eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

ลำดับสถานการณ์เขื่อนโป่งขุนเพชร

สมัชชาคนจน 

ปี 2532

                - เดือนตุลาคม 2532 มีการประกาศสร้างเขื่อน

ปี 2533

                - ช่วงต้นปี ปลัดอำเภอและกรมชลฯ ประชุมชาวบ้านชี้แจงด้วยการหลอกลวงและข่มขู่ว่าชาวบ้านที่ทำกินอยู่ในบริเวณ อ่าง เก็บน้ำไม่มีสิทธ์เรียกร้องใดๆทั้งสิ้น รํฐบาลจะจับกุมและไล่ออกเมื่อไรก็ได้ เพราะเป็นเขตป่าสงวน

                - ช่วงกลางปีนายปรีชา  บุรพกุศลศรี  นายณรงค์ พรมเอี้ยง และนายอำนวย ไม่ทราบนามสกุล เจ้าหน้าที่ชลประทาน ได้ประชุม ชาวบ้านให้เซ็นชื่อยินยอมสร้างเขื่อนโดยหลอกว่าเป็นการเซ็นชื่อเพื่อมาประชุมเท่านั้น

 ระหว่างปี 2533-2535

                - มีกลุ่มนายทุนจากอำเภอครบุรี จ.นครราชสีมา นำโดยอดีต ส.ส. นายเบิ้มกับพวกประมาณ 10 คน เข้ามากว้านซื้อ ที่ในบริเวณ ที่จะถูกน้ำท่วม ตรงที่กรมชลฯปักหลักเอาไว้ และรีบลงมือปลูกต้นไม้ เช่น มะขามเปรี้ยว น้อยหน่า ยูคาลิปตัส นายอำนวย เจ้าหน้าที่ที่มา ประจำหัวงานทราบดีและทำทีชวนนายรอด ปัญญา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.โคกสะอาด  ท้องที่เกิดเหตุ ออกตรวจพื้นที่จะจับกุมและขับไล่ นายทุนและคนงานไม่ให้มีการปลูกต้นไม้ อ้างว่าการปลูกต้นไม้ในอ่างหลังจากปักเขตชล ประทานแล้ว เป็นความผิดฐานฉ้อโกงรัฐบาล  กลุ่มนายทุนทำเป็นว่าเป็นกลัวกฏหมายแต่ให้คนงานลอบปลูกต้นไม้ในเวลากลาง คืนนี่คือละครฉากใหญ่ที่กำกับการแสดงโดยเจ้าหน้าที่ กรมชลประทาน เพราะต่อมาไม่มีการจับกุมดำเนินคดีกับนายทุนกลุ่มนี้  มิหนำซ้ำยังเบิกเงินค่าทดแทนต้นไม้ให้ไปอีกกว่า 20 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่รู้เห็นอยู่ว่าผิดกฏหมาย รวมทั้งนายรอด ปัญญา ผู้ใหญ่ บ้านซึ่งเป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินก็ยอมเซ็นชื่ออนุมัติให้ผ่าน การตรวจสอบ  มารับสารภาพในขณะนี้ว่าที่เซ็นชื่อรับรอง ไปทั้งๆ ที่รู้ว่าผิดกฏหมาย เพราะถูกเจ้านายบังคับ

ปี 2535

                -นอภ. เทพสถิตและ นอภ. หนองบัวระเหว หลอกลวงว่าชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนมีความผิดไม่มีสิทธิเรียกร้อง ใด ๆ ทั้งสิ้น

                -ชลประทานทำการตัดไม้ในที่ดินที่ชาวบ้านครอบครองอยู่ซึ่งอยู่บริเวณหน้าเขื่อน นายอำนวย (ไม่ทราบนามสกุล) นายปรีชา บุรพกุศลศรี จนท. ชลประทาน อ้างว่าขออนุญาตจากป่าไม้แล้ว นายเสียง พันธุ์กุ่ม ผช. ผญบ. บ้านบุ่งเวียนไปแจ้ง นายอำเภอเทพสถิต จึง สั่งให้ปลัดกับผช. ป่าไม้ อ.เทพสถิต นำกำลัง อส. ไปตรวจสอบ พบผู้กระทำผิดประมาณ 20 คน เครื่อง ตัดไม้ไฟฟ้า 7 เครื่อง ทางปลัด และผช. ป่าไม้ บอกว่าตัดอยู่ในเขตชลประทานไม่มีความผิดครั้นต่อมามีตำรวจเข้าทำการจับกุม ได้ตัวผู้ต้องหาเป็นเจ้าหน้าที่ด้วย แต่มีการ เปลี่ยนตัวผู้ต้องหา เหตุเกิดในที่ดินของนางตั้น อ. หนองบัวระเหว ก่อนที่ตำรวจจะเข้า จับกุมชาวบ้านเจ้าของที่ดินได้เข้าขัดขวางการ ตัดไม้ยิงคนตัดไม้ตาย 1 ศพ และตัวเองก็ถูกยิงบาดเจ็บแล้วหลบหนีไป คนงานที่ ตัดไม้ชาวบ้านสืบทราบว่าเป็นคนของชลประทานชุด เดียวกันกับที่ตัดไม้หน้าเขื่อนลำแชะ จ. นครราชสีมามาก่อน หลังจากนั้นก็ เลิกตัดไม้ นำไม้ของกลางมาเก็บไว้ที่หน้าเขื่อน และมีข่าวว่า จนท.ขโมยของกลางไปขายเป็นจำนวนมาก

                -นายอำนวยและนายปรีชา จนท. ชลประทานประกาศให้ชาวบ้านไปตัดไม้รวก ไม้บง ไม้ไผ่ ในเขตชลประทาน โดย ต้องจ่าย เงินให้ จนท. รายละ 1 แสนบาทเป็นอย่างน้อย มีนายหลง จาก อ. บ้านเขว้า และอีกหลายคนไม่ทราบชื่อยอมจ่ายเงิน ให้เจ้าหน้าที่ แล้วตัด ไม้ตั้งแต่บริเวณหน้าเขื่อนจนกระทั่งถึงบ้านใหม่ห้วยหินฝน อ. หนองบัวระเหว ระยะทางประมาณ 10 กม. ต่อมาเมื่อตำรวจเข้าจับกุมจึง ได้เลิกตัด

                -ชาวบ้านเริ่มคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนโดยเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริง

ปี 2536

                -ประมาณต้นปี หลังจากที่ชลประทานกับพวกร่วมกันตัดไม้เกือบหมดแล้วจึงได้ประกาศบอกชาวบ้านว่าเจ้าของที่ดินมี สิทธิ คิดค่าต้นไม้ แต่ไม่มีการชี้แจงรายละเอียดใด ๆ

                -ปลายปี  มีการประชุมเรื่องเขิ่อนที่ศาลากลาง จ.ชัยภูมิ โดยมีผู้ว่า ฯ กวี ศุภธีระ เป็นประธานโดยปกปิดและขัดขวาง ไม่ให้ตัว แทนที่ชาวบ้านแต่งตั้งเข้ารับฟัง แต่ชาวบ้านทราบล่วงหน้าจึงแต่งตั้ง นายจุ่น กลีบกลางดอน เป็นตัวแทนไปฟังการ ประชุม ทีแรกเจ้าหน้า ที่ขัดขวางไม่ยอมให้เข้าประชุมด้วย แต่ชาวบ้านไปกันหลายคนจึงผลักประตูเข้าไปได้ ในที่ประชุมนั้นมีผุ้ที่ อ้างว่าเป็นตัวแทนของชาว บ้านซึ่งความจริงชาวบ้านไม่เคยรับรู้มาก่อนเลย ทางเจ้าหน้าที่อุปโลกน์ขึ้นมาเองคล้ายกับเป็นหน้าม้า ของทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ นายจุ่นจึง ไม่ยอมและขอชี้แจงบ้างเพราะพวกที่อ้างว่าตัวเองเป็นตัวแทนชาวบ้านนั้นลงมติในที่ประชุมว่า ไม่เรียกร้องอะไร ยกที่กินให้ชลประทาน ฟรี ๆ นายจุ่นจึงชี้แจงว่าชาวบ้านเสียหายอย่างมาก  ยอมยกฟรี ๆ ไม่ได้ ผู้ว่าจึงถามว่า นายจุ่นต้องการไร่ละเท่าไร นายจุ่นตอบว่าได้ยินข่าว ว่าเขื่อนสำคันฉูได้ไร่ละ 8,000 บาท แล้วผู้ว่า ฯ ถามนายจุ่นว่าเท่านี้จะเอา ไหม นายจุ่นว่าตกลงยังไม่ได้ ต้องกลับไปถามชาวบ้านก่อน ผู้ว่า ฯ ถามนายหนูชาวบ้านที่ไปด้วยว่าที่บ้านบุ่งเวียนไร่ละเท่าไร นายหนูตอบว่า งานละ 10,000 บาทมาหลายปีแล้ว นายจุ่นร้องเรียนว่า ชลประทานทำงานไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน ผู้ว่า ฯ จึงสั่งให้ ชลประทานไปทำให้ถูกต้อง ถ้า ป.ป.ป. สอบสวนจะไม่รับผิดชอบด้วย

ปี 2537

                -เจ้าหน้าที่รวมทั้ง นายอำเภอท้องที่ไม่ยอมชี้แจง มติ ครม. ( วันที่ 11 กค. 2532 ) เกี่ยวกับการจ่ายค่าทดแทนแต่ อย่างใด นาย อำเภอหนองบัวระเหว เพิ่งมาชี้แจงโดยพิมพ์เป็นเอกสารแจก เมื่อเดือนกันยายน 2537 หลังจากที่ชาวบ้านได้ค้น พบด้วยตัวเองแล้วว่า มีมติครม. อยู่  

ระหว่างปี 2534 - 2538

                -เจ้าหน้าที่ชลประทานร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน เที่ยวออกชักชวนชาวบ้านให้ปลูกต้นไม้ในบริเวณหน้าเขื่อน เพื่อเบิกค่าทด แทน ถ้าใครไม่มีเงินค่าไถที่ทางเจ้าหน้าที่จะเอารถมาไถให้ เมื่อได้ค่าทดแทนแล้วแบ่งเงิน 3 ส่วน ให้เจ้าหน้าที่ 1 ส่วน ให้เจ้าจอง รถไถ 1 ส่วน ที่เหลือ 1 ส่วนให้เจ้าของที่ดินและขู่ว่าถ้าใครไม่ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ จะไม่ได้ค่าทดแทนใด ๆ ปรากฏว่ามีชาวบ้าน หลงเชื่อ 20 กว่าราย ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เอารถมาไถที่ให้และปลูกต้นมะขามเบิกค่าทดแทนไปแล้ว เมื่อปลายปี 2538 นี้เอง โดยชาวบ้านต้องแบ่งเงินเป็น 4 ส่วน ให้เจ้าหน้าที่ 3 ส่วน ตัวเองได้เพียง 1 ส่วน ( เจ้าหน้าที่ได้มากกว่าที่ตกลงไว้อีก )

                -ในการรังวัดตรวจสอบที่ดินและต้นไม้ มีการเรียกร้องสินบนจากชาวบ้าน ถ้าไม่มีเงินก็ขอเป็นทรัพย์สิน เช่น วัว ควาย เป็นต้น

                -เมื่อจ่ายค่าทดแทนแล้ว ก็ทำการไถทิ้งทำลายหลักฐาน ทางชาวบ้านร้องเรียนให้รัฐบาล และ ป.ป.ป. ลงพื้นที่ไปตรวจ สอบดู ก็ไม่เป็นผลไม่มีใครลงไปสืบสวนสอบสวน ค้นหาความจริง เจ้าหน้าที่ยังส่อพิรุธน่าจะมีส่วนรู้เห็น ได้เสียกับเจ้าหน้าที่ ชลประทานอีกด้วย

                -มีการปลอมลายเซ็นชื่อชาวบ้าน เพื่อเบิกค่าทดแทนต้นไม้ - สิ่งปลูกสร้างและที่ดิน รวมทั้งการปลอมลายเซ็นในเช็ค เพื่อขอรับ เงินจากธนาคารกรุงไทย สาขา อ. เมืองชัยภูมิ 

ปี 2538

                -ชาวบ้านได้เข้าร่วมกับสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน (สกย.อ.) เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหา  โดยรัฐ บาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนโป่งขุนเพชร  โดยมีนายอารมณ์  ขำคมกุล  ผู้ตรวจราชการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน  มีการประชุมเพียงครั้งเดียวก็ยกเลิกไปเพราะทางกรมชลประทานไม่ยอมรับข้อมูลที่ตนเองเคย ชี้แจงชาวบ้านว่าพื้นที่ผิวน้ำ มีขนาด 16.2 ตร.กม. แต่บอกว่าได้ลดขนาดลงมาเหลือ 14 ตร.กม. แล้วโดยไม่ยอมชี้แจงรายละ เอียดใด ๆ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะทำ EIA

                - 29 กันยายน 2538 กรมชลประทานได้ทำสัญญาว่าจ้าง หจก. สยามวัฒนาวิศกรรมก่อสร้าง ให้ดำเนินการก่อสร้าง เขื่อนโป่ง ขุนเพชรและอาคารประกอบ  โดยไม่ได้สนใจการคัดค้านของชาวบ้านเลย

 ปี 2539

                -ปลายเดือนมีนาคม - เมษายน ชาวบ้านได้เข้าร่วมกับสมัชชาคนจนเพื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิกการก่อสร้างเขื่อน โป่งขุนเพชร  ซึ่งรัฐบาลสมัยนายบรรหาร  ศิลปอาชา  ได้มีมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 39 ให้ชลอการดำเนินการใด ๆ ไว้ก่อน 

                - ประมาณเดือนพฤษภาคม  ได้มีผู้รับเหมาเข้าไปขนไม้ที่ได้ตัดทิ้งไว้ตั้งแต่ปี 2535 แต่ชาวบ้านไม่ยอมให้ขนออกไป โดยอ้าง มติ ครม. แต่ทางอำเภอหนองบัวระเหวยังยืนยันที่จะขนไม้ออกมาให้ได้  ชาวบ้านจึงได้สอบถามไปยัง ดร.วิษณุ  เครืองาม  เลขาธิการคณะ รัฐมนตรี  ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนมติ ครม. หรือไม่  ซึ่งทางเลขาธิการ ครม. ได้ตอบกลับ มาว่าการกระทำดังกล่าวถือเป็น การฝ่าฝืน มติ ครม. ทางอำเภอหนองบัวระเหวจึงได้หยุดดำเนินการ

                - มีการชุมนุมที่จังหวัดชัยภูมิ  เพื่อสนับสนุนให้มีการก่อสร้างเขื่อนโดยชาวบ้านส่วนใหญ่ที่มาชุมนุมมาจาก อ.หนอง บัวระเหว และ กิ่ง อ. ภักดีชุมพล  ซึ่งเป็นพวกที่อยู่เหนือเขื่อนและไม่ได้รับผลประโยชน์ใด ๆ จากการสร้างเขื่อนเลย  เพราะ กรมชลฯ ไม่ได้มีโครง การที่จะสร้างสถานีสูบน้ำขึ้นไปบนภูเขา  แต่เป็นการปล่อยน้ำไปตามลำน้ำชีเท่านั้น แต่มีคนไปปลุกระดม  ยุยงชาวบ้านว่าถ้าสร้างเขื่อน แล้วพวกเหนือเขื่อนจะได้ใช้น้ำด้วย

ปี 2540

                - ปลายเดือนมกราคม - เมษายน ชาวบ้านได้มาร่วมชุมนุมกับสมัชชาคนจนอีกครั้งเพื่อให้ยกเลิกโครงการ  และรัฐ บาลพลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ  ได้มีมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 ให้ยุติการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการไว้ก่อน จนกว่าจะมีข้อสรุปของ คณะกรรมการเพื่อดำเนินการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการตามกรอบที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2540 นั้น เพื่อให้เป็น ไป ตามหลักการบริหารจึงให้คณะกรรมการดังกล่าวดำเนินการตามอำนาจหน้าที่  โดยศึกษาและ พิจารณาความเหมาะสมของโครงการ ตามกระบวนการก่อน แล้วสรุปผลเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

                - 7 พฤษภาคม 2540 ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 155/2540 เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนิน การตามมติ คณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 4 เขื่อน  โดยมี นายนิคม  จัทรวิทูร  เป็นประธาน กรรมการ  

                - 3 มิถุนายน 2540 คณะกรรมการ ฯ ได้ประชุมครั้งแรกและได้มีมติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่รวบรวม และ พิจารณาข้อมูลและจัดทำกรอบแนวทางการดำเนินงานขั้นต้น โดยมี นายศุภวิทย์  เปี่ยมพงษ์สานต์ เป็นประธาน

                - หลังจากรัฐบาล พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ ลาออกและนายชวน  หลีกภัยได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนก็ได้มีมติ ครม. เมื่อ วันที่ 30 ธันวาคม 2540 รับรองผลการเจรจาและมติ ครม. ตามที่รัฐบาลเดิมได้ตกลงไว้กับสมัชชาคนจนให้ดำเนินการ ต่อไป

ปี 2541

                - 14 มกราคม 2541 ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 21/2541 เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนิน การตามมติ คณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 4 เขื่อน  โดยมี นายนิคม  จัทรวิทูร  เป็นประธาน กรรมการ   ให้ดำเนินการต่อไป

                - ช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน ได้มีการชุมนุมเพื่อสนับสนุนการสร้างเขื่อนถึง 3 ครั้งโดยผู้จัดการชุมนุมในครั้งนั้น ได้พูดปลุก ระดมบนเวทีว่าตนจะเป็นผู้นำม็อบเข้าไปบุกหมู่บ้านที่คัดค้านการสร้างเขื่อนเอง และได้เรียกร้องให้ รมช. กษ. ( นาย วิรัช  รัตนเศรษฐ์ ) ซึ่งดูแลกรมชลประทานไปพบพร้อมทั้งยื่นข้อเรียกร้องให้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร  ซึ่งนายวิรัช ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอ ครม. แต่ ครม. เสนอให้รอผลการดำเนินการของคณะกรรมการ ฯ ที่มี นายนิคม  จันทรวิทูร เป็น ประธานเสียก่อน

                - หลังจากการชุมนุมก็ได้มีการปล่อยข่าวกล่าวหาว่าชาวบ้านที่คัดค้านการสร้างเขื่อนเป็นคอมมิวนิสต์  ผลิตและค้ายา เสพติด  จนชาวบ้านถูกดูหมิ่นเกลียชังจากบุคคลทั่วไป

                - ฝ่ายสนับสนุนการสร้างเขื่อนได้ยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้พิจารณาสร้างเขื่อน โป่งขุน เพชร ซึ่งต่อมา กรรมาธิการสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ได้แต่งตั้ง อนุกรรมาธิการฯ โดยมี นายก่ำซุง  ประภากรแก้วรัตน์  เป็นประธาน  และอนุกรรมาธิการชุดนี้ได้พิจารณาและเสนอให้ จ.ชัยภูมิ แต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด เพื่อไปตรวจสอบข้อเท็จจริง เรื่อง 1.จำนวน ผู้ที่ยังไม่ได้รับค่าชดเชย 2. จำนวนผู้บุกรุกในเข้าไปอยู่ในพื้นที่ชลประทาน ซึ่งต่อมา จ.ชัยภูมิ ได้แต่งตั้งคณะทำงานโดยมี ปลัดจังหวัด เป็นหัวหน้าคณะทำงาน  ซึ่งน่าจะขัดกับมติ ครม. เพราะเป็นการดำเนินการที่ เกี่ยวข้องกับโครงการ

                - 12 - 14 ตุลาคม นายศุภวิทย์  เปี่ยมพงษ์สานต์ ประธานอนุกรรมการ ฯ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการบางส่วนได้ลง ไปเก็บข้อ มูลและพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ 

                - 15 และ 22 ตุลาคม  คณะอนุกรรมาธิการ ฯ ได้เชิญนายศุภวิทย์  เปี่ยมพงษ์สานต์ เข้าไปชี้แจง  ซึ่งนายศุภวิทย์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ได้ชี้แจงว่าจะให้นำเสนอ ครม. ให้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนตามที่คณะอนุกรรมาธิการ ฯ เสนอเลยคงไม่ได้ต้อง ทำการศึกษาความเหมาะ สมก่อน นอกจากนี้นายศุภวิทย์  ยังได้สอบถามเจ้าหน้าที่ชลประทานในเรื่องขนาดของโครงการเพราะ ตามที่ทางกรมชลประทานเคยชี้ แจงกับชาวบ้านนั้นเป็นโครงการขนาดใหญ่มีพื้นที่ผิวน้ำ 16.2 ตร.กม. และระดับความสูงอยู่ที่ 229 ม.รทก.แต่ทำไมเมื่อกรมชลประทาน ลดขนาดพื้นที่ผิวน้ำลงเหลือ 14 ตร.กม.แล้วแต่ทำไมความสูงจึงอยู่ที่ 229 ม.รทก. เท่าเดิม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ชลประทานเองก็ไม่ได้ตอบ ชัดเจนเพียงแต่บอกคร่าว ๆ ว่าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  โดยลักษณะของ Spillway จะเป็นฝายยางที่สามารถปรับลดระดับได้

                - 26 ตุลาคม  สถานีวิทยุ อสมท. จ.ชัยภูมิ ได้ออกอากาศในรายการ “ผู้ว่าพบประชาชน” โดยมีเนื้อหาให้ชาวบ้านที่คัดค้านเขื่อน เลิกคัดค้านแล้วยอมรับเงินค่าชดเชยในอัตราไร่ละ 8,000 บาท และพื้นที่ที่ชาวบ้านครอบครองอยู่นั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าสงวน ฯ ซึ่ง ซื้อขายกันแค่ไร่ละ 3,000 บาทเท่านั้น  ส่วนผู้ที่มีอาชีพเก็บหาของป่าก็ไม่ต้องกังวลจะจัดการขุดต้นไผ่  ต้นลาน  และสมุนไพรที่มีอยู่ออก มาปลูกไว้ให้ทั้งหมด  สำหรับพวกที่ถูกน้ำล้อมมีสภาพเป็นแหลมเข้าออกลำบากจะจัดหาจักรยานให้ครอบครัวละคัน

                - 27 - 28 ตุลาคม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้ลงข่าวโจมตีนายศุภวิทย์  เปี่ยมพงษ์สานต์ โดยอ้างคำสัมภาษณ์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ สจ. ในพื้นที่ว่า ไม่รู้เรื่องจริงและเป็นคนขัดขวางการสร้างเขื่อนที้งที่ไม่มีใครคัดค้านแล้ว

                - 30 ตุลาคม  เวลาประมาณ 11.00 น. นายก่ำซุง  ประภากรแก้วรัตน์  สส. จ.ชัยภูมิ  พรรคความหวังใหม่ ได้เข้าไปในพื้นที่ โดย มีขบวนรถไปถึง 7 คันและมีตำรวจไปด้วย 3 นาย ซึ่งเมื่อเข้าไปถึงบ้านห้วยทับนาย ม.8 ต.โคกสะอาด ก็พากันเดินกระจายไปรอบหมู่บ้าน ในลักษณะการตรวจค้น  แต่ไม่มีชาวบ้านพูดด้วยจึงได้เดินทางออกมาและไปที่บ้านห้วยหินฝน ม. 4 ต.โคกสะอาด ถึงเวลาประมาณ 13.00 น. ซึ่งได้เกิดมีปากเสียงกับชาวบ้านอีกหมู่บ้านหนึ่งซึ่งเดินทางมาฟังด้วยจนกระทั่งถึงขนาดท้าชก กัน

                - 9 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 13.00 น. ได้มีกลุ่มบุคคลประมาณ 300 คน ทั้งแต่งกายปกติและแต่งเครื่องแบบตำรวจ  อส. มี อาวุธครบมือ เดินทางไปโดยรถ 6 ล้อและรถ 4 ล้อประมาณ 32 คันเข้าไปที่หมู่บ้านห้วยทับนาย ม. 8 ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว เมื่อไปถึงหมู่บ้านก็นำรถไปล้อมหมู่บ้านไว้  หลังจากนั้นได้พังประตูและรั้วเข้าไปในหมู่บ้าน จากนั้นกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็ได้พากันเข้าไป ในหมู่บ้านและกระจายกันเดินไปรอบหมู่บ้าน  ซึ่งชาวบ้านรู้จักหลายคนที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการประจำเช่น  นายก่ำซุง  ประภากรแก้วรัตน์  สส.ชัยภูมิ  นายอนันต์  ลิปคุปตถาวร ประธานสภา อบจ. นายอำเภอและปลัดอำเภอหนองบัวระเหว  กำนัน ต.โคกสะ อาด  กำนัน ต.วังตะเฆ่  อ.หนองบัวระเหว ซึ่งคนเหล่านี้ได้พยายามสอบถามชาวบ้านว่าใครเป็นแกนนำบ้านอยู่ตรงไหน  แต่ชาวบ้านไม่ ยอมพูดด้วย  ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวก็พยายามพูดจากข่มขู่ชาวบ้าน เช่น พูดว่าผู้นำเรื่องอย่างนี้ตายมามากแล้ว  บ้านนี้เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ไม่ให้ความร่วมมือกับทางราชการ  เป็นต้น  พูดจาข่มขู่อย่างนี้อยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงก็เดินทางกลับไป

                เวลาประมาณ 14.30 น.ได้มีกลุ่มบุคคลประมาณ 300 คน ทั้งแต่งกายปกติและแต่งเครื่องแบบตำรวจ  อส. มีอาวุธครบมือ เดิน ทางไปโดยรถ 6 ล้อและรถ 4 ล้อประมาณ 32 คันเข้าไปที่หมู่บ้านห้วยหินฝน ม. 4 ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว เมื่อไปถึงหมู่บ้านก็ได้ ใช้ค้อนทุบพังกุญแจประตูรั้วเข้าไป  ชาวบ้านคนหนึ่งที่เห็นเหตุการณ์ก็ได้วิ่งเข้าไปถาม  แต่ถูกคนที่แต่งกายชุดตำรวจประมาณ 4-5 คน กระชากออกมาและมีคนแต่งกายนอกเครื่องแบบอีกคนหนึ่งทำท่าเงื้อมือจะตบ  แต่ถูกพวกในเครื่องแบบห้ามไว้โดยบอกว่าอยู่นอก เครื่อง แบบอย่าทำอะไรเดี๋ยวจะมีปัญหา  หลังจากนั้นกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็ได้พากันเข้าไปในหมู่บ้านและกระจายกันเดินไปรอบหมู่บ้าน  ซึ่งชาว บ้านรู้จักหลายคนที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการประจำเช่น  นายก่ำซุง  ประภากรแก้วรัตน์  สส.ชัยภูมิ  นายอนันต์  ลิปคุปตถาวร ประธานสภา อบจ. นายอำเภอและปลัดอำเภอหนองบัวระเหว  กำนัน ต.โคกสะอาด  กำนัน ต.วังตะเฆ่  อ.หนองบัวระเหว  และมีบุคคล ทางกลุ่มที่มาด้วยกันอ้างว่าเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย  ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้พยายามที่จะพูดจาเสียดสี  ถากถางชาวบ้าน  หาว่าไม่ได้เป็น คนไทยบ้าง  เป็นคอมมิวนิสต์บ้าง  เมื่อชาวบ้านไม่พูดด้วยก็พูดกันเองแล้วอัดเทปเอาไว้ เช่น ถามว่าทำไมไม่ยอมให้สร้างเขื่อน และก็ตอบ กันเองว่าอยากได้เงินมาก ๆ สักล้านสองล้าน และยังมีการถ่ายวีดีโอไว้ด้วย  หลังจากนั้นก็ได้มารวมตัวกันที่ศาลากลางบ้านแล้วก็ทำการ ประชุมโดยมีประธานสภา อบจ. เป็นผู้ดำเนินการซักถามว่า  ใครคัดค้านการสร้างเขื่อนให้ยกมือขึ้น  ซึ่งก็ไม่มีใครยกมือและเมื่อถามว่า มีใครสนับสนุนการสร้างเขื่อนบ้าง  ก็พากันยกมือซึ่งในการนี้ได้มีการบันทึกวีดีโอไว้ด้วย  หลังจากนั้นก็พากันกลับไป

                - 10 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 11.00 น. ตัวแทนชาวบ้านได้เข้าพบ พล.ต.อ.ประชา  พรหมนอก  ผบ.ตร.ที่ทำเนียบรัฐบาล  ร้องเรียนให้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดชัยภูมิหยุดการข่มขู่คุกคามชาวบ้าน  ซึ่ง ผบ.ตร.ก็ได้สั่งการไปยังผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 ให้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง

                - 12 พฤศจิกายน  เวลาประมาณ 14.00 น. ตัวแทนชาวบ้านได้เข้าพบนายชำนิ  ศักดิเศรษฐ์  รมช. มท รักษาการ  รมว.มท. ที่ กระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ดำเนินการสอบสวนและลงโทษผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ  และให้ยุติการขุ่มขู่คุกคาม  ใส่ร้ายป้ายสีชาว บ้าน  ซึ่งนายชำนิ  รับที่จะดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงให้เท่านั้น

                - 16 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 11.00 น. ตัวแทนชาวบ้านได้เข้าพบ พล.ต.ศรชัย  มนตริวัติ  เลขานุการผู้นำฝ่ายค้าน ที่รัฐสภา เรียกร้องให้ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีผู้ว่าราชการจังหวัดและนักการเมืองเข้าไปขุ่มขู่คุกคามชาวบ้าน  ซึ่งเลขานุการผู้นำฝ่าย ค้านรับที่จะไปนำเสนอต่อผู้นำฝ่ายค้านให้

                - 19 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 14.00น. นายอำเภอหนองบัวระเหวและนายอำเภอเทพสถิต  ได้เรียกประชุมกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน และประธาน อบต. โดยเสนอให้บุคคลเหล่านี้ร่วมเซ็นชื่อในแถลงการณ์ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว  อันเป็นแถลงการณ์ที่สนับสนุนให้มีการ สร้างเขื่อนโดยเร่งด่วนและให้ดำเนินการจับกุมนายพิเชษฐ  เพชรน้ำรอบ  ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ว่าเป็นผู้ปลุกระดม  ยุยง  ให้ชาวบ้าน ตั้งตนเป็นรัฐอิสระเพื่อผลิตและจำหน่ายยาเสพติดนอกจากนี้ยังเรียกร้องให้จับกุมชาวบ้านบ้านห้วยทับนายและหมู่บ้าน ห้วยหินฝน ที่คัด ค้านการสร้างเขื่อนว่าเป็นหมู่บ้านที่ผลิตและจำหน่ายยาเสพติด  เป็นคอมมิวนิสต์และตั้งตนเป็นรัฐอิสระ  โดยแถลงการณ์นี้จะให้กลุ่มครู หมอและพระช่วยเซ็นชื่อด้วย  แต่ก็มีกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและ อบต. บางหมู่บ้านคัดค้านและไม่ร่วมลงชื่อด้วย 

                เมื่อเวลาประมาณ 24.30 น. ได้มีการลอบวางเพลิงศาลากลางบ้าน  บ้านใหม่ห้วยหินฝน ม. 4 ต.โคกสะอาด โดยคนร้ายข้ามลำ เชียงทาเข้ามา  แต่ทางชาวบ้านได้เห็นเพลิงไหม้และช่วยกันดับไว้ทันจึงไม่เสียหายมาก

                - 21 พฤศจิกายน เวลาประมาณ 11.00 น.ตัวแทนชาวบ้านได้เข้าพบ พล.ต.สนั่น  ขจรประศาสน์ รมว.มท.ที่บ้านพักร้องเรียน ให้ดำเนินการสอบสวนและลงโทษผู้ว่าราชการจังหวัด  นายอำเภอเทพสถิต  นายอำเภอหนองบัวระเหว  และให้สอบสวนหาตัวคนร้ายที่ ลอบวางเพลิงมาลงโทษ  แต่ไม่ได้พบโดยอ้างว่าป่วย  หัวหน้าสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ( นายเริงศักดิ์  มหาวินิจฉัยมนตรี )เป็นผู้รับหนังสือร้องเรียนแทน  และก่อนที่จะเดินทางกลับนายเริงศักดิ์  ได้แจ้งให้ทราบว่าได้สอบถามกับผู้บังคับการ ตำรวจ จ. ชัยภูมิแล้ว  ทราบว่าหมู่บ้านทั้ง 2 คือบ้านใหม่ห้วยหินฝนและบ้านห้วยทับนาย  ไม่มีปัญหาเรื่องยาเสพติดแต่อย่างใดอยู่กัน ด้วยความสงบตลอดมาเพิ่งจะมีความหวาดระแวงกันเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์วันที่ 9 ที่ผ่านมาเท่านั้น  ส่วนเรื่องกำลังตำรวจที่เข้าไปเมื่อวันที่ 9 นั้นตนไม่รู้เรื่องเพียงแต่ได้รับการประสานงานมาก็จัดกำลังไปให้

                - 27 -29 พฤศจิกายน ตัวแทนนักศึกษาจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน ลงพื้นที่บ้านใหม่ห้วยหินฝนและบ้านห้วยทับนายน้อยเพื่อเก็บข้อมูลและให้กำลังใจชาวบ้าน

                - 7 ธันวาคม  เวลาประมาณ 22.00 น. ในระหว่างการจัดงานครบรอบ 3 ปี สมัชชาคนจนที่บ้านห้วยทับนาย มีการยิงปืนเข้ามา ในงาน  แต่ไม่โดนใคร

                - 8 ธันวาคม  ตอนเช้าชาวบ้านออกไปร่องรอยพบปลอกกระสุนปืนลูกซองจำนวน 2 นัดและมีรอยเท้าคนประมาณ 2 คน  หลัง จากนั้นประมาณ 10.25 น. มีเครื่องเฮลิคอปเตอร์จาก ทบ. เข้ามาบินวนเวียนเพื่อถ่าย วีดีโอ ประมาณ 20 นาทีจึงกลับไป

                - 14 ธันวาคม  ได้มีแถลงการณ์ของชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน  จังหวัดชัยภูมิ กล่าวหาชาวบ้านที่คัดค้านโครงการว่าเป็นผู้กระทำ ผิดกฎหมาย  ไม่รักชาติ  ก่อความไม่สงบ  และยังเรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่  ทำการปราบปราม  จับกุม  ดำเนินคดี  มิฉะนั้นทาง ชมรมฯ จะเข้าไปจัดการด้วยตนเอง  หากความเสียหายเกิดขึ้นรัฐบาลต้องรับผิดชอบในทุกกรณี เช่น  การปิดถนน  การทำลายทรัพยสิน และร่างกายของประชาชน  และสุดท้ายยังกล่าวหาว่า ส.ส. ชัยภูมิ  พึ่งพาไม่ได้ยกเว้น ส.ส. ก่ำซุง  ประภากรแก้วรัตน์  พรรคความหวังใหม่

                - ช่วงระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม - ปัจจุบัน มีทหารหน่วยสันตินิมิต  จากกองทัพภาค 2 เข้าไปประจำอยู่ในบ้านกระจวน  และได้ ออกลาดตระเวนหาข่าว  รวมทั้งปฎิบัติการจิตวิทยาในบ้านห้วยทับนาย  บ้านใหม่ห้วยหินฝน  บ้านกระจวน  อ.หนองบัวระเหว  บ้านบุ่ง เวียน อ.เทพสถิตและหมู่บ้านรอบ ๆ บริเวณที่จะสร้างเขื่อน  โดยอ้างว่าได้รับการร้องขอจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้ไปดูแลเรื่องความมั่นคง

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา