eng homeabout usmekong riversalween rivermun riverthai baan researchpublication
 

อ่อน ทรทิพย์ ผู้สังเวยหลักการรายล่าสุดของรัฐบาลชวน


นายอ่อน ทรทิพย์ อาวุโส สมัชชา  อำลาโลกไปแล้วอย่างสงบ เมื่อเวลา 16.45 น. ของวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 ผู้เฒ่าจาก เราไปด้วยวัยวันตรากตรำ 80 ปี อายุขนาดนี้คงมากพอที่หลายคนคงนึกอุทานในใจแล้วว่า เป็นวัยพอสมควรแก่ชนแล้ว กระมัง การคาดเดานี้อาจจะผิด หากเราลองนึกย้อนดูกับวิถีแห่งความลำบาก ตรากตรำสู้ชีวิตมาตลอดอายุขัยของชายผู้นี้

ภายใต้ผืนธงสีเขียวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งองค์กรพิทักษ์สิทธิและสิ่งแวดล้อม นาม สมัชชาคนจน พ่อใหญ่อ่อน ก้าวเข้า ร่วมขบวนการนี้ ในฐานะความจำเป็นบีบบังคับ ความจำเป็นในการดำรงอยู่อย่างที่ใครๆต้องการ นั่นคือ ความจำเป็น ต้องพึ่งพาปัจจัย 4 ปัจจัยอันถูกแย่งชิงไปโดยรัฐเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 30 ปีแล้วนั่นเอง มันคือ ภาวะแห่งการดิ้นรนที่จะ ทวงถามถึงความยุติธรรมที่ถูกปล้นชิงเอาไป ว่ายังพอมีหลงเหลือให้แก่คนจนอย่างพ่อใหญ่และเพื่อนๆของแกหรือไม่

เขื่อนสิรินธร ก่อสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2511-13 ในยุคสังคมไทยอยู่ภายใต้อุ้งมือเผด็จการ ความจำเป็นในการสร้าง เขื่อนทิ้งแกนดินเหนียวขนาด 1966 ล้านความจุน้ำ ด้วยเหตุผลของยาแก้ปวด สารพัดสารเพเอนกประสงค์เหมือนเขื่อน ขนาดใหญ่ทั่วๆไปนั่นเอง ข้ออ้างที่สวยหรูเพียงง่ายๆอีกข้อนั่นคือ เขื่อนนี้มีไว้เพื่อขับไล่คอมมิวนิสต์ ในภาวะวิกฤต รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยสมัยนั้น เขื่อนก็เป็นข้ออ้างทางความมั่นคงได้ไม้แพ้กระบอกปืนและรถถังแม้แต่น้อย โดย ไม่มีใครคาดคิด ความเปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความผกผันต่อชุมชนเป็นอย่างมาก ข้อบังคับค้ำคอ จากเสียงเรียกร้องใน สังคมที่ว่า ชาวบ้านต้องเสียสละเพื่อการพัฒนาประเทศ ชาวชุมชนลำโดมน้อยต้องตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก จำต้องยอมรับการอพพยพโยกย้าย การพลัดพราก จากถิ่นฐานบ้านเรือน และชุมชนที่เคยผูกพันมาช้านาน พ่อใหญ่ อ่อนไม่เชื่อว่า เขื่อนจะทำให้น้ำท่วมได้ จึงไม่ยอมย้ายออกจากที่ทำกินเดิม เนื่องจากเพราะพ่อใหย่ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่า เขื่อนเป็นอย่างไร ไม่มีใครบอกได้นอกจากความเจริญและเงินทองจะได้มาหากมีเขื่อน แต่แล้วประมาณเดือน เมษายน-เดือนพฤษภาคม น้ำก็เริ่มเอ่อท่วมบ้านเรือน หลายคนต้องอพยพโยกย้ายกันอย่างทุลักทุเล พ่อใหย่อ่อน เป็น หนึ่งในจำนวนนั้น แกนั่งมองวัดวาอาราม โรงเรียน ป่าช้าที่ฝังบรรพบุรุามาหลายชั่วอายุคน ที่ค่อย ๆ จมอยู่ใต้น้ำด้วย ความไม่เข้าใจอยู่ดีว่าทำไม การตอบสนองจากรัฐที่แกยกย่องชมเชยถึงได้รุนแรงเช่นนี้

นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย คือสถานที่ที่รัฐจัดสรรให้ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองนิคม สังกัดกรมประชา สงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย แต่สภาพความแห้งแล้งในนิคมสร้างตนเอง บนผืนดินที่มีแต่หินลูกรังกับทราย ไม่สามารถทำการเกษตรได้ ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ เป็นดินชั้วเลว พ่อใหญ่อ่อน จึงพาครอบครัวระเหเร่ร่อนอพยพไปอยู่ บ้านดอนโด่ ต.โนนกลาง อ.พิบูลมังสาหาร ซึ่งมีระยะทางห่างออกไปถึงประมาณ 80 กิโลเมตร โดยไม่ได้รับการเหลียว แลหรือช่วยเหลือค่าการขนย้าย ค่าสิ่งปลูกสร้างจากรัฐแม้แต่บาทเดียว

เมื่อข่าวการรวมตัวกันของชาวบาน ผู้ถูกผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ เมื่อประมาณปีพ.ศ.2539 ยุครัฐบาลนาย บรรหาร ศิลปอาชา ของกลุ่มสมัชชาคนจน ที่ทำเนียบรับบาล ดังขึ้น ทำให้ผู้เฒ่าวัย 75 ในขณะนั้น ตัดสินใจ ชวนเพื่อน บ้าน รุ่นราวคราวเดียวกัน ออกมาทวงถามถึงสิ่งที่เคยสูญเสียไปและไม่ได้รับการดูแลจากรัฐผู้มีแต่แสวงหาปรนเปรอสุข สู่ตัวเองและพวกพ้องเพียงถ่ายเดียว จนกระทั่ง รัฐบาลสมัยนั้นยอมรับข้อเรียกร้องออกกฏหมายเป็นมติ ครม.22 เมษายน 2539 ยอมรับชาวบ้านเดือดร้อนจริง รัฐบาลบรรหารยุบสภาเรื่องจึงค้างมาสู่สมัยของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ สานต่อตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม แต่เพิ่มในหลักการการดำเนินการจ่ายค่าชดเชยให้เป็นที่ดิน 15 ไร่ ของมติ ครม. 22 เม.ย.40และ 29 เม.ย.40 กระทั่งเรื่องทั้งหมดจึงยุติลงอีกครั้งเมื่อ รัฐบาลชวลิตต้องลาออกไปเพราะมลพิษทาง เศรษฐกิจเล่นงาน กระทั่งจึงมาสู่จุดหักเหเมื่อ นายชวน หลีกภัย ก้าวเข้ามาบริหารประเทศ พลันคณะรัฐมนตรีมีมติออก มาเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541 โดยมีเนื้อหาว่า ให้ล้มเลิกกฏหมายทุกฉบับที่มีมติก่อนหน้านี้ นั่นเท่ากับว่า ปัญหาเขื่อน สิรินธรที่กำลังจะเข้าวินต้องหยุดชงักลงเนื่องจากถุกกรรมการตัดสิทธิ์อย่างไร้เหตุผล เพียงเพราะว่า หากช่วยเหลือชาว บ้านคนยากคนจนที่ถูกโครงการพัฒนาของรัฐเฆี่ยนตีจะเป็นแบบอย่างให้กับคนจนคนอื่นๆด้วย

วันที่ 23 มีนาคม 2543 เป็นจุดเริ่มต้นของการชุมนุมมาราธอนของหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน สมัชชาคนจน ริมสันเขื่อน ปากมูล อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี  พ่อใหญ่อ่อน ทรทิพย์พาร่างแกร่งวัยแปดสิบ พร้อมกับบรรดานักสู้กู้แผ่นดินผู้เผชิญ ชะตากรรมกว่า 8,000 คน เดินทางมาปักหลักปลูกเพิงพักอยู่ริมแม่น้ำท้ายเขื่อน ด้านทิศตะวันออก เพื่อทวงถามถึงความ ยุติธรรมอีกครั้งหนึ่ง โดยตลอดระยะเวลาที่ร่วมกับสมาชิก ไม่เคยเลยที่แกจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมในหมู่บ้าน ทุกวันที่ ประตูทางเข้าหมู่บ้านที่ชุมนุม เราจะเห็นแกนั่งเฝ้ายามเป็นการ์ดหรือหน่วย สสน.เป็นประจำ

โดยไม่มีใครคาดคิด วันวิปโยคบังเกิดขึ้นแก่ดวงใจ สมัชชาทุกดวง เช้าของวันที่ 4 กรกฎาคม 2543 พ่อใหญ่อ่อน ออก ปฏิบัติภารกิจเป็นยามหน้าหมู่บ้านเช่นเคย มันคือความรับผิดชอบในจิตใจที่ยิ่งใหญ่ของผู้เฒ่า เพื่อนบ้านเคยขอให้แก พักอยู่ที่ตูบ แต่ก็ได้รับคำยืนยันเปื้อนรอยยิ้มว่า งานขุดดิน ทำนายังหนักกว่านี้แกยังสู้ได้สบาย กระทั่งล่วงเข้าสู่เวลา ประมาณบ่าย เมื่อรู้สึกหิวจึงเดินเข้าตูบที่พัก คว้ากระติบข้าวล้วงปั้นข้าวเหนียวกัดกินได้ไม่ทันครึ่งคำ พ่อใหญ่ก็มีอา การชัก ล้มลง เพื่อนบ้านจึงช่วยกันปฐมพยาบาล แต่พวกเขาไม่สามารถจะเรียกสติพ่อใหญ่กลับคืนได้ พ่อใหญ่อ่อน อำลาหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืนไปอย่างสงบ เมื่อเวลาประมาณ 16.45 น. ... ณ สนามรบ ท่ามกลางการต่อสู้ บรรดาสมาชิก ต่างอาลัยและเสียใจ เสียดายนักสู้ที่ดีที่สุดไปอีกคนหนึ่งแล้ว สมัชชาคนจนสูญเสียครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ทุกคนยิ่งเพิ่ม ความมุ่งมั่นมากขึ้นที่จะแสดงให้สังคมและโลกได้รับรู้ถึงสัจจะ โดยยึดมั่นในธรรมะ มีสันติอหิงสาเป็นแนวทาง สาน ต่อปณิธานของนักสู้สามัญชนผู้นี้ต่อไป กระทั่งบัดนี้กระท่อมมุงหญ้าคาหลังโย้เย้หลังนั้น เหลือเพียงผืนธงสีเขียวปัก เด่นสง่าท้าสายลม โดยไม่ประหวั่นพรั่นพรึงพายุว่าจักร้ายแรงเพียงใด พ่อใหญ่อ่อน อำลาจากไป ฝากไว้แต่รอยตีน และวิญญาณนักสู้แห่งคนลุ่มน้ำแก่ชนรุ่นหลังที่จักได้สืบสานต่อไป

ณ วันนี้ ถึงแม้ว่า รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน จะมีการลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการกลางขึ้น มาเพื่อวินิจฉัยปัญหากว่า 16 ปัญหา ของกลุ่มสมัชชาคนจน อย่างไรก็ตามมติกรรมการยังอนุมัติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้รัฐ บาลดำเนินการพิจารณาช่วยเหลือชาวบ้าน ตามความเดือดร้อนที่ได้รับ แต่ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ยังคงไม่เคยมีใจให้ กับคนจน ปฏิเสธมติกรรมการกลางที่รัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งขึ้นมา ระยะเวลากว่า 15 เดือนไม่ใช่น้อยเลย สำหรับความอด ทนที่ยิ่งใหญ่ของคนจน มันเป็น 15 เดือน ของความอดทนของพ่อใหญ่อ่อน ทรทิพย์  ซึ่งนับเป็นรายที่ 6 แล้วสำหรับ การสังเวยหลักการของคนชื่อชวน หากถามว่า ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีที่เข่นฆ่าประชาชนได้มาก นอกจากรัฐบาล เผด็จการแล้ว คุณชวนก็ถือว่าอยู่ในข่ายนี้แน่นอน ถามคุณชวน อีกครั้งยังสบายดีอยู่หรือ ถามคุณชวนอีกว่า นอนหลับฝัน ดีหรือไม่ ที่เห็นคนจนคนแล้วคนเล่าต้องตายไปต่อหน้าต่อตาเช่นนี้!!!!!!!


สมพร คำสวัสดิ์
4 ก.ค.43 / 08.45น.

 
 

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต   138/1 หมู่ 4 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่   50200
Living River Siam Association  138 Moo 4, Suthep, Muang, Chiang Mai, 50200   Thailand
Tel. & Fax.: (66)-       E-mail : admin@livingriversiam.org

ข้อมูลในเวปนี้สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา