สถานการณ์ล่าสุดโครงการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในเขตรัฐฉาน

fas fa-pencil-alt
South East Asia River Network-Thailand chapter
fas fa-calendar
8 มีนาคม 2542

แนวคิดการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในเขตพม่า

ประวัติและสถานการณ์ปัจจุบัน

แนวคิดการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในเขตพม่ามีมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำสายหลัก มีเพียงเขื่อนที่กั้นแม่น้ำสาขา 2 แห่ง มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 195 เมกะวัตต์ แม่น้ำสาละวินจึงถือว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่แม่น้ำของโลกที่รอดพ้นจากการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะสร้างเขื่อนในรัฐฉานยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่กลุ่มทุนญี่ปุ่นต้องการดำเนินโครงการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำรอบเทือกเขาหิมาลัย เป็นส่วนหนึ่งของอภิมหาโครงการระดับโลกที่กลุ่มทุนญี่ปุ่นได้นำเอาวิธีการ New Deal มาใช้เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยการสร้างงานให้กับกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจสร้างเขื่อนและพลังงาน

เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน กระแสการสร้างเขื่อนสาละวินในเขตรัฐฉานจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานนี้เสนอให้เห็นถึงสถานการณ์ที่แท้จริงของโครงการเขื่อนบนลุ่มน้ำสาละวิน โดยเฉพาะในส่วนของนักสร้างเขื่อน

โครงการเขื่อนในเขตรัฐฉาน

โครงการเขื่อนในเขตรัฐฉานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก:

  1. โครงการเขื่อนต่าง ๆ ที่บริษัทที่ปรึกษาจากญี่ปุ่นกำลังศึกษา
    • รวมถึงโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้า 2 แห่งที่ Baluchaung และโครงการเขื่อนกั้นน้ำแม่ปอน (Pawn River) ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาสายหลักทางฝั่งขวาของแม่น้ำสาละวิน
    • โครงการแม่ปอนจะมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 48 เมกะวัตต์ และขณะนี้การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) ได้เสร็จสิ้นแล้ว
  2. โครงการเขื่อนที่เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมของญี่ปุ่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตของพม่า และหน่วยงานสร้างเขื่อนของไทย
    • โครงการสำคัญที่สุดคือโครงการเขื่อนท่าซาง

รายงานล่าสุดเกี่ยวกับโครงการท่าซาง

ที่ตั้งเขื่อนและชนิดของเขื่อน

โครงการเขื่อนท่าซางอยู่ในระหว่างการศึกษาขั้นความเหมาะสมเบื้องต้น (Pre-feasibility Study) ผลการศึกษาวิเคราะห์กำหนดให้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินทางตอนใต้ของรัฐฉานในประเทศพม่า ใกล้กับท่าเรือท่าซาง ทางฝั่งตะวันตกของตองยี 370 กิโลเมตรตามทางหลวงหมายเลข 45 และห่างจากจุดตรวจ BP-1 บริเวณชายแดนไทยประมาณ 130 กิโลเมตร หรือประมาณ 150 กิโลเมตรทางตอนเหนือของเชียงใหม่

โครงการนี้จะตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือท่าซางขึ้นไปตามลำน้ำสาละวิน 12 กิโลเมตร และต่ำลงจากท่าเรือท่าซาง 5 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นหุบเขามีหน้าผาชันและลำน้ำสาละวินที่แคบ เหมาะสำหรับการสร้างเขื่อนแบบหินถมดาดคอนกรีต (Concrete-faced rock-fill dam: CRF dam) และเขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น (Roller Compacted Concrete dam: RCC dam) หรือเขื่อนหินทิ้ง (Gravity dam) และอาจเป็นเขื่อนชนิดหินทิ้งโค้ง (Arch-Gravity dam) ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของพื้นที่ โรงไฟฟ้าจะตั้งอยู่บนพื้นดินบริเวณฐานของเขื่อน

ข้อมูลการสำรวจล่าสุดพบว่าระดับกักเก็บน้ำสูงสุด (Full Supply Level: FSL) อยู่ระหว่าง 320-370 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (MSL) แต่ละจุดที่สำรวจมีศักยภาพที่จะติดตั้งเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดระหว่าง 1,500-5,000 เมกะวัตต์ ทางเลือกนี้ขึ้นอยู่กับถนนที่จะเข้าสู่จุดจากจุดตรวจ BP-1 และสายส่งไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 500 กิโลโวลต์ (500kV DC) ไปเชื่อมกับระบบของพม่าและสายส่งไฟฟ้ากระแสสลับ 500 กิโลโวลต์ (500 kV AC) ไปยังประเทศไทย

โครงการนี้ยังมีการสร้างเขื่อนทางตอนล่างเพื่อควบคุมน้ำที่ปล่อยออกมาจากเทอร์ไบน์ 16 ชั่วโมงต่อวันและ 6 วันต่อสัปดาห์

การย้ายสะพานทางตอนบนของลำน้ำที่ท่าซางและใกล้กับคุนฮิง (Kunhing) บนทางหลวงหมายเลข 4 จะเป็นต้นทุนหนึ่งที่คำนึงถึงสำหรับโครงการ

ระดับเก็บกักน้ำ

ระดับเก็บกักสูงสุดที่ 350 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลเป็นระดับที่เลือกไว้สำหรับเขื่อน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มระดับเก็บกักสูงสุดจะทำให้มีแรงจูงใจในทางเศรษฐกิจมากขึ้น การสำรวจทางวิศวกรรมในอนาคต การสำรวจทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และปริมาตรน้ำจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตที่แท้จริงของอ่างเก็บน้ำ

ขนาดของโรงไฟฟ้า

การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการผลิตไฟฟ้าต่ำสุดจะสัมพันธ์กับกำลังการผลิตติดตั้งระหว่าง 2,500 กับ 4,000 เมกะวัตต์ ขนาดของเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่จะติดตั้งมีจำนวน 6 เครื่อง ขนาดเครื่องละประมาณ 550 เมกะวัตต์ (6 x 550 = 3,300 เมกะวัตต์) ไฟฟ้าที่ผลิตได้นี้ประมาณ 1 ใน 4 จะส่งไปยังระบบรวมของพม่า ส่วนที่เหลือจะส่งมายังไทย

ราคาโครงการและระยะเวลาก่อสร้าง

  • โครงการท่าซางแบบ CFR (จุด 840) มีราคาขั้นต้น 3,397 ล้านเหรียญสหรัฐ มีระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี
  • ราคาโครงการทางเลือก (RCC dam) ที่จุด 840 ประมาณ 3,076 ล้านเหรียญสหรัฐ และที่จุด 725 ประมาณ 3,316 ล้านเหรียญสหรัฐ มีระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี

ข้อมูลหลักของโครงการท่าซาง

รายการ

โครงการที่เลือก (จุด 840)

ทางเลือกที่หนึ่ง (จุด 840)

ทางเลือกที่สอง (จุด 725)

ชนิดเขื่อน

CRF dam

RCC dam

RCC dam

ที่ตั้ง (ห่างจากท่าเรือท่าซาง)

6 กม. ทางตอนเหนือ

6 กม. ทางตอนเหนือ

6 กม. ทางตอนเหนือ

พื้นที่รับน้ำ (ตร.กม.)

207,000

207,000

207,000

อัตราการไหลเฉลี่ย (ลบ.ม./วินาที)

2,583

2,583

2,583

ระดับเก็บกักสูงสุด (เมตรเหนือระดับน้ำทะเล)

350

350

350

พื้นที่อ่างเก็บน้ำ (ตร.กม.)

660

660

660

ปริมาตรอ่างเก็บน้ำ (ลบ.กม.)

36,100

36,100

36,100

ความสูงสูงสุดของเขื่อน (ม.)

188

193

190

ความยาวสันเขื่อน (ม.)

768

783

955

อัตราน้ำไหลเข้าเทอร์ไบน์ (ลบ.ม./วินาที)

430.5

430.5

430.5

ความสูงเทอร์ไบน์ (ม.)

142

145

147

กำลังการผลิตติดตั้งรวม 6 เครื่อง (เมกะวัตต์)

3,327

3,399

3,434

ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละปี (จิกะวัตต์-ชั่วโมง)

16,076

16,136

16,307

ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละปีในขั้นที่ 2 (จิกะวัตต์-ชั่วโมง)

6,930

7,923

8,001

พลังงานที่ผลิตได้รวมในแต่ละปี (จิกะวัตต์-ชั่วโมง)

23,005

24,059

24,380

ราคาโครงการ (ล้านเหรียญสหรัฐ)

3,397

3,075

3,316

ระยะเวลาดำเนินโครงการ (ปี)

6

5

5

การศึกษาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

ในขณะนี้ กลุ่มนักสร้างเขื่อนกำลังจัดเตรียมข้อมูลผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการรวบรวมข้อมูลผลกระทบด้านต่างๆ ภายใต้การนำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง