ปฏิญญาเชียงใหม่ภาคประชาชน ว่าด้วยการจัดการน้ำ

fas fa-pencil-alt
เครือข่ายประชาชนในลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคอีสานมา
fas fa-calendar
20 พฤษภาคม 2556

เครือข่ายประชาชนในลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคอีสานมาร่วมกันประชุมในเวทีคู่ขนานในครั้งนี้ด้วยความตระหนักว่า “น้ำคือชีวิตของพวกเรา”   

การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้น ภัยพิบัติไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมและน้ำแล้งนั้นเกิดจากมนุษย์เองที่จัดการทรัพยากรอย่างขาดความเข้าใจและเป็นธรรม     การจัดการทรัพยากรน้ำต้องตั้งยึดหลักบูรณาการซึ่งตั้งอยู่บนความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่น และการเคารพใช้ความรู้ที่หลากหลายรวมไปถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน อันสอดคล้องกับความแตกต่างและหลากหลายทางภูมินิเวศวัฒนธรรมของแต่ละลุ่มน้ำ เพื่อให้เกิดความสมดุลย์  การมีประสิทธิภาพ ความยั่งยืน การเคารพต่อสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมของมนุษย์

เรา ขอเรียกร้องไปยังภาครัฐและผู้นำทั้งหลายว่า ผู้นำจะต้องมีธรรมาภิบาล   ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนโดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถ้วนทั่ว    มีกฎหมายน้ำที่เป็นธรรม เน้นการจัดการโดยระบบลุ่มน้ำ   และ การแก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งต้องเน้นการบริหารจัดการมากกว่าการใช้สิ่งก่อสร้าง

เรา ขอยืนยันว่าจะร่วมมือกันในการปกป้องธำรงรักษาภูมินิเวศวัฒนธรรมของทุกลุ่มน้ำ เพื่ออนาคตของพวกเราและลูกหลานสืบไป

ผู้ลงนามรับรองปฏิญญา

1.     สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

2.    เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา

3.    เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง

4.    เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.)

5.    เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ

6.    ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)

7.    คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ)

8.    คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)

9.    มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย) 

10. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ

11.  เครือข่ายทรัพยากรและสิ่่งแวดล้อมภาคอีสาน

12. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน (ศสส.)

13. ศูนย์พัฒนาเด็กเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแม่น้ำโขง

14. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี

15. คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 kv.จ.อุดรธานี

16. กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง

17.  กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำโขง อ.ปากชม จ.เลย

18. กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

19. มูลนิธิฮักเมืองแจ่ม จ.เชียงใหม่

20.   เครือข่ายลุ่มน้ำแม่แจ่ม 19 สาขา  จ.เชียงใหม่

21. สถาบันอ้อผะหญา

22. คณะกรรมการคัดค้านเขื่อน ต.สะเอียบ จ.แพร่

23.กลุ่มคัดค้านเขื่อนโป่งอาง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

24.กลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนแม่ขาน ต.ออบขาน จ.เชียงใหม่

25.กลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขื่อนแม่ขาน หมู่บ้านแม่ขนินใต้ ต.บ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

26.เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำอิง จ.พะเยา และ เชียงใหม่

27. เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

28.   สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล

29.    สหพันธ์เกษตรภาคเหนือ (สกน.)

30.    สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

31. เครือข่ายสลัม 4 ภาค

32.เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)

33.เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)

34.เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.)

35.    เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา

36.   เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล

37. กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล 

38.    ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ

39.      กลุ่มตะกอนยม ต.สะเอียบ จ.แพร่

40.   โครงการเสริมศักยภาพองค์กรชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งละว้า

41. เครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูแก่งละว้า จ.ขอนแก่น

42.กลุ่มพิทักษ์สิทธิการจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชีตอนล่าง

43.กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว

44.เครือข่ายชุมชนคนฮักน้ำของ จ.อุบลฯ

45.      เครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรมอีสาน

46.     สถาบันปัญญาปีติ

47. กลุ่มเยาวชนจิตอาสาหญ้าแพรกสาละวิน

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง