eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลกรณีการชุมนุมประท้วงที่สันเขื่อนปากมูล

20 พฤษภาคม 2543

เรียน ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี     

                สืบเนื่องจากการชุมนุมอย่างสันติของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ จากการสร้าง เขื่อนปากมูล ที่รวมตัวกันรณรงค์ในเรื่องนี้ มากว่าหนึ่งปีแล้ว เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนโดยเปิดประตูระบายน้ำ เขื่อนปากมูล ให้ปลาจากแม่น้ำโขงได้ ไปวางไข่ในแม่น้ำมูล เป็นหนทางคืนชีวิตให้แม่มูลเพื่อรักษาฟื้นฟูระบบนิเวศตามธรรมชาติ และ ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่น ให้ยั่งยืนเช่นที่ทุกฝ่ายในสังคมไทยปรารถนา

                การชุมนุมของชาวบ้านโดยสงบและปราศจากอาวุธครั้งนี้ ถือเป็นการใช้เสรีภาพอันชอบตามรัฐธรรม นูญ แห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 44 อีกทั้งยังมีเป้าประสงค์สะท้อนปัญหาให้รัฐได้รับรู้ ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นความพยายามมีส่วนร่วมกับรัฐ ในการคุ้มครอง ส่งเสริม บำรุงรักษาคุณภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลและยั่งยืน ตามมาตรา 46 และ วรรคแรกของมาตรา 56 ตามรัฐธรรมนูญด้วย แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลของฯพณฯกลับปล่อยให้สถานการณ์ดำเนินไปอย่างน่าวิตก คือ

                -นิ่งเฉยปล่อยให้เป็นภาระของหน่วยราชการระดับจังหวัด และ รัฐวิสาหกิจที่ดูแลกิจการสาธารณูปโภคซึ่งมีวัตถุประสงค์ เฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างทำหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งที่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาความเป็นธรรมของคนยากจนซึ่งเป็นปัญหาการเมือง ระดับชาติ เป็นการผลักให้คนไทยต้องเผชิญหน้ากันเองและอาจนำไปสู่ความรุนแรงในที่สุดได้

                -เงื่อนไขที่ผลักดันให้สังคมก้าวไปเผชิญหน้ากับความรุนแรงประการหนึ่งคือ การกล่าวร้ายบิดเบือนข้อเท็จจริงต่างๆ ขณะนี้ สื่อของรัฐไม่น้อยดูจะปล่อยข่าวเท็จเฝ้าทำลายความชอบธรรมในการชุมนุมของชาวบ้านปากมูล ด้วยการกล่าวหาว่า ชาวบ้านใช้ความ รุนแรงทำลายข้าวของทรัพย์สินราชการ ทั้งที่ไม่เป็นความจริง เพราะชาวบ้านชุมนุมด้วยสันติวิธี ผู้นำของชาวบ้านยืนยันว่าไม่มีอาวุธ ใดๆ นอกจากร่างกายของพวกเขาเท่านั้น

                -เงื่อนไขอีกประการหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดความรุนแรงได้เสมอมา คือการทำลายความสามัคคีความเป็นพี่น้องในหมู่สามัญชน ในสังคมไทยด้วยกันเอง ขณะนี้มีบางฝ่ายมุ่งกะเกณฑ์ปลุกเร้าประชาชนให้แตกแยกเป็นฝักฝ่ายต่อต้านผู้เข้าร่วมชุมนุม

                -ขณะเดียวกันก็มีข่าวว่า ทางจังหวัดตระเตรียมระดมกำลังติดอาวุธพร้อมใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรม นูญโดยสันติวิธี

                การกระทำเช่นนี้ขัดแย้งกับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2541-2544 ที่เน้นกระบวนการจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง ใหม่ด้วยสันติวิธี ซึ่งรัฐบาลของฯพณฯได้ให้ความเห็นชอบมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2540 เป็นการละทิ้งหน้าที่ความรับผิดชอบทางการ เมืองที่อาจนำพาบ้านเมืองไปสู่ความรุนแรง และการสูญเสียของผู้คนเช่นที่สังคมไทยโดยรวมเคยมีบทเรียนมามากแล้ว ดังพฤติกรรม ของรัฐบาลเผด็จการและหน่วยงานของรัฐบางหน่วยก่อขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 ด้วยความลุแก่อำนาจใช้ความรุนแรงกับ ประชาชนที่ออกมาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย จนเกิดเหตุการณ์เศร้าสลดขึ้นเมื่อเดือนนี้ของ 8 ปีก่อน

                ในฐานะผู้ที่สนใจหาหนทางเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยด้วยสันติวิธี นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยของรัฐและ เอกชนจึงขอเสนอให้รัฐบาลของฯพณฯ พิจารณาดำเนินการดังนี้

                1) ให้เคารพและคุ้มครองสิทธิในการชุมนุมโดยสันติวิธีของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อน และไม่ใช้ ความรุนแรงในการเข้าสลายการชุมนุมโดยเด็ดขาด เพราะการใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านผู้ใช้สันติวิธี รัฐบาลต้องรับผิดชอบทั้งทาง กฏหมาย ทางศีลธรรมและทางการเมือง

                2) อย่าใช้สื่อสารมวลชนของรัฐเป็นเครื่องมือในการสร้างความเกลียดชัง ความมีอคติ ไร้เมตตาด้วยการเสนอความเท็จต่อ สังคมไทย ในทางกลับกันควรใช้ความจริงเป็นอาภรณ์ รวมทั้งเผยแพร่ผลการศึกษาผลกระทบจากเขื่อนปากมูลของคณะกรรมการ เขื่อนโลกภายใต้ธนาคารโลกให้สาธารณชนได้รับรู้ทั่วกัน

                3)  หาทางออกให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนปากมูลด้วยการตัดสินใจด้วย ภูมิปัญญาและเมตตาบนพื้นฐานข้อมูล และความรู้ที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เช่น รายงานศึกษาผลกระทบจากเขื่อนปากมูลของคณะกรรมการเขื่อนโลกดังกล่าว อีกทั้งให้ โอกาสชาวบ้านปากมูลที่ได้รับทุกข์มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลและดำเนินการเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล ด้วยถือว่าทางราชการ ตัดสินใจร่วมกับผู้ใช้และได้รับผลกระทบในการบริหารจัดการน้ำของแผ่นดิน

                4) พยายามผลักดันให้เกิดคณะกรรมการที่อิสระเป็นกลางอาจจะโดยร่วมมือกับวุฒิสภา เพื่ออำนวยให้มีการใช้ประโยชน์จาก เขื่อนให้สัมพันธ์กับธรรมชาติของลำน้ำมูลและวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่น ซึ่งไม่ว่าผลการชุมนุมจะเป็นเช่นไรคณะกรรมการชุด นี้ควรจะได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อหาทางออกในระยะยาว และการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ในอนาคตควรให้ ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังเช่นที่เกิดขึ้น

                จึงเรียนมาด้วยความห่วงใยเพื่อให้ฯพณฯนายกรัฐมนตรีพิจารณาดำเนินการ

                                                                                                ขอแสดงความนับถือ

1.       รศ. ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์          คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2.       ผศ.ดร. ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์        คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

3.       ผศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ              คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4.       รศ.ดร. โครีน เฟื่องเกษม             คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5.       รศ. ดร.อภิชัย พันธเสน               คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6.       ผศ.ดร. กิตติศักด์ ปรกติ                     คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

7.       รศ.ชอบ เข็มกลัด                         คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8.       รศ. ดร.มารค  ตามไท                   คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

9.       รศ.ดร.ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากูล          คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

10.   รศ.สุริชัย หวันแก้ว                       คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.   ผศ.ดร.ฉั นทนา บรรพศิริโชติ                คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12.   อ.นฤมล ทับจุมพล                       คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

13.   รศ.ดร.วิทยา สุจริตธนารักษ์             คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.   รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ            คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15.   รศ. ดร.สุธี ประศาสนเศรษฐ์                        คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16.   รศ.แล ดิลกวิทยารัตน์             คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17.   รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ           คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

18.   ผศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์             คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19.   อ.สุภาภรณ์ โพธิ์แก้ว                        คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

20.   อ.นิตยา กัทลีระดะพันธ์          สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

21.   ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี              สำนักงานสิทธิมนุษยชนฯ มหาวิทยาลัยมหิดล

22.   ผศ.ดร.ประภาพรรณ อุ่นอบ                    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

23.     อ.ภมรรัตน์ สุธรรม                           คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

24.   อ.ศุลีมาน นฤมล วงศ์สุภาพ             มหาวิท ยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

25.   ผศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

26.   ผศ.ดร.วัฒนา สุกัณศีล                 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

27.   ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

28.   นายสมพันธ์ เตชะอธิก              สถาบันวิจัยและการพัฒนา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

29.   อ.ปราโมทย์ ครองยุทธ              มหาวิทยาลัยขอนแก่น

30.   รศ.ดร.ขัตติยา กรรณสูต            มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

31.   อ.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร           มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

32.   อ.มาฆะสิริ เชาวกุล                          มหาวิทยาลัยนเรศวร

33.   อ.ชูพินิจ เกษมณี                           คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

34.   ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย                   คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

35.   ผศ.ดร.ศิวรักษ์ ศิวารมย์              คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิท ยาลัยเชียงใหม่

36.   ผศ.เสาวลักษณ์ ชายทวีป            คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

37.   อ.รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์                        สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

38.   อ.ณรงค์ บุญสรวยขวัญ            สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช

39.   อ.สุรพงษ์ ยิ้มละมัย                         สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช

40.   อ.อาคม เดชทองคำ                    สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช

41.   รศ.บุญยัง หมั่นดี                            สถาบันราชภัฎสุรินทร์

42.   ผศ.สุรัตน์ วรางรัตน์                       สถาบันราชภัฎสกลนคร

43.   นายวีรบูรณ์ วิสารทสกุล           นักวิชาการอิสระ

44.   อ.บัณฑร อ่อนดำ                           นักวิชาการอิสระ

45.   นพ.ทวีศักดิ์ นพเกษร                        สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน

------------------------------------

                สรุป:                 จำนวนนักวิชาการสันติวิธีที่ลงชื่อ                45 คน

                                มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                  7 คน

                                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                  13 คน

                                มหาวิทยาลัยมหิดล                              3 คน

                                มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์           4 คน

                                มหาวิทยาลัยขอนแก่น                        2 คน

                                มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2 คน

                                มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ        1 คน

                                มหาวิทยาลัยนเรศวร                           1 คน

                                มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                        1 คน

                                มหาวิทยาลัยแม่โจ้                               1 คน

                                มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์                      1 คน

                                มหาวิทยาลัยรังสิต                               1 คน

                                สถาบันราชภัฎนครศรีธรรมราช    3 คน

                                สถาบันราชภัฎสุรินทร์                     1คน

                                สถาบันราชภัฎสกลนคร                  1คน

                                นักวิชาการอิสระ                                 3 คน

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา