ภาคปชช.ค้านเขื่อนไซยะบุรีปลาบึกจะสูญพันธุ์

fas fa-pencil-alt
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
fas fa-calendar
21 มิถุนายน 2553

เครือข่ายปชช.เผยแบงค์ไทย4แห่งอยากปล่อยกู้"ช.การ ช่าง" 7.5หมื่นล้านสร้างเขื่อนไซยะบุรี สร้างครบ 12เขื่อน จะกระทบ2ล้านคน ปลาบึกจะสูญพันธุ์

หวั่นสร้างเขื่อนไซยะบุรีกั้นแม่น้ำโขงในลาวทำปลาบึกไทยสูญ นักข่าวไทยลงสำรวจพื้นที่พบโครงการคืบหน้าไปมาก จวกบริษัทช.การช่างอาเปรียบเพื่อนบ้าน เอ็นจีโอแนะรัฐบังคับใช้กฎหมายไทย เชื่อผลกระทบต่อระบบนิเวศมหาศาล

จากวิกฤตแม่น้ำโขงแห้งผิดปกติมากกว่า ทุกปี ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นผลมาจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในประเทศจีน ชาวบ้านจากหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงรายได้ประท้วงที่หน้าสถานเอกอัคราชทูต จีนประจำประเทศไทยเมื่อเดือนเมษายนทีผ่านมา ทำให้ทางการจีนยอมปล่อยน้ำจากเขื่อนเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามภาคประชาชนและชาวบ้านที่ อยู่ริมแม่น้ำโขงยังคงเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพราะปัจจุบันมีโครงการสร้าง เขื่อนกั้นลำน้ำโขงอีก 12 แห่งในเขตชายแดนไทย-ลาว ในสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)และประเทศกัมพูชา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในแต่ละประเทศอย่างเชื่อมโยงและเป็นลูกโซ่

ผู้สื่อข่าวจากประเทศไทยร่วมกับเครือ ข่ายภาคประชาชนได้ลงสำรวจแม่น้ำโขงในสปป.ลาวโดยล่องเรือตั้งแต่แขวงหลวง พระบางไปจนถึงแขวงไซยะบุรี ซึ่งจะมีการสร้างเขื่อนหลวงพระบางและเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งพบว่าขณะนี้โครงการสร้างเขื่อนหลวงพระบางมีความคืบหน้าระดับหนึ่ง โดยกลุ่มผู้รับเหมาชาวเวียดนามได้ทำการสำรวจพื้นทีหลายครั้งแล้ว ส่วนการสร้างเขื่อนไซยะบุรีนั้น มีความคืบหน้ามากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงแห่ง อื่นๆ และหากมีการสร้างเร็จจะถือว่าเป็นเขื่อนกั้นแม่โขงแห่งแรกของลุ่มน้ำตอนล่าง

ซึ่งการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงไซยะ บุรี ดำเนินการโดยบริษัท ช.การช่าง ประเทศไทย โดยได้ทำรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างเสนอให้รัฐบาลลาวพิจารณา คาดการณ์ว่าเขื่อนไซยะบุรีจะเดินหน้าและจะ สามารถผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ราวปี 2559 อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งโขงส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข้อมูลของโครงการ สร้างเขื่อนครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงต้องเข้าสู่กระบวนการแจ้งให้ประเทศมาชิกของคณะ กรรมาธิการแม่น้ำโขง(เอ็มอาร์ซี) ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม รับทราบ ซึ่งคาดว่ารัฐบาลลาวจะเริ่มกระบวนการนำเอกสาร โครงการเขื่อนไซยะบุรีเสนอให้ประเทศ สมาชิกพิจารณาเร็วๆ นี้  

ทั้งนี้โครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าไซ ยะบุรีนี้ บริษัท ช.การช่าง ได้ลงนามข้อตกลงพัฒนาโครงการกับรัฐบาลลาวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 และกำลังจะลงนามบันทึกข้อตกลงขายไฟฟ้า (Tariff MOU) ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีกำลังผลิตติดตั้ง 1280 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะส่งขายให้แก่ประเทศไทย แต่เรื่องนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มนักอนุรักษ์และนัก วิชาการ เนื่องจากยังไม่มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้รับ ทราบ แต่เป็นการงุบงิบทำข้อตกลงกับรัฐบาลลาว

อย่างไรก็ตาม มีการรายงานการศึกษาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนำไซยะบุรีซึ่งจัดทำโดยเอ็มอา ร์ซี ระบุว่า จะก่อให้เกิดอ่างเก็บน้ำยาวตามลำน้ำ 95 กิโลเมตร จะส่งผลกระทบต่อประชาชน  202,198 คน ในพื้นที่ 4 เมืองในสปป.ลาว และต้องอพยพประชาชนอย่างน้อย 10 หมู่บ้าน แต่หากมีการสร้างเขื่อนทั้งสิ้น 12 เขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนล่าง ในลาว ไทย และกัมพูชา จะสร้างผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนสูงถึง 2 ล้านคน ในพื้นที่ 13 จังหวัด 47 อำเภอ  ทั้งนี้สถาบันทางการเงินในประเทศไทยอย่างน้อย 4 แห่ง คือธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แสดงความจำนงค์ที่จะให้บริษัทช.การช่าง กู้เงินเพื่อมาดำเนินการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีแล้ว เป็นเงินกู้รวม 7.5 หมื่นล้านบาท

นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อบริหารการจัดการน้ำแบบบูรณาการ(ประเทศไทย) กล่าวว่า โครงการสร้างเขื่อนเขื่อนในลำน้ำโขงจำนวน 12 เขื่อน ตั้งแต่อ.เชียงแสน จ.เชียงรายไปจนถึงปากแม่น้ำโขงในประเทศเวียดนาม ไม่ว่าจะสร้างแห่งหนึ่งแห่งใดก็มีผลกระทบพอๆกัน โดยเฉพาะโครงการเขื่อนไซยะบุรี ที่อยู่เหนือ จ.เลย ก่อนที่จะถึงจ.เชียงราย ถ้าสร้าจริงก็จะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศในแม่น้ำโขง เช่นเส้นทางอพยพของปลาโดยเฉพาะปลาบึก ที่จะอพยพจากแม่น้ำโขงตอนล่างขึ้นไปวางไข่บริเวณใกล้สามเหลี่ยมทองคำ
  “หาก มีการสร้างเขื่อนก็จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง แม้ว่าเขื่อนนี้จะสร้างในประเทศ
ลาวแต่เมื่อปิดกั้นลำน้ำโขงใน ส่วนของประเทศลาว จะส่งผลกระทบในวงกว้างให้ประชาชนทั้ง 4 ประเทศ ต่อไปเราอาจไม่ได้เห็นปลาบึกที่จับได้ในเกือบทุกปีที่อ.เชียงของ จ.เชียงรายอีกต่อไป แต่ที่น่าอายคือบริษิทที่รับเหมาก่อสร้างเป็นของประเทศไทย”นายหาญณรงค์ กล่าว
  นายหาญณรงค์กล่าวว่า การสร้าง
เขื่อนไซยะบุรีครั้งนี้ประเทศไทย เกี่ยวข้องโดยตรงถึง 4 กรณี คือ นอกจากบริษัทรับสัมปทานการก่อสร้างเป็นของคนไทยแล้ว เงินลงทุนยังมาจากธนาคารพาณิชย์ของไทย ผู้รับซื้อไฟฟ้าก็คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และผู้ใช้ไฟฟ้าคือคนไทย เพียงแต่ว่าเขื่อนนี้ไม่ได้สร้างในประเทศไทย แต่คนไทยเกี่ยวข้องมาก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องนำข้อกฏหมายหรือเอาข้อบังคับใช้ทางกฏหมายที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และกฏหมายอื่นๆที่เกี่ยวกับคนไทยมาใช้กับเขื่อนนี้อย่างเคร่งครัดด้วย แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการการหยิบยกเอากฏหมายดังกล่าวมาใช้เลย อีกทั้งประชาชนทั้งไทยและลาวก็ไม่มีส่วนรับรู้ข้อมูลข่าว สารใดๆทั้งสิ้น
  “ประเทศไทยไม่ควรอาศัยช่องทางนี้เอาเปรียบกลุ่มชนใน ประเทศเพื่อนบ้านเพียงเพื่อหวังกำไรทางธุรกิจ แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นผลกระทบต่อชุมชนและทรัพยากรของคนในประเทศตัวเอง จนไม่สามารถเยียวยาได้เหมือนเขื่อนๆอื่นที่เคยสร้างในประเทศไทย” นายยหาญณรงค์ กล่าว

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง