ตัวอย่างพฤติกรรมการทุจริตเขื่อนโป่งขุนเพชร จ. ชัยภูมิ

fas fa-pencil-alt
สมัชชาคนจน
fas fa-calendar

โครงการเขื่อนโป่งขุนเพชร เป็นของกรมชลประทาน เริ่มดำเนินการในปี 2532 คือ อยู่ในท้องที่ตำบลโคกสะอาด อ.หนอง บัวระเหว จ.ชัยภูมิ มีผลกระทบราษฏรในท้องที่ อ.หนองบัวระเหว และอ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ปรากฏว่าการดำเนินงาน ของฝ่ายราชการ ไม่โปร่งใส ปิดบังข้อมูลและมีการข่มขู่หลอกลวงชาวบ้าน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โดยมิชอบของฝ่ายเจ้าหน้าที่ มีการทุจริตกันเป็น ขบวนการหรือแก๊งมาเฟียที่ประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ทั้งของกรมชลประทานและกระทรวงมหาดไทยร่วมกับ นายทุนมีการวางแผน มีกองทุนมีผู้ปฏิบัติงานเป็นขั้นตอน วางสายเป็นระบบต่อเนื่อง เป็นขบวนการที่ทำมาหากินอยู่กับกรมชลฯ ตลอดมา  โดยเฉพาะในภาค อีสานมีศูนย์กลาง บัญชาการ และวางแผนอยู่ที่ สำนักงานชลประทานเขต 6 จ.นครราชสีมา  โดย อาศัยบุคคลากร จาก จ.นครราชสีมา เป็นหลัก  ประกอบการทุจริตมาตั้งแต่เขื่อนลำมูลบน เขื่อนลำแชะ เขื่อนลำคันฉู เขื่อนห้วย ทราย ปัจจุบันและอนาคตเขื่อนโป่งขุนเพชร กำลังเตรียมการอยู่ที่เขื่อนนายางดี เขื่อนปากช่อง เขื่อนที่ปักธงชัย และเขื่อนที่ ศรีสะเกษ เป็นต้น โดยใช้ทรัพยากรทั้งสิ่งของและบุคคล ชุดเดียวกันโดยอาศัยสำนักงานชลประทานเขต 6 จ.นครราชสีมาเป็น ศูนย์บัญชาการและวางแผน

                วิธีการ

                ขั้นที่ 1 ให้เจ้าหน้าที่ชลประทานและฝ่ายปกครองเข้าข่มขู่และหลอกลวงราษฏรในท้องที่ ๆ อยู่ในเขตชลประทานว่า ทางรัฐ บาลจะสร้างเขื่อนชาวบ้านต้องโยกย้ายออกไปโดยไม่มีค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้นถ้าหากใครขัดขืนจะจับกุมคุมขัง

                ขั้นที่ 2 ส่งนายหน้าเข้าไปกว้านซื้นที่ราคาถูกเพราะชาวบ้านกลัวว่าจะไม่ได้ค่าชดเชย

                ขั้นที่ 3 ปลูกต้นมะขามเปรี้ยวและต้นไม้อื่น เพื่อเบิกค่าชดเชยโดยร่วมกันทำหลังฐานเท็จเพิ่มจำนวนต้นไม้ให้มากกว่า ที่เป็น จริง ทำหลักฐานเท็จจากต้นมะขามเปรี้ยวให้เป็นต้นมะขามหวานแล้วเบิกเงินแบ่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่และนายหน้าที่เขื่อน โป่งขุนเพชร ปรากฏว่ามีผู้ได้รับค่าชดเชย ค่าต้นไม้รอบแรก เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2537 จำนวน 150 ราย เป็นชื่อบุคคลภาย นอกที่ชาวบ้านไม่รู้จัก ประมาณ 120 ราย และมีภูมิลำเนาอยู่ที่ จ.นครราชสีมา บุคคลกลุ่มนี้ได้รับเงินไปประมาณ 22 ล้าน ส่วน ชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้รับเงิน ประมาณ 3 ล้านบาท

                ขั้นที่ 4 ข่มขุ่หลอกลวงว่าที่ดินทำกินที่ชาวบ้านครอบครองอยุ่นั้นเป็นที่รก จะไม่จ่ายค่าชดเชยให้จะจ่ายค่าชดเชย เฉพาะที่ เตียนแล้ว ถ้าชาวบ้านคนใดต้องการให้เป็นที่เตียนก็จะไถให้โดยเก็บเงินค่าไถที่ดิน เมื่อเงินค่าทดแทนออก โดยขอแบ่ง เป็น 4 ส่วน ส่วนที่ 1 ให้รถไถ ส่วนที่ 2 ให้เจ้าหน้าที่ให้กำนันผู้ใหญ่บ้านที่เป็นนายหน้า ส่วนที่ 3 ให้เจ้าหน้าที่ชลประทานเหลือ เท่าใดจึงเป็นส่วนที่ 4 จึงจะเป็นของเจ้าของที่ดิน ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2538 มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินทำกิน ประมาณ 20 รายชาวบ้านถูกหัก เงินออกไป โดยเจ้าหน้าที่ใช้วิธีการข่มขู่แกมบังคับ คุมตัวลงจากธนาคารกรุงไทย จ.ชัยภูมิ มาข้างธนาคารแล้วบังคับเอาส่วนแบ่ง โดยมี มือปืนคุมอยู่ 2 คน มีเจ้าหน้าที่ชลประทานเป็นผู้รวบรวมเงินส่วนแบ่งเข้าใส่ไว้ในรถ ด้วยตัวเอง

                ขั้นที่ 5 เพื่ออำพรางตัวการที่แท้จริง การซี้อขายที่ดินตามขั้นตอนที่ 2 นั้นส่วนใหญ่ จะใช้ชื่อเจ้าของเดิมเป็นผู้รับเงิน ทดแทน (ทำให้อำพรางชื่อนายทุนไว้ได้) และตัวนายทุนผู้ซื้อจะปลอมลายมือชื่อตัวเจ้าของเดิมเพื่อเบิกเงินจากกรมชลฯและเบิก เช็คจากธนาคาร กรุงไทย สาขา อำเภอเมืองชัยภูมิ

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง