ทางการลาวอ้างเคลียร์เอ็ม อาร์ซีแล้ว ช.การช่างเร่งกฟผ.ลงนามซื้อไฟเขื่อนไซยะบุรี
อดีตสว.จวกลักไก่แหกมติข้อ ตกลงแม่น้ำโขง
วันที่ 23 มิถุนายน 2554 องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) เปิดเผยเอกสารของทางการลาวและบริษัทลูก ของบริษัท ช.การช่าง รับรองเขื่อนไซยะบุรีผ่านข้อตกลงแม่น้ำโขงแล้ว เปิดทางเร่งลงนามซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ.
เอกสารฉบับแรกซึ่งเป็นจดหมายจากรัฐบาลสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ถึงบริษัทไซยะบุรีพาวเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2554 ระบุว่าทางการลาวได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาข้อมูล และรับรองว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรีผ่านกระบวนการตามข้อตกลงแม่น้ำโขง ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) แล้วหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเมื่อวันที่ 19 เมษายน
เอกสารอีกฉบับเป็นจดหมายจากบริษัทไซยะบุรีพาวเวอร์ ถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงวันที่ 9 มิถุนายน ลงนามโดยนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ช. การช่าง ระบุว่าทางการลาวรับรองโครงการแล้ว และเร่งให้ดำเนินการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. ซึ่งคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติได้เห็นชอบในร่างสัญญาแล้ว
องค์กรแม่น้ำนานาชาติระบุว่าการตัดสินใจของลาวเพื่อ เดินหน้าโครงการเขื่อนไซยะบุรีจะสร้างผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของ ประเทศที่ใช้แม่น้ำโขงร่วมกัน และข้อตกลงเอ็มอาร์ชีระบุชัดเจนว่าทุกประเทศต้องเห็นชอบร่วมกัน มิใช่ประเทศใดประเทศหนึ่งตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียว
นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒสภา กล่าวว่าการรับรองกระบวนการแจ้งและปรึกษาหารือของโครงการเขื่อนไซยะบุรี เป็นหน้าที่ของเอ็มอาร์ซี ไม่ใช่บริษัทที่ปรึกษาต่างชาติที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง
“การประชุมเอ็มอาร์ซีเมื่อเดือนเมษายนระบุชัดเจนว่า ยังไม่สามารถข้อตกลงร่วมกันได้ว่าจะทำอย่างไรต่อกับเขื่อนไซยะ บุรี ทั้งไทย กัมพูชา และเวียดนาม ต่างทักท้วงในประเด็นผลกระทบข้ามพรมแดนเนื่องจากเขื่อนจะสร้าง กั้นแม่น้ำโขง และจะยกเรื่องนี้ไปประชุมกันอีกครั้งในระดับรัฐมนตรี”
นายประสารกล่าวว่าลาวไม่มีสิทธิที่จะประกาศว่าเขื่อนไซ ยะบุรีผ่านเงื่อนไขข้อตกลงแม่น้ำโขงแล้ว เนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนใดๆ บนแม่น้ำโขงต้องตกลงกันให้ได้ทั้ง 4 ประเทศก่อนดำเนินการ ซึ่งกัมพูชาเห็นว่าข้อมูลโครงการยังไม่เพียงพอดังนั้นกระบวนการ ปรึกษาหารือล่วงหน้าควรยืดออกไปอีก ส่วนเวียดนามเองก็ยืนยันชัดเจนว่าต้องศึกษาผลกระทบเพิ่มเติมอีก อย่างน้อย 10 ปี จึงจะมีข้อมูลเพียงพอว่าเขื่อนบนแม่น้ำโขงควรก่อสร้างหรือไม่
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ กล่าวว่าบริษัทเร่งตัดตอนกระบวนการเพื่อรีบลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้แก่ ประเทศไทย เนื่องจากที่ผ่านมาเขื่อนไซยะบุรีถูกคัดค้านอย่างกว้างขวางและ ธนาคารไทยบางแห่งเริ่มลังเลที่จะให้เงินกู้
“การที่ลาวออกมาประกาศแบบนี้ เท่ากับว่าบทบาทของเอ็มอาร์ซีถูกลบออกไปโดยสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่เอ็มอาร์ซีคือองค์กรระดับภูมิภาคที่มีหน้าที่จัดการแม่น้ำ โขงอย่างยั่งยืน ตอนนี้กลายเป็นว่าช.การช่างรีบรัดต่อสายตรงกับรัฐบาลลาวและกฟผ. โดยไม่สนใจกฎระเบียบของทั้ง 4 ประเทศที่ตกลงกันไว้”
องค์กรแม่น้ำนานาชาติยังเปิดเผยรูปภาพการก่อสร้างถนนไป ยังหัวงานเขื่อนไซยะบุรี และระบุว่าการก่อสร้างเตรียมการในพื้นที่ยังดำเนินการอยู่ตลอด และล่าสุดได้เตรียมอพยพชาวบ้านหมู่บ้านห้วยซุย 70 ครัวเรือน ออกจากพื้นที่หัวงานเขื่อนในเร็วๆ นี้