แถลงการณ์เครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวิน (Salween Watch)
กรณีระเบิดค่ายคนงานกฟผ.ที่จุดสร้างเขื่อนฮัตจีในพม่า

fas fa-pencil-alt
พียรพร ดีเทศน์
fas fa-calendar
5 กันยายน 2550

 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ระเบิดค่ายพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๐ เป็นเหตุให้พนักงานกฟผ.เสียชีวิต ๑ คน เครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวินขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และมีข้อห่วงใยและข้อเสนอดังนี้

๑ เราขอยืนยันว่าเครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวินไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เหตุการณ์น่าเศร้าครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานของกฟผ.ที่ผ่านมาขาดความโปร่งใส ไม่มีการเปิดเผยข้อมูล และเพิกเฉยต่อเสียงเตือนของกลุ่มประชาสังคมในพื้นที่และนานาชาติที่เคยระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่าขาดเสถียรภาพ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำไปสู่การสู้รบระหว่างกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์กับกองทัพพม่าเป็นเวลากว่า ๕ ทศวรรษ และการสู้รบดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน

๒ การลงทุนโครงการเขื่อนที่ผ่านมาไม่เคยคำนึงถึงความเสี่ยงและต้นทุนในพื้นที่ซึ่งมีการสู้รบและละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อพิจารณาต้นทุนและความเสี่ยงเหล่านั้น จะพบว่าต้นทุนของเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในพม่าทั้ง ๕ โครงการสูงเกินกว่าจะคุ้มทุน โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงต้นทุนมนุษย์ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ ทั้งชีวิตของพนักงานกฟผ. ๒ คนที่เสียไปขณะสำรวจ และชีวิตของประชาชนในพื้นที่ซึ่งต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ ถูกละเมิดสิทธิ และต้องอพยพเข้ามายังประเทศไทย ทำให้เกิดภาระด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ต่อประเทศไทย   

๓ โครงการเขื่อนในประเทศพม่าสร้างความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย เนื่องจากโรงไฟฟ้าตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีความอ่อนไหวทางการเมือง มีความขัดแย้งระหว่างกองกำลังหลายฝ่าย และมีโอกาสถูกโจมตีจากกองกำลังทุกฝ่ายอยู่ตลอดเวลา หากประเทศไทยพึ่งพาพลังงานจากโครงการเหล่านี้ จะนำมาซึ่งความเสี่ยงทางด้านพลังงานซึ่งไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

๔ เหตุการณ์ครั้งนี้จะนำไปสู่ข้ออ้างในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ซึ่งหมายถึงการเพิ่มกำลังทหารของรัฐบาลพม่า ดังเช่นการเพิ่มขึ้นของทหารพม่าในรัฐกะเหรี่ยงอย่างน้อย ๕๐ กองพัน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผู้พลัดถิ่นภายในทางชายแดนตะวันออกของพม่าที่มีกว่า ๕ แสนคน   

๕ เหตุการณ์ครั้งนี้ควรเป็นอุทาหรณ์แก่กฟผ. ให้ดำเนินงานด้วยความโปร่งใสมากขึ้น และรับฟังเสียงสะท้อนจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของโครงการอย่างรอบด้าน ครอบคลุมต้นทุนและความเสี่ยงทุกด้าน

 

เครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวิน ขอเรียกร้องให้กฟผ.ยกเลิกโครงการพลังงานทั้งหมดในประเทศพม่า จนกว่าสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่าจะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูล และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ  

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

เพียรพร ดีเทศน์

September 5, 2007

Statement of Salween Watch regarding the attack on
the EGAT workers’ camp of the Hat Gyi dam site

Following the September 2 blast at the workers’ camp at Hat Gyi in Karen State, resulting in the death of another EGAT worker, Salween Watch would like to express our regret at this tragic event, and raise our concerns as follows:

1.     We, the Salween Watch coalition, do not support the use of violence to solve problems. This tragic event has happened because EGAT’s operations until now have been shrouded in secrecy. They have totally disregarded voices from civil society warning about the lack of security and extensive human rights abuses in the Salween River basin, where civil war between ethnic forces and the Burma Army has been continuing for over five decades.

2.    EGAT’s investment in dam projects has never taken into account the real costs and risks of operating in areas where fighting and human rights abuses are taking place. The price of the Salween projects now includes the lives of two EGAT workers, in addition to uncountable casualties among local people. Hundreds of thousands of people have been displaced, many to Thailand, resulting in considerable health, social and economic burdens. If these costs were genuinely counted, the five hydropower projects on the Salween River in Burma would be found to be unacceptably high and unjustifiable.  

3.    These dam projects in Burma will pose a risk for Thailand’s energy security, since the power plants will be located in exceptionally volatile areas, where numerous armed forces are in conflict. There is a constant risk of attack from various forces at any time.

4.    To increase security for the construction of the dams, this incident is now being used to justify the increased deployment of Burmese troops in the area, directly contributing to the conflict. In the past decade there has already been an increase of 50 Burma Army battalions in Karen State alone, contributing to the displacement of over 500,000 people in Eastern Burma. Increased deployment will make the vulnerability of the internally displaced even more extreme.

This incident should serve as a lesson for EGAT. They must take responsibility for their failure to transparently and comprehensively consider the risks of operating in a war zone.

Salween Watch calls on EGAT to abandon all energy projects in Burma until genuine democracy is restored, conflicts are resolved and basic rights are respected, including the right to informed participation in decision-making processes.

 

Contact: Khun Pianporn Deetes

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง