แถลงการณ์
ขอบคุณสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลี
เปิดเผยข้อมูลนำทางตรวจสอบต่อภาคเอกชนในโครงการจัดการน้ำในประเทศไทย

fas fa-pencil-alt
fas fa-calendar
28 มิถุนายน 2556

แถลงการณ์
ขอบคุณสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลี
เปิดเผยข้อมูลนำทางตรวจสอบต่อภาคเอกชนในโครงการจัดการน้ำในประเทศไทย

28 มิถุนายน 2556

พวกเราในนามเครือข่ายภาคประชาชนลุ่มน้ำต่างๆ ในประเทศไทย  ซึ่งกำลังประสบปัญหาและได้รับความเดือดร้อนจากโครงการบริหารจัดการน้ำและบรรเทาอุทกภัยของรัฐบาลไทย  ในงบประมาณเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ขอขอบคุณในความกล้าหาญของสหพันธ์สิ่งแวดล้อมเกาหลี (KFEM) ที่จัดส่งผู้แทนเดินทางมายังประเทศไทย เพื่อดูพื้นที่โครงการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาและผลกระทบทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอธิบายข้อมูลของบริษัทเควอเตอร์  ในประเทศเกาหลีใต้ให้ประชาชนไทยได้รับทราบ

บทเรียนจากโครงการพัฒนา 4 แม่น้ำสายหลัก (4 Major Rivers Project) และคลองกังยิน (Gyungin Cannel) ที่ทำให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมหาศาล อีกทั้งโครงการยังไม่ได้ให้ประโยชน์ตามที่อ้างไว้ ทำให้สังคมไทยได้รับข้อมูลอีกด้านหนึ่งของโครงการในนามการพัฒนา

นับตั้งแต่รัฐบาลไทย ประกาศนโยบายบริหารจัดการน้ำ และกับเดินหน้าในแผนงานต่างๆโดยไม่เปิดโอกาสให้ชุสชนท้องถิ่นที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือภาคประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมเลย ทำให้พวกเรารู้สึกกังวลใจต่อโครงการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยเขื่อนหลายสิบแห่ง พื้นที่แก้มลิงนับล้านไร่ และฟลัดเวย์ระบายน้ำพาดผ่านพื้นที่ 7 จังหวัด  เป็นระยะทางเกือบ 300 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ มีพื้นที่โครงการครอบคลุมหลายสิบจังหวัด โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคกลาง และตะวันตก  การดำเนินการที่ผ่านมา รัฐบาลมีการรวบรัดขั้นตอนการจัดทำโครงการ ที่สำคัญคือแทบไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนให้ประชาชนได้รับทราบเลย

บริษัทเค วอเตอร์ ซึ่งชนะการประมูลใน 2 แผนงาน มีวงเงินประมาณ 1.63 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นสัดส่วนมากที่สุดของบรรดาผู้ชนะการประมูลทั้งหมด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่สังคมไทยต้องทำความรู้จักบริษัทแห่งนี้ ซึ่งการนำเสนอข้อมูลของผู้แทน KFEM ในครั้งนี้ ทำให้สื่อมวลชนไทยได้นำเสนอข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง ที่ไม่เคยปรากฎให้สังคมไทยทราบมาก่อน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการตรวจสอบและสร้างความโปร่งใส ต่อโครงการฯ และเป็นช่องทางในการสร้างบรรยากาศของประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวาน (27 มิถุนายน 2556) การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งชะลอโครงการจนกว่าจะมีเสร็จสิ้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพก่อน ถือว่าเป็นข่าวดีที่ทำให้พวกเรามีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่าจะทำให้ การดำเนินโครงการบริหารจัดการน้ำนี้ มีความโปร่งใส รับผิดชอบ มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สูงขึ้น ยึดตามหลักการของรัฐธรรมนูญของประเทศไทย และสร้างกระบวนประชาธิปไตยมากให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

เพราะระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมไม่มีพรมแดน

ขอคารวะ

  • มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ (ประเทศไทย)

  • เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ

  • เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา

  • สถาบันอ้อผหญา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

  • สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

  • เครือข่ายอนุรักษ์คลองชมพู จ.พิษณุโลก

  • กลุ่มราษฎรรักษ์ป่า ต.สะเอียบ จ.แพร่

  • กลุ่มตะกอนยม จ.แพร่

  • เครือข่ายลุ่มน้ำขาน จ.เชียงใหม่

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง