แถลงการณ์
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
เรื่อง คัดค้านการรับฟังความคิดเห็นโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านที่ขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครอง
ตามที่รัฐบาล โดยคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดทำแผนปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน ตามโครงการเพื่ออกแบบและก่อสร้างระบบการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและ ระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยมีเป้าหมายไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนรวม 36 จังหวัดที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการฯ ตั้งแต่เดือน 2 ต.ค.-19 พ.ย.56 นี้นั้น
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนขอ คัดค้านแผนปฏิบัติการดังกล่าว อันเนื่องมาจากเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.56 โดยชัดแจ้ง ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาว่า “ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่มาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง ของ รธน. กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ด้วยการนำ “แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” ไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน และดำเนิน การอย่างหนึ่งอย่างใดให้มีการศึกษาและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน ซึ่งอยู่ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยของ รธน. ทั้งนี้ ก่อนที่จะดำเนินการจ้างออกแบบและก่อสร้างในแต่ละแผนงาน (Module)”
โดยเจตนารมณ์ของคำพิพากษาดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลต้องนำ“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” ไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อหาข้อสรุปสุดท้าย แล้วนำข้อสรุปไปกำหนดเป็นโมดูลต่าง ๆ แล้วจึงค่อยนำไปศึกษาหรือจัดทำรายงาน EHIA ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป มิใช่การนำเอา 10 โมดูลที่รัฐบาลตัดสินใจเปิดประมูลให้กลุ่มบริษัทร่วมค้าที่ประมูลโครงการฯ ได้แล้วไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ก็จะเป็นเพียงแค่ เวทีปาหี่ แอบอ้าง หลอกลวงประชาชน หรือเป็นเพียงแค่เวทีโฆษณาชวนเชื่อหรือประชาสัมพันธ์โครงการฯหรือโมดูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเท่านั้น ไม่ก่อเกิดสิทธิหรือนิติสัมพันธ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดตามคำพิพากษาของศาลปกครองแต่อย่างใด
นอกจากนั้นการกำหนดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพียงแค่ 36 จังหวัดตามแผนนั้น ยังไม่ครบคลุมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ที่มีมากกว่า 65 จังหวัดอีกด้วย จึงไม่สอดคล้องกับแผนแม่บทฯและคำพิพากษาที่กำหนดให้ต้องรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน “อย่างทั่วถึง”
อีกทั้งรูปแบบและเนื้อหาของการจัดเวทีในแต่ละจังหวัดเพียงเวทีเดียว ครั้งเดียว และมุ่งจัดแต่เฉพาะในตัวเมืองและตัวจังหวัด ไม่กระจายเวทีหรือตอบโจทย์เนื้อหารายละเอียดของแผนงานฯ ซึ่งขัดต่อความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ที่ทำมาหากินและมีบ้านเรือนในแต่ละพื้นที่ แต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล แต่ละอำเภอ ที่จะมีปัญหาและอุปสรรคในการเดินทางไกลมาร่วมประชุมในตัวจังหวัดอีกด้วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นกุศโลบายหรือเล่ห์ฉลของรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้ภาคประชาชน ที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงมาเข้าร่วมเวทีดังกล่าว ดังนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อเจตนารมณ์ของ รธน.มาตรา 57 วรรคสอง โดยชัดแจ้ง
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนขอเรียกร้องให้รัฐบาล โดย กบอ. ยุติการดำเนินงานการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองกลางโดยทันที และกลับไปทบทวนแผนงานฯดังกล่าวให้สอดคล้องกับคำพิพากษาต่อไป และหากรัฐบาล และ กบอ. ยังดื้อรั้นเดินหน้าจัดเวทีดังกล่าวต่อไป สมาคมฯจำต้องใช้กระบวนการทางศาลเพื่อหาข้อยุติดังกล่าวต่อไป
ตามที่รัฐบาล โดยคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดทำแผนปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน ตามโครงการเพื่ออกแบบและก่อสร้างระบบการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและ ระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยมีเป้าหมายไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนรวม 36 จังหวัดที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการฯ ตั้งแต่เดือน 2 ต.ค.-19 พ.ย.56 นี้นั้น
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนขอ คัดค้านแผนปฏิบัติการดังกล่าว อันเนื่องมาจากเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.56 โดยชัดแจ้ง ทั้งนี้ ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาว่า “ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่มาตรา 57 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง ของ รธน. กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ด้วยการนำ “แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” ไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 10 สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน และดำเนิน การอย่างหนึ่งอย่างใดให้มีการศึกษาและจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ตามเจตนารมณ์ของส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน ซึ่งอยู่ในหมวด 3 สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยของ รธน. ทั้งนี้ ก่อนที่จะดำเนินการจ้างออกแบบและก่อสร้างในแต่ละแผนงาน (Module)”
โดยเจตนารมณ์ของคำพิพากษาดังกล่าวกำหนดให้รัฐบาลต้องนำ“แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” ไปดำเนินการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อหาข้อสรุปสุดท้าย แล้วนำข้อสรุปไปกำหนดเป็นโมดูลต่าง ๆ แล้วจึงค่อยนำไปศึกษาหรือจัดทำรายงาน EHIA ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป มิใช่การนำเอา 10 โมดูลที่รัฐบาลตัดสินใจเปิดประมูลให้กลุ่มบริษัทร่วมค้าที่ประมูลโครงการฯ ได้แล้วไปเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ก็จะเป็นเพียงแค่ เวทีปาหี่ แอบอ้าง หลอกลวงประชาชน หรือเป็นเพียงแค่เวทีโฆษณาชวนเชื่อหรือประชาสัมพันธ์โครงการฯหรือโมดูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเท่านั้น ไม่ก่อเกิดสิทธิหรือนิติสัมพันธ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดตามคำพิพากษาของศาลปกครองแต่อย่างใด
นอกจากนั้นการกำหนดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนเพียงแค่ 36 จังหวัดตามแผนนั้น ยังไม่ครบคลุมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ที่มีมากกว่า 65 จังหวัดอีกด้วย จึงไม่สอดคล้องกับแผนแม่บทฯและคำพิพากษาที่กำหนดให้ต้องรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน “อย่างทั่วถึง”
อีกทั้งรูปแบบและเนื้อหาของการจัดเวทีในแต่ละจังหวัดเพียงเวทีเดียว ครั้งเดียว และมุ่งจัดแต่เฉพาะในตัวเมืองและตัวจังหวัด ไม่กระจายเวทีหรือตอบโจทย์เนื้อหารายละเอียดของแผนงานฯ ซึ่งขัดต่อความต้องการของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ที่ทำมาหากินและมีบ้านเรือนในแต่ละพื้นที่ แต่ละหมู่บ้าน แต่ละตำบล แต่ละอำเภอ ที่จะมีปัญหาและอุปสรรคในการเดินทางไกลมาร่วมประชุมในตัวจังหวัดอีกด้วย ซึ่งเชื่อว่าเป็นกุศโลบายหรือเล่ห์ฉลของรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้ภาคประชาชน ที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงมาเข้าร่วมเวทีดังกล่าว ดังนั้น พฤติการณ์ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อเจตนารมณ์ของ รธน.มาตรา 57 วรรคสอง โดยชัดแจ้ง
สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนขอเรียกร้องให้รัฐบาล โดย กบอ. ยุติการดำเนินงานการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และขัดต่อคำพิพากษาของศาลปกครองกลางโดยทันที และกลับไปทบทวนแผนงานฯดังกล่าวให้สอดคล้องกับคำพิพากษาต่อไป และหากรัฐบาล และ กบอ. ยังดื้อรั้นเดินหน้าจัดเวทีดังกล่าวต่อไป สมาคมฯจำต้องใช้กระบวนการทางศาลเพื่อหาข้อยุติดังกล่าวต่อไป