แถลงการณ์ ถึงผู้นำประเทศเอเชีย-ยุโรป ในวาระการประชุมอาเซมซัมมิท แม่น้ำโขงกำลังเกิดวิกฤติข้ามพรมแดน หยุดเขื่อนไซยะบุร
ในวาระการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป หรือ อาเซม ในวันนี้ ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พวกเรา เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง และ เครือข่ายสภาองค์กร ชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) ขอเรียกร้องให้ผู้ นำประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุม ได้รับรู้ว่าแม่น้ำโขง กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ เนื่องจากโครงการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงทางตอนล่างที่กำลังคืบ หน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโครงการเขื่อนไซยะบุรี ตั้งอยู่ในสปป.ลาว ซึ่งเป็นการลงทุนโดยบริษัทเอกชนไทย สัญญาซื้อขายไฟฟ้าลงนามโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเดินหน้าการก่อสร้างอย่างรวดเร็ว ทั้งที่มีการคัดค้านจากรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนาม ตลอดจนประชาชนในภูมิภาค
เขื่อน ไซยะบุรี เป็น 1 ใน 12 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่จะกั้นแม่น้ำโขงทางตอนล่าง ชาวบ้านที่อาศัยริมแม่น้ำโขงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าจะสร้างผลกระทบ อย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง พันธุ์ปลา การประมง การเกษตร การคมนาคม และปากท้อง วิถีชีวิตของประชาชนกว่า 60 ล้านคนในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
สำหรับ ประเทศทั้งในเอเชีย และยุโรป ที่เป็นผู้บริจาคแก่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) หลายปีที่ผ่านมา เราพบว่ากลไกของ MRC ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สามารถไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ แม้จะมีข้อตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ. 2538 แต่ข้อตกลงนี้ก็แทบไม่มีความหมาย เพราะการตัดสินใจไม่ได้อยู่บนฐานของ ข้อเท็จจริง ความรู้ และการมีส่วนร่วม แต่กลับเป็นเรื่องของผลประโยชน์เฉพาะหน้า
แม้ ที่ผ่านมาจะมีความพยายามนำเสนอผ่านสื่อมวลชนของทางการลาวว่า เขื่อนแห่งนี้เป็นเขื่อน “โปร่งใส” ไม่มีการกักเก็บน้ำ ไม่กักเก็บตะกอน และไม่มีผลกระทบต่อพันธุ์ปลา แต่กลับไม่มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการแก่สาธารณะและผู้ได้รับผล กระทบ และไม่มีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้านที่เพียงพอที่จะใช้ประเมินความเสียหาย โดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดนต่อชุมชนท้ายน้ำ-เหนือน้ำ ในประเทศเพื่อนบ้าน นับตั้งแต่ประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงกัมพูชา และเวียดนาม
จวบจนขณะนี้ ชาวบ้านริมน้ำโขงซึ่งจะต้องเป็นผู้เดือดร้อน ยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากเขื่อน
ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครมา ถามเราว่า ชุมชมริมแม่น้ำโขงพึ่งพาแม่น้ำโขงมากเพียงใด ใครกันที่จะรับรองได้ว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อชุมชน ?
ใน วาระที่ท่านผู้นำจะพูดคุยกันเรื่อง พลังงาน ในการประชุมครั้งนี้ เรา ขอเรียนว่า แม่น้ำโขง เป็นเส้นเลือด เป็นชีวิต เป็นจิตวิญญาณและวัฒนธรรม ของประชาชนอย่างน้อย 60 ล้านคน แม่น้ำโขงมีค่ามากเกินกว่าจะเป็นเพียงแหล่งผลิตพลังงาน หรือเพื่อสร้างความร่ำรวยแก่บุคคลกลุ่มเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียว ประชาชนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงแห่งนี้ต้องการการวางแผน พลังงานที่รอบด้าน ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมตลอดสายน้ำ
หยุดโครงการ เขื่อนไซยะบุรี ศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน และมีส่วนร่วมของประชาชน
เพื่อแม่น้ำ โขงที่ไหลอย่างอิสระ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
The Network of Thai People in Eight Mekong Provinces
The Network of Community Organization Council in Seven Northeastern Provinces
Statement to Leaders of Asia and Europe on the Occasion of the 9th ASEM Summit
An Emerging Cross-border Crisis in Mekong: Stop Xayaburi Dam
5 November 2012
On the occasion of the Asia–Europe Meeting (ASEM) to be held in Vientiane, Lao People's Democratic Republic (Lao PDR), we, the Network of Thai People in Eight Mekong Provinces and the Network of Community Organization Council in Seven Northeastern Provinces, Thailand, demand all the heads of states attending the meeting be aware that the Mekong River has reached a crisis point due to a plan to construct hydropower dams in its lower reach, which are rapidly advancing. We are bringing your attention in particular to the Xayaburi Dam Project in Lao PDR made possible by investments from private companies in Thailand and the Power Purchase Agreement, which was signed by the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT). This dam is moving forward despite oppositions raised by the governments of Cambodia and Vietnam, and most importantly, the people of the Mekong region.
One of the 12 hydropower projects slated to be built in the lower reaches of the Mekong, the Xayaburi Dam will cause grave concerns among villagers living by the river given its enormous impacts on the Mekong ecological system, fish species, fishery, agriculture, transportation, livelihoods and the way of life of more than 60 million people in the basin.
Several Asian and European governments have been donors to the Mekong River Commission (MRC) in the past few years, but the mechanism has proved ineffective and unable to resolve the conflict that has reached. The 1995 Mekong Agreement means almost nothing in spite of its existence. Decisions so far have not been made based on evidence, knowledge, and consultation, but rather on immediate vested interests.
Though an effort of a Laos media campaign, the government has falsely claimed the dam to be sustainable, but this is an unproven claim, ascomprehensive impact assessment has been conducted to gauge the damages, particularly the transboundary impacts on upstream and downstream communities in Thailand and throughout the riparian region.
We, Thai villagers who will suffer the impacts from this project, have no idea who is to be held liable for the looming damages.
Since energy is part of the agenda during this important meeting, we would like to inform you that the Mekong is the bloodline, the life, the spirit and the culture of at least over sixty million people. It is our food and our livelihood and is worth more than being regarded as a source of energy and wealth for a small group of people. And after all, the Mekong region needs more comprehensive, sustainable, environmentally friendly and participatory energy planning.
So far, no one has asked us how much the Mekong River means to us and our livelihoods. Then, how can anyone legitimately claim that there will be no impacts inflicted on the Mekong people?
Stop the Xayaburi Dam, start a comprehensive and participatory impact study.
Let the Mekong run free!