 4.ผลประโยชน์จากการตัดไม้ป่าสักทอง ในพื้นที่ 5-60,000 ไร่ ซึ่งจะเป็นมูลค่ากว่า 4000 ล้าน และ 5.การสนับสนุนให้มีการสร้างเขื่อนของนักการเมืองในทุกระดับ ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือการแต่งตั้ง ซึ่งมีการผลักดันกันมาหลายรัฐบาลแล้ว
ทางเลือกในการจัดการน้ำมีหลายทาง ซึ่งยังไม่ได้มีการขบคิดอย่างจริงจัง และปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดมาจากแนวทางการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ เช่น การตัดถนน การสร้างคันถนนขวางทางน้ำเดิม ทำให้น้ำไม่มีทางระบายและเกิดน้ำท่วม แนวทางแก้ไขปัญหา ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในแต่ละจังหวัดที่มีปัญหาควร ... กำลังสร้างทุกข์แก่ชาวบ้านไม่ต่ำกว่า 11 หมู่บ้าน ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการหรือไม่น่าจะมาจากข้อมูลการศึกษาที่รอบด้านและตอบคำถามของชาวบ้านให้ได้ทุกข้อก่อนการตัดสินใจ
นายเส็ง ขวัญยืน ผู้ใหญ่บ้านสะเอียบ กล่าวว่า เขื่อนแก่งเสือเต้นเปรียบเหมือนช้างตัวใหญ่ ทุกส่วนของช้างมีค่า ส่วนที่มีค่ามากจะตกเป็นของผู้มีอำนาจมาก ไม่ว่าจะเป็นงา เนื้อ หนัง กระดูก เขื่อนจึงเหมือนลาภก้อนใหญ่ที่คนต้องการ อาทิ นักการเมืองใช้เป็นฐานคะแนนเสียง ไม่ว่าจะเป็น สส. สว. ซึ่ง สว.แพร่ปัจจะบันเป็นคนเสนอชี้แนะให้สร้าเขื่อนทั้งที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ ซึ่งสร้างความอึดอัดใจให้ชาวบ้านในพื้นที่อันจะนำมาสู่ความขัดแย้งจากคนที่ได้รับประโยชน์จากการสร้างเขื่อน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนหลายกลุ่มที่มีอิทธิพล แต่ตนไม่กลัว ต่อสู้มาถึงวันนี้ 13 ปีแล้วก็ยืนยันจะต่อสู้ต่อไป แต่กลัวว่าชาวบ้านจะได้รับความเดือดร้อนไม่สิ้นสุด ทุกวันนี้ นักการเมืองก็ไปกว้านซื้อที่จากชาวบ้าน เตรียมทำโรงงานทำไม้ วันนี้ถ้ามีการสนับสนุนจากคนใหญ่คนโตในพื้นที่จะเป็นการหนุนหลังให้กลุ่มผลประโยชน์โดยเฉพาะกลุ่มทำไม้เถื่อน บุกรุกป่าทันทีอย่างไม่เกรงกลัว
ประโยชน์จากการสร้างเขื่อนฯ น่าจะเป็นผลประโยชน์จากการก่อสร้าง การซื้ออิฐหินปูนทราย มากกว่าประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง หรือผลประโยชน์จากการกว้านซื้อที่ดิน ตัวอย่างกรณี เขื่อนแม่มอก เขื่อนแม่สวย ต้นลำไยเอากิ่งไปปักๆ ได้ต้นละ 1,500 บาท ซึ่งไม่เคยมีการตรวจสอบ กรณีแก่งเสือเต้นก็เช่นกัน ถ้าจ่ายค่าชดเชยจะมีการคอรัปชั่นแน่นอน ซึ่งชาวบ้านพร้อมพิสูจน์กับกรมชลประทาน บางโครงการดีแต่ผู้ปฏิบัติไม่ดี ผู้หลักผู้ใหญ่ต้องพิจารณากรณีนี้ด้วย
การจ้างคนมาสนับสนุนการสร้างแก่งเสือเต้น ซึ่งไม่ใช่คนที่จะได้รับประโยชน์หรือผลกระทบจากแก่งเสือเต้น แต่ถูกบอกให้มาและได้รายได้ วันนี้มีคนพยายามไปซื้อที่ที่แก่งเสือเต้นและพยายามผลักดันโครงการเพื่อรอรับค่าชดเชยและรอเข้าไปตัดไม้สักทอง
ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ปย.ทางการเมือง หาเสียง ซื้อขายที่ดิน
พ่ออุดม ศรีคำพา บ้านดอนชัย ต.สะเอียบ อ.สอง จังหวัดแพร่ กล่าวถึง เขื่อนแก่งเสือเต้นผ่านการต่อสู้มายาวนาน เขื่อนแก่งเสือเต้นจะมีผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม คือ วิถีชีวิตชุมชนกว่า 200 ปี พื้นที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งที่ผ่านมาชุมชนอยู่อย่างสงบ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะต้องมาแตกสลาย เพราะเขื่อนตัวนี้ ชุมชนบ้านมะนาวหวาน แตกกระสานซ่านเซ็นจากการสร้างเขื่อนป่าสัก ด้านสิ่งแวดล้อม คือ ป่าสักทองธรรมชาติผืนสุดท้ายต้องศูนย์เสียไป สำหรับทางออกที่นาย อุดม เสนอ คือ ให้รัฐบาลสนับสนุนการสร้างเขื่อนขนาดเล็กในทุกลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม เพื่อชะลอ และเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณในการขุดลอกคูคลอง และแม่น้ำ ให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการปลูกป่าต้านน้ำ และการรักษาป่าต้นน้ำ ท้ายสุด นายอุดม ได้ฝากไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า หากยังดื้อดึงที่จะสร้างอยู่ ชาวบ้าน ต.สะเอียบก็พร้อมที่จะเอาชีวิตเข้าแลก พร้อมที่จะเอาเลือดทาแผ่นดิน เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินบรรพบุรุษไว้
อ.อานันท์ สิ่งที่พูดกันในวันนี้ไม่ใช่ว่าควรสร้าเขื่อนหรือไม่ควรสร้างแต่เป้นเรื่องของการแสวงหาผลปยแอบแฝง ซึ่งสื่อมวลชนมีหน้าที่ต้องชี้แจงให้สังคมทราบ
1. ต้องชี้ให้เห็นว่าเป็นการใช้การเมืองประโยชน์แอบแฝงสร้างภาพให้สังคมโดยไม่ได้ใช้สติปัญญา เราจะยอมให้นักการเมืองที่ไม่รู้เรื่องอะไรมาตัดสินใจแทนเราบนพื้นฐานประโยชน์แอบแฝง หรือตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลและปัญหาซึ่งมีอยู่มากมายในปัจจุบัน ซึ่งในวันนี้ไม่ใช่มีแต่ปัญหานี้อย่างเดียว แต่เป็นปัญหาการจัดการทรัพยากรทั้งระบบ ที่ต้องชี้ให้เห็นว่าปัญหาเขื่อนกับปัญหาท่อก๊าซวันนี้เป็นปัญหาเดียวกัน คือ การพัฒนาเชิงวัตถุโดยไม่สนใจชีวิตผู้คนวัฒนาธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งวันนี้คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ตย. กรมป่าไม้ ต้องออกมาพูดเรื่องนี้ ต้องเอาเทคโนโลยีมารองรับความเป็นอยู่ของสังคม ไม่ใช่ทำลายคน และต้องพิจารณาเป็นภาพใหญ่เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ใช่แยกพิจารณา
2. น้ำเป็นทรัพยากรชนิดหนึ่ง มีหลักที่สำคัญหลายหลัก คือ หนึ่ง สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วม การจัดการทยกใดๆ ขาดการมีส่วนร่วมล้วนแล้วแต่มีปัญหา กรณีเขื่อน ปย.ไปตกอยู่ที่อื่น ไม่ได้ตกอยู่ในพื้นที่ ไม่ใช่ให้คนที่เกี่ยวข้องไม่ได้ประโยชน์และยังได้รับผลกระทบ สอง การจัดสรรและกระจายอย่างเป็นธรรม สาม ต้องเน้นการสร้างสรรอย่างยั่งยืนโดยไม่ทำลาย ไม่ใช่พิจารณาอย่างกูจะเอาซักอย่าง ซึ่ง ถ้าไม่เข้าตามหลักสามประเด็นนี้แล้ว คงไม่จำเป็น
ต้องเสนอต่อสังคมว่า การจัดการทรัพยากรเป้าหมายคืออะไร ถ้าไม่เข้าเป้าเลยซักเป้าสังคมจะเอาโครงการนี้อยู่หรือไม่ ต้องตั้งคำถามเชิงรุกกลับไปยังนักการเมืองและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง อ.ฉลาดชาย ระมิตานนท์ ... การศึกษาเรื่องนี้มีมายาวนานและเยอะมาก ซึ่งคงเถียงกันไม่จบ แต่ท้ายที่สุดคงต้องพูดกันสังคม ที่ไม่ใช่การจัดสัมมนาออกสื่ออย่างเดียว แต่ต้องเป็นการตั้งคำถามกับรัฐบาลและใช้การโต้ตอบกับรัฐบาลเป็นการตอบคำถามกับสังคม โดยต้องพุ่งตรงไปที่นายกฯ ให้เป็นผู้ตอบคำถาม เพราะปัจจุบันอำนาจไม่ได้กระจายแต่รวมศูนย์ที่ตัวนายกฯ และคงไม่ใช่การตั้งคำถามว่าเขื่อนฯ สามารถแห้ปัญหาหรือไม่ แต่ตั้งคำถามเรื่อง หนึ่ง หลักการในการพัฒนา ที่มาจากแผน 1 มาจากการสนับสนุนของเวิร์ลด์แบงค์ ภาพเขื่อนฯ คือ การพัฒนาที่คิดตั้งแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ซึ่งไม่มีการถกเถียงกันถึงปัญหาในปัจจุบัน อาทิ การพัฒนาอย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วม ความเป็นธรรม ฯลฯ แต่ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป คำถามวันนี้ คือ วิสัยทัศน์ของนายกฯ วันนี้จะยังเป็นตัวแบบเดียวกันกับเมื่อ 50 ปีที่แล้วหรือไม่ ถ้าการพัฒนาของนายกฯ คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน แก่งเสือเต้นก็อยู่นอกวิสัยทัศน์การพัฒนาในปัจจุบัน
ตัวแบบเรื่องพลังงานในวันนี้ ได้ก่อให้เกิดปัญหาในพื้นที่หลายต่อหลายโครงการ เมื่อเราตั้งคำถามแบบนี้ คุณทักษิณ จะมีคำตอบอย่างไร หากยังดำเนินอยู่อย่างนี้ก็ยืนอยู่บนการพัฒนาตามแบบจำลองเดิม ที่ฝรั่งอย่างอเมริกา หรือธนาคารโลก วางไว้เมื่อ 50-60 ปีที่ผ่านมา มันจะชี้ให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ ของนายกรัฐมนตรีไทย ในเรื่องทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเรื่องทิศทางการพัฒนา แบบยั่งยืนหรือไม่ รวมทั้งมีความเป็นธรรมในสังคมหรือไม่
เรื่องของเขื่อนแก่งเสือเต้น และโครงการพัฒนาของรัฐทั้งหลาย สัมพันธ์กับเรื่องปฏิรูปการเมืองอย่างไร สอดคล้องกับการกระจายอำนาจหรือไม่ โครงสร้างอำนาจที่เป็นอยู่ชี้ให้เห็นว่า ไทยรักไทย ฝังรากไปถึงขั้น อบต. ที่เป็นกลไกการบริหาร รวมทั้งการจัดการฐานการเงินของพรรคอื่นๆ ไม่ว่าจะออกมาในรูปการปราบปรามยาเสพติด การปราบปรามบ่อน ซึ่งเป็นฐานการเงินของพรรคอื่น ๆ
เรื่องผลประโยชน์ ที่เกี่ยวกับเขื่อนแก่งเสือเต้น เราต้องตั้งคำถามให้สังคมได้รับรู้ว่า เครือข่ายผลประโยชน์ ที่จะได้รับจากการผลักดันโครงการแก่งเสือเต้นนี้ รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ซึ่งจะเป็นการชี้ให้เห็นว่าการเมืองมันมีผลประโยชน์อย่างไรกับโครงการต่างๆ เหล่านี้
คุณไชยณรงค์ .. ทำอย่างไรให้สังคมจับตาดูเรื่องนี้ด้วย เพราะหากโครงการถูกผลักมาจากคน สามกลุ่ม หนึ่ง คนที่เชื่อว่าเขื่อนคือพระเจ้า กรมชลประทาน ซึ่งอับจนปัญญาในการจัดการน้ำอย่างเป็นธรรม จึงมีวิธีการจัดการน้ำที่หยาบคายด้วยการสร้างเขื่อนที่ทำมาเป็นร้อยปีโดยไม่เปลี่ยนแปลงและไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง
สอง .. กลุ่มอำนาจท้องถิ่นใน จ.แพร่ และ จ.ใกล้เคียง ซึ่งจะทำให้คนที่เกี่ยวข้องได้ประโยชน์โดยแบ่งเป็น สอง กลุ่มใหญ่ 1.เชื่อมั่นว่าเขื่อนจะนำมาซึ่งการพัฒนา พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้รับเหมา สจ. อบต. ยกกระแสมวลชนขึ้นมาปั่นกระแสให้สังคมเห็นว่าต้องสร้างเขื่อนฯ ซึ่งเป็นมรดกมาจากแผนพัฒนาฯ และ 2. กลุ่มที่หวังผลประโยชน์แอบแฝงจากค่าชดเชย ซึ่งมีหลักฐานและตรวจสอบได้ว่าเป็นใครที่เข้ามาซื้อที่ดินที่สะเอียบและเชียงม่วน หลักฐานชัดเจนจาก สค 1 และประโยชน์จากการทำไม้จากเขตอ่างเก็บน้ำ มีการประนีประนอมเพื่อให้กลุ่มของตัวเองได้ประโยชน์จากการทำไม้ ทำให้โครงการไม่ชอบมาพากล ซึ่งถ้านายกฯ มี หน่วยปราบคอร์รัปชั่น ต้องลงมาตรวจสอบเรื่องนี้
ปัจจุบันมีเหตุผลเพียงพอว่าไม่สมควรทั้งด้าน ศก. สวล. และการเมือง รัฐบาลไม่สามารถตอบคำถามงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ ซึ่งมีคุณหญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทยเป็นหัวหน้าโครงการฯ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ เห็นแต่นักการเมืองพยายามผลักดันโครงการโดยไม่คำนึงถึงกมสวลและรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันก็ยังไม่ผ่านอีไอเอ แต่ก็ยังผลักดันต่อไป และมีการใช้มายาคติน้ำท่วมภัยแล้งมาผลักดันโครงการเพื่อให้สังคมสนับสนุนโครงการและเบียดขับคนสะเอียบ มีการใช้วิธีเผด็จการ รวมพลจ้างคนมาทำประชาพิจารณ์ และฉวยโอกาสและแอบอ้างสถานการณ์ต่างๆ และแอบอ้างเบื้องสูงในการดำเนินโครงการ ซึ่งจะทำให้สะเอียบหลีกไม่พ้นสถานการณ์นองเลือด
การทำอะไรกับแก่งเสือเต้น ต้องเคารพสิทธิและวิถีชีวิตของคนสะเอียบและเชียงม่วง ถ้าไม่มีโครงการใดๆ ก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะดำเนินการ ซึ่งมี รธน. รองรับสิทธิของชุมชนอยู่
เสนอทางเลือกว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการอย่างชัดเจน ละเอียด ไม่บิดเบือน และต้องศึกษาทางเลือกของทั้งลุ่มน้ำ ไม่ใช่แค่มองเฉพาะสะเอียบ เพราะน้ำท่วมและภัยแล้งมาจาการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำยมทั้งลุ่มน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนน การทำคันกั้นน้ำรองแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ซึ่งโดยมากเป็นโครงการพัฒนาของกรมชลฯ และหน่วยงานของรัฐ ที่ซ้ำเติมปัญหาน้ำท่วมให้หนักขึ้นไปอีก แต่กรมชลฯ และหน่วยงานของรัฐไม่เคยมองถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่เลือกจะแก้ปัญหาด้วยการผลักดันโครงการเขื่อนอย่างเดียว
การจะไปให้พ้นความขัดแย้ง ต้องเสนอทางเลือกอื่น และต้องให้สังคมมีส่วนร่วม และไม่ใช่กรมชลฯ แห่งเดียวที่ศึกษา ต้องมีหน่วยงานที่น่าเชื่อถือมาร่วมศึกษา แต่วันนี้ กรมชลฯ ทำให้เราเหมือนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นอย่างเดียว
แถลงข่าว
เสริมจากแถลงการณ์ในสองสามประเด็น คือ หนึ่ง..การสร้างมายาคติเกี่ยวกับเขื่อน (น้ำท่วม-ภัยแล้ง) สอง.. ผลประโยชน์แอบแฝงจากการสร้างเขื่อน และสาม..การมีส่วนร่วมของสังคมในการดำเนินโครงการ
อ.อานันท์ กาญจนพันธ์ .. ทางเลือกในการจัดการน้ำนอกจากการสร้างเขื่อน ที่ผ่านมาเป็นการผูกขาดอำนาจการจัดการจากประชาชนในการแก้ไขปัญหาวิกฤตทยกด้วยตนเอง นำมาสู่ความขัดแย้งและปัญหาการใช้ทยก.อย่างไม่ยั่งยืน ไม่สมดุลย์ และไม่เป็นธรรม
ไม่มีเหตุผลรองรับเพียงพอและไม่มีคำตอบสามารถตอบคำถามของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือทางวิชาการทุกแห่งที่สรุปว่า ไม่คุ้มทุน มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งหรือน้ำท่วมดังที่กล่าวอ้างไว้
ต้องใช้หลักการ หนึ่ง..การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน แนวทางแก้ไขปัญหาสามารถทำได้อีกหลายวิธี ทำอย่างไรให้น้ำกระจายอย่างเหมาะสม ไม่ใช่เอาน้ำไปอยู่ในการจัดการของกรมชลฯ ซึ่งทำได้ไม่เหมาะสมเพราะไม่สอดคล้องกับวิถีของเกษตรกรรายย่อยและวิถีการเกษตรเชิงซ้อน
หยุดเล่นเกมส์การเมือง หยุดผลประโยชน์แอบแฝง และคืนการจัดการทรัพยากรให้ประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนตามเจตนารมณ์ของรธน.อย่างแท้จริง
น้ำวันนี้ไม่ใช่แค่น้ำท่วมหรือฝนแล้ง แต่ต้องมองมิติที่หลากหลายที่เชื่อมโยงกับป่า เชื่อมโยงกับปลา สิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศน์ มองน้ำในมิติที่เป็นวิถีชีวิต เป็นวัฒนธรรม เป็นความรู้ ไม่ใช่เพียงทรัพยากรทางการเกษตร
จบการแถลงข่าว