'อาทิตย์' สั่งแขวนประตูน้ำราษีไศล

fas fa-pencil-alt
กรุงเทพธุรกิจ
fas fa-calendar
7 กรกฎาคม 2543

"อาทิตย์"สั่งแขวนประตูระบายน้ำเขื่อนราษีไศล จนกว่าจะตรวจสอบเอกสารสิทธิแล้วเสร็จ เพื่อแก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ซึ่งขณะนี้มีราษฎรที่ร้องเรียนจำนวนมากถึง 8 กลุ่มหรือประมาณ 17,000 ราย

นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รมว.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แถลงถึงการแก้ไขปัญหาเขื่อนราษีไศล ว่า ในการก่อ สร้างเขื่อนราษีไศลตั้งแต่เริ่มแรกนั้น ไม่ได้มีการสำรวจการครอบครองและการใช้ประโยชน์ในที่ดินก่อนการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ เมื่อมีการเริ่มกักเก็บน้ำจึงเปิดปัญหาการร้องเรียนในพื้นที่ติดต่อกันตลอดมา จนกระทั่งปัจ จุบันมีผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามาร้องเรียนจำนวนมากถึง 8 กลุ่ม มีราษฎรที่อ้างว่าได้รับผลกระทบจำนวนมากถึง 17,000 รายโดยพื้นที่บางส่วนของราษฎรทับซ้อนกัน จึงทำให้เกิดความสับสน ยุ่งยากในการพิสูจน์สิทธิ และส่งผลให้ความ ขัดแย้งระหว่างราษฎรกับราชการเพิ่มมากขึ้น

"เนื่องจากกระบวนการในการพิสูจน์สิทธิเกิดขึ้น ภายหลังจากที่เขื่อนมีการกักเก็บน้ำแล้ว การตรวจสอบจึงเป็นเรื่องที่ ยาก กระบวนการตรวจสอบก็ล่าช้า และส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างราชการกับราษฎร เกิดความไม่ไว้วางใจกัน และมีการ เดินทางมาชุมนุมกันบ่อยครั้ง จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความขัดแย้งดังกล่าว " นายอาทิตย์ กล่าว

นายอาทิตย์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา กระบวนการแก้ไขปัญหาได้เกิดขึ้นไปแล้วในบางส่วน คือ รัฐบาลได้มีมติอนุมัติจ่าย เงินค่าชดเชยจำนวน 57 ล้านบาท แก่ราษฎรผู้ที่ได้รับผลกระทบจำนวน 775 รายและได้จ่ายให้กับราษฎรไปแล้ว

แต่ปัญหาก็ยังไม่จบ เนื่องจากการตีความในเรื่องของพื้นที่ ที่ถือว่าทำประโยชน์จะต้องจ่ายค่าชดเชย คณะรัฐมนตรีจึงมี มติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ให้นิยามในเรื่องการครอบครองและทำประโยชน์ และพื้นที่ทำประโยชน์ ให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น

ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงเห็นว่าเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งหมด ในการตรวจสอบสิทธิในการครอบครองทำประโยชน์ จึงได้มีมติให้แขวนประตูระบายน้ำเพื่อให้พื้นที่กลับคืนสู่สภาพธรรมชาติ และในระหว่างนี้จะต้องเร่งกระบวนการพิ สูจน์สิทธิ โดยการลงพื้นที่วัดพื้นที่จริง เพราะเมื่อเปิดประตูระบายน้ำแล้วจะเห็นสภาพการทำประโยชน์ของชาวบ้านที่ ร้องเรียน สามารถที่จะลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบรังวัดได้ ซึ่งคาดว่าการเข้าไปตรวจสอบรังวัด เพื่อพิสูจน์สิทธิจะสามารถ แล้วเสร็จภายใน 2 ฤดูแล้ง โดยจะไม่ปิดประตูระบายน้ำจนกว่าจะมีการตรวจสอบเสร็จ

 


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง