eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication

งานวิจัยไทบ้านในแต่ละพื้นที่

“งานวิจัยไทบ้านมีจุดเด่นที่คณะกรรมการเห็นพ้องต้องกันว่าสมควร ได้รับรางวัลชนะเลิศ เนื่องจากถือเป็นงานวิจัยที่ทำโดยชุมชนตลอดกระบวนการอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวิจัยแม่น้ำมูน พืชผักริมแม่น้ำ อุปกรณ์หาปลา และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำในการเกษตร ที่สำคัญคณะกรรมการได้ให้เหตุผลว่า แม้งานวิจัยจะนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ของการต่อรองทางการเมือง แต่ในอีกด้านหนึ่งคือกำไรอันเกิดขึ้นจากกระบวนการวิจัยที่นำไปสู่ การเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้ง 65 หมู่บ้าน ซึ่งท้ายที่สุดได้ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพของคนในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นต้นแบบการทำวิจัยในชุมชน ที่น่าสนใจและสามารถถ่ายทอดไปยังชุมชน อื่น ๆ ได้”

น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในโอกาสที่งานวิจัยไทบ้านปากมูนชนะเลิศการประกวด
โครงการสร้างกำไรให้สุขภาพชุมชนซึ่งจัดโดย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และองค์การอนามัยโลก (มติชน 16 ธันวาคม 2545

วิจัยไทบ้านของสมัชชาคนจนเป็นแบบอย่างของความสำเร็จที่ไม่ค่อยมีบ่อยนัก ผมคิดว่าหน่วยงานที่ส่งเสริมการวิจัยทั้งหลายควรใส่ใจกระบวนการวิจัยครั้งนี้ให้มาก จะส่งคนไปรวบรวมความรู้ กระบวนการจากนักวิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยเพื่อการเรียนรู้ของตนเองได้ยิ่งดี ส่วนหนึ่งของความสำเร็จของวิจัยไทบ้านในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านได้ตั้งคำถามการวิจัยตลอดจนนิยามคำถามนั้นด้วยตนเอง คำถามการวิจัยเป็นคำถามที่ชาวบ้านเองอยากได้คำตอบ ไม่ใช่คำถามที่ถูกนักวิชาการภายนอกนิยามให้ นอกจากนี้ชาวบ้านเป็นนักวิจัยเอง ไม่ได้เป็นผู้ช่วยนักวิจัยหรือผู้ให้ข้อมูลแก่นักวิชาการซึ่งมักจะฟันเงินนักวิจัยไปเป็นส่วนใหญ่ ความรู้ที่วิจัยไทบ้านสร้างสรรค์ขึ้นจากงานวิจัยชิ้นนี้ จึงมีลักษณะที่แตกต่างจากงานวิจัยทั่วไป ซึ่งมักเป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตการณ์ของคนภายนอก แต่วิจัยไทบ้านให้ข้อมูลและการวิเคราะห์จากภายใน ใครอ่านก็จะได้กลิ่นอายและความรู้สึกอย่างนี้ชัดเจน และทำให้ผลการศึกษาของวิจัยไทยบ้านครั้งนี้แตกต่างจาก การวิจัยที่เราคุ้นเคยอย่างมาก แม้ว่าโดยแบบฟอร์มจะไม่ต่างกันก็ตาม

นิธิ  เอียวศรีวงศ์ มติชนสุดสัปดาห์   9-15 สค 45  ปีที่ 22 หน้า 28 

                  นับแต่งานวิจัย “การกลับมาของคนหาปลา” ซึ่งเป็นงานวิจัยไทบ้านหรืองานวิจัยชาวบ้าน ฉบับแรกซึ่ง จัดทำโดยชาวปากมูนแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๕ งานวิจัยไทบ้านที่ได้รับการ ยอมรับอย่างกว้างขวางก็ได้รับการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายไปยังพื้นที่ต่างๆ หลายแห่งในลุ่มน้ำโขงและสาละวินซึ่งชุมชนและองค์กรต่างๆ ที่ทำงานในพื้นที่ต้องการ ทำวิจัยในลักษณะเดียวกันเพื่อนำ งานวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความ เข้มแข็งให้ชุมชน ด้วยการรวมตัวกันรื้อฟื้นความรู้ท้องถิ่น ที่นับวันจะถูกทำให้ไม่มีความหมายหรือถูกกีดกันไปจากกระบวน การตัดสินใจในโครงการที่กระทบต่อทรัพยากรของท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นยังคาดหวังว่า งานวิจัยไทบ้านจะเป็นฐานในการ สร้างหลักสูตรการศึกษาของท้องถิ่นเช่น หลักสูตรโรงเรียนแม่น้ำ และหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียน  รวมไปถึงการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนเอง   ปัจจุบันโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตได้นำระเบียบวิธีวิจัยไทบ้านไปพัฒนาในหลายพื้นที่ดังรายชื่อข้างล่างนี้  

หนังสือ งานวิจัยไทบ้านในแต่ละพื้นที่    (โปรดคลิกหนังสือแต่ละเล่มเพื่อดาวน์โหลด)

แม่ญิง(ผู้หญิง)แม่มูน : วิถีชีวิตและการต่อสู้
งานวิจัยไทบ้าน โดยผู้หญิงแม่มูน   ปีที่ผลิต 2555

Women of the Mun River : Livelihoods and their Fight
Tai Baan Research by local women affected by Pak Mun Dam
published in 2012  (avialable in Thai only)

ความรู้ท้องถิ่นเรื่องพันธุ์ปลา แม่น้ำโขง : งานวิจัยจาวบ้าน (ไทบ้าน) โดย คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น 
ปีที่ผลิต 2549

หนังสือฉบับนี้เป็นผลต่อเนื่องจากงานวิจัยจาวบ้านเชียงของ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญในประเด็นเรื่องพันธุ์ปลาซึ่งมีอยู่จำนวนมาก โดยนำเสนอรายละเอียดของปลาแต่ละชนิดโดยละเอียดพร้อมกับภาพประกอบ

วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน : งานวิจัยปกากญอ โดย...คณะนักวิจัยปกากญอสาละวิน
หนังสือพร้อมฟรีวีซีดี   ปีที่ผลิต 2548

งานวิจัยจาวบ้านลุ่มน้ำสาละวิน เป็นงานวิจัยที่จัดทำโดยชาวปกาเกอญอหรือกะเหรี่ยงที่ตั้งชุมชนใน เขตลุ่มน้ำสาละวินและน้ำสาขาในเขตอำเภอแม่สะเรียงและสบเมย ชุมชนเหล่านี้กำลังจะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสาละวินบนพรมแดนไทย-พม่า และโครงการผันน้ำสาละวิน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี ๓๕๔๗ 

yom

แม่น้ำยม ป่าสักทอง.. วิถีชีวิตของคนสะเอียบ : งานวิจัยจาวบ้านที่แก่งเสือเต้น 
ปีที่ผลิต 2549

เป็นงานวิจัยของจาวบ้านบ้านดอนชัย บ้านดอนชัยสักทอง บ้านดอนแก้ว และบ้านแม่เต้นที่อาศัยอยู่ในเขตผืนป่าแม่ยม ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการนำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆของทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในผืนป่าและการนำมาใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่าพร้อมทั้งแนวคิดในการอนุรักษ์ ของชาวบ้านที่มีมาอย่างช้านาน

ราษีไศล : ภูมิปัญญา สิทธิ และวิถีแห่งป่าทามแม่น้ำมูน
งานวิจัยไทบ้านที่ราษีไศล    ปีที่ผลิต 2548

งานวิจัยไทบ้านในบริเวณลุ่มน้ำมูนตอนกลางภายหลังการเปิดเขื่อนราษีไศล จัดทำโดย ชาวบ้านราศีไศล ๓๖ ชุมชน เพื่อแสดงให้เห็นการกลับมาของป่าบุ่งป่าทามที่เปรียบเสมือนห้องครัวของคน ๓ จังหวัดในอีสานตอนล่าง โดยเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้ช่วยนักวิจัย คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปี ๒๕๔๗ งานวิจัยไทบ้านที่นี่ยังจะเป็นฐานที่สำคัญในการทำหลักสูตรโรงเรียนแม่น้ำ

แม่น้ำโขง : แม่น้ำแห่งวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
งานวิจัยจาวบ้าน (ไทบ้าน) โดย. คณะนักวิจัยชาวบ้าน อ.เชียงของและเวียงแก่น
ปีที่ผลิต 2547

งานวิจัยจาวบ้านเชียงของ จัดทำโดยชาวบ้านในเขตอำเภอเชียงของ ๕ หมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำโขงทางฝั่งไทยที่ได้รับผลกระทบ จากการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงและ ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนในจีน คำว่า “จาวบ้าน” เป็นคำเมืองที่แปลว่าชาวบ้าน เช่นเดียวกับคำว่า “ไทบ้าน” ในภาคอีสาน โดยเครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ โครงการแม่น้ำและชุมชนเป็นผู้ช่วยนักวิจัย คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๗

แม่มูน "การกลับมาของคนหาปลา" : งานวิจัยไทบ้านที่ปากมูล
ปีที่ผลิต 2545

เป็นการศึกษาครั้งแรก ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยนักวิจัยชาวบ้านโดยใช้ความรู้แบบ ภูมิปัญญาท้องถิ่นแทนที่จะถูกจัดทำโดยนักวิชาการที่ใช้ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ การวิจัยนี้ไม่เพียงแต่เป็นการรวบรวมชนิดพันธุ์ปลาภายหลังการเปิด ประตูเขื่อนปากมูลที่เป็นตัวชี้ว่าแม่น้ำมูนได้ฟื้นคืนชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นการรื้อฟื้นองค์ความรู้ของชาวปากมูนกลับคืนมา

 

งานวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงคราม

นอกจากงานที่ดำเนินการโดยโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีงานวิจัยไทบ้านในอีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นโครงการของ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) ซึ่งเราได้เข้าไปร่วมดำเนินงาน ซึ่งก็คือ "นิเวศวิทยา และ ประวัติศาสตร์ ป่าบุ่งป่าทาม : งานวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง" ทำโดยชาวบ้าน ๕ หมู่บ้านในเขตลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง โดยมีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนครพนม และ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) เป็นผู้ช่วยนักวิจัย งานวิจัยนี้คาดหวังว่าจะใช้เป็นฐานในการทำแผนการจัดการ ลุ่มน้ำสงครามตอนล่างซึ่งรวม ไปถึงการแก้ไขปัญหาการประมงเชิงพาณิชย์ที่ทำลายล้างสูง โดยโครงการแม่น้ำเพื่อชีวิตได้สนับสนุนทางเทคนิคที่รวมถึง การฝึกอบรมนักวิจัยไทบ้าน และผู้ช่วยนักวิจัยเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและการเขียนรายงาน   

นิเวศวิทยา และ ประวัติศาสตร์ ป่าบุ่งป่าทาม : งานวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง
โดย.. เครือข่ายนักวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง  ปีที่ผลิต 2548


ยามขา  เครื่องมือหาปลาพื้นบ้าน ชนิดหนึ่ง
  1. หน้าปก                      pdf  45    KB
  2. บทนำ สารบัญ                  pdf  114   KB
  3. บทสรุป (ภาษาไทย)           pdf  93   KB
  4. บทสรุป (ภาษาอังกฤษ)          pdf    66   KB
  5. ระเบียบวิจัย                   pdf  460    KB
  6. ภาคที่ ๑                     pdf    552    KB
  7. ภาคที่ ๒                    pdf    481    KB
  8. ภาคที่ ๓                    pdf    512    KB
  9. ภาคที่ ๔                    pdf    339    KB
  10. ภาคผนวก                  pdf    197    KB
 

โปสเตอร์ บทสรุปงานวิจัยไทบ้านในแต่ละพื้นที่

โครงการศึกษาวิจัย “แม่ญิง(ผู้หญิง)ลุ่มน้ำโขงกับความมั่นคงทางอาหาร” กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2552

แผนที่นิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง

บทสรุปงานวิจัยศาลาภูมิ(วิจัยไทบ้าน)แสดงถึงข้อมูลระบบนิเวศและพันธุ์ปลาแม่น้ำโขง บริเวณที่จะสร้างเขื่อนดอนสะฮง

    ข้อมูลภาษาอังกฤษ >>

 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา