รายงานข่าว กิจกรรมจากหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ
CEO ใจกว้าง เปิดศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ หลังเก่าให้คนจนเปิดเวทีสัมมนาที่หน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษคึกคักเป็นวันที่สอง พันธมิตรร่วมงานออกร้านของดี จากป่าบุ่ง-ป่าทาม ราชการ จับจ่ายเลือกชื้ออาหารจากป่าทาม
วันที่ 11 มีนาคม 2545 ชาวบ้านผู้ที่ถูกผลกระทบจากการสร้างเขื่อนราษีไศล และผู้ที่กำลังจะถูกผลกระทบจากเขื่อนหัวนาส่วนหนึ่ง ที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา อยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ในนามสมัชชาคนจน บรรยากาศเริ่มคึกคักตั้งแต่เช้ามืดของวันที่สอง ชาวบ้านได้เริ่มเปิดร้านขายผลิตพันธ์จากป่าทาม
เวลา 05.30 .น มีชาวบ้านจากป่าโนนใหญ่ กิ่ง.อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ นำโดยพ่อทองสา อดีตกำนัน และตัวแทนจากป่าชุมชนโนนใหญ่ ได้มาเปิดร้านขายยาสมุนไพร จากป่าทาม และชาวบ้านจากบ้านโพนทราย อำเภอกันทารมย์ จังหวัดศรีสะเกษได้นำเอาเครื่องปั้นดินเผา และยาสมุนไพร หอมกระเทียม มาเปิดร้านแสดงสินค้า และการสาธิตในการปั้นหม้อดิน กระปุกออมสิน ใช้วัตถุดิบ จากป่าบุ่ง-ป่าทาม
จากนั้นเวลา 10.00 น ที่ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการเปิดเวทีสัมมนา ทางวิชาการเรื่อง “นโยบายของรัฐกับการจัดการทรัพยากรน้ำ หรือนโยบายน้ำแห่งชาติ (พ.ร.บ.น้ำ ) มีผู้ร่วมบรรยาย คือ นายสนั่น ชูสกุล จากโครงการฟื้นฟูพื้นที่ลุ่มน้ำป่าทามมูล คุณพรทิพย์ บุญครอบ จากโครงการฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ดำเนินรายการโดย น.ส สดใส สร่างโศรก ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรชาวบ้านลุ่มนำมูล มีชาวบ้านเข้าร่วมสัมมนา 90 คน
ต่อมาเวลา 13.00 น. งานสัมมนาได้มีการแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อระดมปัญหาข้อเสนอและทางออก ในการจัดการน้ำโดยประชาชน จนถึงเวลา 16.00 น จึงได้นำมาสรุปกลุ่มใหญ่ เป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ ในการจัดการน้ำภาคประชาชนร่วมกัน โดยมีข้อสรุปดังนี้
ต่อมา เวลา 17.30 น. นายสนั่น ชูสกุล ผู้อำนวยการโครงการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำป่าทามมูน ตัวแทนจากเวทีสัมมนา ได้แถลงว่า วันนี้พวกเราได้ร่วมกันหารือเพื่อที่จะได้รับรู้สถานการณ์ เรื่องน้ำ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ชาวบ้านจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการเปลี่ยนแปลงใดๆที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น พวกเรามีข้อเสนอร่วมกันดังนี้
1. มติ ยกเลิกนโยบายน้ำแห่งชาติ / พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ / คณะกรรมการทรัพยากรน้ำทุกคณะ / กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำทุกฉบับ
เหตุผล เนื่องจากนโยบายน้ำแห่งชาติ / พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ / คณะกรรมการทรัพยากรน้ำทุกคณะ / กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ ดำเนินการโดยขาดการมีส่วนรวมของประชาชน และเอื้อประโยชน์ต่อนายทุน และภาคอุตสาหกรรม
ข้อเสนอต่อรัฐบาล
1. ให้สิทธิชุมชน และอำนาจ ในการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นนำเอาองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชุมชน มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากร
2. ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการของชุมชน เช่น การรื้อสวะก้นหนอง ตามห้วย และแหล่งน้ำขนาดเล็ก
3. ให้มีการจัดการน้ำขนาดเล็ก ขนาดย่อมตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ระบบน้ำสระในแปลงเกษตร / ระบบกระจายน้ำแบบคลองส่งน้ำตามธรรมชาติจาก กุด, หนอง เช่น กรณีกุดขาคีม
4. รัฐต้องศึกษาระบบนิเวศน์ของแต่ละพื้นที่ และสำรวจความจำเป็นในการใช้น้ำของประชาชน ให้ทราบถึงข้อดี ข้อเสีย ต่อโครงการของรัฐ เช่น โครงการ โขง ชี มูล
5. นำเสนอกฎระเบียบ วัฒนธรรม แผนการจัดการน้ำโดยประชาชนที่ชัดเจนมีรูปธรรม
พวกเรามีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อให้บรรลุตามเจตนาดังกล่าว เราได้กำหนดมาตรการร่วมกัน คือ
· ล่ารายชื่อชาวบ้าน / องค์กรพันธมิตร ในการสนับสนุนมติการยกเลิก
· จะมีการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านในชุนชมท้องถิ่น
· จัดให้มีเวทีในการทำประชาพิจารณ์
· จัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่
วันนี้ถึงว่าเป็นครั้งแรกที่ประชาชนในลุ่มน้ำมูน ได้มาร่วมกันกำหนดชะตากรรมของพวกเขาร่วมกัน อันหมายถึง ทิศทางที่ดี ที่จะนำไปสู่ความเป็นเอกภาพ และภาคการร่วมมือกันในอนาคต นายสนั่น กล่าว
ขณะที่ ร้านค้าหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ตลอดทั้งวันได้รับความสนใจจาก คนในตัวเมืองศรีสะเกษ มาจับจ่ายซื้อของเป็นระยะ และในช่วงเย็นมีพนักงานราชการที่ทำงานในบริเวณศาลากลางมาซื้อสินค้า สำหรับไข่มดแดงถือว่าขายดีเป็นอันดันหนึ่ง รองลงมาจะเป็นเสื่อผือ และปลาย่าง
ต่อมาได้มีชาวบ้านผู้ที่ไดรับผลกรทบจากเขื่อนสิรินธร และเขื่อนปากมูลได้เดินทางมาร่วมงาน หยุดเขื่อนเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชน ประมาณ 150 คนมาเพื่อนำเสนอปัญหาของตัวเองต่อสาธารณะ และรัฐบาลให้เข้าใจปัญหาและแก้ไขปัญหาต่อมาเวลา 17.00 นายสมเกรียติ เจือจาน และนายหรรษ์ เพิ่มผล โฆษกฝ่ายประชาสัมพันธ์ ได้เปิดเวทีที่หน้าศาลากลางได้เชิญนักวิชาการและพันธมิตร ขึ้นเวที พบประชาวบ้านและแลกเปลี่ยนปัญหา และประสบการณ์
เวลา 19.00 น.ได้เปิดเวที วัฒนธรรม มีการประชัน ผญา จากชาวบ้าน เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา เขื่อนศิรินทร์ธร เขื่อนปากมูล และชาวบ้านจากป่าโนนใหญ่ และประกวดหมอลำ จากนั้นนายสมเกรียติ เจือจาน ได้แจ้งกำหนดการของ งานในวันที่ 12-15 มีนาคม 2545
๑๒ มีนาคม ๒๕๔๕ ณ. โรงแรมพรหมพิมาน
เวลา ๑๐.๐๐ น.-๑๖.๐๐ น. สัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ ข้อเสนอของ WCD กับแนวทางแก้ไข ปัญหาเขื่อนเมืองไทย ” โดย
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชในพระบรมราชินูปถัมป์
คุณวนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
คุณพงษ์ทิพย์ สำราญจิต ตัวแทน กป.อพช.
นายสมควร พรหมทอง กลุ่มเพื่อนประชาชน
นายไพรจิตร ศิลารักษ์ จากเขื่อนราษีไศล
นายทองเจริญ สีหาธรรม จากเขื่อนปากมูล
นายภักดี จันทะเจียด จากเขื่อนสิรินธร
นางแมะลามิ กาซัน จากเขื่อนลำตะคอง
นายสุจินต์ กะตะศิลา จากเขื่อนหัวนา
ตัวแทนชาวบ้านแก่งเสือเต้น
ตัวแทนชาวบ้านจากเขื่อนรับร่อ
ตัวแทนชาวบ้านจากลุ่มน้ำสงคราม
ดำเนินรายการโดย นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ผู้อำนวยการเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เวลา ๑๖.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. สรุป / แถลงข่าว โดยนายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
๑๓ มีนาคม ๒๕๔๕ ณ.โรงแรมพรหมพิมาน
เวทีสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “แผนประชาชนฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนและป่าทามแม่น้ำมูน”
เวลา ๐๙.๓๐ น. - ๑๐.๐๐ น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัด / กำหนดการ โดยคณะผู้จัด
เวลา ๑๐.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. นำเสนอแผนงาน ( แนวคิด / กระบวนการ )
นำเสนอโดย ชาวบ้านจากราษีไศล
วิจารณ์แผนฟื้นฟู / เปิดอภิปรายทั่วไป
วิจารณ์แผนโดย
นายบัณฑร อ่อนดำ นักวิชาการอิสระ
นายจรินทร์ บุญมัตธยะ
น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
นายสุพรรณ สาคร
นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
ดร.บัญชร แก้วส่อง
ดำเนินรายการโดย นายแมน ปุโรทกานนท์
เวลา ๑๒.๐๐ น. – ๑๓.๐๐ น. พักกินข้าวเที่ยง
เวลา ๑๓.๐๐ น. – ๑๖.๓๐ น. นำเสนอกระบวนการ / ผลักดันแผน / การบริหารจัดการ
เสนอโดยชาวบ้านราษีไศล
วิจารณ์แผนฟื้นฟู / เปิดอภิปรายทั่วไป
วิจารณ์แผนโดย
นายบัณฑรอ่อนดำ นักวิชาการอิสระ
นายสุพรรณ สาคร
นายไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
ดร.บัญชร แก้วส่อง
นายจรินทร์ บุญมัตธยะ
คุณพงษ์ทิพย์ สำราญจิต
นายสนั่น ชูสกุล
นายแมน ปุโรทกานนท์
ดำเนินรายการโดย นายบุญเสริฐ เสียงสนั่น
เวลา 19.00 น. – 23.00 น. พาแลงร่วมกัน ชาวบ้านสมัชชาคนจน , นักวิชาการ , ข้าราชการจังหวัดศรีสะเกษ / พร้อมชมหนังตะลุง คณะเฉลิมศิลป์
๑๔ มีนาคม ๒๕๔๕ ณ.สนามหน้าศาลากลาง
เวลา ๑๐.๐๐ น. – ๑๔.๓๐ น. เดินรณรงค์ในตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษ
ลงพื้นที่ราษีไศล
๑๕ มีนาคม ๒๕๔๕
เวลา ๐๙.๓๐ น. พิธีปิดงาน “มหกรรมหยุดเขื่อนฟื้นฟูธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชน”