ป.ป.ช.ชงแผนเสนอ 'นายกฯ-รัฐ' ห่วงโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ไม่โปร่งใส

fas fa-pencil-alt
ไทยรัฐ
fas fa-calendar
17 พฤษภาคม 2556

มติฯ ป.ป.ช. ส่งหนังสือ ติง “นายกฯ-รัฐ” ห่วงโครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน ไม่โปร่งใส แนะ ข้อเสนอ-วิธีบริหารจัดการ-ข้อควรระวังแบบเบ็ดเสร็จ ขอ ครม.กำหนดบุคคลรับผิดชอบ หากมีความเสียหายเกิดกับประเทศ

วันที่ 17 พ.ค. ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สนามบินน้ำ นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมนายเมธี ครองแก้ว หัวหน้าอนุกรรมการ ป.ป.ช. แถลงข่าวข้อเสนอแนะเรื่องดำเนินการโครงการตามกรอบความผิดการออกแบบก่อสร้าง โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และนายพลายพล คุ้มทรัพย์ ประธานคณะทำงานโครงการบริหารจัดการน้ำ ร่วมแถลงข่าว

โดย นายกล้านรงค์ กล่าวว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ ตามข้อเสนอแนะของอนุกรรมการฯเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเรื่องดำเนินการโครงการตามกรอบความผิดการออกแบบก่อสร้างโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เห็นชอบตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการ และมีมติฯ เสนอไปยัง นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบ

ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบว่า กรณีการเสนอแนะเรื่องนี้ ไม่เกี่ยวกับตอนนี้ ที่รัฐบาลกำลังมีการประชุมเรื่องนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ และไม่ได้เป็นการกล่าวหารัฐบาลว่าจะมีการทุจริตทั้งสิ้น แต่คณะทำงานพิจารณาเรื่องนี้แล้วเห็นว่า เป็นเรื่องการใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่เห็นว่ามีจุดสำคัญหลายจุดซึ่งอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ จึงได้ศึกษาและชี้จุดเสี่ยงให้รัฐได้ทราบ และยังเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาให้รัฐบาลด้วย ตามกฎหมายป.ป.ช. ว่าด้วยข้อปฏิบัติมาตรา 19 (11) ซึ่งเราก็เสนอไปตามหน้าที่ ก็อยู่ที่รัฐบาลจะดำเนินการป้องกันหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่รัฐเป็นคนตัดสินใจ โดยยึดหลักแน่วแน่ที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน

เราต้องการใช้เงินดังกล่าวนั้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เราต้องช่วยกัน
นายเมธี ครองแก้ว กล่าวถึงข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช. ได้ข้อสรุปเมื่อวันพุธแล้ว วันพฤหัสบดีก็รีบส่ง รายงานมาให้กรรมการ ป.ป.ช. เพื่อเสนอแนะรัฐบาล เพราะเราเห็นข้อระมัดระวังการทำงานในเรื่องนี้ของรัฐบาล ทั้งจุดบกพร่อง จุดเสี่ยงต่างๆ ที่ต้องมีการแจ้งให้รัฐบาลได้รับทราบ และจะระมัดระวังอะไรบ้าง

นายพลายพล กล่าวถึงการพิจารณาโครงการเสนอกรอบความคิด เพื่อออกแบบก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศ ข้อเท็จจริง คือ 1 ได้มีการทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาน้ำ แล้วก็ตีออกมาแบ่งได้เป็น 10 กลุ่ม แล้วจ้างผู้รับเหมา ขั้นแรกก็คือ เสนอแนวคิดหรือกรอบแนวคิดเป็นแผนกว้างๆ เสนอแผนแก้ไขน้ำท่วมอย่างไร แล้วคัดเลือก มาขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกผู้รับเหมาตามแผนงานต่างๆ ที่แยกเป็น 10 โมดูล ที่สำคัญมากคือกลุ่มที่ต้องสร้างฟลัดเวย์ ที่มีการใช้เงินมากที่สุด ถึง 1.5 แสนล้าน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีการแข่งขันจากเอกชนกลุ่มละ 3 ราย ก็อย่างที่สื่อมวลชนก็ทราบ แล้วก็ให้กลุ่มเหล่านี้มาเสนอแนวคิดการก่อสร้างและออกเกณฑ์คัดเลือก ให้คะแนนใครได้เกิน 80% วิธีการสั้นๆ คือ รับข้อเสนอเทคนิคมาดูก่อน แล้วให้คะแนน แล้วก็ดูว่าใครได้คะแนนสูง

ทั้งนี้ ป.ป.ช. ตั้งข้อสังเกตดูแล้วรัฐใช้เวลาการศึกษาที่สั้นมาก การจ้างเหมาแบบนี้ เป็นการจ้างแบบเบ็ดเสร็จ คือรวมงานตั้งแต่ต้นไปจนจบ ตั้งแต่ต้น คือ ทั้งศึกษาพื้นที่ ไปซื้อที่ดิน เวนคืนที่ดิน ก็แจ้งรัฐ สร้างจนแล้วเสร็จ กบอ. ยังมีการขอยกเว้นระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างนี้ อันนี้น่าจะเป็นปัญหา ย้ำว่า ป.ป.ช. เห็นด้วยดำเนินการแก้น้ำท่วม เพราะเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ แต่ตั้งข้อสังเกต มีการรวบรัด เอางานไปรวมกัน ปัญหาแรกการแข่งขันเลือกผู้รับจ้าง มี 10 กลุ่ม แล้วต้องมาประมูลแข่งกัน ทั้งนี้จาก 10 กลุ่มงาน มีถึง 8 บริษัทที่งานซ้ำกัน อาจทำให้งานเกิดความล่าช้า และการแข่งขันก็น้อยลงไปอีก

ขณะที่กฎเกณฑ์การคัดเลือกมันทับซ้อนกัน และเกิดความสุ่มเสี่ยง มันอาจขัดกฎหมายสิ่งแวดล้อมหรืออย่างไร เราเป็นห่วงเพราะจะมีการแข่งขันน้อย รัฐบาลอาจไม่ได้ข้อเสนอดีสุด กฎหมายสิ่งแวดล้อมขัดกัน อันที่สอง ที่ ป.ป.ช.เป็นห่วง คือ ใส่งานทุกอย่างไปรวมกัน ทั้งศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง รวมไปถึงจัดหา เวนคืนที่ดินด้วย ปัญหา คือ บริษัทที่ได้รับสัมปทาน จะใส่งานต่างๆ ไว้ในสัญญาเดียวกัน อาจทำให้บริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานมีความพยายามศึกษาผลกระทบการก่อสร้างต่างๆ เขาอาจไปบิดเบือนให้ข้อมูลโครงการให้ผ่านไป อันนี้ก็เป็นความเสี่ยง ความเสี่ยงอีกอย่างคืออาจมีกระแสการต่อต้าน หรือมีความล่าช้าการเวนคืนที่ดิน โดยเฉพาะประเทศไทย ไปกำหนดทีโออาร์เสร็จใน 5 ปี แต่ในประเทศไทยเรื่องการเวนคืนที่ดินก็อาจต้องตกลงกับประชาชน ทำให้งานล่าช้า ไม่เสร็จใน 5 ปี อันนี้ก็อาจเป็นช่องทางทำให้เกิดการทุจริตได้ ก็จะทำให้บริษัทที่ได้รับสัมปทานหาทางล้มโครงการได้

อีกประเด็นความเสี่ยง คือ ในที่สุดแล้วจะมีการประกันราคาก่อสร้างไม่เกินวงเงินสูงสุด คือ ในแผนกบอ. บอกว่าตกลงอะไรเสร็จก็จะมีการตกลงประกันราคาสูงสุด เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะไปสร้างอะไรราคาเท่าไหร่ก็ตาม ความเป็นจริงคือจะได้รับการประกันราคาไม่เกินการประกันราคาสูงสุดของรัฐบาล อันนี้มองแล้ว ถ้าค่าใช้จ่ายเกิดสูงในภายหลังรัฐบาลต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่ ในสัญญาทีโออาร์ที่ทำสัญญา จะมีการประกันในราคาสูงสุด คือแม็กซิมัม ไพรส์ ถ้ามองแล้วอาจเกิดปัญหาได้ มีการกำหนด ถ้าไปออกแบบรายละเอียดโครงการแล้ว แล้วราคาสูงกว่านั้นก็จะจ่ายในราคาที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งอาจจะทำให้เหตุการณ์มีปัญหาเพราะบริษัทอาจทิ้งงานได้ เพราะรับสภาพการขาดทุนไม่ได้ อีกอย่างคือ ปัญหาการเหมาช่วง ซึ่งมีตัวอย่างโครงการโรงพัก 398 แห่ง ที่สร้างไม่เสร็จ ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาการจ้างเหมาช่วง ฉะนั้นการดูแลการจ้างเหมาช่วงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเชื่อว่ากลุ่มบริษัทที่ได้งานสัมปทาน จะต้องไปจ้างเหมาช่วงงานอีก เพราะงานมันเยอะ

อีกเรื่องไม่ปฏิบัติตามระเบียบ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการบริหารจัดการน้ำ ปกติต้องเป็นหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรง ตีรัฐบาลกลับ กำหนดเป็นสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ อีกเรื่องอาจเกี่ยวพันกับ ป.ป.ช. ซึ่ง ป.ป.ช.กำหนดว่า ให้รัฐต้องเปิดเผยราคากลางการก่อสร้าง ซึ่งการที่รัฐเพิ่งมีประกาศมาเปิดราคากลาง เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งดูแล้วก็ไม่ใช่ราคากลาง

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง