“เวียดนาม” วิตก 11 เขื่อนกั้น “น้ำโขง” ทำลาย ศก.-ความมั่นคงทางอาหาร

fas fa-pencil-alt
ประชาไท
fas fa-calendar
16 สิงหาคม 2555

โฮจิมินห์ ซิตี้ – ผู้เชี่ยวชาญจากเวียดนามย้ำ การสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงตอนบนจะส่งผลกระทบต่อประชากว่า 60 ล้านคนทั่วทั้งลุ่มน้ำ และนำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบทางนิเวศวิทยาอื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อการเกษตรการเพาะเลี้ยงและวิถีชีวิตของผู้คนในหกประเทศรวมทั้งเวียดนาม

 

โดยเฉพาะในประเทศเวียดนามภาคเกษตรกรรมที่ปากแม่น้ำโขงตอนล่าง นับเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะผลผลติข้าวและอาหารทะเลอาจจะได้รับเสียหายอย่างหนัก

 

ดร.ดาว โตรง ตู (Dao Trong Tu) อดีตสมาชิกของเวียดนามในคณะกรรมการแม่น้ำโขง กล่าวว่า แม่น้ำไหลผ่าน 6 ประเทศ เขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนบน จะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อพื้นที่ลุ่มน้ำโขงทั้งหมด

 

“ประชาชนกว่า 60 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบ จากกรณีที่มีการเสนอให้สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ 11 แห่งในแม่น้ำโขง” เขื่อนจะทำลายระบบนิเวศของลุ่มน้ำและทำลายความมั่นคงทางอาหารของประชาชนในพื้นที่ตอนล่างแม่น้ำโขง ดร.ตู จึงเสนอว่าให้ “เลื่อนการก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงออกไปเป็นระยะเวลาสิบปี เพื่อให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นรวมถึงความเสี่ยงจะเกิดขึ้นอีกด้วย

 

ดร.เล อาน ตวน (Le Anh Tua) จากมหาวิทยาลัยเกินเทอ (Can Tho) คาดการณ์ว่า เขื่อนจะประชาชนกว่า 100,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัยและถูกอพยพโยกย้าย รวมไปถึงกระแสของแม่น้ำจะเปลี่ยนทิศทางและความอุดมสมบูรณ์จากตะกอนแม่น้ำจะสูญหายกว่าล้านตัน การพังทลายของตลิ่งแม่น้ำก็จะเพิ่มขึ้นเพราะการปิดกั้นการไหลของแม่น้ำ ทรัพยากรประมงก็คงจะสูญหายไปเช่นกัน

 

เหวียน ธิ คาน (Nguy Thi Khanh) จากเครือข่ายแม่น้ำเวียดนามกล่าวว่า ปลากว่า 1,300 ชนิดจะสูญหายไปและการสูญเสียนี้ไม่สามารถชดเชยคืนได้

 

ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่า ระดับน้ำการขึ้นลงของแม่น้ำได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและส่งผลลกระทบต่อจีนแผ่นดินใหญ่ ไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม ทำให้เกิดได้รับความเดือดร้อนทั้งหมดภัยแล้งในปีที่ผ่านมา

 

แดเนียล คิง ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายนานาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กร Earthrights International กล่าวว่า มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งระดับภูมิภาคและการปรับปรุงการดำเนินการตามกรอบกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงแห่งนี้ร่วมกัน

 

นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ควรจะมีการนำเสนอข้อบกพร่องหรือความจำเป็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อเขื่อนทั้ง 11 แห่งในแม่น้ำโขง ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนใดๆ บนแม่น้ำโขงสายหลัก

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง